1 / 19

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ( Intangible Assets ) ผศ. ณัฐชา วัฒนวิไล

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ( Intangible Assets ) ผศ. ณัฐชา วัฒนวิไล. ลักษณะของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน รายการที่เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ความหมายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน มูลค่าเมื่อเริ่มแรก (ราคาทุน) ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน รายจ่ายภายหลังการได้มาสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

Download Presentation

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ( Intangible Assets ) ผศ. ณัฐชา วัฒนวิไล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) ผศ. ณัฐชา วัฒนวิไล

  2. ลักษณะของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ลักษณะของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • รายการที่เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • ความหมายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • มูลค่าเมื่อเริ่มแรก (ราคาทุน) ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • รายจ่ายภายหลังการได้มาสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • การวัดมูลค่าหลังการรับรู้เมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • การด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • การเปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

  3. ลักษณะของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนลักษณะของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1. ขาดการคงอยู่ทางกายภาพ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ขาดรูปร่าง แต่ให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต 2. มีความไม่แน่นอนของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต รายการที่เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัญญาอนุญาตให้ใช้ชื่อและดำเนินธุรกิจ(สัมปทาน) ชื่อการค้า เครื่องหมายการค้า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ค่าความนิยม

  4. ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิแต่ผู้เดียวในการ ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ ให้ โอน หรือขาย ผลงาน ผลงานเขียน งานพูด งานพิมพ์ งานดนตรี งานภาพยนต์ งานภาพ งานปั้น งานสถาปัตยกรรม งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้สร้างสรรค์ได้จัดทำขึ้น ลิขสิทธิ์ กฎหมายคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ + 50 ปีต่อไป สิทธิบัตร คือ หนังสือที่ออกให้เพื่อคุ้มครอง การประดิษฐ์ และ การออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ กฎหมายให้มีอายุ 20 ปี สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ กฎหมายให้มีอายุ 10 ปี

  5. สัญญาอนุญาตให้ใช้ชื่อและดำเนินธุรกิจสัญญาอนุญาตให้ใช้ชื่อและดำเนินธุรกิจ (สัมปทาน หรือ แฟรนไชส์) คือ สัญญาของบุคคล 2 ฝ่ายคือ แฟรนไชซอร์(ผู้ให้สิทธิ) กับ แฟรนไชซี่(ผู้รับสิทธิ) แฟรนไชซี่ ได้รับสิทธิดำเนินธุรกิจและใช้ชื่อของแฟรนไชซอร์ แฟรนไชซี่ต้องจ่ายผลตอบแทน 2 ส่วนคือ 1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เมื่อเริ่มแรก (Franchisee fees) ถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 2. ค่าตอบแทนรายงวดระหว่างการดำเนินงาน (Royalty fees) ถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวดที่เกิด อายุของสัญญาขึ้นอยู่กับข้อตกลงของคู่สัญญา

  6. เครื่องหมายการค้า และชื่อทางการค้า คือ เครื่องหมายหรือชื่อที่ใช้เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นแตกต่างกับ สินค้าของผู้อื่น เครื่องหมายการค้า และชื่อทางการค้า ถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือ เป็นค่าใช้จ่ายก็ได้หากจำนวนเงินไม่มีนัยสำคัญ จดทะเบียนตามกฎหมาย หรือไม่จดก็ได้ จดทะเบียนมีอายุ 10 ปี โดยจดทะเบียนต่อได้ครั้งละ 10 ปี

  7. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วนคือ 1. ฮาร์ดแวร์ 2. ซอฟท์แวร์ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) บันทึกเป็นสินทรัพย์ประเภทที่ดินอาคารและอุปกรณ์ 2. ซอฟท์แวร์ (Software) บันทึกเป็นสินทรัพย์ประเภทที่ดินอาคารและอุปกรณ์ หรือ เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือ เป็นค่าใช้จ่าย

  8. Operation Software บันทึกเป็นสินทรัพย์ประเภทที่ดินอาคารและอุปกรณ์ Application Software ซื้อมาเพื่อใช้ หรือให้เช่า บันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซื้อมาขายในทางการค้าหากำไร บันทึกเป็นสินค้า สร้างขึ้นเอง แบ่งรายจ่ายเป็น 2 ส่วน คือ 1. รายจ่ายในขั้นวิจัย บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย 2. รายจ่ายในขั้นพัฒนา 2.1 เพื่อใช้ หรือให้เช่า บันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ถ้า ระบุได้ + ควบคุมได้ + ให้ประโยชน์ในอนาคต ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อข้างต้นให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย 2.2 เพื่อขาย บันทึกเป็นสินค้า

  9. ค่าความนิยม 1. ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ 2. ค่าความนิยมที่ได้มาพร้อมกับการซื้อธุรกิจ ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ ไม่บันทึกเป็นสินทรัพย์ในงบการเงิน ค่าความนิยมที่ได้มาพร้อมกับการซื้อธุรกิจ บันทึกเป็นค่าความนิยม = ต้นทุนการซื้อธุรกิจ สูงกว่า สินทรัพย์สุทธิที่ได้มา ต.ย.ที่ 1 หน้า 270 ค่าความนิยม = 185,000 - 170,000 = 15,000 คุณสมบัติของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1. สามารถระบุได้ 2. อยู่ในความควบคุมของกิจการ 3. ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการ

  10. การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนการรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในอนาคต 2. สามารถวัดมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ ต้นทุน (ราคาทุน) ของสินทรัพย์ หมายถึง 1. จำนวนเงินสดหรือเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้สินทรัพย์มา 2. มูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่กิจการมอบให้เพื่อให้ได้สินทรัพย์มา ราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยการซื้อ เท่ากับ ราคาซื้อ+รายจ่ายในการซื้อ+รายจ่ายเพื่อให้สินทรัพย์พร้อมใช้งาน-ส่วนลด ต.ย.2 หน้า 275 ราคาทุนของลิขสิทธิ์ = 1,000 + 100 = 1,100 ต.ย.3 หน้า 275 ราคาทุนของแฟรนไชส์ = 2,000 - 200 = 1,800 เสมอ ไม่ว่าจะชำระเงินภายในเงื่อนไขการได้รับส่วนลดหรือไม่

  11. ราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยการออกหุ้นทุนของกิจการ เท่ากับ มูลค่ายุติธรรมของหุ้น หากไม่ทราบให้เท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ต.ย.4 หน้า 277 กรณีทราบราคายุติธรรมของหุ้น ราคาทุนของลิขสิทธ์ = 100 x 11.50= 1,150 กรณีไม่ทราบราคายุติธรรมของหุ้น ราคาทุนของลิขสิทธ์ = 1,160 ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการอุดหนุนจากรัฐบาล เท่ากับ รายจ่ายที่จ่ายไป หรือ มูลค่ายุติธรรม ต.ย.5 หน้า 279 ราคาทุนของสิทธิดำเนินรายการฯ = 10,000 หรือ = 30,000

  12. ราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยน 2 กรณีคือ กรณีที่ 1. แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ไม่เหมือนกัน(ไม่คล้ายคลึงกัน) กรณีที่ 2. แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เหมือนกัน(คล้ายคลึงกัน) 1. แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทีไม่เหมือนกัน(ไม่คล้ายคลึงกัน) ราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มา = มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์เดิม + เงินสดที่จ่ายเพิ่มหรือ -เงินสดที่ได้รับ 2. แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เหมือนกัน(คล้ายคลึงกัน) ราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มา = ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์เดิม หาก สินทรัพย์เดิมเกิดการด้อยค่า ต้องบันทึกการด้อยค่าก่อน ต.ย. ที่ 6 หน้า 280 (กรณีเหมือนกัน) Dr. ลิขสิทธิ์ (9,900 - 5,940) 3,960 ค่าตัดจำหน่ายสะสม (9,900 x3/5) 5,940 Cr. ลิขสิทธิ์ 9,900

  13. ต.ย.ที่ 8 หน้า 281 (กรณีไม่เหมือนกัน) Dr. สิทธิบัตร (7,500 + 2,500) 10,000 ค่าตัดจำหน่ายสะสม(ค่าเสื่อมราคาสะสม) 0 รายการขาดทุนจากการแลกเปลี่ยน (ผลต่าง) 500 Cr. ที่ดิน 8,000 เงินสด 2,500 กำไร(ขาดทุน)จากการแลกเปลี่ยน F.V. ที่ดิน 7,500 B.V. ที่ดิน ราคาทุน 8,000 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 08,000 ขาดทุน 500

  14. ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สร้างขึ้นเองราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สร้างขึ้นเอง รายจ่ายขั้นวิจัย บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย รายจ่ายขั้นพัฒนา บันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือ บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายหากไม่เข้าเงื่อนไขที่จะรับรู้เป็นสินทรัพย์ได้ รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลัง บันทึกเป็นสินทรัพย์ เมื่อ รายจ่ายนั้นทำให้เกิดประโยชน์สูงขึ้นกว่ามาตรฐานการใช้งานเริ่มแรก สามารถวัดมูลค่าและกำหนดให้กับสินทรัพย์ได้อย่างสมเหตุผล หากไม่เข้าเงื่อนไข 2 ข้อข้างต้น ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย

  15. การตีราคาใหม่ ตีราคาใหม่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับเท่านั้น การตีราคาเพิ่ม มูลค่าที่เพิ่มบันทึกคู่กับ 1. รายการกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์ (ไม่เกินผลขาดทุนจากการตีราคาที่รับรู้ไว้ในงวดก่อน ๆ) 2. ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ การตีราคาลด มูลค่าที่ลดบันทึกคู่กับ 1. ลดบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ (ไม่เกินส่วนเกินทุนฯ ที่รับรู้ไว้ในงวดก่อน ๆ) 2. รายการขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์

  16. การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ระยะเวลาในการตัด ตามอายุการใช้งานทางเศรษฐกิจ แต่ไม่เกิน 20 ปี หากจะตัดจำหน่ายเกิน 20 ปี ก็ได้หาก 1. กฎหมายให้อายุเกิน 20 ปี 2. เป็นสินทรัพย์ที่คงอยู่รวมกับสินทรัพย์อื่นที่อายุเกิน 20 ปี ถ้าตัดจำหน่ายเกิน 20 ปี ต้องปฏิบัติ 2 ประการคือ 1. วัดการด้อยค่า ถึงแม้ว่าจะไม่มีข้อบ่งชี้ก็ตาม 2. เปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน วิธีในการตัดจำหน่าย มีหลายวิธีเช่นเดียวกับค่าเสื่อมราคา เช่น เส้นตรง Activity SYD Double ต้องเลือกวิธีที่สะท้อนรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต หากไม่สามารถกำหนดได้ ให้ใช้วิธีเส้นตรง

  17. บันทึกการตัดจำหน่าย Dr. ค่าตัดจำหน่าย xx Cr. ค่าตัดจำหน่ายสะสม xx ค่าตัดจำหน่าย เหมือน ค่าเสื่อมราคา เป็น ค่าใช้จ่าย หรือเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ตัวอื่น ค่าตัดจำหน่ายสะสม เหมือน ค่าเสื่อมราคาสะสม เป็น บัญชีปรับมูลค่าสินทรัพย์ในงบดุล งบดุล สิทธิบัตร (ราคาทุน) xx หัก ค่าตัดจำหน่ายสะสม xx xx

  18. ข้อ 7 หน้า 382 (กรณีเหมือนกัน) Dr. สิทธิบัตร (100,000 - 22,000) 78,000 ค่าตัดจำหน่ายสะสม 22,000 Cr. สิทธิบัตร 100,000 ข้อ 8 หน้า 382 (กรณีไม่เหมือนกัน) Dr. สิทธิบัตร (79,000 + 25,000) 104,000 ค่าตัดจำหน่ายสะสม 22,000 Cr. สิทธิบัตร 100,000 เงินสด 25,000 รายการกำไรจากการแลกเปลี่ยน (ผลต่าง) 1,000 F.V. เก่า 79,000 B.V. เก่า 100,000-22,000 78,000 กำไร 1,000

  19. ข้อ 10 หน้า 382 (กรณีไม่เหมือนกัน) Dr. ค่าตัดจำหน่าย(100,000 / 5 x 9 /12) 15,000 Cr. ค่าตัดจำหน่ายสะสม 15,000 Dr. สิทธิบัตร (85,000 + 17,000) 102,000 ค่าตัดจำหน่ายสะสม(100,000/5x12/12) 20,000 Cr. สิทธิบัตร 100,000 เงินสด(102,000-85,000) 17,000 รายการกำไรจากการแลกเปลี่ยน (ผลต่าง) 5,000 หรือ 85,000-(100,000-20,000= 80,000) ถ้า บ.ห้าสิบจะใช้สิทธิบัตรใหม่ 6 ปี 31 ธ.ค. 2550 Dr. ค่าตัดจำหน่าย (102,000 / 6 x 3 /12) 4,250 Cr. ค่าตัดจำหน่ายสะสม 4,250

More Related