1 / 24

Unit 4

Unit 4. วงจรตรวจจับและสัญญาณเตือนภัย.

tuyen
Download Presentation

Unit 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Unit 4 วงจรตรวจจับและสัญญาณเตือนภัย

  2. งานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น การกลั่นน้ำมัน,การผสมสารเคมี ,การบรรจุก๊าช เป็นต้น ซึ่งงานเหล่านี้มีโอกาสเกิดอันตรายได้ง่าย ดังนั้นเพื่อจะลดอัตราเสียต่อการเกิด จึงนำวงจรตรวจจับและสัญญาณเตือนภัยติดตั้งในโรงงานเหล่านี้ วงจรตรวจจับมีอยู่หลายแบบมากมาย เช่น แสง,เสียง,อุณหภูมิ เป็นต้น โดยนำเซ็นเซอร์แบบต่างๆ มาต่อกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในบทนี้จะกล่าวถึงวงจรตรวจจับ 3 ชนิด คือ แสง,เสียง และอุณหภูมิ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานกับสัญญาณเตือนภัย

  3. 4.1 วงจรตรวจจับแสง คือ วงจรที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และนำไปควบคุมหรือเตือนภัย ซึ่งส่วนประกอบหลัก ๆ แบ่งเป็น เซ็นเซอร์,ส่วนเปรียบเทียบ และส่วนแสดงผล

  4. 4.1.1 เซ็นเซอร์ 1.โพโต้รีซิลเตอร์(LDR) เป็นอุปกรณ์ตรวจจับแสง โดยความต้านทานของตัวแคดเซลล์เปลี่ยนแปลงตามความเข้มแสง เมื่อถูกแสงมากความต้านทานต่ำ เมื่อมืด ความต้านทานจะสูง ซึ่งพฤติกรรมคล้ายกับตัว LDR ดังรูปที่ 1

  5. รูปที่ 1 โพโต้รีซิสเตอร์

  6. 2.โซล่าเซลล์ เป็นอุปกรณ์ตรวจจับแสงเมื่อมีแสง วงจรตรวจจับจะทำงานและไม่มีแสงวงจรจะหยุดทำงานดังรูปที่ 2 รูปที่ 2 โซล่าเซลล์

  7. 4.1.2 ส่วนการเปรียบเทียบ โดยส่วนใหญ่ จะใช้อุปกรณ์ประเภทออปแอมป์ นำมาทำเป็นวงจรเปรียบเทียบสัญญาณที่เซ็นเซอร์ส่งเข้ามา แต่ในบางอาจนำทรานซิสเตอร์มาต่อเป็นส่วนเปรียบเทียบ การทำงานของส่วนเปรียบเทียบ จะมีสัญญาณอ้างอิงที่สร้างขึ้น และนำสัญญาณที่ได้ จากเซ็นเซอร์มาเปรียบเทียบ ผลที่ได้คือ เปิด-ปิด หรือ 1-0 ดังรูปที่ 3.ก และรูป 3.ข

  8. รูปที่ 3.ก วงจรเปรียบเทียบเมื่อใช้ทรานซิสเตอร์

  9. รูปที่ 3.ข วงจรเปรียบเทียบเมื่อใช้ออปแอมป์

  10. 4.1.3 ส่วนแสดงผล ในส่วนนี้ จะนำผลที่ได้จากการเปรียบเทียบมาแสดงผล ซึ่งบางครั้งสัญญาณที่ออกมาจากส่วนเปรียบเทียบมีค่าน้อยมากไม่เพียงพอสำหรับการนำไปใช้งาน จึงต้องใช้อุปกรณ์ เช่น ทรานซิสเตอร์,ออโต้คัปเปิล,รีเลย์ เป็นต้น ในการใช้งานอาจนำไปต่อกับลำโพงเพื่อเตือนภัย หรือนำไปขับโหลด ดังรูปที่ 4.ก และ4.ข

  11. รูปที่ 4.ก ส่วนการแสดงผลโดยผ่านรีเลย์

  12. รูปที่ 4.ข ส่วนการแสดงผลโดยผ่านทรานซิสเตอร์

  13. 4.2 หลักการทำงานของวงจรตรวจจับแสง รูปที่ 5 วงจรตรวจจับแสงโดยใช้ LDR

  14. จากรูปที่ 5 การทำงานเป็นดังนี้คือ ออปแอมป์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ โดยในรูปจะนำมาเปรียบเทียบกับระดับสัญญาณอ้างอิง • - เมื่อไม่มีแสง แคดเซลล์มีกระแสไหลผ่านมากกว่าสัญญาณ • อ้างอิง ทำให้ออปแอมป์ส่งสัญญาณเป็น 1 ทำให้รีเลย์ • ทำงานหลอดไฟสว่าง • เมื่อมีแสง แคดเซลล์มีกระแสไหลผ่านน้อยกว่าสัญญาณ • อ้างอิง ทำให้ออปแอมป์ส่งสัญญาณเป็น 0 ทำให้รีเลย์ไม่ • ทำงานหลอดจึงดับ

  15. 4.3 วงจรตรวจจับเสียง คือ วงจรที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และนำไปควบคุมหรือเตือนภัย งานอุตสาหกรรมบางประเภท จะประยุกต์วงจรตรวจับเสียง ในการตรวจจับวัตถุ เช่น การวัดความหนาวัตถุ, การวัดการเคลื่อนที่วัตถุ, การวัดระดับของเหลว เป็นต้น นิยมใช้ในการตรวจจับผู้บุกรุก ตามบ้านเรือน หรืองานทางด้านหุ่นยนต์ เป็นต้น เสียงที่ใช้ในวงจรนี้ จะมีความถี่, ความยาวคลื่น,และความเร็วต่างกันในแต่ละช่วงดังรูปที่ 6

  16. รูปที่ 6 ไดอะแกรมของคลื่นเสียงในช่วงต่าง ๆ ความถี่ ที่นิยมใช้กันอยู่ในช่วงที่หูมนุษย์ได้ยินคือ 20 – 20 kHz และ อุตตร้าโซนิคความถี่ในช่วง 20 kHz ถึง 1 GHz

  17. 4.4 หลักการทำงานของวงจรตรวจจับเสียง ใช้การส่ง-รับของคลื่นระหว่างวัตถุกับตัวรับสัญญาณ หรือเป็นการตั้งค่าความถี่อ้างอิงไว้เมื่อถึงระดับที่ต้องการ ก็ให้แสดงผล สำหรับการส่ง-รับของคลื่น จะคำนวณจากเวลาที่คลื่นเสียงไปกระทบวัตถุแล้วสะท้อนมายังตัวรับสัญญาณ ดังรูปที่ 7 และ 8

  18. รูปที่ 7 กราฟแสดงรูปคลื่นเสียง

  19. รูปที่ 8 วงจรการทำงานของวงจรตรวจจับเสียง

  20. รูปที่ 9 ตัวอย่างการใช้งาน

  21. 4.5 วงจรตรวจจับอุณหภูมิ ในงานอุตสาหกรรมและตามบ้านเรือน การตรวจจับอุณหภูมิ มีความสำคัญ เช่น การต้มน้ำ,การทำเหล็กเส้น เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรนี้ คือ RTD, เทอร์มิสเตอร์, เทอร์โมคัปเปิล ,ไอซีวัดอุณหภูมิ เป็นต้น ดังรูปที่ 10

  22. รูปที่ 10 เทอร์มิสเตอร์และRTD

  23. รูปที่ 11 การประยุกต์ของวงจรตรวจจับอุณหภูมิ

  24. จากรูปที่ 11 เป็นการประยุกต์ใช้งาน โดยนำตัวเทอร์มิสเตอร์ 2 ตัวมาเปรียบเทียบอุณหภูมิร้อนและเย็น ซึ่งการทำงาน T1 สามารถตั้งค่าอุณหภูมิได้ ส่วน T2 จะเป็นตัวเปรียบเทียบ โดยถ้า T2 ต่ำกว่า T1 ออปแอมป์ จะให้สัญญาณเป็น 1 ทำให้ไปขยายสัญญาณที่ทรานซิสเตอร์ทำให้รีเลย์ทำงานปัมพ์ทำงาน เมื่อ T1 น้อยกว่า T2 ออปแอมป์เปรียบเทียบจะให้ค่า 0 ทำให้รีเลย์หยุดทำงานทำให้ปัมพ์หยุดทำงานไปด้วย

More Related