1 / 42

Chapter 4

Chapter 4. ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment System). วิชา การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce). อ เพียรทิพย์. วิธีการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. ปัจจุบันการชำระเงินที่นิยมคือการชำระผ่านบัตรเครดิตเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกแก่ลูกค้าและผู้ค้า

thornton
Download Presentation

Chapter 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 4 ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment System) วิชา การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) อ เพียรทิพย์

  2. วิธีการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์วิธีการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ปัจจุบันการชำระเงินที่นิยมคือการชำระผ่านบัตรเครดิตเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกแก่ลูกค้าและผู้ค้า • ผู้ซื้อสินค้าจำนวนมากยังไม่มีความแน่ใจในเรื่องของความปลอดภัยเนื่องจากกลัวการดักจับขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของมิจฉาชีพทางอินเทอร์เน็ต • ดังนั้นผู้ค้าจึงต้องเปิดช่องทางในระบบการชำระเงินให้หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้า

  3. องค์ประกอบหลักของระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์องค์ประกอบหลักของระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน ลูกค้า ร้านค้า ผู้กำหนดกฏระเบียบปฏิบัติมาตรฐาน เครือข่าย

  4. 1.ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.1 บริการธนาณัติ • 1.2 ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ (Postal Order) • 1.3 ไปรษณีย์/พัสดุ เก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery) • 1.4 เพย์ แอท โพสท์ (Pay at Post)

  5. 1.ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.1 บริการธนาณัติ กระบวนการโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์เริ่มจากผู้โอนซื้อธนาณัติจากที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศโดยมีข้อจำกัด - บุคคลธรรมดา วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท - ธุรกิจ ไม่เกิน 9,000,000 บาท - ค่าธรรมเนียม - 5 บาท สำหรับยอดเงิน 1000 บาทแรก - 1 บาทต่อทุก 1000 บาทถัดไป

  6. 1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.1 บริการธนาณัติ • ผู้ส่งสามารถเลือกความเร็วในการส่งได้โดยเรียงจากช้าที่สุดไปจนเร็วที่สุด คือ • ลงทะเบียน • ด่วนพิเศษ (EMS) • ทางโทรเลข (เร็วที่สุด เพราะเป็นการส่งผ่านเครือข่ายของไปรษณีย์ ที่เรียกว่า Message switching Center (MSC)

  7. 1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.2 ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ (Postal Order) • เหมาะกับส่งเงินจำนวนไม่มาก หรือหลีกเลี่ยงการพกเงินติดตัวในการเดินทางไกล • ผู้รับสามารถเอาตั๋วแลกเงินไปขอรับได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง

  8. 1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.2 ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ (Postal Order) • เหมาะกับส่งเงินจำนวนไม่มาก หรือหลีกเลี่ยงการพกเงินติดตัวในการเดินทางไกล • ผู้รับสามารถเอาตั๋วแลกเงินไปขอรับได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง • 1.3 ไปรษณีย์เก็บเงิน หรือ พัสดุเก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery) • การส่งสิ่งของหรือจดหมายเรียกเก็บเงินจากผู้รับปลายทางหรือพัสดุเก็บเงินปลายทาง สามารถส่งได้ทั้งพัสดุเก็บเงิน และไปรษณีย์ด่วยพิเศษเก็บเงิน • 1.4 เพย์ แอท โพสท์ (PAY AT POST) เป็นบริการชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านทุกที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ เพื่อความสะดวกรวดเร็วแก่ประชาชน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผ่านระบบออนไลน์ที่ไปรษณีย์

  9. 2. บริการโอนเงินผ่านทางธนาคาร • 2.1 โอนเงินผ่านเค้าเตอร์ธนาคาร เป็นการชำระค่าบริการโดยโอนเงินเข้าบัญชีโดยผ่านหน้าเคาน์เตอร์ โดยผู้ขำระต้องเดินทางไปที่ธนาคารและทำการโอนเงินด้วยตัวเอง โดยบริการโอนสามารถแบ่งบ่อยได้อีกหลายประเภทเช่น • การโอนปกติ • การโอนเงินรายใหญ่ (Baht Net) เป็นการโอนเงินทีละจำนวนมาก • การโอนเงินรายย่อย ไม่เกิน 500,000 บาท • การโอนเงินระหว่างประเทศ

  10. 2. บริการโอนเงินผ่านทางธนาคาร • โอนเงินระหว่างประเทศ • ระบบโอนเงินระหว่างประเทศ (SWIFT) เป็นการโอนเงินระหว่างประเทศโดยใช้เครือข่ายธนาคารที่มีอยู่ทั่วโลก • ธนาณัติ เวสต์เทิร์นยูเนี่ยน (Western Union) คือบริการเงินด่วนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านตัวแทนของเวสต์เทิร์นยูเนียน โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีของธนาคาร • ธนาณัติ มันนี่แกรม (MoneyGram) คล้ายกับเวิร์สเทิร์นยูเนี่ยน

  11. 2. บริการโอนเงินผ่านทางธนาคาร • 2.2 โอนเงินผ่านเครือ่งฝากเงินอัตโนมัติ (ATM) ถือว่าเป็นวิธีสะดวกที่สุดอีกวิธี สำหรับผู้ที่มีหมายเลขบัญชีธนาคารและบัตรเอทีเอ็ม • 2.3 ขำระผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (e-Banking) สามารถเปิดใช้บริการโดยกรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการ และจะได้ login และ password ในการเข้าใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตของธนาคารนั้น ๆ และคิดค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไขการให้บริการ

  12. 3.การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต3.การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต • เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีระบบที่รองรับการชำระที่สมบูรณ์แบบและรวดเร็ว แต่ยังติดปัญหาเรื่องความกังวลในเรื่องความปลอดภัย • คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการรับชำระผ่านบัตรเครดิต • จดทะเบียนเป็น บริษัท หรือ นิติบุคคล ไม่น้อยกว่า 1 ปี • ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท • วางเงินค้ำประกันตั้งแต่ 50,000-200,000 บาท • ไม่มีประวัติเสียหายด้านการเงิน • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว • ขายสินค้าไม่ผิดกฏหมาย • คุณสมบัติอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับธนาคารระบุไว้

  13. วิธีเริ่มต้นใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตกับธนาคารสำหรับร้านค้า e-Commerce • เปิดบัญชีกับธนาคารที่สมัครใช้บริการ • ทำการพัฒนาระบบของเว็บไซต์เพื่อเชื่อมต่อกับธนาคาร (แต่ละธนาคารจะมีขั้นตอนและวิธีต่างกันไป เรียก Payment Gateway) • ทดสอบระบบก่อนเปิดบริการเพื่อความั่นใจในเรื่องความปลอดภัยและใช้การได้โดยไม่หยุดกลางคันระหว่างการจ่ายเงิน

  14. ขั้นตอนของระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ตขั้นตอนของระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ต • ลูกค้าเข้ามาที่เว็บไซต์เลือกซื้อสินค้าและทำการสั่งซื้อสินค้าจากหน้าเว็บไซต์ โดยกดชำระเงิน • เว็บไซต์ของร้านค้าจะทำการลิงค์และส่งลูกค้าไปยังเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อกรอกข้อมูลบัตรเครดิต • ข้อมูลบัตรเครดิตจะวิ่งผ่านเครือข่ายธนาคารไปตรวจสอบข้อมูลเพื่อและระบุตัวตนกับธนาคารผู้ออกบัตร (Issues Bank) ว่าบัตรเครดิตนั้นเป็นบัตรที่มีเลขที่ถูกต้องหรือไม่ มีวงเงินพอหรือไม่ • ถ้ามีเงินพอ ธนาคารของลูกค้าจะตัดเงินออกจากวงเงินลูกค้าคนนั้น และแจ้งกลับมายังธนาคารของร้านค้าว่า อนุมัติ และรายการทำสำเร็จแล้ว

  15. ขั้นตอนของระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ต(ต่อ)ขั้นตอนของระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ต(ต่อ) • ธนาคารของร้านค้าส่งข้อมูลแจ้งกลับไปยังหน้าจอลูกค้าว่าเงินได้ถูกชำระและได้ตัดเงินไปแล้ว หากวงเงินไม่พอหรือบัตรผิด ธนาคารจะขึ้นหน้าจอแสดงว่าไม่สามารถตัดเงินได้ • หลังจากตัดเงินจากบัตรเครดิตลูกค้ามาแล้ว ธนาคารจะโอนเงินเข้าบัญชีของร้านค้าทันที • เมื่อสิ้นเดือน ลูกค้าจะได้รับใบเรียกเก็บเงินของบัตรเครดิตที่ได้ไปชำระเงินในเว็บไซต์ร้านค้า • ลูกค้าชำระเงินค่าสินค้าตามใบเรียกเก็บเงินของบัตรเครดิต กลับมายังธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต

  16. ลุกค้ากรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้ออนไลน์ เลือกการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสด้วยวิธี SSL หรือ SET ไปยังเว็บไซต์ของผู้ขาย 1 ลูกค้ากำลังดูเว็บไซต์ผู้ขาย เว็บไซต์ของผู้ขาย 2 ข้อมูลบัตรเครดิตถูกส่ง มายังธนาคารผู้ขาย ผ่าน เพย์เม้นท์ เกตเวย์ ลูกค้าจะได้รับการยืนยันคำสั่งซื้อว่าสำเร็จแล้ว 7 Payment Gateway 3 ธนาคารลูกค้าจัดส่งเงินไปยังบัญชีผู้ขาย 6 6 ธนาคารของลูกค้า Payment Gateway 4 5 ธนาคารของผู้ขาย ธนาคารของลูกค้ารับรองการใช้บัตรเครดิต ธนาคารผู้ขายส่งข้อมูลบัตรเครดิตไปยัง ธนาคารของลูกค้าผ่าน เพย์เม้นท์ เกตเวย์

  17. รูปแบบพฤติกรรมของผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตรูปแบบพฤติกรรมของผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต • ใช้ e-mail ที่ไม่สามารถตรวจสอบที่อยู่จริงได้ เช่น hotmail.com, yahoo.com เพื่อหลีกเลี่ยงในการระบุข้อมูลของผู้ใช้ • ใช้ซื้อสินค้าที่มีราคาแพง เพราะเมื่อซื้อมาได้แล้ว ก็จะสามารถนำไปขายต่อได้ เช่นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นต้น • ซื้อสินค้าทีละมาก ๆ จนดูผิดปกติจากรูปแบบการซื้อสินค้าทั่วไป เช่น การสั่งซื้อโทรศัพท์มือถือครั้งเดียวทีละมาก ๆ • ที่อยู่ที่ส่งสินค้าเป็นที่อยู่คนละที่กับที่อยู่บนบัตรเครดิต โดยยิ่งหากเป็นคนละประเทศยิ่งจะมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นบัตรเครดิตปลอม

  18. รูปแบบพฤติกรรมของผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตรูปแบบพฤติกรรมของผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต • ให้ระวังหากมีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศที่อยู่ในเครือข่ายน่าสงสัย อันได้แก่ • ประเทศโรมาเนีย • มาซิโดเนีย • ปากีสถาน • รัสเซีย • ลิทัวเนีย • อิยิปต์ • ไนจีเรีย • โคลัมเบีย • มาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศดังกล่าว ถูกระบุว่ามีอัตราการใช้บัตรเครดิตปลอมสูง

  19. วิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้าวิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้า • ข้อมูลของผู้สั่งซื้อต้องครบถ้วนและสามารถตรวจสอบได้ • เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ผู้ซื้อจะต้องให้ข้อมูลที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อและยืนยันการสั่งซื้อได้ • ไม่รับการสั่งซื้อจากผู้ใช้ที่ใช้ e-mail ฟรี หรือ e-mail Forwarding • ผู้ซื้อจะต้องใช้ e-mail จาก ISP หรือ Domain ที่สามารถตรวจสอบถึงที่อยู่ได้จริง • โทรตรวจสอบกลับไปยังที่อยู่ของผู้ที่ถือบัตรเพื่อยืนยันการสั่งซื้อ • หากโทรตรวจสอบไปยังเจ้าของบัตรแล้วพบว่า เจ้าของบัตรไม่ได้ทำการสั่งซื้อสินค้ารีบแจ้งกับธนาคารที่ออกบัตรเพื่อระงับทันที

  20. วิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้าวิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้า • การตรวจสอบแหล่งที่มาของบัตรเครดิต • เมื่อมีผู้สั่งซื้อสินค้าเข้า และหากพบว่าเป็นจำนวนเงินมากจนน่าผิดสังเกต ให้ธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ช่วยตรวจสอบ เช่นตรวจสอบว่าบัตรนั้นเป็นบัตรจากผู้สั่งซื้อมาจากประเทศไทย แต่ตัวบัตรมาจากประเทศแถบแอฟริกาใต้ ก็น่าจะระบุได้ว่าผู้ซื้อได้ใช้เลขที่บัตรเครดิตคนอื่นมาชำระเงิน • แฟกซ์สำเนาบัตรยืนยันการสั่งซื้อ • ผู้ซื้อจะต้องแฟกซ์สำเนาบัตรเครดิตใบดังกล่าวพร้อมลายเซ็นต์ โดยหากมีการชำระเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่ตั้งเอาไว้ เช่น หากเกิน 10000 บาทให้เจ้าของบัตรจะต้องแฟกซ์ สำเนาบัตรเครดิตเพื่อยืนยันอีกครั้ง

  21. วิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้าวิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้า • การตรวจสอบแหล่งที่มาของบัตรเครดิต • เมื่อมีผู้สั่งซื้อสินค้าเข้า และหากพบว่าเป็นจำนวนเงินมากจนน่าผิดสังเกต ให้ธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ช่วยตรวจสอบ เช่นตรวจสอบว่าบัตรนั้นเป็นบัตรจากผู้สั่งซื้อมาจากประเทศไทย แต่ตัวบัตรมาจากประเทศแถบแอฟริกาใต้ ก็น่าจะระบุได้ว่าผู้ซื้อได้ใช้เลขที่บัตรเครดิตคนอื่นมาชำระเงิน • แฟกซ์สำเนาบัตรยืนยันการสั่งซื้อ • ผู้ซื้อจะต้องแฟกซ์สำเนาบัตรเครดิตใบดังกล่าวพร้อมลายเซ็นต์ โดยหากมีการชำระเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่ตั้งเอาไว้ เช่น หากเกิน 10000 บาทให้เจ้าของบัตรจะต้องแฟกซ์ สำเนาบัตรเครดิตเพื่อยืนยันอีกครั้ง

  22. 4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น 1.PayPal (www.PayPal.com) • Paypal คือธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ใช้สำหรับทำธุรกรรมทางอินเตอร์เนตการสมัครต้องมี • อีเมล์ • ระบบทางการเงินผ่านบัตรเครดิต • บัญชีธนาคาร • การสมัครสมาชิกไม่เสียค่าใช้จ่าย • การโอนเงินจะระบุอีเมล์ของผู้รับเงินและการแจ้งสถานะต่าง ๆ จะแจ้งผ่านอีเมล์ • อัตราค่าธรรมเนียมการโอนระหว่างสมาชิกไม่เสีย ถ้าไม่ใช่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

  23. 4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น จุดเด่น ของ PayPal • เป็นช่องทางในการโอนเงินระหว่างบุคคลที่สะดวกที่สุด • ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการถูก • มีสมาชิกมากขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังขยายตลาดในภูมิภาคเอเชีย • มาหลายสาขากระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ • รองรับการทำธุรกรรมด้วยเงินหลายสกุล • สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าและร้านค้าได้เป็นอย่างดี

  24. 4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น 2.Paysbuy (www.Paysbuy.com) • เป็นการชำระเงินด้วยระบบ e-Wallet หรือ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ใช้เติมเงินโดยจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต เข้ามายังบัญชี PaysBuyที่ได้สมัครไว้ • การสมัครไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรทั้งสิ้น • เหมาะกับธุรกิจ e-Commerce ที่ต้องการเปิดรับชำระเงินออนไลน์ที่ไม่ต้องติดต่อกับธนาคาร • มีความปลอดภัยสูงโดยใช้เทคโนโลยี SSL 128 bits และอื่น ๆ

  25. 4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น 2.Paysbuy (www.Paysbuy.com) • การสมัครต้องระบุอีเมล์เพื่อใช้เป็น ID ในการสมัคร • การเติมเงินเข้าบัญชี PaysBuy • ผู้ใช้บริการหรือผู้ซื้อสามารถใช้บัตร Visa หรือ MasterCard มาผูกกับ Paypalเพื่อชำระเงิน โดยต้องผ่านการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริต จากนั้นก็สามารถดึงเงินจากบัตรเครดิตมาใช้ได้ • ATM online, ตู้ ATM, Phone Banking, Internet Banking ของบัญชีในธนาคารที่ร่วมสัญญา • เมื่อมีเงินในบัญชี PaysBuyแล้วสามารถซื้อสินค้าได้ในเว็บไซต์ที่มีเครื่องหมาย PayNowหรือส่งเงินให้คนอื่นโดยระบุอีเมล์ผู้รับและจำนวนเงิน

  26. 4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น 2.Paysbuy (www.Paysbuy.com) • ผู้รับ • มีบัญชี PaySbuyแล้ว คลิก ลิงค์รับเงินได้เลย • ไม่มีบัญชี PaySbuyสมัครตามลิงค์ที่ส่งเข้าเมล์ เมื่อเสร็จแล้วยอดเงินจะเข้ามายังบัญชีที่ PaySbuyทันที • ในการถอนเงินจาก PaySbuyเข้าบัญชีธนาคารสามารถทำได้โดยสะดวก

  27. 4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น • จุดเด่นของ PaySbuy • 1.เปิดบัญชี PaysBuy ฟรี สามารถทำได้ง่ายทั้งผู้ส่งเงิน และผู้รับเงิน ผ่านเว็บไซต์ www.paysbuy.com • 2. สามารถใช้บัญชี PaySbuy รับชำระเงินได้ทันที และถอนเงินจาก PaysBuy เข้าบัญชีธนาคารของเราเมื่อไหร่ก็ได้ • 3. ค่าธรรมเนียมการรับชำระเงินที่ 3.5% (ไม่รวม VAT) • 4. ผู้ใช้สามารถบริหารเงินในบัญชี PaysBuy ได้สะดวก สามารถเติมเงินจากแหล่งอื่นได้ • 5. ผู้ไม่มีบัตรเครดิตสามารถสั่งซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ได้

  28. ข้อควรระวังในการรับชำระเงินข้อควรระวังในการรับชำระเงิน • จัดเตรียมสินค้าให้พร้อมส่งตามสัญญา เช่น สัญญาว่าจะต้องส่งสินค้าภายใน 7 วัน ก็ต้องทำตามนั้น • ระวังสินค้าที่มีราคาสูง ต้องมีระบบการรับชำระเงินที่มีความปลอดภัยสูง • หากมียอดเงินในการสั่งซื้อรายใดสูงผิดปกติหรือต้องสงสัย ควรตรวจสอบโดยแจ้งไปที่ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตนั้น เพื่อสอบถามว่าผู้ถือบัตรเขาได้ซื้อสินค้านั้น ๆ หรือไม่

  29. ข้อควรระวังในการรับชำระเงินข้อควรระวังในการรับชำระเงิน • ต้องเขียนนโยบายการคืนสินค้าและสิ่งที่เราไม่รับผิดชอบให้ชัดเจน(Disclaimer) • ควรเก็บหลักฐานใบส่งสินค้า และการตอบรับจากผู้ซื้อว่าได้รับสินค้าแล้วไว้ให้ดี • กรณีที่ไม่มีสินค้าตรงตามสเป็ก หรือมีรูปร่างผิดเพี้ยนไปจากที่ลงโมษณาไว้บนเว็ปไซต์ ต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบเสียก่อน หรือควรทำหมายเหตุบอกไว้ทันที • กรณีที่ลูกค้าขอคืนเงินผ่านบัตรเครดิต ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของธนาคารผู้ให้บริการ

  30. ข้อควรระวังในการรับชำระเงินข้อควรระวังในการรับชำระเงิน • เมื่อส่งมอบสินค้าไปถึงผู้รับแล้ว ควรขอใบรับของหรือการยืนยันจากบริษัทขนส่งทุกครั้ง เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป หลักฐานในอีเมล์ใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลไม่ได้ • ควรมีระบบ tracking หรือให้ผู้ซื้อสามารถติดตามความเคลื่อนไหว หรือความคืบหน้าของคำสั่งซื้อของเขาได้ ว่าอยู่ในขั้นตอนใด แล้วจะส่งถึงมือผู้รับเมื่อใด

  31. การเขียน Disclaimer • Disclaimer คือ แถลงการณ์ หรือคำบรรยาย ถึง “สิ่งที่เราไม่รับผิดชอบ” หรือ “สิ่งที่ลูกค้าไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายได้” • เพื่อป้องกันความเสียหาย และป้องกันการยกเลิกคำสั่งซื้อแบบไม่เป็นธรรม • โดยประกาศให้รู้ กติกา มารยาท โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังไม่มีกฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่ให้ความคุ้มครองโดยตรง

  32. ตัวอย่างของ Disclaimer • เช่น การไม่รับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงราคา หรือ • Price is subject to change without notice. • และควรต้องปรึกษาทนายความที่รู้กฎหมายสากล เพื่อความถูกต้อง

  33. ประเด็นสำคัญในDisclaimer • ความไม่รับผิดชอบในผลที่เกิดจากการใช้งานสินค้านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานที่ผิดประเภทหรือผิดวัตถุประสงค์หลัก รวมทั้งความเสียหายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง แต่ก็ต้องติด “คำเตือน” ของการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นด้วย • ไม่รับผิดชอบกรณีผิดเงื่อนไขในการส่งคืนสินค้า เช่น หากไม่แจ้ง claimทันหรือ หรือ อาจจะภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันรับมอบสินค้า เป็นต้น

  34. ประเด็นสำคัญในDisclaimer • ไม่รับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งมอบ เช่น ภาษีหรือค่าธรรมเนียมเขาเข้าในประเทศของลูกค้า เป็นต้น • ไม่รับผิดชอบกรณีที่เราจะเปลี่ยนแปลงราคาขายสินค้าได้ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า • ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่สาม เช่น บริษัทขนส่ง กรมศุลกากร เช่น แกะสินค้าออกมาตรวจแล้วทำให้สินค้านั้นเสียหาย

  35. ประเด็นสำคัญในDisclaimer • นโยบายเหล่านี้ ทางผู้ประกอบการจะต้องเขียนให้รัดกุม และชัดเจน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

  36. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบการชำระเงินปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบการชำระเงิน • ความเป็นอิสระ (Independence) • ความปลอดภัย (Security) • การไม่ระบุตัวตน (Anonymity) • ความง่ายต่อการใช้ (Ease of Use) • ค่าธรรมเนียม (Transaction Fees) • ปรากฏการณ์เครือข่าย (Network Effect)

  37. ปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบัน • การพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศตามแนวนโยบาย โดยการพัฒนาระบบการโอนเงินรายย่อยทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการโอนเงินรายใหญ่ ระบบการหักบัญชีเช็ค เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินให้รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น • จากการติดตามและศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อชำระเงินประเภทต่าง ๆ พบว่า ยังไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของการพัฒนาระบบ ดังนี้

  38. ปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบัน • ความนิยมในการถือเงินสดของประชาชนยังมิได้ลดลง โดยมีอัตราส่วนเงินสดในมือประชาชนต่อปริมาณเงิน สูงกว่าร้อยละ 70 • และในช่วงเศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตสูง ปริมาณธนบัตรออกใช้ มีอัตราเพิ่มเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 10 ต่อปี • แต่การจัดการเกี่ยวกับเงินสดมีต้นทุนค่อนข้างสูง ทั้งในการผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และทำลาย • นอกจากนั้น ยังมีขีดจำกัดในการผลิตและนำออกใช้ และมีความเสี่ยงต่อการสูญหาย และการปลอมแปลง

  39. ปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบัน • ผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปบัตรพลาสติก เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต ยังขาดการร่วมมือกันในการใช้เครื่องอ่านร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาจากการแข่งขัน และผลประโยชน์ต่อเนื่องจากการใช้บัตร รวมทั้งมีปัญหาด้านมาตรฐานทางเทคนิคที่ยังมีความแตกต่างกันสูง

  40. ปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบัน • ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเงินก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว • แต่การปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลามาก • จึงอาจเกิดความเสี่ยงและความไม่เป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้องได้

  41. แนวทางการแก้ไขปัญหา • ศึกษาและพัฒนาสื่อการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้สื่ออื่น ๆ ทดแทนการใช้เงินสด ให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยคำนึงถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งไม่สูงจนเกินไป

More Related