1 / 117

การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์

การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์. โดย นายประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ๗ ว สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการงบประมาณ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี. ง บประมาณแผ่นดิน.

Download Presentation

การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดย นายประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ๗ ว สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการงบประมาณ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี

  2. งบประมาณแผ่นดิน แผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อใช้จ่ายดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยแสดงแหล่งที่มาของรายรับที่จะนำมาใช้จ่ายตามแผน ที่กำหนดไว้ด้วย งบประมาณรายจ่าย จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย

  3. กระบวนการงบประมาณ 1. การจัดทำงบประมาณ 2. การอนุมัติงบประมาณ 4. การติดตามประเมินผล 3. การบริหารงบประมาณ

  4. การจัดเตรียม / การจัดทำงบประมาณ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย

  5. การอนุมัติงบประมาณ • วาระที่ 1 (ขั้นรับหลักการ) • วาระที่ 2 (ขั้นกรรมาธิการพิจารณา) • วาระที่ 3 (ขั้นรับร่างพระราชบัญญัติ) รวมเวลาที่สภาผู้แทนราษฎร ภายใน ๑๐๕ วัน และวุฒิสมาชิกใช้เวลาอีก ๒๐ วัน

  6. การบริหารงบประมาณ • โดยสำนักงบประมาณ • โดยกรมบัญชีกลาง • โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติ

  7. การติดตามประเมินผล • โดยส่วนราชการ • โดยสำนักประเมินผล • โดยสำนักตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติ

  8. ข้อจำกัดของระบบงบประมาณที่ใช้อยู่ปัจจุบัน1.กระบวนการงบประมาณที่ใช้ในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการควบคุม Input2.การวางแผนงบประมาณไม่สมบูรณ์ เนื่องจาก - ขาดความเชื่อมโยงในการวางแผน - ขาดกรอบวงเงินที่แสดงถึงค่าใช้จ่ายในอนาคต - ขาดความครบถ้วนและครอบคลุมของงบประมาณที่แสดงถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้นของรัฐบาล3.การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงานไม่เอื้อต่อการตรวจสอบ และการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เนื่องจาก - ขาดความเป็นมาตรฐานสากล - ขาดการแสดงข้อมูลเพื่อการจัดสรรภายในเวลาอันควร

  9. ข้อจำกัดของระบบงบประมาณที่ใช้อยู่ปัจจุบัน (ต่อ)4.การจำแนกรายละเอียดรายการงบประมาณ ทำให้หน่วยงานขาดความคล่องตัว5.เป็นระบบที่มีการรวมอำนาจไว้ค่อนข้างมาก จึงไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

  10. ปัญหาสำคัญของกระบวนการงบประมาณในปัจจุบันปัญหาสำคัญของกระบวนการงบประมาณในปัจจุบัน • ขาดความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติกับ • เป้าหมายการให้บริการสาธารณะ • ขาดความเชื่อมโยงแผนปฏิบัติงานกับ • การให้บริการ และการ จัดสรรงบประมาณ • เน้นรายการใช้จ่ายมากกว่า • มุ่งความสำเร็จของงานที่มีประสิทธิภาพ • ไม่มีการวางแผนการเงินล่วงหน้า • ขาดความครอบคลุมครบถ้วนทุกแหล่งเงิน • ขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการด้านงบประมาณ • ไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินทรัพย์

  11. นโยบายรัฐบาล : การปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ (26 ก.พ. 44) ด้านการบริหารราชการ เร่งรัดการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ ให้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่ มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศและส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรม มีบทบาท ในการตัดสินใจมากขึ้น พร้อมทั้งจัดให้มีระบบควบคุม ตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ และ โปร่งใส

  12. คำบรรยายพิเศษของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง มิติใหม่งบประมาณไทยก้าวไกลสู่ e-Budgeting เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ การบริหารยุคใหม่นั้น ส่วนที่สำคัญ ๆ คือ อะไรที่เราเรียกว่า รูปแบบการบริหารจัดการในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญ ๒ ส่วน คือ หนึ่งต้องเป็นการบริหารที่สามารถปรับตัวเองได้ตลอดเวลาเป็นAdaptiveอันที่สอง คือ การ Decentralize อย่าไปเข้าใจว่าการกระจายอำนาจคือการหลุดลอย แต่เป็นการมอบการตัดสินใจลงไปในระดับล่างและมีระบบที่สามารถประเมินผลตรวจสอบได้

  13. คำบรรยายพิเศษของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง มิติใหม่งบประมาณไทยก้าวไกลสู่ e-Budgeting เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ การบริหารต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งทำคนเดียว ไม่ใช่เป็นระบบ Division of labour อีกต่อไป เป็นการบูรณาการปัญหาเป็นลักษณะของ Activity-based เป็นลักษณะของ Agenda-based มากกว่าเป็นเรื่องของใครของมัน ระบบการทำงานเป็นเครือข่าย เป็นโครงข่าย เป็น Networking หมด ไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งนายคนเดียว

  14. คำบรรยายพิเศษของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง มิติใหม่งบประมาณไทยก้าวไกลสู่ e-Budgeting เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ ในวันนี้เราได้จัดสรรงบประมาณในลักษณะที่เป็นธรรมจากส่วนกลางโดยเอา ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเข้ามา Top-up แต่ว่าต่อไปข้างหน้าเราอยากเห็นการ ทำงบประมาณหลังจากที่ผู้ว่า CEO เข้มแข็ง ทูต CEO เข้มแข็ง เราอยากเห็นงบประมาณสองส่วน ส่วนหนึ่งจากส่วนปฏิบัติการ คือ ส่วนของต่างประเทศและส่วนของในประเทศซึ่งเป็นส่วนปฏิบัติการทำขึ้นมาและอีกส่วนหนึ่ง คือ ส่วนสนับสนุนจากส่วนกลาง ถ้าเอาสองส่วนนี้มารวมกัน แล้วมุ่งไปยังทิศทางที่เราต้องการ จะมาวางยุทธศาสตร์ชาติตรงนั้น ผมก็คิดว่าเป็นสิ่งที่เราอยากจะเห็นที่สุดแต่ว่าต้องใช้เวลา

  15. คำบรรยายพิเศษของ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เรื่อง มิติใหม่งบประมาณไทยก้าวไกลสู่ e-Budgeting เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ การปรับปรุงระบบงบประมาณ เรากำลังนำไปสู่ข้อที่หนึ่ง งบประมาณที่ตั้งอยู่บนฐาน ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ในที่นี้ ๓ ประการ ตามที่ท่านนายกฯ กล่าวไว้ คือ ๑.แน่นอนจากศูนย์กลาง คงยังมีอยู่โดยกระทรวงทบวง กรม ๒.Link โดย Agenda ที่เป็นเรื่องเฉพาะซึ่งท่านนายกฯมอบหมายมา เช่นการปราบปรามยาเสพติด มันไม่ได้อยู่ที่กระทรวงเฉพาะกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่มันเกี่ยวพันกันหมด ลักษณะเช่นนี้ ถ้าใช้ระบบงบประมาณแบบดั้งเดิม ไม่มีทาง work ได้เลย เพราะต่างคนต่างทำ ต่อจากนี้ไปเกิดสิ่งที่ ๓ ขึ้นมา ก็คือ โดยพื้นที่(by Area) ฉะนั้น แต่ละจังหวัดจะเริ่มมีภารกิจของตัวเอง ในการกำหนดยุทธศาสตร์

  16. ความสัมพันธ์ของธรรมาภิบาลกับการจัดทำงบประมาณความสัมพันธ์ของธรรมาภิบาลกับการจัดทำงบประมาณ 1.การคาดการณ์ได้ 2.การมีส่วนร่วม 3.ความรับผิดชอบ 4.ความโปร่งใส

  17. หลักการเชิงนโยบาย • ใช้นโยบายเป็นตัวนำ (Policy Driven) • มีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ • การรักษาวินัยทางการคลัง • เน้นการบริการประชาชน • มีการคาดการณ์ล่วงหน้า • คำนึงถึงการวัดผลสำเร็จในการดำเนินงาน

  18. หลักการเชิงบริหาร • การมอบอำนาจการตัดสินใจ • ใช้หลักการธรรมาภิบาล (ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ) • ให้มีความคล่องตัวในการบริหาร • ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • มีการติดตามผลและมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์

  19. ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เป็นการเปลี่ยนแนวทางจากการจัดทำงบประมาณที่เน้นการควบคุมทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน มาเป็นการมุ่งเน้นการดำเนินงานและผลสำเร็จของผลผลิต ผลลัพธ์ โดยมีการวัดผลสำเร็จ (Performance Measures) ของผลงานดังกล่าว ด้วยหน่วยนับการวัดและประเมินผลหรือตัวชี้วัด ที่ชัดเจน สมบูรณ์ ใช้ได้จริงและเหมาะสมกับเวลา รวมทั้งต้องครอบคลุมทั้ง ปริมาณ คุณภาพ เวลา และค่าใช้จ่าย อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  20. ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เป้าหมาย GOAL บริหารจัดการทรัพยากรโดยมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม วัตถุประสงค์ Objectives เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบงบประมาณที่สามารถวัดผลสำเร็จของงาน สามารถเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรที่ผ่านกระบวนการที่มี ประสิทธิภาพสะท้อนให้เห็นความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรต่อภารกิจของรัฐภายใต้ระบบบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้

  21. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ให้ความสำคัญในเรื่องงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ให้ความสำคัญในเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการให้บริการ ผลผลิตผลลัพธ์ และตัวชี้วัด ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส และการรายงาน การมอบอำนาจการจัดทำและบริหารงบประมาณ การเพิ่มขอบเขตความครอบคลุมของงบประมาณ การจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

  22. หลักการสำคัญของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานหลักการสำคัญของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ผู้บริหารได้มีอิสระมากขึ้นในการบริหารการเงิน ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อความสำเร็จของงานหรือ ประชาชนได้รับประโยชน์จากความคุ้มค่าในการใช้จ่าย ของหน่วยงานของรัฐ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรฐานการจัดการทางด้านการเงิน

  23. กระบวนการงบประมาณ 1. การวางแผนงบประมาณ 2. การจัดทำงบประมาณ 5. การติดตามประเมินผล 4. การบริหารงบประมาณ 3. การอนุมัติงบประมาณ

  24. การวางแผนงบประมาณ • กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ • การประมาณการภาวะเศรษฐกิจ • ประมาณการรายได้ รายจ่าย • กำหนดวงเงินงบประมาณ • กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์การจัดสรร

  25. การประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF) • เป็นการจัดทำกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า 1+3 ปี ซึ่งจะแสดงภาพรวมของภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบด้วย เป้าหมายประมาณการเศรษฐกิจมหภาค ฐานะการคลังล่วงหน้า การประมาณการรายรับ รายจ่าย และภาระหนี้ที่จะเกิดขึ้น • มีประโยชน์เพื่อการรักษาวินัยการคลัง ควบคุมการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายและเป็นกรอบในการตัดสินใจ กำหนดทางเลือกจัดสรรงบประมาณ

  26. คำนิยามและลักษณะสำคัญ MTEF หมายถึง การจัดทำกรอบงบประมาณ รายจ่ายล่วงหน้าระยะ 3 - 5 ปี MTEF แสดงภาพรวมของภาระงบประมาณที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต มีลักษณะเป็น Rolling Plan รัฐสภาอนุมัติงบประมาณปีเดียว

  27. แผนภาพแสดงแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางแผนภาพแสดงแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง งบประมาณ ปีถัดไปปีที่ 1 ปีถัดไปปีที่ 2 ปีถัดไปปีที่ 3 = งบประมาณ + 3 ปีถัดไป ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 งบประมาณ ปีถัดไปปีที่ 1 ปีถัดไปปีที่ 2 ปีถัดไปปีที่ 3 งบประมาณ ปีถัดไปปีที่ 1 ปีถัดไปปีที่ 2 ปีถัดไปปีที่ 3

  28. การจัดทำงบประมาณ สงป.แจ้งแนวทางการจัดทำคำของบประมาณ รัฐมนตรีรับผิดชอบการจัดสรรภายในกระทรวง

  29. การอนุมัติงบประมาณ อำนาจนิติบัญญัติ - สภาผู้แทนพิจารณาภายใน 105 วัน วาระ 1 รับหลักการ วาระ 2 กรรมาธิการพิจารณา วาระ3 รับร่างพรบ. - วุฒิสภา 20 วัน

  30. การบริหารงบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณ การโอนเปลี่ยนแปลง การใช้งบประมาณเหลือจ่าย

  31. การควบคุม • แผนการปฏิบัติงาน • แผนการใช้จ่ายงบประมาณ

  32. การติดตามประเมินผล

  33. ติดตามประเมินผลอะไร ผลสำเร็จระดับผลผลิตใน เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงเวลา เชิงต้นทุน ติดตามประเมินผลอย่างไร ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบรายงาน สงป.46-1,2 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจาก ระบบ EvMIS รายงานผลการดำเนินงานประจำปีของหน่วยงาน ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาดูงานในภาคสนาม การติดตามและประเมินผล

  34. ประเมินผลอะไร ผลสำเร็จระดับผลลัพธ์ หน่วยงาน กระทรวง ระดับชาติ ประเมินผลอย่างไร รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์การบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย/ ตัวชี้วัดการให้บริการของกระทรวงและกรม ที่กำหนดไว้ ระบบการติดตามและประเมินผล

  35. การควบคุม 5 Elements of Control Outcomes Outputs Process Inputs Costs Effectiveness Value for Money Efficiency Economy

  36. มาตรฐานการจัดการด้านการเงิน 7 ประการ 1. การวางแผนงบประมาณ 2. การคำนวณต้นทุนผลผลิต 3. การบริหารจัดหา 4. การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ 5. รายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน 6. การบริหารสินทรัพย์ 7. การตรวจสอบภายใน

  37. 1. การวางแผนงบประมาณโดยส่วนราชการ(Budget Planning by the Department) 1.1 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) • การพิจารณาทบทวน บทบาทและภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบ • กำหนดพันธกิจที่กระชับ/ชัดเจน และกำหนดกลุ่มผู้รับบริการ • การวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายใน (SWOT) • กำหนดจุดมุ่งหมาย (Goals) • กำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) และเป้าหมาย (Targets)

  38. 1.1 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) (ต่อ) • กำหนดผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์ (Outcomes) และการวัดผลการดำเนินงาน (Performance Measures) • กำหนดโครงสร้างแผนงาน งาน/โครงการ • กำหนดกลยุทธ์ (Strategy) เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ • ประมาณการทรัพยากรที่จำเป็น ประกอบกับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน

  39. กลยุทธ์ กลยุทธ์ กลยุทธ์ กลยุทธ์ 1. การวางแผนกลยุทธ์ แผนภาพแสดงกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โอกาส ภัยคุกคาม • แผนปฏิบัติการ • กิจกรรม • เวลา • ผู้ปฏิบัติ • งบประมาณ • ตัวชี้วัด วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ภารกิจ จุดแข็ง จุดอ่อน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร 2. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ • การจัดทำแผนปฏิบัติการ • การพัฒนาองค์การ • การปรับการดำเนินงาน 3. การควบคุมและประเมินผล การติดตาม ควบคุม ประเมินผล

  40. 2. การคำนวณต้นทุนผลผลิต (Outputs Costing) การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ตามที่กำหนด อันจะสอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณที่เป็นผลผลิต และต้นทุนของผลผลิต การคำนวณต้นทุนจะต้องพิจารณากระบวนการและหลักเกณฑ์การ ปันส่วนต้นทุน โดยคำนึงถึงต้นทุนทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจำเป็นต้อง มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบบัญชีที่ส่วนราชการใช้อยู่ในปัจจุบัน จากระบบัญชีเงินสด (Cash Basis) เป็นระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis)

  41. 3. การจัดระบบการจัดซื้อ จัดจ้าง (Procurement Management) โดยการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ให้มีประสิทธิภาพ รัดกุม โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีความถูกต้อง ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

  42. 4. การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ (Financial Management/Fund Control) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารทางการเงินและงบประมาณให้มีมาตรฐานเดียวกัน ผ่านระบบการเงินและบัญชีที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับการควบคุมงบประมาณตามระบบ งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (ผลผลิตและผลลัพธ์)

  43. 5. การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน(Financial and Performance Reporting) เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานจากการใช้งบประมาณที่มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความโปร่งใส

  44. 6. การบริหารสินทรัพย์ (Asset Management) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ โดยการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยรวม การทราบสถานะของสินทรัพย์ที่มีอยู่ และการลดความต้องการของสินทรัพย์ใหม่ที่ไม่จำเป็นผ่านระบบการวางแผนที่เป็นระบบ

  45. 7. การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) เป็นการควบคุมการใช้งบประมาณ และปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยหน่วยตรวจสอบภายในของส่วนราชการ

  46. หน่วยงาน รัฐมนตรี/กระทรวง คณะรัฐมนตรี รัฐสภา บทบาทใหม่ในการจัดทำงบประมาณ กำหนดแผนการให้บริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการให้บริการสาธารณะ) ใช้เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาเป็นมาตรวัดความสำเร็จระดับนโยบาย กำหนดเป้าหมายการให้บริการ(สาธารณะ)ที่สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ กำหนดกรอบนโยบายและเป้าหมายทางการคลังล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 ปี

  47. บทบาทใหม่ในการจัดทำงบประมาณ (ต่อ) หน่วยงาน รัฐมนตรี/กระทรวง คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ใช้เป้าหมายการให้บริการ(สาธารณะ)เป็นกรอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระดับปฏิบัติ กำหนดทิศทางและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและรับผิดชอบต่อผลสำเร็จ รับผิดชอบการใช้จ่ายให้เป็นไปตามกรอบเป้าหมายการให้บริการ(สาธารณะ) กำหนดเป้าหมายผลผลิตตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับแผนการให้บริการ จัดทำคำขอและรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณตามเป้าหมาย ผลผลิต ปรับเปลี่ยนงบประมาณภายใต้กรอบเป้าหมายการให้บริการ(สาธารณะ) กำหนดนโยบายและวงเงินงบประมาณประจำปี

  48. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ รัฐบาล/ค.ร.ม. รัฐสภา หน่วยงาน ประชาชน สามารถอนุมัติงบประมาณให้สอดคล้องตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาได้อย่างมีความชัดเจนยิ่งขึ้น บริหารนโยบายได้ตามเป้าหมายที่แถลงต่อรัฐสภาและที่สัญญากับประชาชน สามารถ บริหาร งานได้อย่าง คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และบรรลุ ผลสำเร็จ ตามเป้าหมาย ได้รับบริการ และแก้ไขปัญหาที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ สามารถตรวจสอบ รัฐบาลได้ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานได้ ใช้ทรัพยากรของ ประเทศอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถตรวจสอบ หน่วยปฏิบัติได้ตามเป้าหมายการให้บริการ

  49. ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ แนวทางการจัดสรรงบประมาณ เป้าหมายการให้บริการกระทรวง ยุทธศาสตร์กระทรวง กลยุทธ์หน่วยงานรับผิดชอบ การนำยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ ผลผลิต-โครงการ/งบประมาณ

  50. เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ • ความหมาย • ผลลัพธ์ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ ประชาชน ซึ่งจะเกิดได้จากผลสัมฤทธิ์ของการให้บริการของกระทรวง และผลผลิตของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจอย่างสอดคล้อง และเชื่อมโยงกัน • คุณลักษณะสำคัญของเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ • คำนึงถึงนโยบายรัฐบาล นโยบายใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างวาระของรัฐบาล • สอดคล้องกับนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ • เป็นพันธะสัญญาของรัฐบาลที่ให้กับประชาชน • มีระยะเวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า 4 ปีเท่ากับวาระของรัฐบาล • สามารถแสดงรายละเอียดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน เช่นปริมาณ และ/หรือ คุณภาพ และ/หรือ ระยะเวลาในการบรรลุผลสำเร็จ

More Related