E N D
แนวคิดที่มาปัญหา การทำแบบทดสอบทั่วไปมีการนำกระดาษแบบฝนวงกลม มาใช้งาน และมีการบันทึกเข้าเครื่องอ่านเพื่อทำการออกคะแนน การฝนข้อสอบบางทีอาจบางเกินไปทำให้เครื่องอ่านข้อสอบไม่สามารถอ่านได้ เราจึงนำระบบการทำข้อสอบแบบออนไลน์มาใช้งานในมหาวิทยาลัย ทำให้ง่ายต่อการทำข้อสอบและเราสามารถนำข้อสอบที่มหาวิทยาลัยออกมาทำการวิเคราะห์ความยากง่ายของข้อสอบได้โดยการเก็บในรูปแบบสถิติ เพื่อนำข้อสอบมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มีความยากง่าย และนำมาออกข้อสอบในปีถัดไป
ความเป็นมาและปัญหา • การเก็บข้อมูลแบบเก่ายังคงมีปัญหาด้านการอ่านข้อมูลบนแถบคาร์บอนในกระดาษคำตอบที่นักศึกษาทำการฝน การวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวจึงได้มีออกระบบการออกข้อสอบออนไลน์มาจัดการปัญหาในด้านนี้ทำให้การทำข้อสอบในห้องสอบของนักศึกษามีความเที่ยงตรงและแม่นยำ มีการสลับข้อสอบเพื่อป้องกันการลอกข้อสอบ เพื่อให้ได้นักศึกษาที่จบออกไปมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นเกณฑ์วัดในตัวบุคลากรที่สอน ทำให้ได้บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ในการสอน การทำข้อสอบแต่ละครั้งระบบจะมีการจัดทำสถิติหาความยากง่ายของข้อสอบโดยหาจากเกณฑ์การทำข้อสอบของนักศึกษาในแต่ละครั้ง
วิธีดำเนินการวิจัย • ทำการสร้างโปรแกรมในการสอบ และทดสอบกับนักศึกษาโดยการออกแบบโปรแกรมให้มีการออกข้อสอบแบบสลับข้อ และนำข้อสอบแต่ละข้อมาทำการรวบรวมว่ามีนักศึกษาจำนวนกี่คนที่ทำข้อสอบในแต่ข้อได้ และนำมาทำการคำนวณตามสูตรในการวิเคราะห์ความยากง่ายของข้อสอบโดยการวิเคราะห์ตามงานวิจัยที่นิยมของ Whitney and D. L Sabers
แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง • จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่าวิธีการวิเคราะห์ ระดับความยากง่ายในการออกข้อสอบนั้น นิยมใช้งานวิจัยของ Whitney and D. L Sabers ในการชี้วัดระดับ ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมุ่งสนใจในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Whitney and D. L Sabers เป็นหลัก โดยจะมีวิธีการคิดดังนี้ • ทำการแบ่งกลุ่มนักศึกษาที่เข้าสอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเก่ง (กลุ่มสูง) และกลุ่มอ่อน (กลุ่มต่ำ) โดยใช้ เทคนิค25% ของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ
สูตรหาดัชนีความยาก และค่าอำนาจการจำแนก ความหมายอักษรย่อของดัชนี
รูปแบบโปรแกรมการทำข้อสอบแบบออนไลน์รูปแบบโปรแกรมการทำข้อสอบแบบออนไลน์ • นักศึกษาทำการกรอกรหัสนักศึกษาเพื่อเขาสู่ระบบ E-Testing ทำการทำข้อสอบโดยมีการจัดลำดับข้อสอบแบบสลับเพื่อเป็นมาตรฐานในการชี้วัด
กระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินการ (ต่อ) • ข้อสอบทุกข้อจะถูกเก็บลงฐานข้อมูลโดยมีรหัสนักศึกษาเป็นคีย์ในการจัดเก็บ • ทำการออกเกรดตามเกณฑ์ที่นักศึกษาแต่ละคนทำได้ • นำเกณฑ์ของข้อสอบแต่ละข้อมาจัดทำสถิติว่านักศึกษาตอบโจทย์ได้กี่ข้อ • นำมาผ่านสูตรทดสอบความยากง่ายของ Whitney and D. L Sabers • นำข้อสอบมาทำการออกใหม่โดยเพิ่มความยากง่ายเข้าไป
กระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินการ
มีการทำข้อสอบแบบเป็นโครงข่ายที่ห่างไกล มีการนำบัตรนักศึกษามาเสียบในการทำข้อสอบเพื่อระบุตัวนักศึกษา โครงข่ายการทำข้อสอบแบบ Social Network
ประวัติความเป็นมาเว็บประวัติความเป็นมาเว็บ เว็บ 1.0 เป็นเว็บ Content สำหรับอ่านอย่างเดียว เว็บ 2.0 เป็นเว็บแบบสามารถโต้ตอบกับ user ได้
Web 2.0 คืออะไร • Web 2.0 เป็นคำเรียกย่อๆ ของกระแสเปลี่ยนผ่านจากรูปแบบการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบเดิมๆ ใน ยุคที่ 1 ซึ่งหมายถึงการที่ฝ่ายผู้ผลิตคอนเทนต์ (เว็บไซต์) กับ ฝ่ายคนที่เข้ามาค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ แยกขาดออกจากกันแต่เมื่อเราเข้าสู่การใช้งาน อินเตอร์เน็ตยุคที่ 2 หรือ Web 2.0 นั่นหมายความว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทุกคน ไม่ว่าจะฝ่ายใดก็ตาม ต่างเข้ามาร่วมกันทำหน้าที่แบ่งปัน-แลกเปลี่ยน-เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารถึงกันและกันถ้าจะอธิบายความหมายของ Web 2.0 ให้มองเห็นภาพ ก็คือ กระแสความนิยมของ บล็อกส่วนบุคคล ที่เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ และสร้างเครือข่ายโยงใยกันไปทั่วโลกในหมู่คนที่สนใจในเรื่องใกล้ๆ กัน จนกลายเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดยักษ์ หรือเว็บไซต์มาแรงอย่าง wikipedia.org สารานุกรมออนไลน์ที่เปิดเสรีให้คนทั่วโลกเข้าไปช่วยกันปรับปรุงข้อมูล
Web 2.0 คืออะไร (ต่อ) • นอกจากนั้นเว็บไซต์ประเภทแชร์และจัดหมวดหมู่รูปภาพอย่าง flickr.com รวมถึงเทคโนโลยีกระจายเสียงออนไลน์พ็อดคาสต์ ก็เป็นหนึ่งในปรากฎการณ์Web 2.0 เช่นกันที่ประชุม www2006 เชื่อว่าสิ่งสำคัญที่จะเกิดขึ้นในยุค Web 2.0 คือ ความรุ่งเรืองของวิทยาศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ (e-science) ซึ่งหมายความว่า งานวิจัยในอนาคตจะสำเร็จลุล่วง ได้ผลลัพธ์ดีและเร็วกว่าในปัจจุบัน เพราะนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกสามารถเข้ามาทำงานวิจัยร่วมกันผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลสาธารณะที่เผยแพร่อยู่ในอินเตอร์เน็ต
ผลจากการวิจัย • จากการวิจัยพบว่าการใช้สูตรของ Whitney and D. L Sabers พบว่าเกิดเป็นกลุ่มของคะแนนสองแบบคือ • กลุ่มเก่ง และกลุ่มอ่อน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกลุ่มมากเกินไปเราจึงได้วิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวโดยการวิจัยแบบกลุ่มเพื่อลดช่องว่างที่ห่างกันเกินไปโดยจัดให้มีการหาค่าชี้วัดแบบกลางขึ้นมาโดยการกำหนดตัวแปรเพิ่มมาคำนวณดังนี้ • ตัวแปร Smแทนผลรวมของคะแนนกลุ่มกลาง • Xmedแทนคะแนนระดับกลางที่นักศึกษาได้ • ในการใช้งานตัวแปรเสริม 2 ตัวนี้ เราสามารถทำการหาความยากง่ายเพื่อทำการออกข้อสอบที่เป็นมาตรฐานระดับกลางเพื่อทำให้ไม่เกิดช่องว่างระหว่างคนเก่งและคนไม่เก่ง
แนวโน้มในอนาคต • จัดให้มีการทำ Wiki แนวข้อสอบโดยให้เหล่าคณาจารย์ในแต่ละภาคของประเทศได้เข้ามาทำการร่วมวิเคราะห์ข้อสอบโดยให้เป็นมาตรฐานกลางในการสอบและเป็นมาตรฐานในสอนของเหล่าคณาจารย์เพื่อผลิตนักเรียน นักศึกษาที่มีคุณภาพต่อไป • จัดทำระบบ Web service (web2.0) ที่ช่วยวิเคราะห์ประสิทธิภาพของข้อสอบอัตนัย โดยหน่วยงานอื่นสามารถเรียกใช้งานได้
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง • การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย เชาวรัตน์ เตมียกุล สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ • การวิเคราะห์ข้อสอบ เมธา โยธาฤทธิ์ • การพัฒนาโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย สุรัตนา สังข์หนุน ชนศักดิ์ บ่ายเที่ยง และสุพร รัตนพันธ์