1 / 73

เรียบเรียงโดย รศ.ดร.สิทธิชัย แสงอาทิตย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี

วัสดุในการก่อสร้าง : ส่วนที่ 2/3.1. เรียบเรียงโดย รศ.ดร.สิทธิชัย แสงอาทิตย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี. วัสดุในการก่อสร้าง : ส่วนที่ 2/3 ( วัสดุในงานก่อสร้าง ). - เหล็กโครงสร้าง (structural steel). - คอนกรีต (Concrete). - ไม้ (timber).

tracey
Download Presentation

เรียบเรียงโดย รศ.ดร.สิทธิชัย แสงอาทิตย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วัสดุในการก่อสร้าง: ส่วนที่ 2/3.1 เรียบเรียงโดย รศ.ดร.สิทธิชัย แสงอาทิตย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี

  2. วัสดุในการก่อสร้าง: ส่วนที่ 2/3 (วัสดุในงานก่อสร้าง) - เหล็กโครงสร้าง (structural steel) - คอนกรีต (Concrete) - ไม้ (timber) - อิฐดินเผา (brick) -ผลิตภัณฑ์คอนกรีต - คอนกรีตบล๊อค (concrete block) - พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป (precast concrete slab) - เสาเข็มคอนกรีต (concrete pile) - ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก

  3. เหล็กโครงสร้าง (structural steel)

  4. เหล็กโครงสร้าง (Structural steel) เหล็กที่ใช้ทำโครงสร้างได้จากการนำแร่เหล็ก (iron ore) มาถลุงในเตาถลุง ซึ่งจะได้เหล็กดิบ (pig iron) หรือเหล็กแท่งประเภทต่างๆ และเมื่อนำมาหลอมและปรับอัตราส่วนของปริมาณคาร์บอนจะได้เหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้างแบบต่างๆ โดยโรงงานเหล็กในไทยมีหลายโรง เช่น สหวิริยา บางสะพานบาร์มิล และสยามยาโมโตะ (ปูนใหญ่)

  5. ขบวนการนำแร่เหล็กมาถลุงในเตาถลุงจนได้เหล็กดิบและผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นกลางขบวนการนำแร่เหล็กมาถลุงในเตาถลุงจนได้เหล็กดิบและผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นกลาง Note: เหล็กแท่งแบน (Slab) เหล็กแท่งใหญ่ (Bloom) และเหล็กแท่งเล็ก (Billet)

  6. ตัวอย่างโครงเฟรมเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างโกดังหรือโรงงานอุตสาหกรรมตัวอย่างโครงเฟรมเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างโกดังหรือโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา: http://www.primesteelbuildings.com/images/features/frame-large.png

  7. ตัวอย่างโครงเฟรมเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า (substation) ที่มา: http://img.alibaba.com/photo/50405479/Substation_Steel_Frame_110kV_.jpg

  8. ประเภทของเหล็กที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างประเภทของเหล็กที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง 1. เหล็กเหนียวเป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนน้อยกว่า 0.1% มีกำลังต่ำ แต่มีความเหนียวสูง ซึ่งถูกแปลงรูปร่างได้ง่ายและรับแรงกระทำซ้ำได้ดี 2. เหล็กกล้าเป็นโลหะผสมที่ได้จากการผสมเหล็ก คาร์บอน และ/หรือ สารชนิดอื่นๆ • Carbon steel - เหล็กกล้าคาร์บอนเป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนอยู่ในช่วง 0.2% ถึง 2% (โดยทั่วไป≤1.2%) • Alloy steel - เหล็กกล้าอัลลอยเป็นเหล็กที่มีสมบัติไม่ขึ้นอยู่กับคาร์บอนเป็นหลัก แต่ขึ้นอยู่กับสารชนิดอื่นๆ เช่น ซิลิกอนซัลเฟอร์ฟอสฟอรัสและแมงกานีสเป็นต้นด้วย

  9. เหล็กหล่อ (cast iron)เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนอยู่ในช่วง 2.2% ถึง 4.5% มีกำลังรับแรงกดอัดและมีความแข็งของผิวสูงแต่มีกำลังรับแรงดึงที่ต่ำและเป็นวัสดุเปราะ

  10. ประเภทและลักษณะการใช้งานของเหล็กกล้าคาร์บอนประเภทและลักษณะการใช้งานของเหล็กกล้าคาร์บอน

  11. สมบัติทางกลของเหล็กโครงสร้างขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักดังนี้สมบัติทางกลของเหล็กโครงสร้างขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักดังนี้ สมบัติทางกลของเหล็กโครงสร้าง • ปริมาณคาร์บอน เมื่อปริมาณคาร์บอน ↑ จะมีผลต่อสมบัติคือ กำลัง ↑ ความแข็ง ↑ และความเหนียว ↓ • สารผสม alloy สาร alloy เช่น ซิลิกอน (เพิ่มกำลัง), ตะกั่ว (กลึงง่ายขึ้น), นิเกิล โครเมียม และทองแดง (ทนการกัดกร่อน) และแมงกานิส(เพิ่มความแข็ง) ทำให้เหล็กเป็นเหล็กกล้าอัลลอยและมีคุณสมบัติต่างๆ ดีขึ้น เช่น stainless steel เป็นเหล็กกล้าที่ทนการกัดกร่อนได้ดีเพราะมีโครเมียม > 10% ซึ่งทำให้เกิด chromiumoxide เคลือบผิว

  12. การดัดเหล็กทำให้เหล็กเกิดภาวะ strain hardening โดย 1. ทำให้วัสดุมีช่วง elastic region ที่ใหญ่ขึ้น (ทำให้มีค่า yielding stress สูงขึ้น) แต่ 2. ทำให้วัสดุมีความเหนียวลดลงและเปราะมากขึ้น (เป็นผลให้ดูดซับพลังงานได้ลดลง)

  13. กรรมวิธีการผลิตเหล็ก 1. Hot-working process เป็นกรรมวิธีที่ให้ความร้อนแก่เหล็กและทำให้เหล็กเย็นตัวลงเป็นลำดับ เพื่อลดความเครียดในเนื้อเหล็กและทำให้ผลึกเหล็กมีความละเอียดมากขึ้น ซึ่งทำให้เหล็กมีกำลังและความเหนียวสูงขึ้น

  14. การรีดร้อน (hot rolling)เป็นการรีดเหล็กขณะที่เหล็กยังร้อนแดงอยู่ ใช้ในการผลิตเหล็กเสริมคอนกรีต เหล็กรูปพรรณและเหล็กแผ่น (หนาไม่น้อยกว่า 3 mm)

  15. 2. Cold-working process เป็นกรรมวิธีที่ทำให้เกิด strain-hardening ในเหล็กและทำให้เหล็กมีกำลังและความแข็งของผิวต่อการกดสูงขึ้นมากกว่า hot-working process แต่ทำให้ความเหนียวของเหล็กลดลง • การรีดเย็น (cold rolling)เป็นการรีดเหล็กขึ้นเป็นรูปโดยการนำเหล็กแผ่นที่ผ่านการรีดร้อนมาทำการดัด กด หรือการเชื่อมให้เป็นเหล็กโครงสร้าง

  16. สมบัติทางกลของวัสดุภายใต้แรงดึงที่สำคัญสมบัติทางกลของวัสดุภายใต้แรงดึงที่สำคัญ - Yielding stress - Ultimate stress - Percent of elongation - Modulus of elasticity เหล็กโครงสร้าง

  17. วิธีออฟเซท (Offset method) ใช้ในการหาหน่วยแรงคราก (yielding stress) ของโลหะที่ไม่มีจุดครากที่ชัดเจน เช่น เหล็กกล้ากำลังสูง (ลวดอัดแรง) เป็นต้น

  18. ชนิดของเหล็กโครงสร้างชนิดของเหล็กโครงสร้าง 1. เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ (structural steel section) 2. เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (reinforcing steel)

  19. 1.เหล็กโครงสร้างรูปพรรณใช้ทำโครงสร้างเหล็กที่รับแรงมากๆ เช่น คาน เสา โดยถูกผลิตโดยขบวนการรีดร้อนหรือรีดเย็นและถูกออกแบบให้มีค่า I/Aที่สูง เพื่อให้หน้าตัดมีความสามารถในการรับแรงต่อน้ำหนักสูงสุดเช่น - รูปตัว H (Wide-flange shape) - รูปตัว I (I-section) - รูปตัว C (Channel section) - รูปตัว L (Angle section)

  20. เหล็กโครงสร้างถูกกำหนดตามลักษณะรูปร่างของหน้าตัด ความลึก และน้ำหนักต่อหนึ่งหน่วยความยาว เช่น W300x36.7 kg/m เป็นเหล็กหน้าตัดรูปตัว W มีความลึก 300 mm และหนัก 36.7 kg/m I250x53.9 kg/m เป็นเหล็กหน้าตัดรูปตัว I มีความลึก 250 mm และหนัก 53.9 kg/m C200x30.3 kg/m เป็นเหล็กหน้าตัดรูปตัว C มีความลึก 200 mm และหนัก 30.3 kg/m L150x150x12.7 mm เป็นเหล็กหน้าตัดรูปตัว L มีขายาว 150 mm เท่ากันและหนา 12.7mm

  21. การตรวจสอบ การตรวจสอบเหล็กโครงสร้างรูปพรรณในฐานะผู้ควบคุมการก่อสร้างได้แก่ 1. ขนาดและน้ำหนัก - ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ ดู มอก. 116 2. กำลังและระยะยืดตัว สภาพของเหล็กรูปพรรณที่นำมาทดสอบจะต้องอยู่ในสภาพเดิม ไม่มีการปรับปรุงสมบัติด้วยกรรมวิธีใดๆ โดยต้องถูกทดสอบทุกๆ 10 ตัน โดยเก็บตัวอย่างความยาว 1.0-1.50 m จากนั้น ทำการตัด (โดยไม่ใช้ความร้อน) ทำชิ้นทดสอบไม่น้อยกว่า 3 ชิ้น โดยมีความกว้างไม่เกิน 8 เท่าของความหนา

  22. ตัวอย่างทดสอบมาตรฐาน ASTM E8 เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ

  23. ลักษณะของตัวอย่างทดสอบที่ห้ามนำมาใช้ในการทดสอบลักษณะของตัวอย่างทดสอบที่ห้ามนำมาใช้ในการทดสอบ

  24. สมบัติของเหล็กตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมสมบัติของเหล็กตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม เหล็กท่อนแบนและเหล็กแถบ (flat and square steel bar) ตาม มอก.55-2516 หน่วยแรงคราก (yielding stress) 2,400 kg/cm2 หน่วยแรงประลัย (ultimate stress) 3,900 kg/cm2 เปอร์เซ็นต์การยืดตัว 21 %

  25. สมบัติของเหล็กตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมสมบัติของเหล็กตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม เหล็กกลวง (hollow section) สำหรับใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป ตาม มอก. 107-2517

  26. เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ (structural steel section) ตาม มอก. 116-2529

  27. 2.เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต(reinforcing steel) ประโยชน์ของเหล็กเสริมในงานคอนกรีต - ทำหน้าที่รับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีกำลังรับแรงดึงต่ำเพียงร้อยละ 10 ของกำลังรับแรงอัดเท่านั้น - ช่วยลดการคืบ (creep) และลดความกว้างของรอยแตกร้าวในคอนกรีต

  28. - เหล็กเสริมคอนกรีตเป็นเหล็กกล้าละมุน (mild steel) ที่มีปริมาณของคาร์บอนผสมอยู่ต่ำ (ประมาณ 0-0.3%) เป็นเหล็กเหนียว - เหล็กทุกเส้นจะมีหมายเลขขนาด ชื่อย่อ และเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้ผลิต หล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก

  29. เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (reinforcing steel)แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ - เหล็กเส้นกลม (round bar) - เหล็กข้ออ้อย (deformed bar) เหล็กเส้นกลม เป็นเหล็กที่มีผิวเรียบ มีอยู่เกรดเดียว SR24(มีกำลังต้านทานต่อแรงดึงที่จุดคราก ≥ 2,400 ksc) ขนาดของเหล็กเรียกตามเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น RB6และ RB 22 มีขนาด 6-25 mmและมีความยาวมาตรฐาน 10 m

  30. ขนาดและน้ำหนักของเหล็กเส้นกลมขนาดและน้ำหนักของเหล็กเส้นกลม

  31. การตรวจสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง (มอก. 20-2543) เหล็กเส้นกลมจะต้องเป็นเหล็กเส้นที่มีผิวเรียบ ไม่มีรอยปริแตกหรือรอยร้าว โดยหน้าตัดมีลักษณะกลมตลอดพื้นที่ลาดตัดขวางอย่างสม่ำเสมอ

  32. 1. ตรวจสอบขนาด วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กโดยใช้เวอร์เนียร์ฯ อย่างน้อย 3 จุดหรือโดยการชั่งน้ำหนักแล้วหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยจาก หน่วยวัด: D(mm), W(kg) และL(m) โดยความคลาดเคลื่อนต้องอยู่ภายในเกณฑ์ที่กำหนด

  33. 2. ตรวจสอบสมบัติเชิงกล การทดสอบแรงดึง - อัตราการเพิ่มแรง ≤ 80 kg/cm2/sec และความยาวของพิกัดวัดความยืด (gage length) = 5 เท่า Ø เฉลี่ยและระยะระหว่างหัวจับต้อง ≥5.5 เท่า Ø เฉลี่ย หากรอยขาดอยู่นอกช่วง gage length ไม่ให้เอาผลการทดสอบมาพิจารณา การทดสอบการดัดโค้ง ให้นำเหล็กเส้นมากดด้วยหัวกดรูปตัว U ที่มีขนาด 1.5 เท่า Ø เฉลี่ยของชิ้นทดสอบ โดยจนเป็นรูปตัว U โดยไม่มีการปริแตกของผิวส่วนโค้งด้านนอก

  34. เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กเส้นที่ผิวมีบั้ง (rib) เป็นระยะๆ เท่าๆ กันตลอดทั้งเส้น โดยบั้งต้องทำมุมกับแกนของเหล็กเส้น ≥ 45 องศา ถ้ามุมอยู่ในช่วง 45-70 องศา บั้งจะวางสวนทางสลับกัน แต่ถ้าบั้งทำมุมเกิน 70 องศาไม่จำเป็นต้องสลับกัน ขนาดของเหล็กเรียกตามเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10และ DB20 โดยมีขนาดที่ขายตามท้องตลาดคือ 10-32 mm

  35. ขนาดและน้ำหนักของเหล็กข้ออ้อยขนาดและน้ำหนักของเหล็กข้ออ้อย

  36. การตรวจสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง (มอก. 20-2536) 1. ตรวจสอบสมบัติเชิงกล การทดสอบแรงดึง - แต่ละชุดตัวอย่างที่นำมาทดสอบแรงดึงมีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ชิ้น โดยมีความยาว 1.0-1.50 m ในกรณีที่ผลการทดสอบบางส่วนต่ำกว่าเกณฑ์ ให้นำชิ้นตัวอย่างจากตัวอย่างชุดเดิม จำนวน 2 เท่าของชิ้นตัวอย่างที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาทดสอบซ้ำ เพื่อชดเชยหักล้าง โดยที่ผลการทดสอบที่ได้ต้องผ่านเกณฑ์ทั้งหมด

  37. 2. ตรวจสอบขนาด โดยการชั่งน้ำหนักแล้วหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยจาก

  38. มาตรฐานการทดสอบ (Standard Tests) วิธีการทดสอบสมบัติทางกลของผลิตภัณฑ์โลหะได้ถูกระบุไว้ใน ASTM A370 ดังนี้ • ASTM E8: Tension Testing of Metallic Materials. • ASTM E9: Compression Testing of Metallic Materials. • ASTM E10: Test for Brinell Hardness of Metallic Materials. • ASTM E18: Test for Rockwell Hardness and Rockwell • Superficial Hardness of metallic materials. • ASTM E23: Notched-Bar Impact Testing of Metallic Materials. มาตรฐานการทดสอบสำหรับเหล็กเสริม ASTM A615: Standard Specification for Deformed and Plain Billet-Steel Bars for Concrete Reinforcement

  39. ข้อดีและข้อเสียในการใช้เหล็กโครงสร้างข้อดีและข้อเสียในการใช้เหล็กโครงสร้าง ข้อดี 1. มีกำลังต่อน้ำหนักสูง - เหมาะในการก่อสร้างอาคารที่มีระยะช่วงที่ยาวมากๆ และอาคารสูง 2. มีสมบัติทางกลสม่ำเสมอ - ออกแบบและก่อสร้างง่าย 3. มีความยืดหยุ่นสูง - ลดการเสียรูปอย่างถาวร 4. มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน - ถ้าดูแลเหมาะสมและถูกต้อง 5. มีความเหนียว - เปลี่ยนแปลงรูปร่างที่สูงก่อนการวิบัติ 6. ก่อสร้างได้ง่ายและรวดเร็ว

  40. ข้อเสีย 1. มีค่าดูแลรักษาสูง - หากออกแบบไม่เหมาะสมกับการใช้งาน 2. มีค่าใช้จ่ายในการพ่นกันไฟ - กำลังของเหล็กค่าลดลงมากในกรณีที่เกิดไฟไหม้และเหล็กเป็นสื่อนำความร้อนได้ดี 3. เกิดการโก่งเดาะได้ง่าย – ในองค์อาคารเหล็กที่รับแรงกดอัดและมีความชะลูดสูง เนื่องจากเหล็กมีกำลังที่ค่อนข้างสูง 4. อาจวิบัติโดยการล้า (fatigue) - หากออกแบบไม่เหมาะสมและถูกใช้งานในที่อุณหภูมิต่ำและถูกแรงกระทำซ้ำ 5. อาจวิบัติโดยการแตกหักแบบเปราะ (brittle fracture) - เมื่อโครงสร้างเหล็กอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ

  41. คอนกรีต (concrete)

  42. คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่ถูกนำมาใช้งานมาก มีทั้งแบบหล่อในที่ (cast-in-place) และแบบหล่อสำเร็จ (precast concrete) คอนกรีตรับแรงกดอัดได้ดี แต่รับแรงดึงได้ต่ำ (10%) ดังนั้น คอนกรีตจึงถูกเสริมด้วยเหล็กเสริมเพื่อช่วยรับแรงดึง โครงเฟรมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก (reinforced concrete) สะพานที่มีคานคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete) ถูกรองรับโดยโครงเฟรมคอนกรีตเสริมเหล็ก

  43. คอนกรีต (Concrete) เป็นวัสดุผสมที่มีส่วนผสม 2 ส่วนได้แก่ ซีเมนต์เพสต์ (cement paste) ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (portland cement) ผสมน้ำ วัสดุอัดแทรก (filler)ได้แก่ มวลรวม (aggregate) แบ่งเป็นมวลรวมหยาบ (โตกว่า 4.75 mm/3/16 นิ้ว): หิน กรวด และมวลรวมละเอียด: ทราย คอนกรีตเกิดการแข็งตัวเนื่องจากปฏิกริยาทางเคมีระหว่างปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และน้ำ ซึ่งเรียกว่า ขบวนการไฮเดรชั่น (hydration process)

  44. มาตรฐาน ASTM C150 แบ่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ออกเป็น 5 ประเภทได้แก่

  45. สัดส่วนผสมคอนกรีตที่ใช้ทั่วไปและการบ่มคอนกรีตสำหรับงานประเภทต่างๆสัดส่วนผสมคอนกรีตที่ใช้ทั่วไปและการบ่มคอนกรีตสำหรับงานประเภทต่างๆ ที่มา: http://www1.cementhaionline.com/CRC/Product/CementGray.asp

  46. คอนกรีตผสมเสร็จ (ready-mixed concrete) เป็นคอนกรีตที่มีขายโดยผสมจากโรงงาน ได้รับความนิยมในการใช้งานสูง เนื่องจากมีการควบคุมคุณภาพที่ดีและสะดวกรวดเร็ว ในการสั่งซื้อต้องบอกกำลัง ค่าการยุบตัว (หรือปริมาณน้ำ) และขนาดใหญ่สุดของหิน (ดู มอก. 213-2520)

  47. ที่มา: http://www1.cementhaionline.com/CRC/Product/

  48. คอนกรีตผสมที่หน้างานยังคงพบเห็นโดยทั่วไปในโครงการก่อสร้างขนาดเล็ก แต่มักมีคุณภาพไม่คงที่ โดยใช้อัตราส่วน 1: 2: 4 ซึ่งให้กำลังอัดประลัยประมาณ 150-175 ksc

  49. ที่มา: http://www1.cementhaionline.com/CRC/Product/

More Related