400 likes | 781 Views
การลำเลียงสารในร่างกาย. การลำเลียงสาร หมายถึง การนำสารอาหารที่ย่อยแล้ว ออกซิเจน เอนไซม์ ฮอร์โมน แร่ธาตุต่างๆ ฯลฯ ไปยังเซลล์และกำจัดของเสียต่างๆ ออกจากเซลล์รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติด้วย. สัตว์ชั้นต่ำ
E N D
การลำเลียงสารในร่างกายการลำเลียงสารในร่างกาย การลำเลียงสาร หมายถึง การนำสารอาหารที่ย่อยแล้ว ออกซิเจน เอนไซม์ ฮอร์โมน แร่ธาตุต่างๆ ฯลฯ ไปยังเซลล์และกำจัดของเสียต่างๆ ออกจากเซลล์รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติด้วย
สัตว์ชั้นต่ำ ขนาดเล็กมีการแลกเปลี่ยนสาร โดยตรงระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมโดยการแพร่และการไหลเวียนของไซโทพลาสซึม (cyclosis) ช่วยให้การแลกเปลี่ยนสารดีขึ้น เช่น ไฮดรา พลานาเรีย อาศัยการแพร่ของสารอาหารผ่านไปยังเซลล์ถัดไป
สัตว์ชั้นสูง มีระบบหมุนเวียนเลือดช่วยในการลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆของร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ1) ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ( Opencirculatorysystem) เป็นระบบที่เลือดไหลออกจากหัวใจแล้วมีทั้งอยู่ในเส้นเลือด ช่องว่างในลำตัวและที่ว่างระหว่างอวัยวะต่างๆ พบในสัตว์ไฟลัมอาร์โทรโพดา เช่น เเมลง กุ้ง กั้ง ปู ไรน้ำ(ไรเเดง) เพรียงหิน เเมงมุม เเมงป่อง เห็บ ไร เเมงดาทะเล ตะขาบ กิ้งกือ ฯลฯ และไฟลัมมอลลัสกา เช่น พวกหอย เป๋าฮื้อ หมึก ลิ่นทะเล ทาก หอยทาก 2) ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด ( Closed circulatory system ) เป็นระบบที่เลือดไหลอยู่ในเส้นเลือดโดยตลอด พบในสัตว์ไฟลัมแอนเนลิดา(ไส้เดือนดิน เเม่เพรียง ( ไส้เดือนทะเล ) ปลิงน้ำจืด ) คอร์ดาตา(เพรียงหัวหอม เพรียงลอย เพรียงสาย เเอมฟิออกซัส ) และสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด
การลำเลียงสารในไส้เดือนดินการลำเลียงสารในไส้เดือนดิน - มีหัวใจเทียม ( Pseudoheart ) บริเวณปล้องที่7-11 บีบตัวส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย- เซลล์เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียสแต่ไม่มีสี น้ำเลือดมีสีแดง เพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่
การลำเลียงสารในพวกมอลลัสค์การลำเลียงสารในพวกมอลลัสค์ - หอย มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด โดยหัวใจส่งเลือดไปตามหลอดเลือดและแทรกซึมไปตามช่องรับเลือดสังผัสกับเนื้อเยื่อ โดยตรง- หมึก มีระบบหมุนเลียนเลือดแบบปิด เลือดมีฮีโมไซยานิน หัวใจมี 2 แบบคือ systemic heart รับเลือดจากเหงือกส่งไปส่วนต่างๆของร่างกายและ branchial heart ส่งเลือดไปแลกเปลี่ยนแก๊สที่เหงือก
การลำเลียงสารในแมลง - มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด โดยเลือดจะไหลเวียนจาก หลอดเลือดเข้าสู่ช่องว่างของเนื้อเยื่อ( Haemocoel ) - หัวใจของแมลงเกิดจากการพองตัวของหลอดเลือดในแต่ละปล้องเกิดเป็นห้อง ประมาณ 9 ห้อง มีอัตราการเต้นประมาณ 14-160 ครั้ง/นาที- เลือดแมลงประกอบด้วย น้ำเลือด(plasma) และเม็ดเลือด(Hemocyte) ไม่มีรงควัตถุในเลือดสำหรับลำเลียงก๊าซเพราะมีระบบท่อลมลำเลียงก๊าซได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การลำเลียงสารในสัตว์มีกระดูกสันหลังการลำเลียงสารในสัตว์มีกระดูกสันหลัง • สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้อง ( atrium 2 และ ventricle 1 ) มีหน้าที่ต่างกันดังนี้ - ห้องบนขวารับเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มาจากส่วนต่างๆของ ร่างกาย - ห้องบนซ้าย รับเลือดที่มีออกซิเจนมาจากปอด - ห้องล่าง ส่งเลือดที่มีออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จากห้องบนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย • สัตว์เลื้อยคลาน มีหัวใจ 3 ห้อง ( atrium 2 และ ventricle 1 ) ห้องล่างมีผนังกั้นแต่ไม่ตลอด ยกเว้น จระเข้มีผนังกั้นโดยสมบูรณ์จึงถือว่าหัวใจมี 4 ห้อง • สัตว์ปีก หัวใจมี 4 ห้อง ( atrium 2 และ ventricle 2 ) และมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัว เลือดที่มีออกซิเจนมากและมีออกซิเจนน้อยแยกจากกันโดยสมบูรณ์
การลำเลียงสารในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมการลำเลียงสารในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม - สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีหัวใจ 4 ห้อง การหมุนเวียนเลือดไหลผ่านหัวใจ 2 ครั้ง/รอบ โดยเลือดที่มีออกซิเจนมาก ไหลผ่านหัวใจซีกซ้ายและเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มากไหลผ่านหัวใจซีกขวา โดยไม่ปะปนกัน- หัวใจของมนุษย์มีลักษณะดังนี้ มีเยื่อหุ้ม ( Pericardium ) ระหว่างเยื่อหุ้มชั้นนอกกับชั้นในมีของเหลวใส (Pericardial fluuid) ช่วยหล่อลื่นและลดแรงเสียดทานมีเส้นเลือดโคโรนารีอาร์เตอรี ( Coronary artery ) นำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
หัวใจ มี4 ห้อง ห้องบน (atrium) 2 ห้อง ห้องล่าง (ventricle) 2 ห้อง ภายในมีลิ้นหัวใจ ( valve ) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ดังนี้ 1) ลิ้นไบคัสพิด ( Bicuspid valve ) กั้นห้องบนซ้ายกับห้องล่างซ้าย 2) ลิ้นไตรคัสพิด ( Tricuspid valve ) กั้นห้องบนขวากับล่างขวา 3) ลิ้นเออร์ติกเซมิลูนาร์ ( Aortic semilunar valve ) อยู่ตรงบริเวณโคนเส้นเลือดแดงใหญ่ 4) ลิ้นพัลโมนารี ( Pulmonary semilunar valve ) อยู่ตรงบริเวณโคนเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี ซึ่งนำเลือดไปแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ข้อควรจำหัวใจห้องล่างซ้ายมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีผนังหนาที่สุดเนื่องจากต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ความดันเลือด ( Blood pressure ) เกิดจาการบีบตัวของหัวใจทำให้เกิดแรงดันในเส้นเลือด 2 ค่าคือ1) ความดันซิสโทลิก ( Systolic pressure ) หมายถึง ความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว มีค่าประมาณ 120 มิลลิเมตรปรอท2) ความดันไดแอสโทลิก ( Diaastoric pressure ) หมายถึงความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว มีค่าประมาณ 80 มิลลิเมตรปรอท- ความดันเลือดคนปกติ มีค่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ อารมณ์ น้ำหนักตัว อาหาร และโรคบางอย่าง • ข้อควรจำ1. การวัดความดันจะวัดจากเส้นเลือดอาร์เทอรีที่อยู่ใกล้หัวใจ โดยทั่วไปนิยมวัดจากเส้นเลือดอาร์เทอรีที่ต้นแขน โดยใช้เครื่องมือสฟิกโมนาโมมิเตอร์ (SPHYGMONANOMETER )2. ในผู้ใหญ่ปกติจะมีค่าความดันเลือด 120/80 มิลลิเมตรปรอท
ชีพจร ( Heart rate ) เกิดจากแรงดันเลือดทำให้เส้นอาร์เตอรีหดและขยายตัวสลับกันตามจังหวะการเต้นของหัวใจ คนปกติมีอัตราการเต้นของชีพจรประมาณ 72 ครั้ง/นาที • เส้นเลือด ( Blood vessel ) แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ1) เส้นอาร์เตอรี ( Artery ) หมายถึง เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ โดยมากเป็นเลือดที่มีออกซิเจนมากจึงเรียกกันว่า เส้นเลือดแดง ยกเว้น pulmonary artery ซึ่งนำเลือดจากหัวใจไปปอดมีออกซิเจนน้อย เส้นอาร์เตอรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เอออร์ตา (Aorta)2) เส้นเวน ( Vein ) หมายถึงเส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ ส่วนใหญ่เป็นเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจึงเรียกกันว่า เส้นเลือดดำ ยกเว้น pulmonary vein ซึ่งนำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจมีออกซิเจนมาก เส้นเวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ เวนาคาวา (vena cava) 3) เส้นเลือดฝอย ( Capillary ) มายถึง เส้นเลือดขนาดเล็กที่แทรกในเนื้อเยื่อมีผนังบางมากทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์ทั่วร่างกาย ข้อควรจำ • เส้นเลือด PULMONARY ARTERY นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำเข้าไปฟอกที่ปอด • เส้นเลือด PULMONARY VEIN นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงที่ฟอกแล้วจากปอดกลับเข้าสู่หัวใจ
ตารางเปรียบเทียบลักษณะเส้นเลือดชนิดต่างๆ ของมนุษย์
เลือดของมนุษย์มีประมาณ 7-8 % ของน้ำหนักตัว มีส่วนประกอบดังนี้ 1. น้ำเลือด ( Plasma ) เป็นของเหลวสีเหลืองอ่อนค่อนข้างใส มีประมาณ 55% ของเลือดทั้งหมด ประกอบด้วย - น้ำ 90-93% - โปรตีน 7-10% ได้แก่ อัลบูมิน ( Albumin ) โกลบูมิน ( Globumin ) ไฟบริโนเจน (Fibrinogen) - ฮอร์โมน,เอนไซม์,แอนติบอดี - สารอาหารที่ย่อยแล้ว เช่น กลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน - แร่ธาตุและวิตามินต่างๆ - ของเสียที่ต้องการกำจัดออก เช่น ยูเรีย คาร์บอนไดออกไซด์ - ถ้านำเลือดที่แข็งตัวแล้วมาปั่นแยกเอาเซลล์เม็ดเลือด เพลตเลตและไฟบรินออก จะเหลือของเหลวใส เรียกว่า ซีรัม ( serum )
2. เม็ดเลือด ( Blood corpuscle ) มีประมาณ 45% ของเลือดทั้งหมด ประกอบด้วย เซลล์เม็ดเลือดแดง ( Red blood cell ) - รูปร่างกลมแบน ตรงกลางบุ๋มเพราะไม่มีนิวเคลียส - ในระยะเอมบริโอสร้างจาก ตับ ม้าม ไขกระดูก เมื่อคลอดแล้วสร้างจากไขกระดูก มีอายุเฉลี่ย 100 - 120 วัน แหล่งทำลายคือ ตับและม้าม - เพศชายมีเม็ดเลือดแดง 5 ล้านเซลล์ต่อ1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ส่วนเพศหญิงมีเม็ดเลือดแดง 4.5 - 5 ล้านเซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร - คนที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ จะเป็นโรคโลหิตจาง ( Anemia ) แต่หากมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติอาจเกิดโรค Polycythema ทำให้เลือดข้นและอุดตันได้ - เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง ประกอบด้วย ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งมีเหล็กอยู่ 4 อะตอมต่อ 1 โมเลกุล ดังนั้นฮีโมโกลบินจึงรวมกับออกซิเจนได้ครั้งละ 4 โมเลกุล กลายเป็นออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) ลำเลียงไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย
เซลล์เม็ดเลือดขาว ( White blood cell )- รูปร่างกลม ขนาดใหญ่ประมาณ 6-15 ไมโครเมตร เคลื่อนที่แบบอะมีบานิวเคลียส มีรูปร่างต่างกันหลายแบบ - สร้างจากไขกระดูกและต่อมน้ำเหลือง มีอายุประมาณ 2-3 วัน - มีปริมาณน้อย คือ 5000 - 10000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) เม็ดเลือดขาวที่มีแกรนูล ( Granule leucocyte ) นิวเคลียสมีหลายพู ( lobe ) พบประมาณ 70% ของเม็ดเลือดขาว ได้แก่ - นิวโทรฟิล ( Neutrophil ) มีปริมาณมากที่สุด สร้างจากไขกระดูก นิวเคลียสมี 3 - 5 พู หน้าที่กินสิ่งแปลกปลอม โดยวิธี phagocytosis - อีโอซิโนฟิล ( Eosinophil ) พบในเนื้อเยื่อมากกว่ากระแสเลือด นิวเคลียสมี 2 พู หน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม โดยการจับกินและทำลายสารพิษ - เบโซฟิล ( Basophil ) พบน้อยที่สุด นิวเคลียสมี 2 พูขึ้นไป จับกินสิ่งแปลกปลอมและสร้างเฮพาริน ( heparin ) ไม่ให้เลือดแข็งตัว รวมทั้งสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดอาการแพ้
2) เม็ดเลือดขาวที่ไม่มีแกรนูล ( Nongranule leucocyte ) ได้แก่- โมโนไซต์ ( Monocyte ) มีขนาดใหญ่ที่สุด นิวเคลียสใหญ่เกือบเต็มเซลล์มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมโดยวิธี Phagocytosis- ลิมโฟไซต์ ( Lymphocyte ) มีความสำคัญในการสร้างแอนติบอดี (antibody) ตอบสนองสิ่งแปลกปลอมอย่างจำเพาะ 3. เพลตเลต ( Platelet ) - เป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาสซึมของเซลล์ในไขกระดูก อาจเรียกว่า เกล็ดเลือด แผ่นเลือด หรือเศษเม็ดเลือด - รูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเล็ก 1 - 2 ไมโครเมตร มีอายุเพียง 10 วัน - มีประมาณ 250,000 - 500,000 ชิ้นต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร มีหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด โดยทำงานร่วมกับแคลเซียมและวิตามิน K - ภายในเลือดมีเฮพาริน ( Heparin ) สร้างจากเม็ดเลือดขาวยับยั้งการเกิดทรอมบิน ทำให้เลือดในเส้นเลือดไม่แข็งตัว ข้อควรจำการแข็งตัวของเลือด ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของปัจจัยหลายประการ ได้แก่ เกล็ดเลือด โปรตีน FIBRINOGEN วิตามิน K และแคลเซียม
หมายเหตุ + : เม็ดเลือดแดงตกตะกอน - : ปกติ • มนุษย์มีหมู่เลือดต่างกันหลายระบบขึ้นอยู่กับแอนติเจน( Antigen ) ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงและแอนติบอดี (Antibody) ในน้ำเลือด • ระบบ ABO- หมู่เลือดระบบนี้มี แอนติเจน (Antigen) 2 ชนิด คือ A และ B มีแอนติบอด ี2 ชนิด คือ A และ B ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้โดยยีนประเภท มัลติเปิลแอลลีน (Multiple allele ) แบ่งออกเป็น 4 หมู่ มีลักษณะดังนี้
การให้เลือดควรจะให้อยู่ในหมู่เลือดเดียวกันทั้งผู้ให้และผู้รับหรือเลือดของผู้ให้ต้องไม่มีแอนติเจนตรงกับ แอนติบอดีของผู้รับ เพราะเลือดจะตกตะกอนจนอาจเสียชีวิตได้ จะเห็นว่าหมู่เลือด AB รับเลือดได้ทุกหมู่ ( universal recipient ) ส่วนหมู่เลือด O ให้เลือดได้ทุกหมู่- ผู้บริจาคเลือดต้องมีอายุ 17 ปีขึ้น ไปแพทย์จะดูดเลือดจากเส้นเวนบริเวณท้องแขนแล้วเก็บไว้ในธนาคารเลือด ที่ 4 องศาเซลเซียส
การถ่ายทอดหมู่โลหิตระบบ ABO ของพ่อ แม่ ลูก ที่เป็นไปได้ จะเห็นได้ว่าหมู่โลหิตของลูกไม่จำเป็นต้องเหมือนหมู่โลหิตของพ่อ และแม่เสมอไปแต่เนื่องจากหมู่โลหิตมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมการตรวจสอบหมู่โลหิตจึงมีประโยชน์ในการตรวจสอบความเป็นพ่อแม่ลูก
ระบบ Rh- หมู่เลือดระบบนี้มีแอนติเจนชนิดเดียว คือ แอนติเจน Rh ไม่มีแอนติบอดี ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ยกเว้นที่ได้รับการกระตุ้น-คนที่มีแอนติเจน Rh มีเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ถือว่ามีหมู่เลือด Rh+ ส่วนคนที่ไม่มีแอนติเจน Rh ถือว่ามีหมู่เลือด Rh-- หากคนที่มีหมู่เลือด Rh ได้รับเลือดหมู่Rh+ พบว่าแอนติเจน Rh จะกระตุ้นให้คนที่มีหมู่เลือด Rh สร้างแอนติบอดี Rh ขึ้นมาได้ ดังนั้นการให้เลือดในครั้งต่อๆ ไป อาจเกิดปัญหาเลือดตกตะกอนจนถึงแก่ชีวิตได้- คนไทยไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับหมู่เลือดระบบ Rh เพราะมีหมู่เลือด Rh+ มากกว่า 90% ผู้ที่มีหมู่เลือด Rh น้อยมากประมาณ 1 ใน 500 คนเท่านั้น
- หากแม่มีหมู่เลือด Rh- และลูกในครรภ์มีหมู่เลือด Rh+ อาจมีโอกาสที่เลือดของลูกไปกระตุ้นให้แม่สร้างแอนติบอดี Rh ดังนั้นลูกคนต่อไปที่มีหมู่เลือด Rh+ อาจได้รับอันตรายจากแอนติบอดีของแม่ที่สร้างขึ้นจนเสียชีวิตได้ เรียกว่า erythroblastosis fetalis- หากแม่มีหมู่เลือด Rh+ และลูกในครรภ์มีหมู่เลือด Rh จะไม่เกิดอันตราย เพราะทารกในครรภ์จะไม่สร้างแอนติบอดี Rh จนกว่าจะคลอดมาแล้วระยะหนึ่ง ข้อควรจำ- ERYTHROBLASTOSIS FETALIS เป็นอาการของเด็กทารกที่เกิดจากคู่สมรสที่มีสามีมีเลือด Rh+ ภรรยามีเลือด Rh- เลือดของลูกคนแรกอาจกระตุ้นให้แม่สร้างแอนติบอดี Rh ขึ้นเมื่อมีครรภ์ครั้งต่อมา และทารกมีเลือด Rh+ อีกจะเกิดอันตรายขึ้นได้ เนื่องจากปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีในเลือดแม่กับแอนติเจน Rh ในเลือด ลูก ทารกอาจมีอาการตัวเหลืองหรือเสียชีวิตได้
ระบบน้ำเหลือง ( Lymphatic system ) ประกอบด้วย - น้ำเหลือง ( Lymph ) เป็นของเหลวที่ซึมผ่านเส้นเลือดฝอยออกมาหล่อเลี้ยงอยู่รอบๆเซลล์ ประกอบด้วย กลูโคส อัลบูมิน ฮอร์โมน เอนไซม์ ก๊าซ เซลล์เม็ดเลือดขาว ( แต่ไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงและเพลตเลต )- ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) มีหน้าที่ลำเลียงน้ำเหลืองทั่วร่างกายเข้าสู่เส้นเวนใหญ่ใกล้หัวใจ(Subclavian vein) ปนกับเลือดที่มีออกซิเจนน้อย ท่อน้ำเหลืองมีลิ้นกั้นคล้ายเส้นเวนและมีอัตราการไหลช้ามากประมาณ 1.5 มิลลิเมตรต่อนาที - อวัยวะน้ำเหลือง ( Lymphatic organ ) 1) ต่อมน้ำเหลือง ( Lymph node ) - พบทั่วร่างกาย ภายในมีลิมโฟไซต์อยู่เป็นกระจุก - ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ มี 5 ต่อม เรียกว่า ทอนซิล (Tonsil) มีหน้าที่ ป้องกันจุลินทรีย์ที่ผ่านมาในอากาศไม่ให้เข้าสู่หลอดอาหารและกล่อง เสียงจนอาจเกิดอักเสบขึ้นมาได้
2) ม้าม ( Spleen ) - เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด - มีหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด ( เฉพาะในระยะเอมบริโอ ) ป้องกันสิ่ง แปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด สร้างแอนติบอดี ทำลายเซลล์ เม็ดเลือดแดงและเพลตเลตที่หมดอายุ 3) ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) - เป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่เป็นต่อมไร้ท่อ - สร้างลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ที เพื่อต่อต้านเชื้อโรคและอวัยวะปลูก ถ่ายจากผู้อื่น • ข้อควรจำการไหลของน้ำเหลืองในท่อเหลือง เกิดขึ้นจากการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ท่อน้ำเหลืองนั้น
ระบบภูมิคุ้มกัน • ภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ ได้แก่1) ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ( Innate immunity ) เป็นการป้องกันและกำจัดแอนติเจนที่เกิดขึ้นเองในร่างกาย ก่อนที่ร่างกายจะได้รับแอนติเจน มีหลายรูปแบบ เช่น- เหงื่อ มีกรดแลกติกป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง- หลอดลม โพรงจมูก มีขน ซิเลีย และน้ำเมือกดักจับสิ่งแปลกปลอม- กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กมีเอนไซม์- น้ำลาย น้ำตา น้ำมูก มีไลโซไซม์ ทำลายจุลินทรีย์ได้2) ภูมิคุ้มกันจำเพาะ ( Acquird immunity ) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเคยได้รับแอนติเจนแล้ว
การสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเฉพาะโรคของมนุษย์มี 2 วิธี • ภูมิคุ้มกันก่อเอง ( Active immunization ) - เกิดจากการนำเชื้อโรคที่อ่อนกำลัง ซึ่งเรียกว่า วัคซีน (vaccine) มาฉีด กิน ทา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อต้านเชื้อนั้นๆ- วัคซีนที่เป็นสารพิษและหมดความเป็นพิษแล้ว เรียกว่า ทอกซอยด์ (toxoid) สามารถกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันได้ เช่น วัคซีนคุ้มกันโรคคอตีบ บาดทะยัก- วัคซีนที่ได้จากจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว เช่น โรคไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค- วัคซีนที่ได้จากจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น วัณโรค หัด โปลิโอ คางทูม หัดเยอรมัน- ภูมิคุ้มกันก่อเอง อยู่ได้นาน แต่การตอบสนองค่อนข้างช้า ประมาณ 4 - 7 วัน • ภูมิคุ้มกันรับมา ( Passive immunization )- เป็นการนำซีรัมที่มีแอนติบอดีอยู่มาฉีดให้ผู้ป่วย ทำให้ได้รับภูมิคุ้มกันโดยตรงต่อต้านโรคได้ทันที- ใช้รักษาโรครุนแรงเฉียบพลัน เช่น คอตีบ พิษงู- ซีรัม ผลิตจากการฉีดเชื้อโรคที่อ่อนกำลังเข้าในสัตว์ แล้วนำซีรัมของสัตว์ที่มีแอนติบอดีรักษาโรคในมนุษย์- ภูมิคุ้มกันที่แม่ให้ลูกผ่านทางรกและน้ำนมหลังคลอด- ภูมิคุ้มกันรับมารักษาโรคได้ทันที แต่อยู่ได้ไม่นานและผู้ป่วยอาจแพ้ซีรัมสัตว์ก็ได้
ข้อควรจำวัคซีน ( VACCINE ) ทำมาจากเชื้อโรคที่ทำให้อ่อนกำลัง เช่น ไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค วัณโรค โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ทอกซอยด์ ( TOXOID ) ทำมาจากสารพิษที่หมดสภาพความเป็นพิษ เช่น คอตีบ บาดทะยัก ข้อควรจำปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับถูมิคุ้มกัน1. พัธุกรรม2.โภชนาการ เช่น ถ้าขาดวิตามิน A และ C จะลดการทำงานของ ฟาโกไซต์และ T-CELL3. ยาบางชนิด เช่น ยาพวก คอร์ติโคสเตอรอยต์ จะห้ามการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่าง ไม่เฉพาะเจาะจง
โรคเอดส์ ( AIDS หรือ Immune Deficiency Syndrome ) - เกิดจากไวรัส HIV ( Human Immunodeficiency Virus ) เข้าไปเจริญและทำลายเซลล์ที ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องและติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย - ไวรัส HIV จะแพร่กระจายเข้าสู่ ไขกระดูก สมอง ปอด ไต และดวงตา รวมทั้งสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น เลือด น้ำนม อสุจิ น้ำลาย น้ำตา เป็นต้น • การสร้างภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง ( Autoimmune diseases ) เป็นภาวะผิดปกติของร่างกายที่สร้างแอนติบอดีออกมาต่อต้านเนื้อเยื่อตนเอง ตัวอย่างเช่น โรคเอสแอลอี ( SLE หรือ Systemic Lupus Erythematosus ) จากการศึกษาพบว่าโรคนี้มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม อายุ ฮอร์โมนเพศหญิง
โรคภูมิแพ้ ( Allergy ) เป็นอาการที่เกิดจากร่างกายตอบสนองต่อแอนติเจนบางอย่างผิดปกติ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายหรือเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของร่างกายก็ได้ โรคภูมิแพ้ที่พบมากได้แก่ การแพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง อาหารทะเล สารเคมี แมลง ฯลฯ
อ้างอิง • http://www.geocities.com/nooksungzero/content.html • http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2547/chonburi/bio/members.thai.net/m6141/Lesson15.htm