1 / 14

คะแนนและความหมายของคะแนน

คะแนนและความหมายของคะแนน. สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คะแนน (score). หมายถึง ตัวเลขที่แสดงขนาดหรือปริมาณของความสำเร็จจากการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง

tia
Download Presentation

คะแนนและความหมายของคะแนน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คะแนนและความหมายของคะแนนคะแนนและความหมายของคะแนน สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. คะแนน (score) • หมายถึง ตัวเลขที่แสดงขนาดหรือปริมาณของความสำเร็จจากการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง • ในทางการศึกษา มักใช้คะแนนที่ได้จากการวัดแทนขนาดหรือปริมาณความรู้ ความสามารถ (รวมทั้งคุณลักษณะต่างๆ ตามมาตรฐานตัวชี้วัดคุณภาพของผู้เรียน) • วิธีการวัด และ เครื่องมือที่ใช้วัด มีผลเกี่ยวข้องโดยตรงกับคะแนน

  3. ธรรมชาติของคะแนน • X คือ คะแนนที่วัดได้จากเครื่องมือต่างๆ • T คือ คะแนนจริง ที่แสดงถึงความรู้ ความสามารถ (รวมทั้งคุณลักษณะต่างๆ) ที่แท้จริง • E คือ ความคลาดเคลื่อนจากการวัด X = T + E

  4. คะแนนดิบ (raw score) • เป็นตัวเลขที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น แบบทดสอบ • เป็นตัวเลขที่อยู่ในมาตรเรียงลำดับเท่านั้น แต่ละคะแนนอาจมีช่วงห่างไม่เท่ากัน • เป็นตัวเลขที่บอกขนาดหรือปริมาณงานที่ทำได้ เช่น ทำข้อสอบถูก 10 ข้อ ไม่ได้หมายความว่ามีความรู้เท่ากับ 10 • เป็นตัวเลขที่ไม่มีความหมายในตัวเอง เช่น สอบได้ 10 คะแนน ไม่มีความหมายว่ารู้มากหรือน้อยเพียงใด • คะแนนแต่ละงาน/วิชา ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เพราะหน่วยคะแนนอาจไม่เท่ากัน

  5. คะแนนแปลงรูป (derived score) • เป็นคะแนนที่ได้จากการแปลงคะแนนดิบ โดยใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ ทำให้ได้คะแนนแปลงรูปที่มีช่วงห่างของคะแนนเท่ากัน สามารถนำคะแนนแปลงรูปของแต่ละวิชา มาเปรียบเทียบ และบวกลบกันได้ ทำให้คะแนนมีความหมาย โดยสามารถบอกสภาพการเรียนรู้ของนักเรียนได้ว่า ใครเก่งหรืออ่อนวิชาใด มากน้อยเพียงใด • คะแนนมาตรฐาน (standard score) เป็นคะแนนแปลงรูปแบบหนึ่ง ที่มีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคงที่ มีช่วงคะแนนที่เท่ากัน สามารถนำมาเปรียบเทียบและรวมกันได้

  6. คะแนนมาตรฐานเชิงเส้นตรง(linear transformation) • เป็นการแปลงรูปคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน โดยยังคงรักษาลักษณะการแจกแจงของคะแนนไว้แบบเดิม Z = คะแนนมาตรฐานซี (Z-score) X = คะแนนดิบ X = คะแนนเฉลี่ยของคะแนนดิบ S = ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนดิบ T = คะแนนมาตรฐานที (T-score)

  7. ตัวอย่างการแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน Z และ T

  8. คะแนนมาตรฐานเชิงโค้งปกติ(normalized standard score) • เป็นคะแนนมาตรฐานที่แปลงมาจากคะแนนดิบ โดยอาศัยพื้นที่ใต้เส้นโค้งการแจกแจงแบบปกติ ปรับให้มีการกระจายของคะแนนดิบที่อาจมีลักษณะเบ้ซ้ายหรือเบ้ขวาให้มีลักษณะการกระจายแบบสมมาตร

  9. ขั้นตอนการแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนน T-ปกติ 1. เรียงคะแนนดิบจากคะแนนมากไปหาคะแนนน้อย 2. นับจำนวนความถี่ของแต่ละคะแนน (f) 3. หาความถี่สะสม จากคะแนนน้อยไปหาคะแนนมาก (cf) 4. หาความถี่สะสมถึงจุดกึ่งกลางของแต่ละชั้นคะแนน โดยเอาความถี่สะสมลบด้วยครึ่งหนึ่งของความถี่ (cfm=cf – ½ f) 5. หาตำแหน่ง percentile ของคะแนน โดยคำนวณจาก (%cfm=cfm x 100/N) 6. นำผลลัพธ์ในข้อ 5 ลบออกด้วย 50 (%cfm-50) 7. นำผลลัพธ์ในข้อ 6 หารด้วย 100 ((%cfm-50)/100) 8. นำผลลัพธ์ในข้อ 7 ไปเปิดหาค่า Z จากตารางการแจกแจงปกติ 9. คำนวณหาค่า T-ปกติ จากสูตร T = 50 + 10Z

  10. ตารางแสดงค่า Z จากพื้นที่ใต้โค้งปกติ

  11. ตัวอย่างการแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนน T-ปกติ

  12. การรวมคะแนน • กำหนดว่าคะแนนรวมที่นำมาพิจารณาสรุปผลการเรียนมีส่วนประกอบอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีน้ำหนักความสำคัญเท่าไร • แปลงคะแนนดิบของแต่ละส่วนประกอบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน • คูณคะแนนมาตรฐานด้วยน้ำหนักความสำคัญของแต่ละส่วนประกอบ • รวมคะแนนมาตรฐานที่คูณด้วยน้ำหนักความสำคัญเข้าด้วยกัน

  13. ตัวอย่างส่วนประกอบและน้ำหนักความสำคัญของคะแนนจากการวัดผลการเรียนรู้ตัวอย่างส่วนประกอบและน้ำหนักความสำคัญของคะแนนจากการวัดผลการเรียนรู้

  14. เอกสารอ้างอิง จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2556). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประกฤติยา ทักษิโณ.(2555). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประภาพร ศรีตระกูล. (2549). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พัชรี จันทร์เพ็ง. (2557). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2554). ความรู้ด้านการวัดผล การประเมิน การวิจัย และ สถิติ ทางการศึกษา. (http://home.kku.ac.th/sompo_pu/spweb/) ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

More Related