1.14k likes | 2.55k Views
คอนกรีตวัสดุสำหรับโครงสร้าง. จัดทำโดย. นาย ชยกร ทองหนู 5310110106 นาย ทรงวุฒิ สันหมา ด 5310110199 นาย หริพล มะเซ็ง 5310110693. คอนกรีตคืออะไร ?. คอนกรีต คือ วัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และเป็นวัสดุก่อสร้าง ที่สำคัญที่สุด ในปัจจุบัน.
E N D
คอนกรีตวัสดุสำหรับโครงสร้างคอนกรีตวัสดุสำหรับโครงสร้าง
จัดทำโดย • นาย ชยกร ทองหนู 5310110106 • นาย ทรงวุฒิ สันหมาด 5310110199 • นาย หริพล มะเซ็ง 5310110693
คอนกรีต คือ วัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และเป็นวัสดุก่อสร้างที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน
การใช้ lime มอร์ต้า สร้างพีระมิด 2500 ปีก่อนพุทธกาล
วัสดุผสมที่ใช้สำหรับผลิตคอนกรีต 1. ปูนซีเมนต์(Portland cement) 2.น้ำ (Water) 3.มวลรวมผสม (Aggregates)
ผลิตด้วยเครื่องจักรที่มีกระบวนการผลิตที่เข้มงวด ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและทดสอบเป็นระยะ จนได้ปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
องค์ประกอบต่างๆของคอนกรีตองค์ประกอบต่างๆของคอนกรีต
บทบาทหน้าที่ของ Cement Paste - เชื่อมประสานหินทรายเข้าด้วยกันเป็นคอนกรีต - หล่อลื่นคอนกรีตสด (Fresh concrete) ขณะเทหล่อ - ให้กำลังแก่คอนกรีตเมื่อ แข็งตัว - ป้องกันการซึมผ่านของน้ำ
คุณสมบัติที่ดีของซีเมนต์เพสต์ที่มีผลต่อกำลังของคอนกรีตคุณสมบัติที่ดีของซีเมนต์เพสต์ที่มีผลต่อกำลังของคอนกรีต -ใช้ปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพดี ซึ่งจะต้องเป็นผงละเอียด ไม่จับกันเป็นก้อน - มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ถูกต้อง เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีกำลังตาม ต้องการ - ความสมบูรณ์ของปฏิกิริยาระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำ - ใช้น้ำจืดที่สะอาด ปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อซีเมนต์เพสต์
2.น้ำ (Water) น้ำจะเป็นตัวทำปฏิกริยากับปูนซีเมนต์ เกิดเป็นสารประกอบใหม่ที่มีคุณสมบัติในการเชื่อมประสานหิน-ทราย
บทบาทหน้าที่ของน้ำ - ทำปฏิกิริยา Hydration กับ ปูนซีเมนต์ - ทำหน้าทื่หล่อลื่น เพื่อให้คอนกรีตอยู่ในสภาพเหลว สามารถเทลงแบบหล่อได้ - เคลือบหินทรายให้เปียกเพื่อให้ซีเมนต์เพสต์สามารถยึดเกาะได้ดี
เป็นวัสดุเฉื่อยที่ใช้เป็นตัวแทรก (Inert filler materials) ในการผสมคอนกรีต ได้แก่ หิน และทรายแบ่งเป็น 2 ขนาด คือ
1. มวลรวมละเอียด (Fine aggregates) ได้แก่ ทราย มีขนาดของเม็ดทรายตั้งแต่ 0.075 มม. - 4.76 มม.
2. มวลรวมหยาบ (Coarse aggregates) ได้แก่ หิน (Gravels) หรือ หินย่อย (Crushed stone) มีขนาดใหญ่กว่า 4.76 มม.
บทบาทหน้าที่ของ Aggregates -เป็นตัวแทรกประสานที่ทำให้คอนกรีตมีราคาต่ำ -ช่วยให้คอนกรีตสามารถต้านทานแรงกระทำ (Load) - ช่วยให้คอนกรีตมีความคงทนต่อการกัดกร่อนและลดการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีต
คุณสมบัติของมวลรวมที่สำคัญคุณสมบัติของมวลรวมที่สำคัญ • มีความแข็งแรง • การเปลี่ยนแปลงปริมาตรต่ำ • คงทนต่อปฏิกิริยาเคมี • มีความต้านทานต้อแรงกระแทกและการเสียดสี
สัดส่วนของวัสดุที่ใช้ในการผสมคอนกรีตสัดส่วนของวัสดุที่ใช้ในการผสมคอนกรีต - ปูนซีเมนต์ 9% - 16% - น้ำ 15% - 25% - หิน ทราย 65% - 75% - ฟองอากาศ 2% - 4%
กำลังของคอนกรีต (Strength of Concrete)
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีตปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีต • 1. Water Cement Ratio (W/C) • 2. ความสมบูรณ์ของปฏิกิริยา Hydration • 3. การบ่มคอนกรีต (Curing)
1. Water Cement Ratio (W/C) กราฟความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดของคอนกรีตกับ W/C
2. ความสมบูรณ์ของปฏิกิริยา Hydration • เป็นปฎิกิริยาที่ใช้เวลา ดังนั้น เมื่อคอนกรีตมีอายุมากขึ้นปฏิกิริยาจะสมบูรณ์มากขึ้น กำลังของคอนกรีตก็ถูกจะพัฒนาเพิ่มมากขึ้นตามอายุของคอนกรีต
3. การบ่มคอนกรีต (Curing) • การบ่มคอนกรีตเป็นวิธีการทำให้คอนกรีตมีความชื้นเพียงพอที่จะทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์อย่างต่อเนื่อง กำลังของคอนกรีตก็จะพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ ถ้าคอนกรีตมีน้ำไม่เพียงพอในการทำปฏิกิริยา กำลังของคอนกรีตก็จะไม่สามารถพัฒนาเพิ่มขึ้นตามที่ควรจะเป็น
อิทธิพลของการบ่มและอายุของคอนกรีตที่มีต่อกำลังคอนกรีตอิทธิพลของการบ่มและอายุของคอนกรีตที่มีต่อกำลังคอนกรีต
ประเภทของคอนกรีต • คอนกรีตกำลังต่ำ (Low strength) ใช้สำหรับงานคอนกรีตที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนิยมเรียกว่า คอนกรีตหยาบ (Leanconcrete) • คอนกรีตกำลังปกติ (Normal strength) ใช้สำหรับก่อสร้างอาคารทั่วไป และงานคอนกรีตอัดแรง (Prestressed concrete) • คอนกรีตกำลังสูง (High strength) ใช้สำหรับคอนกรีตรับน้ำหนักมากๆ เช่น อาคารสูง
คอนกรีตกำลังปกติ (Normal strength)
คอนกรีตกำลังสูง (High strength)
ข้อดีข้อเสียของคอนกรีตข้อดีข้อเสียของคอนกรีต
คอนกรีตที่ดี (Good Concrete) 1) มีความข้นเหลวที่เหมาะสม 2) เนื้อคอนกรีตแน่นไม่เป็นโพรง มีความทึบน้ำ 3) เนื้อคอนกรีตมีความสม่ำเสมอ 4) ได้กำลังตามที่ออกแบบไว้ 5) มีความคงทนต่อการใช้งาน 6) มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
กระบวนการผลิตคอนกรีต • จะต้องมีกระบวนการผลิตที่เป็นขั้นตอนและควบคุมอย่างเคร่งครัด
การคัดเลือกวัตถุดิบ (Selection of Materials) - การจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี -วัตถุดิบมีคุณภาพสม่ำเสมอ - สัดส่วนการผสมคงที่
การควบคุมการผลิต (Control of Production) - การชั่งหรือตวงวัตถุดิบเพื่อให้ได้อัตราส่วนผสมที่ถูกต้อง - การใช้เครื่องที่เหมาะสม • การลำเลียงและการเทคอนกรีตลงแบบหล่อที่ถูกวิธี - การทำให้คอนกรีตแน่นด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม - การปรับแต่งผิวหน้าคอนกรีต - การบ่มคอนกรีต
คุณภาพที่ต้องการ(Desirable Properties) • คอนกรีตสดมีความข้นเหลวที่เหมาะสม ทำให้สามารถเท (Placing) ลงแบบหล่อได้ง่าย • เมื่อคอนกรีตแข็งตัวมีกำลัง (Strength) ตามที่ต้องการ • ปริมาตรคอนกรีตคงที่ ไม่ยืดหรือหดตัวมากเกินไป
ราคา(Cost) • คอนกรีตมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ • พยายามลดต้นทุนในการผลิต