460 likes | 668 Views
การประกันภัยพืชผล (Crop Insurance): รูปแบบและประสบการณ์จากต่างประเทศ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย. อรศรัณย์ มนุอมร Operations Analyst ธนาคารโลก. การเสวนาเรื่อง “แนวทางการประกันภัยพืชผลการเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ” จัดโดย
E N D
การประกันภัยพืชผล (Crop Insurance):รูปแบบและประสบการณ์จากต่างประเทศ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย อรศรัณย์ มนุอมร Operations Analyst ธนาคารโลก การเสวนาเรื่อง “แนวทางการประกันภัยพืชผลการเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ” จัดโดย คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้นที่การเกษตร และชุมชนที่ประสบภัยธรรมชาติ 22 กันยายน 2552 ณ อาคารรัฐสภา 2
เนื้อหา 1. รูปแบบการประกันภัยพืชผล และกรณีศึกษาของต่างประเทศ 2. รูปแบบต่างๆ ของการประกันภัยข้าว 3.บทบาทของภาครัฐและเอกชนในการประกันภัยภาคการเกษตร 4. ข้อเสนอแนะบางประการสำหรับประเทศไทย
1. รูปแบบการประกันภัยพืชผล และกรณีศึกษาของต่างประเทศ
วิธีการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่กระทบเกษตรกรรายย่อยวิธีการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่กระทบเกษตรกรรายย่อย ระดับความรุนแรงของความเสี่ยง
รูปแบบการประกันภัยพืชผลต่างๆรูปแบบการประกันภัยพืชผลต่างๆ • 1. คุ้มครองความผันแปรของปริมาณผลผลิต (production risk) • การประกันภัยพืชผลที่ตั้งอยู่บนการชดเชย • (indemnity-based insurance) • การประกันภัยพืชผลที่ใช้ดัชนี • (index-based insurance) • 2. คุ้มครองความผันแปรของปริมาณผลผลิต (production risk)และราคา(price risk) • การประกันรายได้จากพืชผล • (revenue insurance)
รูปแบบการประกันภัยพืชผลต่างๆรูปแบบการประกันภัยพืชผลต่างๆ
1. การประกันแบบกำหนดชนิดภัย (Named Peril) ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช ภัยที่ประกัน: เหมาะสำหรับภัย เช่น ลูกเห็บ ไฟไหม้ น้ำค้างแข็ง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายที่กระทันหันและวัดได้ ความคุ้มครองที่พบบ่อยที่สุดคือ ประกันลูกเห็บ หน่วยที่ประกัน: ฟาร์ม หรือแปลงภายในฟาร์ม วงเงินประกัน:เกษตรกรสามารถเลือกวงเงินต่างๆได้ ภายในขอบเขตที่กำหนด ค่าสินไหมทดแทน:ตั้งอยู่บนความเสียหายทางกายภาพ โดยวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความเสียหายแล้วคูณกับวงเงินประกัน ลบด้วยการรับผิดส่วนแรก (deductible) การรับผิดส่วนแรก :เกษตรกรมักจะรับความเสียหายบางส่วน ในรูปแบบของการประกันภัยร่วม (coinsurance)ขีดปลอดความรับผิด(franchise)หรือการรับผิดส่วนแรก (deductible) การประเมินความเสียหาย: ความเสียหายจะถูกประเมินที่แปลง เป็นรายแปลง ณ เวลาที่เกิด การประภันภัยลูกเห็บถูกดำเนินการโดยบริษัทเอกชนมามากกว่า 100ปี โดยปราศจากการอุดหนุนจากรัฐ
1. การประกันแบบกำหนดชนิดภัย (Named Peril) * ความเสี่ยงพื้นฐานคือ การที่ค่าสินไหมไม่ตรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
2.การประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI) ของเกษตรกรรายบุคคล ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช ภัยที่ประกัน:ภัยทุกชนิด ในทางปฏิบัติ กรมธรรม์แบบรวมหลายภัยทำหน้าที่เสมือน “หลักประกันแทนผลผลิตที่ขาดไป” (Yield Shortfall Guarantee) หน่วยที่ประกัน: แปลงทุกแปลงภายในฟาร์มที่ปลูกพืชที่ทำประกัน ระดับผลผลิตที่ประกัน:สัดส่วนเปอร์เซ็นต์(โดยปกติอยู่ที่50-75%) ของระดับผลผลิตเฉลี่ยย้อนหลังของเกษตรกรแต่ละรายหรือของภูมิภาคที่ฟาร์มตั้งอยู่ วงเงินประกัน:ระดับผลผลิตที่ประกัน คูณด้วยราคาล่วงหน้า (forward price) ของผลผลิตสำหรับเดือนที่จะเก็บเกี่ยวหรือวงเงินกู้ที่เกษตรกรกู้มาลงทุนเพาะปลูก เลือกเอาจำนวนใดก็ได้ที่มูลค่าน้อยกว่า ค่าสินไหมทดแทน:คำนวนโดยใช้ส่วนต่างระหว่างผลผลิตจริง(Actual Yield) จากแปลงที่ทำประกัน กับระดับผลผลิตที่ประกัน (insured yield) คูณด้วยวงเงินประกัน (Sum Insured) การประเมินความเสียหาย:ต้องประเมินความเสียหายแบบแปลงต่อแปลงในช่วงเวลาก่อนเก็บเกี่ยว ในความเป็นจริงนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะแยกและคำนวนความเสียหายที่เกิดจากต่างภัยกัน โครงการประกันหลายภัย MPCI หลักๆ ทั่วโลกนั้นต้องพึ่งการอุดหนุนจากรัฐทั้งในส่วนของค่าเบี้ยประกันภัย การประกันภัยต่อ และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
2.การประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI) ของเกษตรกรรายบุคคล *การเลือกที่ขัดประโยชน์ (adverse selection) คือสถานการณ์ที่ผู้ที่มีแต่ความเสี่ยงสูงเลือกทำประกัน **ภาวะภัยทางศีลธรรม (moral hazard) คือสถานการณ์ที่พฤติกรรมของผู้เอาประกันเองมีอิทธิพลต่อการได้รับค่าสินไหมมากขึ้น
3. การประกันภัยแบบดัชนีผลผลิตของเขตพื้นที่(Area Yield Index Insurance) ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช หรือ ระดับมหภาคสำหรับรัฐ หรือจังหวัด ภัยที่ประกัน:ภัยทุกชนิด ในทางปฏิบัติ กรมธรรม์แบบดัชนีผลผลิตของเขตพื้นที่ทำหน้าที่เสมือน “หลักประกันแทนผลผลิตที่ขาดไปของเขตพื้นที่” (Area Yield Shortfall Guarantee) หน่วยที่ประกัน: เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่นขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เช่น เขต จังหวัด ฯลฯยิ่งเขตที่กำหนดไว้เล็กเท่าไหร่ ความคุ้มครองจากกรมธรรม์ก็ยิ่งใกล้เคียงกับความเสียหายจริงมากเท่านั้น ระดับผลผลิตที่ประกัน:สัดส่วนเปอร์เซ็นต์(โดยปกติอยู่ที่50-75%) ของระดับผลผลิตเฉลี่ยย้อนหลังของเขตพื้นที่ประกันที่กำหนดไว้ วงเงินประกัน:ระดับผลผลิตที่ประกันไว้ คูณด้วยราคาล่วงหน้า (forward price) ของผลผลิตสำหรับเดือนที่จะเก็บเกี่ยวหรือวงเงินกู้ที่เกษตรกรกู้มาลงทุนเพาะปลูก หรือจำนวนอื่นที่ตกลงกัน ค่าสินไหมทดแทน:คำนวนโดยใช้ส่วนต่างระหว่างผลผลิตจริงเฉลี่ย(Actual Average Yield) ของเขตพื้นที่ประกันที่กำหนดไว้กับระดับผลผลิตที่ประกัน (Insured Yield)คูณด้วยวงเงินประกัน (Sum Insured) การประเมินความเสียหาย:เกษตรกรทุกคนที่อยู่ในเขตพื้นที่ประกันเดียวกันจะถูกถือว่ามีความเสียหายเท่ากัน ประเมินโดยใช้ข้อมูลผลผลิตจริงประจำปีของเขตพื้นที่ประกัน จะไม่มีการประเมินความเสียหายที่แปลงปลูก ประสบการณ์นำไปใช้: อินเดีย (NAIS); แคนาดา; สหรัฐ (GRP), บราซิล (GRM)
3. การประกันภัยแบบดัชนีผลผลิตของเขตพื้นที่(Area Yield Index Insurance)
4. การประกันภัยแบบดัชนีสภาพอากาศ (Weather Index Crop Insurance) ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช หรือ ระดับมหภาคสำหรับรัฐ หรือจังหวัด ภัยที่ประกัน:จำกัดแค่ตัวแปรทางสภาพอากาศ ซึ่งวัดที่สถานีตรวจวัดที่ใกล้ที่สุด เช่น ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ หน่วยที่ประกัน: เกษตรกรรายบุคคลที่อยู่ภายในรัศมีของสถานีตรวจวัดอากาศอ้างอิง วงเงินประกัน:ส่วนใหญ่จะใช้ต้นทุนการผลิต แต่เกษตรกรสามารถเลือกวงเงินที่แตกต่างออกไปได้ ค่าสินไหมทดแทน:ใช้การวัดค่าตัวแปรสภาพอากาศเพียงอย่างเดียวตามสูตรที่ได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์ สิ่งสำคัญคือ ดัชนีขั้นต่ำ(triggers) ดัชนีขั้นสูง(limits) และตารางแสดงขั้นการชดเชยภายในช่วงเวลาความคุ้มครอง การรับผิดส่วนแรก: ไม่มีการกำหนดจำนวนการรับผิดส่วนแรก แต่การเลือกค่าของดัชนีขั้นต่ำ (ซึ่งคือจุดที่กรมธรรม์เริ่มจ่ายค่าสินไหม) ถีอว่าเป็นการกำหนดค่าความรับผิดส่วนแรกไปในตัว การประเมินความเสียหาย:จะไม่มีการประเมินความเสียหายที่แปลงปลูก ค่าดัชนีจะถูกวัดที่สถานีตรวดวัดอ้างอิง เกษตรกรทุกคนที่อยู่ในเขตสถานีเดียวกันจะถูกถือว่ามีความเสียหายเท่ากัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพแต่ก็ยังค่อนข้างใหม่ ได้รับความสนใจมากเนื่องจากข้อดีในการประกันเกษตรกรรายย่อย การพัฒนาตลาดอย่างเต็มรูปแบบยังจำกัดอยู่แค่ที่อินเดีย (สำหรับเกษตรกร) และเม็กซิโก (สำหรับผู้เอาประกันที่เป็นสถาบัน)
4. การประกันภัยแบบดัชนีสภาพอากาศ (Weather Index Crop Insurance)
5. การประกันภัยแบบดัชนีการเจริญเติบโตของพืช NDVI ประเภทกรมธรรม์: รายบุคคล รายพืช หรือ ระดับมหภาคสำหรับรัฐ หรือจังหวัด ภัยที่ประกัน: ที่ผ่านมาใช้กับการประกันทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เท่านั้น หน่วยที่ประกัน:ขึ้นอยู่กับค่าความกว้างและยาวและความคมชัด (resolution) ของภาพถ่ายดาวเทียม(เช่นดาวเทียมNOAA = 1.1 กม2) หน่วยที่ประกัน: เปอร์เซ็นต์ค่าการผลิตมวลสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่ (biomass production) จากฤดูกาลที่แล้ว วงเงินประกัน:จำนวนที่ตกลงกัน เช่น จำนวนที่กำหนดต่อเฮคแตร์(hectare) หรือค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสัตว์ ค่าสินไหมทดแทน:ขั้นการจ่ายค่าสินไหมสามารถถูกกำหนดตามหลักการเดียวกับดัชนีสภาพอากาศ การประเมินความเสียหาย:ดัชนีการเจริญเติบโตของพืช (ซึ่งใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศ) ถูกวัดโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพียงอย่างเดียว ค่าของดัชนีสะท้อนให้เห็นการเติบโตของพืชในฤดูกาลหนึ่งๆ แล้วใช้ค่าเปรียบเทียบกับฤดูกาลที่ผ่านๆมา ผลิตภัณฑ์ประกันภัยนี้กำลังอยู่ในขั้นทดลองในบางประเทศ เช่นเม็กซิโก สเปน แคนาดา สหรัฐ ถึงแม้ว่าNDVIจะถูกใช้อยู่อย่างแพร่หลายอยู่แล้วในการเฝ้าระวังความมั่นคงทางอาหาร (food security) รวมทั้งการประยุกต์ใช้อื่นๆ นอกเหนือจากการประกันภัย
5. การประกันภัยแบบดัชนีการเจริญเติบโตของพืช NDVI
6. การประกันรายได้จากพืชผล (Crop Revenue Insurance) • ผลประโยชน์ที่ได้รับการประกันคือรายได้จากพืชผล ไม่ใช่ตัวการผลิตเอง • การประกันภัยรายได้คือส่วนผสมของ กรมธรรม์แบบหลายภัย(MPCI)กับการประกันราคามีรูปแบบผลิตภัณฑ์สี่แบบ คือ • Crop Revenue Coverage (MPCI + forward contract) • Revenue Assurance (MPCI +base price option – put -) • Income Protection (Area Yield Index +base price option – put -) • Group Risk Income Protection (Area Yield Index +forward contract) • รายได้ที่รับการประกัน (USD/ha) ถูกกำหนดไว้เป็นเปอร์เซ็นต์ (โดยปกติอยู่ที่ 60%-75%) ของระดับผลผลิตเฉลี่ยย้อนหลังของเกษตรกร คูณด้วยราคาล่วงหน้าของผลผลิตสำหรับเดือนที่จะเก็บเกี่ยว • ค่าสินไหมทดแทน:ขึ้นอยู่กับกรณีที่ผลผลิตตกต่ำ ราคาตกต่ำ หรือทั้งสองอย่าง • อัตราค่าสินไหม • ส่วนประกันผลผลิต: คำนวนโดยคิดถึงความผันแปรของระดับผลผลิตเฉลี่ยรายปีย้อนหลังของเกษตรกร • ส่วนประกันราคา : คำนวนโดยใช้ราคาตลาด • ประสบการณ์นำไปไช้: ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง ในบางรัฐ ของสหรัฐอเมริกา
6. การประกันรายได้จากพืชผล (Crop Revenue Insurance)
ภาพรวมของการประกันภัยภาคการเกษตรในระดับโลกภาพรวมของการประกันภัยภาคการเกษตรในระดับโลก มูลค่าประเมินของเบี้ยประกันภัยภาคการเกษตรทั่วโลกอยู่ที่ 16.5 พันล้านยูโร Source: Paris Re, 2008
2. รูปแบบต่างๆ ของการประกันภัยข้าว
ตัวอย่างประสบการณ์จากประเทศต่างๆตัวอย่างประสบการณ์จากประเทศต่างๆ
การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ดัชนีน้ำท่วมสำหรับข้าว ในจังหวัดเพชรบูรณ์ระหว่างปี 2548-2551 • โดยธนาคารโลก ธกส. สมาคมประกันวินาศภัย และหน่วยงานอื่นๆ • ผลการศึกษา คือ การออกแบบดัชนีน้ำท่วมสำหรับข้าว เพื่อประกันเกษตรกรรายย่อย(micro-level index)เป็นไปได้ยาก • พื้นที่ศึกษามีการกระจุกตัวของความเสี่ยงเนื่อง • มีปัญหาน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งไม่สามารถวัดโดยดัชนีได้ • ช่วงการเพาะปลูกข้าว(crop calendar) ของเกษตรกรในพื้นที่มีความหลากหลายมาก • ไม่มีข้อมูล GIS เกี่ยวกับแปละเพาะปลูกของเกษตรกรอย่างละเอียดในเขตพื้นที่ • ข้อเสนอแนะ ดัชนีน้ำท่วมระดับมหภาค (macro-level indexes)อาจมีความเป็นไปได้มากกว่า
3.บทบาทของภาครัฐและเอกชนในการประกันภัยภาคการเกษตร3.บทบาทของภาครัฐและเอกชนในการประกันภัยภาคการเกษตร
กรอบความคิดเรื่ององค์กร-เอกชนหรือ รัฐควรจะใช้โมเดลใด? + ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) บทบาทของรัฐบาล + - ประเภทผลิตภัณฑ์ Source: Munich Re
กรอบความคิดเรื่ององค์กร-เอกชนหรือ รัฐควรจะใช้โมเดลใด? 1) การประกันภัยพืชผลโดยภาครัฐ - อินเดีย(1 บริษัทประกันภัยแห่งชาติ), ฟิลิปปินส์(1 บริษัทประกันภัยแห่งชาติ),แคนาดา(1 บริษัทต่อแคว้นการปกครอง), กรีซ, ไซปรัส,คอสตาริกา, ปานามา, ซูดาน 2) การประกันภัยโดยเอกชน โดยปราศจากการช่วยเหลือจากรัฐ - เยอรมันนี, ฝรั่งเศส, สวีเดน, สหรัฐ(เฉพาะประกันภัยลูกเห็บ), แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อาร์เจนตินา 3) ประกันภัยโดยเอกชน แต่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ(PPP) • ระบบพูลรับประกันภัยแบบผูกขาด (Monopoly “Pool” Insurance Arrangements): สเปน(Agroseguro),เกาหลีใต้(NACF),ตุรกี(Tarsim) • ระบบที่มีบริษัทเอกชนหลายบริษัท (Individual Private Commercial Insurers): - แข่งขันกันเพื่อขยายธุรกิจ แต่อาจจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การออกแบบกรมธรรม์ หรือเกณฑ์การตั้งค่าเบี้ยประกันอย่างเคร่งครัด จึงจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ - ตัวอย่างคือสหรัฐ (MPCI), โปรตุเกส (มีการควบคุมกรมธรรม์และค่าเบี้ยประกันอย่างเข้มงวด), อิตาลี,ชิลี
การสนับสนุนของรัฐบาลต่อการประกันภัยภาคการเกษตรในประเทศต่างๆการสนับสนุนของรัฐบาลต่อการประกันภัยภาคการเกษตรในประเทศต่างๆ Sources:Adapted From Charles Stutley, 2007 Public Intervention in Agricultural Insurance in Developing Countries. World Bank, 2009 (Inedited)
4.ข้อเสนอแนะบางประการ สำหรับประเทศไทย
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการประกันภัยข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการประกันภัย • ไม่มีรูปแบบการประกันภัยใดที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ ทุกรูปแบบมีความแตกต่างกัน • การพิจารณาความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท ควรคำนึงถึง: - ชนิดของพืช - ภัยหลักและการกระจุกตัวของภัย - ความพร้อมทางด้านข้อมูล - ขนาดของฟาร์ม - ช่องทางการเข้าถึงเกษตรกร • ควรจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้ครอบคลุม รวมทั้ง -การประกันแบบกำหนดชนิดภัย(named peril)ที่ใช้การวัดความเสียหายทางกายภาพ - หาโอกาสที่จะพัฒนาการประกันภัยแบบดัชนีผลผลิตของเขตพื้นที่(area yield index) - สานต่อการวิจัยและโครงการนำร่องการประกันภัยแบบดัชนีสภาพอากาศ(weather index) • ควรระมัดระวังที่จะไม่พึ่งพาการประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI) ของเกษตรกรรายบุคคลมากเกินไป
ข้อเสนอแนะด้านบทบาทรัฐ • ควรสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินงานประกันภัยพืชผลในกรณีที่ทำได้ • รัฐบาลสามารถมีบทบาทสำคัญในการประกันภัยต่อความเสี่ยงขั้นวิกฤต(reinsurance) • ใช้ความระวัดระวังอย่างสูงสุดในกรณีให้เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันสามารถส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันอาจก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรรายใหญ่เป็นสัดส่วนที่มากเกินไป • ก่อให้เกิดภาระทางการเงินอย่างมหาศาลแก่สังคม • ในกรณีที่จำเป็นต้องให้การอุดหนุนเบี้ยประกัน ควรจะ • มีการวางแผนและจำกัดวงเงินไว้ล่วงหน้า(เช่น โดยกำหนดเพดานขั้นสูงกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการช่วยเหลือกำหนดแผนยุติการอุดหนุนที่ชัดเจน) • ควรอุดหนุนเฉพาะส่วนของค่าเบี้ยประกันที่เกิดจากการบริหารจัดการเพื่อให้ค่าเบี้ยในส่วนที่เป็นค่าความเสี่ยง (pure risk cost)ยังสามารถสะท้อนระดับความเสี่ยงจริงในแต่ละพื้นที่ • การให้การสนับสนุนด้านอื่นๆ เช่น ลงทุนติดตั้งสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ, การเก็บและเผยแพร่ข้อมูล, การออกแบบผลิตภัณฑ์, และการตั้งค่าเบี้ยประกันที่ถูกต้อง • อาจจะจัดทำแผนเชิงยุทธศาสตร์การประกันภัยภาคการเกษตรแห่งชาติ(national strategic plan)
กำไร ต้นทุนของเงินทุน ต้นทุนการผลิต ส่วนบวกเพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง ส่วนบวกเพิ่มเพื่อรับมหันตภัย ต้นทุนสำหรับจำนวนค่าสินไหมทดแทน (Loss Cost) ส่วนประกอบต่างๆของค่าเบี้ยประกันภัย อัตราเบี้ยประกันภัยรวม Original Gross Premium ค่าเสียโอกาสของเงินทุน ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าประเมินและจัดการค่าสินไหมทดแทน อัตราเทคนิค Technical Premium ส่วนบวกเพิ่มเนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ ส่วนบวกเพิ่มเพื่อรับมือกับกรณีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อัตราจำนวนค่าสินไหมทดแทน Pure Loss Cost Premium ค่าการจ่ายสินไหมเฉลี่ย / อัตราส่วนความเสียหายที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลชุดต่างๆ
ข้อสรุปเกี่ยวกับการตั้งราคาเบี้ยประกันข้อสรุปเกี่ยวกับการตั้งราคาเบี้ยประกัน • ต้องคำนึงถึงส่วนประกอบทุกส่วนของเบี้ยประกัน • สามารถหาความสมดุลย์ระหว่างความคุ้มครอง กับราคาเบี้ยประกัน โดยปรับส่วนต่างๆ เช่น ความคุ้มครองส่วนเกิน, ชนิดของภัยที่คุ้มครอง ฯลฯ • ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจาราณา คือ - ความสามารถในการจ่ายค่าเบี้ยประกันของเกษตรกร - ผลิตภัณฑ์สามารถให้ความคุ้มครองที่เกิดประโยชน์หรือไม่? - พืชที่ประสบความเสี่ยงสูง (ทั้งในด้านความถี่ และความรุนแรงของภัย) อาจไม่สามารถทำประกันได้และต้องไม่รวมไว้ในความคุ้มครอง - อัตราเบี้ยประกันที่สูงมากอาจแสดงว่าการปลูกพืชนั้นๆในพื้นที่ประกันไม่ใช่การลงทุนที่เหมาะสม
โมเดลที่1.การประกันภัยพืชผลโดยภาครัฐ- ลักษณะที่สำคัญ • มักจะดำเนินการโดยบริษัทประกันแห่งชาติที่ผูกขาด • มักจะรับประกันโดยใช้การประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI) • กรมธรรม์มีลักษณะมาตรฐาน - ไม่มีการแข่งขันเพื่อให้ทางเลือกรูปแบบกรมธรรม์และเงื่อนไขความคุ้มครองกับเกตรกร • ใช้อัตราเบี้ยประกันเดียวต่อพืช และต่อพื้นที่ - ไม่มีการแข่งขันในด้านราคา • การอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน - เป็นสิ่งจำเป็นต่อการประกันผลผลิตแบบรวมหลายภัย(MPCI)ซึ่งมีอัตราเบี้ยประกันที่สูง (5% ถึง15%) • การประกันภัยต่อโดยภาครัฐ
โมเดลที่1.การประกันภัยพืชผลโดยภาครัฐโมเดลที่1.การประกันภัยพืชผลโดยภาครัฐ ตัวอย่าง บริษัทประกันภัยแห่งชาติอินเดีย (AICI)
โมเดลที่1.ตัวอย่าง:บรรษัทประกันภัยฟิลิปปินส์Philippines CropInsurance Corporation (PCIC) • สรุปการดำเนินงานของ PCIC - เริ่มดำเนินงานตั้งแต่2524จนถึงปัจจุบัน - พืชหลักที่ประกันคือข้าวและข้าวโพด - ผลิตภัณฑ์หลักคือ MPCI ซึ่งให้ความคุ้มครองภัยทางธรรมชาติ และทางชีวภาพทุกชนิด - ครอบคลุมเกษตรกรเป็นจำนวนน้อยมาก และมีแนวโน้มลดลง(2.7% ของการเพาะปลูกข้าวทั้งประเทศ) - รัฐบาลเป็นเจ้าของ ขายประกันโดยเชื่อมโยงกับสินเชื่อทางการเกษตร - มีการอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย • สรุปข้อจำกัดที่PCIC ประสบ - ปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างของ MPCIเอง(คือ การให้ความคุ้มครองทุกภัย) - การประเมินความเสียหาย (ก่อความท้าทายทั้งในด้านการบริหารจัดการและต้นทุน) - มีแต่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงสูงทำประกัน,ค่าบริหารจัดการสูง, ยอดรวมธุรกิจต่ำ - รัฐบาลมีงบประมาณไม่พอที่จะอุดหนุนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทำให้ติดค้างค่าอุดหนุนเบี้ยประกันกับ PCIC (และทำให้ PCIC ไม่สามารถรับประกันได้มาก) - ไม่มีนวัตกรรมและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์
โมเดล2. การประกันภัยโดยเอกชน (โดยปราศจากการช่วยเหลือจากรัฐ) • ประเทศหลักๆ ที่ใช้ - เยอรมันนี, ฝรั่งเศส, สวีเดน, สหรัฐ(เฉพาะประกันภัยลูกเห็บ), ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อาร์เจนตินาม, แอฟริกาใต้ • ประเภทของบริษัทประกันภัยเอกชน: - บริษัทประกันภัยเฉพาะทางเพื่อการเกษตรและ บริษัทประกันวินาศภัยทั่วไป - โดยปกติจะมีประมาณ5-10 บริษัทหรือองค์กรรับประกันภัยในหนึ่งประเทศ • ผลิตภัณฑ์ประกันภัยหลัก - แบบกำหนดภัยชนิดเดียว (Single Peril) (ลูกเห็บ) และแบบกำหนดชนิดภัย(Named Perils)(น้ำค้างแข็ง,ฝนตกหนัก, ลมพายุ) - หลายประเทศมีผลิตภัณฑ์ประกันปศุสัตว์ด้วย เช่น เยอรมันนี • บริษัทต่างแข่งขันกันในหลายๆ ด้าน เช่น: • กลุ่มประเภทความคุ้มครอง (Insured classes agriculture), ผลิตภัณฑ์ และกรมธรรม์ • ทางเลือกด้านอัตรา และการรับผิดส่วนแรก • ภูมิภาคที่ให้ความคุ้มครอง • การเลือกรับหรือไม่รับประกันเกษตรกรแต่ละราย • ไม่มีการช่วยเหลือในรูปแบบใดๆ จากรัฐบาล • ทำการประกันภัยต่อกับภาคเอกชนด้วยกันเอง
โมเดล3a. พูลรับประกันภัยเอกชนที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ตัวอย่าง: AGROSEGURO,สเปน
โมเดล3b. พูลรับประกันภัยเอกชนที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ตัวอย่างFederal Crop Insurance, สหรัฐอเมริกา
เหตุผลในการจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันเหตุผลในการจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน • เกษตรกร: - เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการประกันภัย (โดยทำให้ค่าเบี้ยประกันอยู่ในระดับที่จ่ายได้) - เพื่อเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการเกษตร(ใช้แทนหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงิน) - การประกันภัยทำให้รายได้มีเสถียรภาพ และเพิ่มความสามารถในการจ่ายคืนสินเชื่อ • บริษัทประกันภัย: - ทำให้สามารถเก็บค่าเบี้ยประกันในอัตราที่ถูกต้องตามคณิตศาสตร์ประกันภัยได้ ซึ่งมักเป็นอัตราที่สูง(สำหรับMPCIอยู่ที่ประมาณ5% ถึง15%) - ทำให้มีผู้ประกันมากขึ้นและกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น • รัฐบาล: - เพื่อให้แรงจูงใจกับเกษตรกรในการทำประกัน - เพื่อทดแทนระบบการชดเชยที่ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวด้วยการประกันภัย - ทำให้รายได้จากเกษตรกรรมมีเสถียรภาพ - เพื่อจุดมุ่งหมายทางสังคม (เช่น ลดการอพยพจากชนบทเข้าสู่เมือง?)
ข้อสรุปเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันข้อสรุปเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันเป็นรูปแบบการสนับสนุนที่รัฐบาลใช้กันมากที่สุด แต่ - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันสามารถก่อให้เกิดภาวะภัยทางศีลธรรม และส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม - เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรรายใหญ่เป็นสัดส่วนที่มากเกินไป - ก่อให้เกิดภาระทางการเงินอย่างมหาศาลแก่สังคม(เช่น กรณีของสหรัฐและยุโรป) ประเทศกำลังพัฒนาเป็นจำนวนน้อยมีความสามารถรับภาระทางการเงินเช่นนี้ได้ • ในกรณีที่จำเป็นต้องให้การอุดหนุนเบี้ยประกัน ควรจะมีการวางแผนและจำกัดวงเงินไว้ล่วงหน้า(เช่น โดยกำหนดเพดานขั้นสูงกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการช่วยเหลือกำหนดแผนยุติการอุดหนุนที่ชัดเจน) • ควรอุดหนุนเฉพาะส่วนของค่าเบี้ยประกันที่เกิดจากการบริหารจัดการ เพื่อให้ค่าเบี้ยในส่วนที่เป็นค่าความเสี่ยงยังสามารถสื่อความหมายกับเกษตรกรถึงระดับความเสี่ยงจริงในแต่ละพื้นที่ - การอุดหนุนจากรัฐบาลจะมีประสิทธิภาพมากกว่าถ้า: • ใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการบริหารความเสี่ยงในภาคเกษตรกรรม - เพิ่มคุณภาพของข้อมูล และเครือข่ายอุตุนิยมวิทยา • การฝึกทักษะ การให้ความรู้ การวิจัยและพัฒนา และการบริการต่างๆต่อเกษตรกร • สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับการเข้ามามีบทบาทของภาคเอกชน • ช่วยรับความเสี่ยงทางการเงินจากภัยขั้นวิกฤต/ประกันภัยต่อ
บทบาทของรัฐบาลในการรับความเสี่ยงทางการเงินบทบาทของรัฐบาลในการรับความเสี่ยงทางการเงิน โมเดลการรับความเสี่ยง • ควรส่งเสริมการประกันภัย และการประกันภัยต่อโดยภาคเอกชนในกรณีที่ทำได้ • ช่วงชั้นความเสี่ยงบางชั้นของภัยร้ายแรง(เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ)จะไม่สามารถประกันได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากรัฐ • การที่รัฐบาลเข้าช่วยในการประกันภัยต่อถือเป็นการวางแผนล่วงหน้าเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติอย่างหนึ่ง • การประกันภัยต่อโดยรัฐเป็นการใช้ทรัพยากรทางการเงินที่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับการอุดหนุนค่าเบี้ยประกัน ความถี่ของภัย การประกันภัยต่อโดยรัฐ 20-30ปี Independent Risks “In between” Risks Catastrophic Risks การประกันภัย และ การประกันภัยต่อ 5-7 ปี การประกันภัย/ กองทุนสำรองฉุกเฉิน 3-5 ปี การรับความเสี่ยงไว้เองของผู้ทำประกัน Source: Dick, W., World Bank 2007