1 / 16

แนวทางการประเมินผลและบริหารจัดการ องค์กรนักศึกษา ด้วยระบบประกันคุณภาพ

แนวทางการประเมินผลและบริหารจัดการ องค์กรนักศึกษา ด้วยระบบประกันคุณภาพ. รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ หัวหน้างานบริการการศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. การประเมินผล. ความจำเป็นในการประเมินผล การประเมินผลเป็นแหล่งข้อมูลในการวางแผน บทบาทด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน

tobit
Download Presentation

แนวทางการประเมินผลและบริหารจัดการ องค์กรนักศึกษา ด้วยระบบประกันคุณภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการประเมินผลและบริหารจัดการองค์กรนักศึกษาด้วยระบบประกันคุณภาพแนวทางการประเมินผลและบริหารจัดการองค์กรนักศึกษาด้วยระบบประกันคุณภาพ รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ หัวหน้างานบริการการศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  2. การประเมินผล ความจำเป็นในการประเมินผล • การประเมินผลเป็นแหล่งข้อมูลในการวางแผน • บทบาทด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน ความหมายของการประเมินผล เป็นกระบวนการที่สอดแทรกในการวางแผนและบริหารจัดการในทุกขั้นตอนที่ผู้จัดกิจกรรมสามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยตัดสินใจได้ โดยเป็นการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับเป้าหมาย

  3. การประเมินผล การประเมินผลที่ดีควรประกอบด้วยจุดมุ่งหมาย • เพื่อการวางแผนและการกำหนดนโยบาย • เพื่อการบริหารจัดการ • เพื่อทดสอบผลการปฏิบัติงาน

  4. ประเภทของการประเมินผลประเภทของการประเมินผล • การประเมินผลก่อนการปฏิบัติงาน เป็นการประเมินหาข้อมูลพื้นฐานก่อนการปฏิบัติงาน • การประเมินผลขณะปฏิบัติงาน เป็นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยทำเป็นระยะ • การประเมินผลหลังการปฏิบัติงาน เป็นการประเมินว่าโครงการได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ • การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นการประเมินผลงานหรือผลผลิตที่ได้จากการดำเนินงานว่าได้ผลงานตามที่วางไว้หรือไม่

  5. ประเภทของการประเมินผลประเภทของการประเมินผล • การประเมินผลความเพียงพอของการปฏิบัติงาน เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานว่าเพียงพอหรือไม่ • การประเมินประสิทธิภาพ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้ากับผลงาน • การประเมินผลกระบวนการ เป็นการศึกษาคุณลักษณะของแผนหรือโครงการว่าสนับสนุนต่อการจัดโครงการอย่างไร เช่น กลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอน สภาวการณ์

  6. วิธีการประเมินผล • ประเมินโดยการศึกษาและวิเคราะห์จากเอกสารและข้อมูลที่มีอยู่ • โดยการศึกษาและวิจัย เครื่องมือในการประเมิน • แบบบันทึก • แบบสัมภาษณ์ • แบบสอบถาม • แบบทดสอบ

  7. P D C A คือ อะไร • วงจร PDCA มาจากคำภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ • P - Planวางแผน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ และตั้งเป้าหมาย กำหนดขั้นตอนวิธีการ และระยะเวลา จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นทั้ง 4 M • D - Doปฏิบัติ โดยการทำความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติตามแผน • C - Check ตรวจสอบ เพื่อติดตามความคืบหน้า และดูผลสำเร็จของงานเมื่อเทียบกับแผน • A - Actปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม หากการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจ ก็จัดให้เป็นมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางให้ปฏิบัติต่อไป หากการปฏิบัติมีข้อควรปรับปรุง ให้กำหนดวิธีการปรับปรุงต่อไป

  8. ใน P D C A มี pdca • หากเราทำกิจกรรมเพียงเรื่องเล็กๆ เช่น จัดกระเป๋า ทำการบ้านหรือรายงาน เดินทางไปมหาวิทยาลัย กิจกรรมแต่ละอย่าง เราก็ใช้เพียงแค่ PDCAธรรมดา แต่บางครั้ง ขั้นตอนต่างๆ ก็ไม่สามารถแยก PDCAออกจากกันได้เด็ดขาด หรือกรณีการรับผิดชอบงานในขอบเขตกว้าง ใช้ระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน เราจะพบว่า ในPDCAก็ยังต้องมี pdcaอีก หรือเรียกง่าย ๆว่า ใน PDCAใหญ่ๆ ก็ต้องมี pdca ย่อยๆอีก เพื่อให้งานสำเร็จ

  9. ตัวอย่าง • นักศึกษาจะซื้อของใช้ภายในบ้าน PDCA ของกิจกรรมการซื้อของ ได้แก่

  10. ตัวอย่าง (ต่อ)

  11. การนำ PDCA ไปใช้เกิดประโยชน์อย่างไร • PDCA เพื่อป้องกัน- การนำวงจร PDCA ไปใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน การวางแผนที่ดีช่วยป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดี ลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆ - การทำงานที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ ทำให้การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม - การตรวจสอบที่นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำ หรือลดความรุนแรงของปัญหา ถือเป็นการนำความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์

  12. เทคนิคของ PDCA แต่ละขั้นตอน • เทคนิคการวางแผน Planการวางแผนที่ดี ควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้ • มีอะไรบ้างที่ต้องทำ - ทำอะไร - ที่ไหน - เมื่อไร - อย่างไร - โดยโคร

  13. เป้าหมายที่ดี ควรยึดหลัก SMARTER • S – specificชัดเจน เจาะจง • M- measurableวัดได้ ประเมินผลได้ • A- acceptableผู้ปฏิบัติยอมรับและเต็มใจทำ • R- realisticอยู่บนพื้นฐานความจริง ไม่เพ้อฝัน • T- time frameมีกรอบระยะเวลา • E – extendingเป็นเป้าหมายที่ท้าทายความสามารถ ไม่ใช่ว่าเคยทำได้ 10 ก็ตั้งเป้าหมาย ไว้แค่ 8 หรือแค่ 10 แต่ควรตั้งไว้อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ควรต่ำกว่า 11 • R – Rewardingคุ้มกับการปฏิบัติ หมายถึงเป้าหมายที่ทำไปแล้วเกิดประโยชน์ คุ้มค่ากับการลงแรงลงเวลาและทรัพยากร

  14. เทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติเทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติ • Doลงมือทำตามแผนที่วางไว้ อย่างเป็นระบบตามขั้นตอน โดยใช้ ACTION PLAN

  15. เทคนิคขั้นตอนตรวจสอบ Check - ตรวจสอบวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริง ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่ - ตรวจสอบผล ที่ได้ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่

  16. เทคนิคขั้นตอนการปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสมเทคนิคขั้นตอนการปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม Act - หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าเราทำได้ตามเป้าหมาย ให้รักษาความดีนี้ไว้ - หากตรวจสอบแล้ว พบว่ามีข้อผิดพลาดไม่ว่าในขั้นตอนใดๆ ก็ตาม ให้หาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุ - หาทางปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม - จัดทำการประเมินผลโครงการ เพื่อใช้ในการพัฒนางานต่อไป

More Related