250 likes | 505 Views
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ. ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552. กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. หลักการปฏิบัติที่สำคัญ. แบ่งข้าราชการเป็น 3 กลุ่ม. การคำนวณวงเงิน. เลื่อนเงินเดือน ปีละ 2 ครั้ง. ร้อยละ 3 จาก อัตราเงินเดือนรวม
E N D
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
หลักการปฏิบัติที่สำคัญหลักการปฏิบัติที่สำคัญ แบ่งข้าราชการเป็น 3 กลุ่ม การคำนวณวงเงิน เลื่อนเงินเดือน ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 3 จาก อัตราเงินเดือนรวม 1 มีนาคม ของแต่ละกลุ่ม อัตราเงินเดือนรวม 1 กันยายน ของแต่ละกลุ่ม 1 เมษายน 1 ตุลาคม 30 กันยายน (เกษียณ) บริหาร อำนวยการ วิชาการและทั่วไป
ส่วนราชการมีอิสระในการบริหารวงเงินเพื่อเลื่อนเงินเดือน ภายใต้เงื่อนไข เลื่อนให้ภายในแต่ละกลุ่มก่อน หากมีวงเงินกลุ่มใดเหลือ สามารถนำไปเกลี่ยให้กลุ่มอื่นได้ เงื่อนไขที่สำคัญ ห้ามนำวงเงินที่เหลือจากการเลื่อนฯ รอบ 1 มาใช้รวมกับการเลื่อนฯ รอบ 2 การเลื่อนเงินเดือนในภาพรวมของจังหวัดต้องไม่เกินวงเงินร้อยละ 3 เลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณของแต่ละคนในแต่ละครั้ง เลื่อนได้ไม่เกินเงินเดือนสูงสุดที่กำหนดไว้ในแต่ละสายงาน
เงื่อนไขที่สำคัญ ห้ามหารเฉลี่ยให้ได้รับการเลื่อนในอัตราร้อยละที่เท่ากัน ห้ามเลื่อนให้แก่ผู้ที่ขาดคุณสมบัติในการเลื่อน เช่น ผลงานต่ำกว่าร้อยละ 60 ถูกลงโทษทางวินัย ลาป่วยหรือมาสายเกินกว่าจำนวนครั้งที่กำหนด ประกาศร้อยละในการเลื่อนเงินเดือน/ ออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือน แจ้งผลการเลื่อนเงินเดือนเฉพาะบุคคล
1 2 กรณีข้าราชการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา ถ้า คกก. สอบสวน / ศาล ยังไม่มีคำตัดสินลงโทษ ให้เลื่อนเงินเดือนตามผลการประเมินฯ ถ้า คกก.สอบสวน /ศาล มีคำตัดสินลงโทษที่หนักกว่าภาคทัณฑ์ ให้งดเลื่อนเงินเดือนในครั้งนั้น ๆ เช่น ถูกลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 52 เป็นต้นไป จะไม่ได้รับ การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 เม.ย. 53
3 4 กรณีข้าราชการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา กรณีถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและถูกฟ้องศาลใน ความผิดเรื่องเดียวกัน ถ้าคณะกรรมการสอบสวนได้มีคำสั่งลงโทษ และส่วนราชการได้งดเลื่อนเงินเดือนให้แก่ข้าราชการรายดังกล่าว แล้ว ต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษในเรื่องเดียวกัน ส่วนราชการ จะงดเลื่อนเงินเดือนให้แก่ข้าราชการรายดังกล่าวด้วยสาเหตุ เดียวกันอีกไม่ได้ ข้าราชการที่ได้รอการเลื่อนเงินเดือนไว้ก่อนที่กฎ ก.พ.ฉบับนี้ประกาศใช้ ถ้ายังไม่มีคำตัดสินลงโทษ ให้เลื่อนเงินเดือนที่รอไว้ทุกครั้ง
การเลื่อนเงินเดือนกรณีถึงแก่ความตายการเลื่อนเงินเดือนกรณีถึงแก่ความตาย จะต้องปฏิบัติงานอยู่ถึงวันที่ 1 มี.ค. / 1 ก.ย. จึงจะสามารถนำอัตราเงินเดือนของข้าราชการรายดังกล่าวมารวมกับข้าราชการรายอื่น เพื่อคำนวณวงเงินเลื่อนเงินเดือนร้อยละ 3 ต้องมีผลการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 4 เดือน ในรอบการประเมินนั้น ๆ พิจารณาผลการปฏิบัติงานพร้อมกับข้าราชการรายอื่น ๆ ออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่เสียชีวิต
ผู้บริหารวงเงินและสั่งเลื่อนเงินเดือนในส่วนภูมิภาคผู้บริหารวงเงินและสั่งเลื่อนเงินเดือนในส่วนภูมิภาค ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัด ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส
การคำนวณเงินที่ใช้ในการเลื่อนการคำนวณเงินที่ใช้ในการเลื่อน การคำนวณ 27,710 x 4% = 1,108.40 ปัดเศษเป็น 10 บาท จะได้ 1,110 บาท ณ วันที่ 1 เมษายน 2553 ข้าราชการรายนี้ - จะได้รับการเลื่อนเงินเดือน เป็นเงิน จำนวน 1,110 บาท - เมื่อรวมกับฐานอัตราเงินเดือนเดิม จะได้รับเงินทั้งสิ้น = 30,810 (29,700+1,110) - ณ วันที่ 1 กันยายน 2553 อัตราเงินเดือนของข้าราชการผู้นี้ที่จะนำไปรวมกับข้าราชการรายอื่น เพื่อคำนวณ วงเงินร้อยละ 3 คือ 30,810 บาท • ตัวอย่างนางอาวุโส เชี่ยวชาญ ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน เงินเดือนปัจจุบัน 29,700 บาท และได้รับการเลื่อนเงินเดือน ณ วันที่ • 1 เมษายน 2553 ในอัตราร้อยละ 4 • ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน
กรณีเงินเดือนสูงสุดหรือใกล้ถึงเงินเดือนสูงสุดของระดับตำแหน่งกรณีเงินเดือนสูงสุดหรือใกล้ถึงเงินเดือนสูงสุดของระดับตำแหน่ง จะได้รับเป็นค่าตอบแทนพิเศษ หลักการคำนวณเช่นเดียวกับผู้ที่เงินเดือนยังไม่ถึงเงินเดือนสูงสุดของระดับตำแหน่ง ตัวอย่างที่ 1กรณีเงินเดือนถึงสูงสุดของระดับ ตำแหน่งแล้ว นายวุฒิ พิเศษ ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ เงินเดือนปัจจุบัน 36,020 บาท ซึ่งเป็นอัตราเงินเดือนสูงสุดของระดับตำแหน่ง และได้รับการเลื่อนเงินเดือน ณ วันที่ 1 เมษายน 2553 ในอัตราร้อยละ 4 การคำนวณ 30,600 x 4% = 1,230 บาท ณ วันที่ 1 เมษายน 2553 ข้าราชการรายนี้ - จะได้รับการเลื่อนเงินเดือน เป็นเงินจำนวน 1,230 บาท - เงินจำนวนดังกล่าวนี้เป็นเงินตอบแทนพิเศษ จะจ่ายให้เพียง 6 เดือนเท่านั้น - ณ วันที่ 1 กันยายน 2553 อัตราเงินเดือนของข้าราชการผู้นี้ที่จะนำไปรวมกับข้าราชการรายอื่น เพื่อคำนวณ วงเงินร้อยละ 3 คือ 36,020 บาท
กรณีเงินเดือนใกล้ถึงสูงสุดของระดับตำแหน่งกรณีเงินเดือนใกล้ถึงสูงสุดของระดับตำแหน่ง การคำนวณ 30,600 x 4% = 1,230 บาท ณ วันที่ 1 เมษายน 2553 ข้าราชการรายนี้ จะได้รับการเลื่อนเงินเดือน เป็นเงินจำนวน 1,230 บาท เมื่อรวมกับฐานอัตราเงินเดือนเดิม จะได้รับเงิน ทั้งสิ้น = 36,790 (35,560+1,230) ทำให้ได้รับการเลื่อนฯเกินเงินเดือนสูงสุดของ ระดับตำแหน่งไป = 770 (36,790 – 36,020 ) ดังนั้น เงินจำนวน 770 บาท นี้ จึงเป็นเงินตอบ แทนพิเศษ จะจ่ายให้เพียง 6 เดือนเท่านั้น ณ วันที่ 1 กันยายน 2553 อัตราเงินเดือนของ ข้าราชการผู้นี้ที่จะนำไปรวมกับข้าราชการรายอื่น เพื่อคำนวณวงเงินร้อยละ 3 คือ 36,020 บาท ตัวอย่างที่ 2กรณีเงินเดือนใกล้ถึงสูงสุด ของระดับตำแหน่ง นายพิษณุ รักษ์ดี ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ เงินเดือนปัจจุบัน 35,560 บาท ซึ่งเป็นอัตราเงินเดือนใกล้ถึงสูงสุดของตำแหน่ง และได้รับการเลื่อนเงินเดือน ณ วันที่ 1 เมษายน 2553 ในอัตรา ร้อยละ 4
การเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษเนื่องจากได้รับการเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษเนื่องจากได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หลักการ ผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงสุดหรือใกล้ถึงเงินเดือนสูงสุดของระดับตำแหน่ง และได้รับการเลื่อนเป็นค่าตอบแทนพิเศษเรียบร้อยแล้ว เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นและเงินเดือนที่ได้รับอยู่นั้นต่ำกว่าเงินเดือนสูงสุดของระดับตำแหน่งนั้น ให้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษตามผลค่าตอบแทนที่ได้รับครั้งหลังสุด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ได้รับ ตัวอย่าง นายวุฒิ พิเศษ ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ เงินเดือนปัจจุบัน 36,020 บาท ซึ่งเป็นอัตราเงินเดือนสูงสุดของ ระดับตำแหน่ง และได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นค่าตอบแทนพิเศษ ณ วันที่ 1 เมษายน 2553 จำนวน 1,230 บาท ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ต้องสั่งเลื่อนเงินเดือนให้แก่นายวุฒิ เป็นเงิน 1,230 บาท (จำนวนเงินที่เป็นค่าตอบแทนฯ ในระดับเดิม) เมื่อรวมกับฐานอัตราเงินเดือนเดิม จะได้รับเงินทั้งสิ้น = 37,250 (36,020+1,230) ณ วันที่ 1 กันยายน 2553 อัตราเงินเดือนของข้าราชการผู้นี้ที่จะนำไปรวมกับข้าราชการรายอื่น เพื่อคำนวณ วงเงินร้อยละ 3 คือ 37,250 บาท
การกันเงินกรณีที่มีการเลื่อนระดับย้อนหลังการกันเงินกรณีที่มีการเลื่อนระดับย้อนหลัง ตัวอย่าง น.ส. น้อย ช่วยงาน เป็นข้าราชการประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 15,000 บาท ได้รับการเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2553 และในวันที่ 1 เมษายน 2553 ได้รับพิจารณาเลื่อนฯ ร้อยละ 4 หลักการ เลื่อนเงินเดือนในระดับปฏิบัติการ คือ 15,390 x 4% = 615.6 บาท ปัดเศษให้เป็น 10 บาท จะได้ 620 บาท เลื่อนเงินเดือนในระดับชำนาญการ คือ 20,350 x 4% = 814 บาท ปัดเศษให้เป็น 10 บาท จะได้ 820 บาท ดังนั้น ต้องกันเงินไว้ 820 -620 = 260 บาท
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการกรณีพิเศษ นอกเหนือโควตาปกติ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 เห็นชอบในการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษ นอกเหนือโควตาปกติ ดังนี้ 1. ส่วนราชการต้นสังกัดพิจารณาเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติตามโควตาหรือวงเงินการเลื่อนเงินเดือนก่อน 2. กรณีผู้ที่เงินเดือนเต็มขั้น ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง 3. คิดจากร้อยละ 15 ของอัตรากำลังพลแต่ละประเภท ณ วันที่ 1 มีนาคม /1 กันยายน ของแต่ละรอบการประเมิน
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการกรณีพิเศษ นอกเหนือโควตาปกติ 4. ให้เลื่อนเงินเดือนฯ นอกเหนือโควตาปกติ ดังกล่าว เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1 จากการเลื่อนเงินเดือนปกติ เช่น ณ วันที่ 1 เมษายน 2553 ได้รับการเลื่อนเงินเดือนปกติ ร้อยละ 4 ถ้ารับได้รับพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในโควตาพิเศษ ก็จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพิ่มอีกร้อยละ 1 เป็น ร้อยละ 5ทั้งนี้ เมื่อรวมโควตาปกติและโควตากรณีพิเศษแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 6 5. ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ดังนี้ เป็นผู้ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษ นอกเหนือ ผู้เป็นกำลังพลในสังกัด กอ.รมน.ภาค 4 ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สังกัดจังหวัดและส่วนราชการต่าง ๆ ในการกำกับและ ประสานงานของ ศอ.บต. ผู้ที่ปฏิบัติงาน ใน ศป.ช. เฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 6. คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการเลื่อนฯ นอกเหนือโควตาปกติ ดังกล่าว คือ ต้องไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษติดต่อกันเกินกว่า 2 ปี (4 ครั้ง) มีเวลาปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 4 เดือนในแต่ละรอบการประเมิน
การเลื่อนเงินเดือนโควตาพิเศษของหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดการเลื่อนเงินเดือนโควตาพิเศษของหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด 1. คิดจากร้อยละ 15 ของอัตรากำลังของหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ณ วันที่ 1 มีนาคม หรือ 1 กันยายน ของแต่ละรอบการประเมิน 2. ผวจ.พิจารณาให้เลื่อนเงินเดือนโควตาปกติพิเศษดังกล่าว เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1 จากการเลื่อน เงินเดือนปกติที่กรมต้นสังกัดพิจารณาให้ ทั้งนี้ เมื่อรวมโควตาปกติและโควตากรณีพิเศษแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 6
ปลัดกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของ อ.ก.พ.สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553ได้กำหนดจำนวนครั้งของการลา การมาสายของข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่จะไม่ได้เลื่อนเงินเดือนดังนี้ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการลา มาสาย ที่จะไม่ได้เลื่อนเงินเดือน ลาป่วย+ลากิจ รวมกัน ต้องไม่เกิน 10 ครั้ง (ไม่เกิน 23 วัน) สายต้องไม่เกิน 8 ครั้ง แต่ทั้งนี้ หากผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้วเห็นว่าข้าราชการที่ขาดคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น สมควรได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ก็สามารถนำเรื่องเสนอขอต่อ อ.ก.พ.มท.เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายได้