1 / 101

ไฟฟ้าสถิต Electrostatics

ไฟฟ้าสถิต Electrostatics. รายวิชา ฟิสิกส์ 14 รหัสวิชา ว 30214. ครูเทวัญ ดีจรัส. ความเป็นมาของไฟฟ้าและแม่เหล็ก. ค.ศ. 1600 : William Gilbert พบอำนาจทางไฟฟ้าของประจุในแท่งอำพัน ( amber ). ค.ศ. 1785 : Charles Coulomb เสนอกฎของคูลอมบ์.

tierra
Download Presentation

ไฟฟ้าสถิต Electrostatics

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ไฟฟ้าสถิตElectrostatics รายวิชา ฟิสิกส์ 14 รหัสวิชา ว30214 ครูเทวัญ ดีจรัส

  2. ความเป็นมาของไฟฟ้าและแม่เหล็กความเป็นมาของไฟฟ้าและแม่เหล็ก • ค.ศ. 1600 : William Gilbert พบอำนาจทางไฟฟ้าของประจุในแท่งอำพัน (amber) • ค.ศ. 1785 : Charles Coulomb เสนอกฎของคูลอมบ์ • ค.ศ. 1819 : Hans Oersted พบเข็มทิศเบี่ยงเบนเมื่ออยู่ใกล้ลวดตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้า • ค.ศ. 1831 : Michael Faraday และ Joseph Henry พบว่าเมื่อขดลวดหมุนตัดเส้นแรงแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า • ค.ศ. 1873 : James Clerk Maxwell ค้นพบกฎของแม่เหล็กไฟฟ้า

  3. Benjamin Franklin ศึกษา ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติคือ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า

  4. ใช้ว่าวกับแผ่นทองแดงไปล่อฟ้าผ่านั้นเอง ทำให้เรารู้ว่า ฟ้าผ่าเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดจากการไหลของประจุไฟฟ้าจากที่ๆมีศักย์ไฟฟ้าสูงไปยังที่ๆมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ

  5. ประจุไฟฟ้า (Electric Charges) • ประจุไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ ประจุลบและประจุบวก • ประจุลบ คือประจุที่ประกอบด้วยอิเล็กตรอน • ประจุบวก คือประจุที่ประกอบด้วยโปรตอน • ประจุชนิดเดียวกันจะผลักกันประจุต่างชนิดกันจะดูดกัน • หน่วยของประจุคือคูลอมบ์ (C): 1 C คือประจุของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนจำนวน 6.24x1018อนุภาค หรือประจุของกระแสไฟฟ้า1 A ที่ไหลผ่าน 1 s

  6. ภาพการสาธิตแรงดูดและแรงผลักระหว่างประจุภาพการสาธิตแรงดูดและแรงผลักระหว่างประจุ • ภาพทางขวาคือแรงดูดระหว่างประจุต่างชนิดกัน • ภาพทางซ้ายคือแรงผลักระหว่างประจุชนิดเดียวกัน

  7. การอนุรักษ์(Conservation of Charge) • ในระบบที่อยู่โดดเดี่ยวประจุจะเป็นปริมาณที่อนุรักษ์โดยไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้หรือสูญหายไปไหน • ในวัตถุใดๆ จำนวนประจุจะเป็นจำนวนเท่ากับประจุอิเล็กตรอน: Q = Ne • N คือ เลขจำนวนเต็ม • e = 1.6 x 10-19 C • e = -e สำหรับอิเล็กตรอน • e = +e สำหรับโปรตอน

  8. ตัวนำ และ ฉนวน (electrical and conductor) • ตัวนำ คือวัตถุที่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนอิสระจำนวนมาก • อิเล็กตรอนไม่ถูกจำกัดให้อยู่ในอะตอมแต่สามารถเคลื่อนที่ไปได้อย่างอิสระในวัตถุ เช่น ในทองแดงและ อะลูมิเนียม • เมื่ออัดประจุให้กับตัวนำณบริเวณหนึ่ง ประจุจะกระจายไปทั่วทั้งก้อน • ฉนวน คือวัสดุที่มีอิเล็กตรอนทั้งหมดอยู่ในอะตอม • อิเล็กตรอนไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระเช่นในแก้วและไม้ • เมื่อทำการอัดประจุให้กับฉนวนณบริเวณหนึ่งประจุไม่สามารถกระจายไปยังบริเวณอื่น

  9. การทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าการทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า การถู

  10. การถ่ายเทประจุ (Electrostatic Discharge) วีดิโอ

  11. เหนี่ยวนำ Electrical Induction • การอัดประจุโดยการเหนี่ยวนำไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสกันระหว่างวัตถุ • ในวัตถุที่เป็นโลหะทรงกลมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีประจุบวกและลบจำนวนเท่ากัน • เมื่อนำแท่งยางที่มีประจุมาใกล้ทรงกลมประจุในทรงกลมจะจัดเรียงตัวใหม่

  12. เมื่อต่อทรงกลมลงดินอิเล็กตรอนบางส่วนจะหนีลงดินเมื่อต่อทรงกลมลงดินอิเล็กตรอนบางส่วนจะหนีลงดิน • เมื่อตัดเส้นลวดลงดินออกจะมีประจุบวกมากกว่าประจุลบในทรงกลมหรือเกิดการเหนี่ยวนำประจุบวกขึ้นในทรงกลม • เมื่อเคลื่อนแท่งยางออกอิเล็กตรอนจะเรียงตัวใหม่โดยทรงกลมยังมีประจุสุทธิเป็นบวก

  13. เครื่องตรวจสอบประจุฟ้า (Electroscope)

  14. การตรวจสอบวัตถุว่ามีประจุไฟฟ้าหรือไม่การตรวจสอบวัตถุว่ามีประจุไฟฟ้าหรือไม่ ต้องทำให้อิเล็กโตรสโคปเป็นกลางทางไฟฟ้าเสียก่อนโดยใช้นิ้วแตะที่ลูกพิธหรือแผ่นจานโลหะแล้วจึงนำวัตถุที่ต้องสงสัยไปใกล้กับอิเล็กโทรสโคป กรณีเป็นเป็นลูกพิธ ถ้าลูกพิธไม่เบี่ยงเบน แสดงว่าวัตถุนั้นเป็นกลางทางไฟฟ้า ถ้าลูกพิธ เบนเข้า แสดงว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้า กรณีเป็นแผ่นโลหะ ถ้าขาของแผ่นโลหะไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่าวัตถุนั้นเป็นกลางทางไฟฟ้า ถ้าขาของแผ่นโลหะกางออกแสดงว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้า

  15. การตรวจสอบชนิดของประจุการตรวจสอบชนิดของประจุ ต้องทำให้อิเล็กโตรสโคปมีประจุไฟฟ้าเสียก่อน ถ้าเป็นแบบแผ่นโลหะสังเกตจากขาทั้งสองกางออก แล้วจึงนำวัตถุที่มีประจุสงสัยเข้าไปใกล้กับอิเล็กโทรสโคป กรณีเป็นลูกพิธ ถ้าลูกพิธเบนเข้า แสดงว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าชนิดตรงข้ามกับลูกพิธ ถ้าลูกพิธเบนออก แสดงว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกับลูกพิธ กรณีเป็นแผ่นโลหะ ถ้าขาของแผ่นโลหะกางออกมากขึ้น แสดงว่าวัตถุนั้นมีประจุชนิดเดียวกับอิเล็กโตรสโคป ถ้าขาของแผ่นโลหะหุบเข้า แสดงว่าวัตถุนั้นมีประจุชนิดตรงข้ามกับอิเล็กโตรสโคป

  16. แรงระหว่างประจุและกฎของคูลอมบ์(Coulomb's law) แรงที่เกิดระหว่างประจุไฟฟ้า มีทั้งแรงดูดและแรงผลัก และเป็นแรงต่างร่วม คือทั้งสองฝ่ายจะออกแรงกระทำซึ่งกันและกันด้วยขนาดของแรงที่เท่ากัน แต่มีทิศตรงข้ามกัน ระจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกัน และประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะดูดกัน คูลอมบ์ได้ทำการทดลองพบว่า “แรงไฟฟ้าที่เกิดจะ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณประจุไฟฟ้า และ ระยะห่างระหว่างประจุทั้งสอง โดยจะเป็นสัดส่วน โดยตรงกับผลคูณของประจุแต่จะเป็นสัดส่วนผกผันกับ กำลังสองของระยะทางระหว่างประจุคู่นั้น” ชาร์ล ออกุสติน เดอ คูลอมบ์ (Charles Augustin de Coulomb) นักฟิสิกส์ ชาวฝรั่งเศส (เกิด พ.ศ. 2279)

  17. สมการของแรงระหว่างประจุจุด (point charge) : • keคือ ค่าคงตัวของคูลอมบ์ • ke = 8.9875 x 109 N.m2/C2 = • คือ ค่าสภาพยอมของสุญญากาศ • = 8.8542 x 10-12 C2 / N.m2

  18. เวกเตอร์ของแรงระหว่างประจุเวกเตอร์ของแรงระหว่างประจุ • เวกเตอร์ของแรงจะอยู่ในแนวเชื่อมต่อระหว่างประจุดังรูป • เวกเตอร์ของแรงระหว่างประจุชนิดเดียวกันจะมีทิศออกจากกัน • เวกเตอร์ของแรงระหว่างประจุต่างชนิดกันจะมีทิศเข้าหากัน • แรงระหว่างประจุจะเป็นไปตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตันหรือ

  19. หลักการซ้อนทับ • แรงรวมของระบบที่มีหลายประจุจะเป็นไปตามหลักการซ้อนทับ (principle of superpositon) หรือ • ถ้าประจุมี 6 ประจุ แรงรวมที่ประจุที่ 1 มีค่าเป็น

  20. ตัวอย่างที่ 1 แท่งโลหะมีประจุไฟฟ้า +5.0 C จงหาจำนวนอิเล็กตรอนที่หลุดเข้ามาอยู่ในแท่งโลหะนี้ จนทำให้แท่งโลหะมีประจุ -3.0 C

  21. ตัวอย่างที่ 2 จงหาขนาดแรงไฟฟ้าระหว่างอิเล็กตรอนและโปรตอนของอะตอมไฮโดรเจนซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 5.3x10-11m แล้ว จงเปรียบเทียบกับขนาดแรงดึงดูดระหว่างมวลของอนุภาคทั้งสอง

  22. ตัวอย่างที่ 3 ประจุ 4 ตัว คือ A, B, C และ D วางเป็นแนวเส้นตรงห่างกันตำแหน่งละ 4 cm มีประจุ -2 C, 8 C, +4 C และ –12 C ตามลำดับ จงหาแรงลัพธ์ที่กระทำต่อประจุที่ตำแหน่ง C A D B C

  23. ตัวอย่างที่ 4 จงหาแรงลัพธ์ทางไฟฟ้าบนอนุภาค q3 ที่กระทำโดยอนุภาค q1 และ q2 ซึ่งวางอยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมดังรูป กำหนดให้ q1=q3=5.0 C, q2= 2.0 C และa = 0.1 m

  24. ตัวอย่างที่ 5 ลูกพิธสองลูกขนาดเท่ากันมีมวล 0.1 กรัม ผูกด้วยเส้นด้ายยาว 1 เมตร เมื่อจับจุดกึ่งกลางเส้นด้ายแขวนไว้กับเพดาน แล้วให้ประจุแก่ลูกพิธทั้งสองเท่ากันและชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดแรงผลักจนทำให้เส้นด้ายเอียงทำมุม 60 องศาต่อกัน ดังรูป ลูกพิธแต่ละลูกมีประจุไฟฟ้าเท่าใด

  25. สนามไฟฟ้า (Electric field) Faradayเป็นผู้เสนอแนวความคิดของสนามไฟฟ้าโดยกล่าวว่าจะเกิดสนามไฟฟ้าขึ้นรอบๆ วัตถุที่มีประจุซึ่งเรียกว่า ประจุต้นกำเนิด (source charge ) โดยประจุนี้สามารถส่งแรงกระทำต่อประจุที่นำมาวาง เรียกว่าประจุทดสอบ (test charge) ประจุทดสอบจะต้องมีค่าไม่มากเกินไป จนไปรบกวนประจุที่ก่อให้เกิดสนามไฟฟ้า

  26. สนามไฟฟ้า (Electric field) นิยามของสนามไฟฟ้า (E) เนื่องจากอิทธิพลของประจุต้นกําเนิด (Q) คือแรงที่กระทํากับประจุทดสอบ (F) ต่อขนาดของประจุทดสอบ q0นั้น F

  27. ทิศของสนามไฟฟ้า ทิศทางของสนามไฟฟ้าคือทิศทางของแรงที่กระทำบนประจุทดสอบที่เป็นบวกดังรูป - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ทิศสนามไฟฟ้าจากประจุบวก ทิศสนามไฟฟ้าจากประจุลบ

  28. เส้นสนามไฟฟ้า (electric filed lines) เส้นสนามไฟฟ้าเป็นเส้นที่ใช้แสดงทิศทางของสนามไฟฟ้า สนามไฟฟ้าจะมีทิศในแนวเส้นสัมผัสกับเส้นสนามจํานวนเส้นสนามที่ทะลุผ่านพื้นที่ที่ตั้งฉากกับเส้นสนามแปรผันตรงกับขนาดหรือความเข้มของสนามไฟฟ้าในบริเวณนั้น บริเวณที่มีเส้นสนามอยู่ชิดกันมากจะมีค่าสนามไฟฟ้าสูงข้อควรระวังคือเส้นสนามบอกทิศทางของแรงที่กระทํากับประจุทดสอบแต่เส้นสนามไม่ใช่เส้นทางการเคลื่อนที่ของประจุทดสอบ เส้นสนามไฟฟ้าที่บริเวณ A มีความเข้มมากกว่าบริเวณ B

  29. คุณสมบัติของเส้นสนามไฟฟ้าคุณสมบัติของเส้นสนามไฟฟ้า • เส้นแรงไฟฟ้าจะมีทิศทางพุ่งออกจากประจุบวกและพุ่งเข้าสู่ประจุลบ • เส้นแรงไฟฟ้าจากประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน ไมเสริมเป็นแนวเดียวกัน แต่จะเบนแยกจากกันเป็นแต่ละแนว ส่วนเส้นแรงไฟฟ้าจากประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน จะเสริมเป็นแนวเดียวกัน • เส้นแรงไฟฟ้าต้องไม่ตัดกัน • วัตถุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าจะไม่มีเส้นแรงไฟฟ้าผ่านเนื้อวัตถุ แต่จะเริ่มที่ผิวและสิ้นสุดที่ผิว • เส้นแรงไฟฟ้าจะต้องตั้งฉากกับผิววัตถุ

  30. เส้นสนามไฟฟ้า (electric filed lines) • เส้นสนามไฟฟ้าจะออกจากประจุบวก ดังรูป ประจุบวก

  31. เส้นสนามไฟฟ้า (electric filed lines) • เส้นสนามไฟฟ้าจะออกจากประจุบวกและเข้าสู่ประจุลบ ดังรูป ประจุลบ

  32. เส้นสนามไฟฟ้า (electric filed lines) • สำหรับขั้วคู่ไฟฟ้าจำนวนเส้นสนามไฟฟ้าที่ออกจากประจุบวกจะเท่ากับที่เข้าสู่ประจุลบ • สำหรับประจุบวก 2 ประจุที่มีขนาดเท่ากัน จำนวนเส้นสนามไฟฟ้าที่ออกจากแต่ละประจุจะเท่ากัน

  33. สนามไฟฟ้าเนื่องจากจุดประจุสนามไฟฟ้าเนื่องจากจุดประจุ ในกรณีนี้จะพิจารณาเมื่อมีประจุ Q ปริมาณหนึ่งวางไว้ที่จุด ๆ หนึ่ง ค่าของสนามไฟฟ้าเนื่องจากประจุ +Q ณ จุดใด ๆ พิจารณาได้ดังนี้คือ นำประจุทดสอบ +q มาวางห่างจากประจุ +Q เป็นระยะ r แล้วมีแรง F กระทำต่อประจุ +q ตามรูป แรงที่กระทำต่อประจุ q คือ +Q +q r F

  34. ปัญหา 1 A มีประจุ +5 ไมโครคูลอมบ์ที่ตำแหน่ง x=0 B มีประจุ -10 ไมโครคูลอมบ์ ที่ตำแหน่ง x = 10 cm จงหาขนาดและทิศของสนามไฟฟ้าที่ตำแหน่ง x=-5 cm A B

  35. ปัญหา 2 P ประจุ q1=7.0 ไมโครคูลอมบ์ วางอยู่ที่จุดกำเนิดและประจุ q2= -5.0 ไมโครคูลอมบ์ วางอยู่ห่างจากจุดกำเนิดเป็นระยะ 0.3 เมตร บนแกน x ดังรูป จงหาสนามไฟฟ้าที่จุด P

  36. จุดสะเทินไฟฟ้า คือจุดที่อยู่ในสนามไฟฟ้าแต่ไม่มีเส้นแรงไฟฟ้าผ่านทำให้ ณ จุดนั้นมีความเข้มสนามไฟฟ้าเป็นศูนย์ จุดสะเทินเนื่องจากประจุชนิดเดียวกัน จะอยู่ระหว่างประจุทั้งสองและใกล้ประจุที่น้อยกว่า จุดสะเทินเนื่องจากประจุต่างชนิดกัน จะอยู่นอกประจุและอยู่ด้านที่มีประจุน้อยกว่า

  37. การเกิดจุดสะเทินไฟฟ้าการเกิดจุดสะเทินไฟฟ้า จุดสะเทินจากประจุชนิดเดียวกัน จุดสะเทินจากประจุต่างชนิดกัน

  38. วัตถุ A มีประจุ +4 ไมโครคูลอมบ์ วัตถุ B มีประจุ +16ไมโครคูลอมบ์ วางห่างกัน 30cm ตำแหน่งจุดสะเทินอยู่ห่างจากวัตถุ B เท่าใด ปัญหา 3

  39. ปัญหา 4 วัตถุ A มีประจุ +8 ไมโครคูลอมบ์ วางห่างจากวัตถุ B เป็นระยะ 30 เซนติเมตร ถ้าตำแหน่งจุดสะเทินห่างจากวัตถุ A เป็นระยะ 20 เซนติเมตร วัตถุ B จะต้องมีประจุประมาณเท่าใด

  40. สนามไฟฟ้าเนื่องจากแผ่นประจุเดี่ยวขนาดใหญ่สนามไฟฟ้าเนื่องจากแผ่นประจุเดี่ยวขนาดใหญ่ แผ่นระนาบอนันต์มีความหนาแน่นประจุต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่  สนามไฟฟ้าที่ตำแหน่งห่างจากแผ่นระนาบเป็นระยะ r คือ จะเห็นว่าสนามไฟฟ้ากรณีนี้ไม่ขึ้นกับระยะ r

  41. สนามไฟฟ้าระหว่างแผ่นประจุขนานขนาดใหญ่สนามไฟฟ้าระหว่างแผ่นประจุขนานขนาดใหญ่ เนื่องจากเส้นแรงไฟฟ้าต้องตั้งฉากกับผิววัตถุดังนั้นเส้นแรงไฟฟ้าภายในแผ่นคู่ขนานจึงขนานกันตลอด ทำให้ค่าความเข้มสนามไฟฟ้าระหว่างแผ่นขนานคงตัว แสดงว่าสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอ (Uniform field) คือ ส่วนด้านบนและด้านล่างของแผ่นระนาบขนาน มีทิศของสนามไฟฟ้าจากแผ่นระนาบทั้งสองในทิศสวนทางกัน ดังนั้นจะได้สนามไฟฟ้านอกบริเวณระหว่างแผ่นระนาบขนานมีค่าเป็นศูนย์ ดังรูป

  42. พิจาณาแรงกระทำและสนามไฟฟ้าที่เกิดกับประจุทดสอบที่นำมาวางในบริเวณดังรูปพิจาณาแรงกระทำและสนามไฟฟ้าที่เกิดกับประจุทดสอบที่นำมาวางในบริเวณดังรูป สรุปว่า จะได้ว่าทิศของแรง ทิศของสนามไฟฟ้าจะมีทิศเดียวกัน สำหรับประจุทดสอบบวกที่นำมาวางในสนามไฟฟ้า และทิศของแรง ทิศของสนามไฟฟ้าจะมีทิศตรงข้ามกันสำหรับประจุทดสอบลบที่นำมาวางในสนามไฟฟ้า

  43. การเคลื่อนที่ของอนุภาคมีประจุในสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอ

  44. ความเร่งของอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนในสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอความเร่งของอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนในสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอ a q + Fe mg

  45. ปัญหา 5 สนามไฟฟ้าสม่ำเสมอขนาด 104นิวตันต่อคูลอมบ์ มีทิศลงตามแนวดิ่ง ลูกพิทมวล 0.02 กรัม เคลื่อนที่ลงด้วยความเร่ง 2 เมตรต่อวินาที2 ลูกพิทมีอิเล็กตรอนเกินหรืออิเล็กตรอนขาดหายไป กี่ตัว

  46. ปัญหา 6 แผ่นโลหะมีประจุ 2 แผ่นวางห่างกัน 15 cm สมมติอยู่ในสุญญากาศ ดังรูป สนามไฟฟ้าระหว่างแผ่นโลหะมีค่าสม่ำเสมอ ขนาด 3000 N/C อิเล็กตรอนตัวหนึ่งถูกปล่อยจากจุดอยู่นิ่งที่จุด P จงหาว่า 1) อิเล็กตรอนใช้เวลาเท่าไร ในการเคลื่อนที่ไปจนถึงแผ่น A 2) อิเล็กตรอนมีอัตราเร็วท่าไร ก่อนถึงแผ่นโลหะ A 3) ถ้าเปลี่ยนเป็นโปรตอน จะเคลื่อนที่ไปถึงแผ่น A ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

  47. ปัญหา 7 จากรูป ลูกบอลขนาดเล็กมีมวล 0.40 kg จงหาชนิดและขนาดของประจุไฟฟ้าที่ทำให้เส้นเชือกเบาเอียงทำมุม  = 37 องศา ให้g เท่ากับ 10 m/s2

  48. สนามไฟฟ้าเนื่องจากประจุที่ผิวทรงกลมสนามไฟฟ้าเนื่องจากประจุที่ผิวทรงกลม ตัวนำทรงกลมตันหรือกลวงที่มีประจุไฟฟ้าอิสระ ประจุจะกระจายอยู่ที่ผิวของตัวนำทรงกลมอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มองว่าทรงกลมนี้ประพฤติตัวเหมือนจุดประจุรวมกันอยู่จุดศูนย์กลางทรงกลม ถึงอย่างไรภายในทรงกลมจะไม่มีเส้นแรงไฟฟ้าผ่าน นั่นคือความเข้มสนามไฟฟ้าภายในทรงกลมเป็นศูนย์ และความเข้มสนามไฟฟ้ามากที่สุดที่ผิวทรงกลมและจะมีขนาดลดลงตามระยะห่างจากทรงกลม เมื่อต้องการหาสนามไฟฟ้าที่จุดใด ๆ ของทรงกลมรัศมี R หาได้ตามสมการ

  49. สนามไฟฟ้าเนื่องจากประจุที่ผิวทรงกลมสนามไฟฟ้าเนื่องจากประจุที่ผิวทรงกลม กำหนดให้ Q = ประจุไฟฟ้าที่ผิวทรงกลม r = ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางทรงกลม

  50. กราฟของสนามไฟฟ้าที่ระยะห่าง r

More Related