240 likes | 481 Views
รายงานสถานการณ์โรค เฝ้าระวัง ระบาดวิทยา. Intelligence. Knowledge. ปีที่ 26 ประจำเดือน มกราคม 2555. Information. Data. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. 10 อันดับโรค และ โรคที่ต้องเฝ้าระวัง. ข้อมูลปี 55 เทียบค่ามัธยฐาน 50-54. ข้อมูล 1 ม.ค.- 26 ม.ค.55. สถานการณ์ไข้เลือดออกประเทศไทย. ณ.สัปดาห์ที่ 3.
E N D
รายงานสถานการณ์โรคเฝ้าระวังระบาดวิทยารายงานสถานการณ์โรคเฝ้าระวังระบาดวิทยา Intelligence Knowledge ปีที่ 26 ประจำเดือน มกราคม 2555 Information Data จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
10 อันดับโรค และ โรคที่ต้องเฝ้าระวัง ข้อมูลปี 55 เทียบค่ามัธยฐาน 50-54 ข้อมูล 1 ม.ค.- 26 ม.ค.55
สถานการณ์ไข้เลือดออกประเทศไทยสถานการณ์ไข้เลือดออกประเทศไทย ณ.สัปดาห์ที่ 3 ข้อมูล 1 ม.ค.-19 ม.ค.55
อัตราป่วยสะสมไข้เลือดออกสูงสุดประเทศอัตราป่วยสะสมไข้เลือดออกสูงสุดประเทศ ข้อมูล 1 ม.ค.-19 ม.ค.55
แนวโน้มไข้เลือดออก ปี 2555 จ.ประจวบคีรีขันธ์ ข้อมูล 1 ม.ค.- 26 ม.ค.55
อัตราป่วยไข้เลือดออก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2555 อ.ป่วย : แสนปชก. ข้อมูล 1 ม.ค.- 26 ม.ค.55
จำนวนป่วยไข้เลือดออก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2555 ต.หัวหิน 5 ต.หนองแก 4
ต.หัวหิน ต.เขาน้อย , ต.หนองตาแต้ม ต.ไร่เก่า ต.กุยเหนือ ต.ทับสะแก ต.ร่อนทอง ต.หนองแก แนวโน้มการระบาดไข้เลือดออกรายตำบล ปี 55
รายงานการสอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคอุจจาระร่วงอำเภอบางสะพานน้อยรายงานการสอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคอุจจาระร่วงอำเภอบางสะพานน้อย
อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วง จำแนกรายอำเภอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2554
อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วง จำแนกกลุ่มอายุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2554
อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วง จำแนกรายตำบล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2554
อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วง จำแนกกลุ่มอายุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2554
ความเป็นมา วันที่ 18 มกราคม 2555 เวลา 09.00 น. : - ได้รับรายงานจากกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลบางสะพาน ว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิต ด้วยโรคอุจจาระร่วง จำนวน 1 ราย
ผลการสอบสวนโรค ข้อมูลทั่วไป : ผู้ป่วยเพศชายอายุ 8 เดือน 28 วัน รูปร่างอ้วน น้ำหนัก 10.4 กิโลกรัม สูง 73 เซนติเมตร ที่อยู่ขณะป่วย : 70/4 หมู่ที่ 2 บ้านสี่แยกดอนยาง ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย ประวัติการเจ็บป่วย : ไม่มีประวัติการมีโรคประจำตัว,ปฏิเสธการแพ้ยา,การคลอด:C/S ,ได้รับวัคซีนครบ
ผลการสอบสวนโรค ประวัติการรับประทานอาหาร : วันเสาร์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๕ เช้า : นมผสม(เอ็นฟาเล็ค) กล้วยบด กลางวัน : ไปงานวันเด็กกินอาหารหลายอย่าง เย็น : นมผสม วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ เช้า : นมผสม กล้วยบด กลางวัน : นมผสม ไส้กรอกทอด(รถเข็น) เย็น : นมผสม
ประวัติการเจ็บป่วยครั้งนี้ : วันเริ่มป่วย :วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2555 เวลา 04.00 น. ไม่รับประทานอาหาร ซึม ถ่ายเหลวประมาณ 10 ครั้ง วันที่รักษา :วันอังคารที่ 17 มกราคม 2555 เวลา 09.00 น. ยายอุ้มมา ให้ประวัติว่า 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ถ่ายเหลว จนมาถึงโรงพยาบาลรวมประมาณ 10 ครั้ง อาเจียนทุกครั้งที่รับประทานนม ร้องงอแง ซึมลง รักษาที่โรงพยาบาลบางสะพานน้อย อาการแรกรับ : T= 38.2 ํC , P= 132 ครั้ง/นาที, R = 34 ครั้ง/นาที , dry lips,no flat AF, no sunken eye balls แพทย์ให้ยากลับไปรับประทานที่บ้าน ,advice hygine ของขวดน้ำ และการรับประทาน ORS
ประวัติการเจ็บป่วยครั้งนี้ : วันที่รักษา :วันอังคารที่ 17 มกราคม 2555 เวลา 17.50 น. อาการไม่ดีขึ้น มารักษาที่ โรงพยาบาลบางสะพาน ให้ประวัติว่าถ่ายเหลวเป็นน้ำประมาณ 20 ครั้ง ไม่มีมูกเลือดปน มีอาเจียนประมาณ 20 ครั้ง ตัวร้อนมาก แรกรับ :ณ ห้อง ER น้ำหนัก 10 กิโลกรัม T=41.1 ํC , P=150 ครั้ง/นาที, R=70 ครั้ง/นาที O2 sat =68-80% และมีอาการชักเกร็ง ซึม ตาลอย อ่อนเพลีย ขณะเช็ดตัวที่ห้อง ER มีปัญหาเจาะเลือดและหาเส้นเลือดดำยาก แพทย์รับไว้เป็นผู้ป่วยใน
สรุปการรักษา :วันอังคารที่ 17 มกราคม 2555 - เวลา 09.00 น.(รพ.บางสะพานน้อย) : แพทย์ให้การรักษา ได้แก่ ORS เด็ก 5 ซอง รับประทานครั้งละ 1 ซอง , Paraceamol syrup 1 ช้อนชา prn , Domperridone syrup1/2 ช้อนชา x 3 pc กลับไปรับประทานที่บ้าน - เวลา 17.50 น.(รพ.บางสะพาน) :ER,admit Ward เด็ก, ICU - เสียชีวิต ณห้อง ICU วันพุธที่ 18 มกราคม 2555 เวลา 09.00 น. การวินิจฉัย :Acute gastroenteritis (AGE)
การส่งตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ : 1. Rectal Swab Culture ผู้ป่วย ส่งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม Found Enterococcus faecium 2. Stool Culture ผู้ป่วย ส่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาเชื้อ Rotavirus ผล Negative 3. Rectal Swab Culture ผู้ดูแล(มารดา) ส่งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม วันที่ 25 มค.55 (รอผล) 4. น้ำดื่มบ้านผู้เสียชีวิต (รอผล)
การดำเนินงานการควบคุมโรค: 1. เก็บสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย/ผู้สัมผัสโรคตรวจหาเชื้อเพื่อยืนยันสาเหตุของการเกิดโรค 2. ทำลายเชื้อด้วยไลโซลในบ้าน ห้องน้ำและบริเวณรอบๆบ้านผู้เสียชีวิต 3. การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์แก่ผู้ดูแล/ญาติ และประชาชนในชุมชน เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 4. การเฝ้าระวังโรคโดยการค้นหาผู้ที่มีอาการอุจจาระร่วงในผู้สัมผัสร่วมบ้านและบริเวณใกล้เคียง ต่อเนื่องจนไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ ระยะเวลา 10 วัน 5. วิเคราะห์สถานการณ์ทางระบาดวิทยาผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังโรคต่อไป
ปัญหา/อุปสรรค:การสอบสวนควบคุมโรคในครั้งนี้มีปัญหาอุปสรรค คือ ผู้เสียชีวิตเป็นเด็กเล็ก อยู่ในวัยน่ารัก ทำให้ผู้ดูแล(มารดา/ตา/ยาย/ย่า) ยอมรับการสูญเสียไม่ได้ ทำให้มีทัศนะคติที่ไม่ดีต่อโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวนควบคุมโรคเท่าที่ควร ข้อเสนอแนะ :เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เห็นควรให้มีการนำเสนอกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคอุจจาระร่วง ในวันประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์