1 / 36

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ด้านการพัฒนาสังคม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ด้านการพัฒนาสังคม. จิระพันธ์ กัลล ประ วิทย์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. หัวข้อบรรยาย. 1. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ใน 20 ปีข้างหน้า.

Download Presentation

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ด้านการพัฒนาสังคม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ด้านการพัฒนาสังคม จิระพันธ์ กัลลประวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  2. หัวข้อบรรยาย 1. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกใน 20 ปีข้างหน้า 2. การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ ชุมชน และสังคมไทย 3. ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11

  3. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกใน 20 ปีข้างหน้า

  4. 1.ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ1.ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบที่สำคัญจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 1.ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเกิดความผันผวนของปริมาณน้ำ แสงแดด และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่รุนแรงมากขึ้น 2.ผลกระทบต่อนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง การตั้งถิ่นฐานประชากร และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม การเกิดอุทกภัยและวาตภัยที่รุนแรงมากขึ้น ระบบนิเวศชายฝั่งได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิของน้ำทะเล และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เพิ่มความรุนแรงของปัญหาการกัดเซาะชาย และอาจทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ราวร้อยละ 25 3.ผลกระทบจากการกำหนดมาตรการทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น เช่น มาตรการให้สินค้าต้องระบุปริมาณการใช้พลังงานในการผลิต และอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Source: Munasinghe 2007, Making Development More Sustainable: Integrating Climate Change Policies into Sustainable Development Strategy ,IPCC 2001

  5. 2.สังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบที่สำคัญจากการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ 1.ผลผลิตรวมของประเทศและผลิตภาพการผลิต ประชากรในวัยทำงานหรือจำนวนแรงงานลดลง มีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในประเทศ และ 2nd generation of immigrant workers (ลูกหลานแรงงานต่างด้าวในสังคม) 2.การออมและการลงทุน อัตราการออมของผู้มีงานทำจะเพิ่มขึ้นในวัยทำงานแต่จะลดลงในช่วงที่เกษียณอายุแล้ว Thai Population Structure in 2027 3. พฤติกรรมาผู้บริโภคต่อการผลิตสินค้าและบริการ แนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการปรับเปลี่ยนสู่ตลาดกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น

  6. 3.พลังงานและความมั่นคงทางอาหาร3.พลังงานและความมั่นคงทางอาหาร 1. การเพาะปลูกพืชพลังงานทดแทนอาจก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตอาหารที่มีความรุนแรงมากขึ้น เศรษฐกิจไทยมีระดับการพึ่งพิงสินค้าพลังงานที่สูง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการผันผวนของราคาพลังงานในตลาดโลก และยังมีข้อจำกัดในการพัฒนาแหล่งพลังงานและข้อจำกัดด้านอุปทานของพลังงานทดแทน ทำให้กระบวนการปรับตัวด้านพลังงานต้องใช้เวลายาวนาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยและโลก ดังนี้ 2. ผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร แต่ละประเทศในโลกต่างสร้างมาตรการเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ราคาเพิ่มสูงจนอาจถึงจุดวิกฤต ดุลพลังงาน (พันล้านบาท) ที่มา: ธนาคารโลก

  7. 4.เทคโนโลยี แนวโน้มสู่การผสมผสานของเทคโนโลยีหลัก (IT, Bio, Materials, Nano) เกิดเทคโนโลยีสาขาหลักใหม่ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อมวลมนุษย์ 1. ผลกระทบต่อสังคมและวิถีชีวิตของปัจเจกบุคคล:สู่สังคมการสื่อสารไร้สาย มีวิทยาการที่เสริมสร้างสมรรถนะของคน 2. ผลกระทบต่อแผนการผลิตและรูปแบบการบริโภค: เน้นการลงทุนทางปัญญามากกว่าทางกายภาพ และมีนวัตกรรมเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้อย่างมีคุณภาพ 3 ผลกระทบต่อพลวัตของการผลิต การค้าและบริการ เปลี่ยนแปลงสู่ธุรกิจภาคบริการรูปแบบใหม่ๆ 4 ผลต่อการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน: เทคโนโลยีมีบทบาทนำในการแก้ไขปัญหาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างทางเลือกในระยะยาว ที่มา : ปฐมบทสู่การเตรียมตัวเพื่ออนาคตของประเทศไทย, เอกสารประกอบการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 6 (2550)

  8. 5.การเงินโลก ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและการเงินโลก การเปลี่ยนแปลงในบทบาทของตลาดการเงินโลกจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระยะยาว ดังนี้ 3 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ 1. การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสินทรัพย์ทางการเงินโลก 2. การเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเปลี่ยนแปลงในขั้วอำนาจทางการเงิน • เงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น • ผู้กู้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นและรวดเร็ว มีความเสี่ยงต่อนักลงทุน ในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น

  9. 6.การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ6.การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ GDP Growth การรวมตัวกันเป็นกลุ่มประเทศส่งผลให้ภูมิภาคต่างๆ ของโลกมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทำให้เกิดตลาดการค้าใหม่ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย ซึ่งการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในอนาคต จะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคต่างๆ สรุปได้ดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของโลกในอนาคต 2. จีนและอินเดียจะก้าวสู่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกในอนาคต 3. การรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆ

  10. 7.เมือง ชนบท และพื้นที่เศรษฐกิจ ประชากรเมืองของโลก จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 พันล้านคน ในปี 2030ประชากรของทวีปเอเชียมากกว่า 50% จะกระจุกตัวอยู่ตามเมืองหลวง เมืองใหญ่ และเขตพื้นที่เมืองต่างๆ 2030 Rural Population Urban Population ประเทศไทยมีแนวโน้ม เปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นเมืองเร็วขึ้นเช่นเดียวกับกระแสโลก ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำเมือง-ชนบท ซึ่งรัฐต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยงการพัฒนาเมือง-ชนบท ให้เกื้อกูลกันมากขึ้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต ของคนเมือง/ชนบท รัฐต้องเตรียม นโยบาย/มาตรการทางสังคม รองรับ วิกฤตการณ์น้ำมัน ทำให้ Strategic Location ของไทยทวีความสำคัญยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับลงทุนธุรกิจ อุตสาหกรรม และสำนักงานระดับภูมิภาคต้องเตรียม นโยบายชัดเจนรองรับ

  11. การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจชุมชน และสังคมไทย

  12. เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางใหญ่ลำดับที่ 20 จาก 192 ประเทศ ส่งออกรวมเพิ่มจาก 67.9 หมื่นล้าน เป็น 1.1 แสนล้าน ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ย 5% (2543-52) GDP จาก 4.9 เป็น 9.0 ล้านล้านบาท ฐานการผลิตหลากหลาย มูลค่าเกษตรเพิ่มจาก 4.4 แสนล้านเป็น 7 แสนล้าน มูลค่าอุตสาหกรรมจาก 1.6 ล้านล้าน เป็น 2.5 ล้านล้าน นักท่องเที่ยวจาก 9.5 ล้านคน เป็น 11.5 ล้านคน พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบพลังงาน ทุน เทคโนโลยีจากภายนอก (2545-2552) นำเข้าน้ำมันกว่า 80% วัตถุดิบ/สินค้าทุนจาก 36.9% เป็น 46.2% ค่า Royalty/GDPจาก 0.7% เป็น 1% ต้นทุนโลจิส์ติกส์ /GDP สูงถึง 13%

  13. ด้านสังคม • การพัฒนาการศึกษาขยายตัวเชิงปริมาณ (2544-2552) • ปีการศึกษาเฉลี่ยจาก 7.4 ปี เป็น 8.5 ปี • การเรียนรู้ระดับคิดเป็น ทำเป็นจาก 55.3%เป็น 60% หลักประกันสุขภาพทั่วถึงจาก 69%เป็น 97% เจ็บป่วยโดยรวมลดลง แต่มีโรครุนแรงใหม่ๆ มากขึ้น แรงงานนอกระบบ 70% กลุ่มผู้ด้อยโอกาสยังเข้าไม่ถึงระบบประกันสังคม มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและการแพร่ขยายของวัฒนธรรมต่างชาติ คนจนลดลงจาก 12.8 ล้าน (2543) เป็น 5.2 ล้านคน (2552)

  14. ด้านชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม มีผู้นำชุมชนเป็นแกนหลักขับเคลื่อนการพัฒนามีปราชญ์ 1.7 ล้านคน มีชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งกระจายอยู่ทุกพื้นที่ กระบวนการมีส่วนร่วมทำให้ชุมชนร่วมคิด เรียนรู้ และจัดการปัญหาของตนได้ดีขึ้น ดัชนีความเข้มแข็งของชุมชนดีขึ้นจาก 59.5% ปี 2544 เป็น 68.9% ปี 2550 ความอุดมสมบูรณ์ลดลงระบบนิเวศน์เริ่มเสียสมดุล พื้นที่ป่าไม้เพียง 33% (ญี่ปุ่น 68% เวียดนาม 40%) • ป่าชายเลนลดลงจาก 2 ล้านไร่ เหลือ 1.5 ล้านไร่ หญ้าทะเล/ปะการังเสื่อมโทรม 30-50% • ความหลากหลายชีวภาพถูกคุมคามมีรายชื่อสัตว์/พืชใกล้สูญพันธ์ 68 ชนิด • ภาวะขาดแคลนน้ำ น้ำจืดเฉลี่ย/คน 3.4 พันลบ.ม. (เอเชีย3.9 พันลบ.ม.) • ดินเสื่อม/มีปัญหาถึง 60% ขยายตัวปีละเกือบ 1 ล้านไร่ คุณภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ขยะของเสียปีละ 22 ล้านตัน ของเสียอันตรายปีละ 1.8 ล้านตัน

  15. ด้านธรรมาภิบาล การกระจายอำนาจเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มีการถ่ายโอนภารกิจแล้ว 180 ภารกิจ การจัดสรรรายได้ยังล้าช้า ธรรมาภิบาลภาคเอกชนจำกัดอยู่ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ IMD จัดอันดับไทยดีขึ้นจากที่ 36 (2544) เป็น 22 (2551) กลไกการตรวจสอบยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองและร่วมคิด ร่วมวางแผนการพัฒนาเพิ่มขึ้น ภาคราชการปรับบทบาทมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่การรวมศูนย์อำนาจตัดสินใจยังอยู่ที่ส่วนกลาง • IMD จัดอันดับประสิทธิภาพของภาครัฐลดลงจากอันดับที่ 18 ในปี 2546 เป็น อันดับที่ 22 ในปี 2551 • World Bank จัดอันดับภาพลักษณ์การบริหารจัดการที่ดีลดลงจาก 6.74 (2549) เป็น 5.36 (2550)

  16. ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

  17. 6 ความเสี่ยงที่จะกระทบต่อคนและสังคมไทย 1. การบริหารภาครัฐอ่อนแอ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม 2. โครงสร้างเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ลดทอนความสามารถในการแข่งขัน คุณภาพชีวิตด้อยลง 3. โครงสร้างประชากรไม่สมดุลใน 3 มิติ ทั้งอายุ คุณภาพ ความรู้และทักษะ ส่งผลให้ผลิตภาพการผลิตลดลง ภาระพึ่งพิงสูงขึ้น เป็นภาระทางการเงินการคลัง 4. ค่านิยมที่ดีงามของไทยเสื่อมถอย คนขาดความสามัคคี/ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่/การเคารพสิทธิผู้อื่น/การยึดประโยชน์ส่วนรวม 5. ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมีแนวโน้มเสื่อมโทรมมากขึ้น กระทบฐานการผลิตภาคเกษตร/ความมั่นคงด้านอาหาร/พลังงาน/สุขภาวะ/คุณภาพชีวิต 6. ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงและภัยคุกคามต่างๆ กระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

  18. 6 ภูมิคุ้มกัน 1. ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ภาคเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ 3. การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 4.สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม 5. ชุมชนเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ 6.ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีความเป็นเอกราช เป็นมิตรกับนานาประเทศ

  19. ทิศทางของแผนฯ 11.. “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างปัจจัยแวดล้อม ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

  20. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาสังคมไทยสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาสังคมไทย โครงสร้างประชากรไทยมีแนวโน้มประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและแรงงานลดลง เนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทน ทำให้ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2568

  21. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาสังคมไทยสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาสังคมไทย • ลดความเป็นอิสระ • ข้อวิพากษ์กิจการในประเทศ • ความต้องการครอบงำชี้นำ • ประเด็นต่อรองทางการเมือง สังคมเมืองมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากสังคมเครือญาติสู่สังคมปัจเจกมากขึ้น วิถีชีวิตไทยมีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมจากนานาอารยประเทศที่มีความหลากหลายมากขึ้น ผลกระทบต่อครอบครัวไทย ผลกระทบต่อประเทศไทย ผลกระทบต่อชุมชนไทย ผลกระทบต่อไทยในระดับสากล สังคมปัจเจก สังคมเครือญาติ

  22. ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการพัฒนาโครงสร้างสังคมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการพัฒนาโครงสร้างสังคม เปรียบเทียบสัดส่วนรายได้ประชากรกลุ่มคนรวยและคนจนของไทย ปี พ.ศ. 2531-2550 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 1,224 บาท/คน 2,231 บาท/คน 3,449 บาท/คน 15,248 บาท/คน 5,608 บาท/คน ที่มา: ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ

  23. ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการพัฒนาคนปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการพัฒนาคน 1. โครงสร้างประชากรมีความไม่สมดุลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ วัยเด็กมีอัตราการเกิดลดลงและมีพัฒนาการด้านสติปัญญา/อารมณ์/สังคมในระดับต่ำ วัยแรงงานมีจำนวนลดลงและผลิตภาพอยู่ในระดับต่ำ วัยสูงอายุส่วนใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพและความรู้ต่ำ ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ 2. ความเสื่อมถอยทางค่านิยมไทยและสถาบันทางสังคมมีแนวโน้มอ่อนแอลง จากการไหลเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติและกระแสวัฒนธรรมเสมือนจริง ทำให้สังคมไทยมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ลดลง และรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเป็นหลัก นำไปสู่ปัญหาสังคมที่หลากหลาย 3. การจัดบริการทางสังคมมีปัญหาด้านคุณภาพและการกระจายที่ทั่วถึงทุกพื้นที่ มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท ความสามารถของผู้สำเร็จการศึกษาไม่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง ขาดการบริหารจัดการการศึกษาตลอดชีวิตที่เหมาะสม และการให้บริการในแต่ละระบบประกันสุขภาพมีความไม่เท่าเทียมกัน ส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำของการได้รับบริการ

  24. การสร้างภูมิคุ้มกันและเป้าหมายการพัฒนาสังคมการสร้างภูมิคุ้มกันและเป้าหมายการพัฒนาสังคม สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง วิสัยทัศน์ ภูมิคุ้มกัน • ทุกคนในสังคมมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม • กลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน • ประชาชนมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งเป็นพลังร่วมของสังคมไทย • ทุกคนสามารถอยู่ในชุมชนและสังคมที่ยึดโยงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป้าหมายการพัฒนา • สร้างความเป็นธรรมและความมั่นคงทางสังคมให้ทุกคน • สร้างโอกาสให้คนยากจน คนด้อยโอกาสฯลฯ เข้าถึงบริการทางสังคมอย่างเท่าเทียม • ให้ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนร่วมแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งในสังคมไทย • ให้ทุกคนในสังคมไทยสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี • คนไทยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต • คนไทยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต • คนไทยตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย • ความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคมเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา (บวร) และชุมชน • คนไทยทุกกลุ่มวัยมีความเข้มแข็งทางวิชาการและจิตสาธารณะ 5 ด้าน • เสริมสร้างสภาพแวดล้อมครอบครัว ชุมชน สังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน ยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม

  25. แนวทางการพัฒนาสังคมในแผนฯ 11 การสร้างความเป็นธรรมในสังคม 2. การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

  26. แนวทางการสร้างความเป็นธรรมในสังคมแนวทางการสร้างความเป็นธรรมในสังคม การสร้างภูมิคุ้มกัน ๑. ทุกคนในสังคมไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ๒ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ๓ ประชาชนมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งเป็นพลังร่วมของสังคมไทย ๔ ทุกคนสามารถอยู่ในชุมชนและสังคมที่ยึดโยงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

  27. วัตถุประสงค์และเป้าหมายวัตถุประสงค์และเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ๑ สร้างความเป็นธรรมในสังคมไทย และสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน ทรัพยากรการประกอบอาชีพ ยกระดับรายได้ และสร้างความมั่นคงทางสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย ๒. ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายคนยากจน คนด้อยโอกาส แรงงานนอกระบบ/ต่างด้าวชนกลุ่มน้อย ให้เข้าถึงบริการทางสังคมอย่างเท่าเทียมกับกลุ่มอื่นๆ ๓. สนับสนุนให้ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งในสังคมไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ๔. พัฒนาให้ทุกคนในสังคมไทยสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี

  28. เป้าหมายการพัฒนา ๑. ยกระดับดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทยให้เพิ่มขึ้น ๒. ลดช่องว่างรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ ๑๐ แรกกับกลุ่มที่มีรายได้น้อยร้อยละ ๑๐ สุดท้ายลง ๓. ลดสัดส่วนประชาชนกลุ่มยากจนเหลือร้อยละ ๕ ในปี ๒๕๕๙

  29. ๔. แรงงานนอกระบบประกันสังคมเข้าถึงระบบสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น ๕. คนด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงแหล่งทุน ทรัพยากร การประกอบอาชีพ ยกระดับรายได้เพิ่มขึ้น ๖. ลดการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐและดัชนีภาพลักษณ์การทุจริตประพฤติมิชอบ

  30. ตัวชี้วัด ๑. ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทย ๒. สัดส่วนรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ ๑๐ แรกกับกลุ่มที่มีรายได้น้อยร้อยละ ๑๐ สุดท้าย ๓. สัดส่วนประชาชนกลุ่มยากจนต่อประชาชนทั้งหมด ๔. ร้อยละของแรงงานนอกระบบประกันสังคมที่เข้าถึงระบบสวัสดิการสังคมของกำลังแรงงานทั้งหมด ๕. ร้อยละของรายได้ที่เพิ่มขึ้นของคนด้อยโอกาส ๖. ดัชนีภาพลักษณ์การทุจริตประพฤติมิชอบ

  31. แนวทางการพัฒนา ๑. การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทยสามารถจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเอง ๑.๑ สร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจฐานราก ๑.๒ปรับระบบการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมทุกคนอย่างทั่วถึง สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็น ๑.๓ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรม ๑.๔ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิต

  32. ๒. การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิพึงมีพึงได้ เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับปัจเจกและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการพัฒนาประเทศ ๒.๑ สร้างโอกาสอย่างเป็นธรรมให้กลุ่มด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ๒.๒ เสริมสร้างความมั่นคงให้คนยากจนมีความพร้อมรับผลกระทบจากวิกฤตต่างๆ ๒.๓สนับสนุนการสร้างสังคมสวัสดิการ

  33. ๓. การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคมและสร้างการมีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี ๓.๑ เสริมสร้างทางสังคมให้ทุกคนสามารถแสดงออกทางความคิดอย่างอิสระ ๓.๒ เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนให้สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓.๓สนับสนุนการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ในการสร้างค่านิยมใหม่ๆ ในสังคมไทย ๓.๔ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเป็นพลังร่วมในการพัฒนาสังคมไทย

  34. ๓.๕ เสริมสร้างระบบบริหารราชการให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ๓.๕ เสริมสร้างระบบบริหารราชการให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ ๓.๖ ปฏิรูปการเมืองไทยทั้งระบบให้เป็นประชาธิปไตยของมวลชน

  35. ๔. เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้แน่นแฟ้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน๔. เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้แน่นแฟ้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ๔.๑ สร้างค่านิยมใหม่ที่ยอมรับร่วมกันบนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและเกื้อกูลกันในสังคม ๔.๒ ส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองที่มีธรรมภิบาลนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้องและเหมาะสม ๔.๓สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม

  36. แนวทางการพัฒนาคนสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนแนวทางการพัฒนาคนสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ส่งเสริมคนไทยให้มีการเกิดที่มีคุณภาพและกระจายตัวเหมาะสมกับพื้นที่ พัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต เสริมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมไทยทีดี • พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มี IQ EQ MQ • 2) พัฒนาด้านวิชาการแก่เด็กวัยเรียน ทั้งมาตรฐานการศึกษา คุณภาพครู และพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม • 3) จัดให้มีกลไกการขับเคลื่อนและสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา • 4) พัฒนาสมรรถนะกำลังแรงงาน: ภาคเกษตร กำลังคนระดับกลาง กำลังคนด้าน S&T • 5) พัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงด้านรายได้ นำความรู้มาใช้พัฒนาประเทศ • 6) พัฒนาคนให้มีการเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการที่ประกอบอาชีพได้หลากหลาย ควบคู่กับเสริมสร้างทักษะให้มีจิตสาธารณะ 5 ด้าน • 1) สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน • 2) เสริมสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายและสอดคล้องกับภูมิสังคม ควบคู่กับการใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั่วไป • 3) สร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่น และปรับปรุงกฎระเบียบ • 4) จัดระบบความสัมพันธ์ของสวัสดิการทางสังคมให้เชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน ควบคู่กับกระจายอำนาจให้ชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต • ส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพและรักษาระดับอัตราเจริญพันธุ์ให้เหมาะสม • 2) มุ่งพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม ควบคู่กับส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งในการดำเนินการด้านสุขภาพ • 3) ส่งเสริมสนับสนุนการกระจายตัวของประชากรให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และฐานข้อมูลของการย้ายถิ่น • 1) เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี และวัฒนธรรมประชาธิปไตย โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน • 2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันหลักของสังคมมีบทบาทหลักในการหล่อหลอม บ่มเพาะเด็ก/เยาวชน และปลูกจิตสำนึกกลุ่มคนต่างๆ ให้มีวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีงาม • 3) ส่งเสริมองค์กรธุรกิจในการดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อสังคม

More Related