1.49k likes | 5.69k Views
ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ. กระบวนการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักการและวิธีการ 1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค วิธีการ สร้างเมื่อ พ.ศ.ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด
E N D
ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ กระบวนการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักการและวิธีการ 1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงานเป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค วิธีการ สร้างเมื่อ พ.ศ.ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด 2. ขั้นตอนการพรรณนาผลงานเป็นการบันทึกข้อมูลจากการมองเห็นภาพผลงานในขั้นต้นว่าเป็นภาพอะไร เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่ง เป็นต้น มีเทคนิคในการสร้างสรรค์แบบใด 3. ขั้นวิเคราะห์เป็นการดูลักษณะภาพรวมของผลงานว่าจัดอยู่ในประเภทใด พิจารณารูปแบบการถ่ายทอดเป็นแบบใด จำแนกทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์ออกจากภาพรวมเป็นส่วนย่อยให้เห็นว้มีหลักการจัดภาพที่กลมกลืนหรือขัดแย้งอย่างไร 4. ขั้นตีความเป็นการค้นหาความหมายของผลงานว่า ศิลปินหรือผู้สร้างสรค์ต้องการสื่อให้ผู้ชมผลงานได้รับรู้เกี่ยวกับอะไร เช่น สภาพปัญหาในชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น 5. ขั้นประเมินผลเป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้นจากการพิจารณาทุกข้อในเบื้องต้น สรุปให้เห็นข้อดีและข้อด้อยในด้านเนื้อหาและเรื่องราว หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทักษะ ฝีมือ และการถ่ายทอดความงาม เพื่อการพัฒนาหรือตัดสินผลงานชิ้นนั้น
ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ 1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค วิธีการ สร้างเมื่อ พ.ศ.ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด
1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงานประเภทงาน : จิตรกรรมชื่อผลงาน : <โมนาลิซา ( Mona Lisa )ชื่อศิลปิน : เลโอนาร์โด ดา วินชี ( Leonadoda Vinci ) ศิลปินชาวอิตาเลียน ขนาดผลงาน : 77 x 53 ซม. เทคนิค วัสดุ : สีน้ำมันบนแผ่นไม้ ผลงานสร้างเมื่อปี : พ.ศ.2046 - 2049 ( ค.ศ.1503 - 1506 ) ปัจจุบันอยู่ที่ : พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รูปแบบการสร้างสรรค์ : เป็นงานศิลปะตะวันตก การถ่ายทอดรูปแบบเหมือนจริงตามลักษณะแบบอย่างของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance )
ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ 2. ขั้นตอนการพรรณนาผลงาน เป็นการบันทึกข้อมูลจากการมองเห็นภาพผลงานในขั้นต้นว่าเป็นภาพอะไร เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่ง เป็นต้น มีเทคนิคในการสร้างสรรค์แบบใด
2. ขั้นพรรณนาในผลงานเป็นภาพเขียนครึ่งตัว ( Portrait ) สุภาพสตรีผมยาวมีผ้าคลุม หวีผมแสกกลาง เสื้อคลุมด้วยสีดำเรียบ เห็นใบหน้าเกือบตรง ลำตัวบิดเบี้ยวเล็กน้อย มือขวาวางคว่ำสัมผัสข้อมือซ้ายที่วางราบอยู่บนที่วางแขนของเก้าอี้ เบื้องหลังเป็นภาพของทิวทัศน์สงบเงียบ บรรยากาศเร้นลับ ชวนฝันภาพส่วนขยายนัยน์ตาและรอยยิ้ม ของโมนาลิซา ที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ต้องการค้นหาบางสิ่ง ซ่อนเลศนัยและปริศนาให้ผู้ดูบังเกิดความรู้สึกและตั้งคำถามว่า โมนาลิซากำลังคิดอะไรอยู่
ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ 3. ขั้นวิเคราะห์ เป็นการดูลักษณะภาพรวมของผลงานว่าจัดอยู่ในประเภทใด พิจารณารูปแบบการถ่ายทอดเป็นแบบใด จำแนกทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์ออกจากภาพรวมเป็นส่วนย่อยให้เห็นว้มีหลักการจัดภาพที่กลมกลืนหรือขัดแย้งอย่างไร
การวิเคราะห์ทัศนธาตุ -เส้น แสดงการใช้เส้นโค้งและเส้นลักษณะอื่นๆ ได้สัมพันธ์กลมกลืนกัน ทั้งในส่วนของใบหน้า เส้นผม ผ้าคลุม รอยยับของผ้า นิ้วมือ แนวเส้นของทางเดิน และสายน้ำลำธารของฉากหลัง-รูปร่าง รูปทรง แสดงรูปร่าง รูปทรง ลักษณะธรรมชาติของคน และทิวทัศน์ได้อย่างสวยงาม-สี แสดงภาพสีส่วนรวมเป็นโทนสีน้ำตาลอมเขียวและดำ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย สีน้ำตาลหมายถึงธรรมชาติหรือโลก สีน้ำตาลออกดำหมายถึงความสุขุม ความลึกลับซ่อนเร้น และสีเขียวหมายถึงชีวิต ขนาด สัดส่วน แสดงขนาดของคนได้เหมาะสมกับขนาดภาพ และแสดงสัดส่วนทางกายวิภาคได้ถูกต้อง งดงามตามธรรมชาติ-แสงเงา แสดงการใช้แสงเงาที่กลมกลืนเหมือนธรรมชาติ แสงเงาส่วนรวมของภาพมีน้ำหนักเข้มมืด บริเวณใบหน้าและมือให้แสงสว่างมาก และมีน้ำหนักเงาอ่อน-บริเวณว่าง แสดงบริเวณว่างรอบตัวโมนาลิซาเป็นทิวทัศน์อยู่ฉากหลัง นอกจากจะทำพให้ภาพดูโปร่งตาไม่ทึบตันเกินไป ยังทำให้ภาพมีระยะใกล้ไกล มีมิติตื้นลึก และเหมือนจริง-ลักษณะผิว แสดงการใช้ลักษณะผิวในส่วนของใบหน้าและมือด้วยการเกลี่ยสีให้นุ่มนาลสอดคล้อง สมวัย และเหมือนจริง โดยเฉพาะมือขวาให้ความรู้สึกเหมือนมีเลือดเนื้อจริงๆ
การวิเคราะห์หลักองค์ประกอบศิลป์การวิเคราะห์หลักองค์ประกอบศิลป์ เอกภาพการจัดภาพโดยรวมมีความเป็นเอกภาพด้วยเส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงาที่สัมพันธ์กลมกลืนกันทั้งรูปคนและธรรมชาติ ทำให้ทั้งภาพดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดุลยภาพ แสดงภาพโมนาลิซาตรงแกนกลาง วางท่าอยู่ในแนวรูปสามเหลี่ยม จัดวางทิวทัศน์ไว้ในบริเวณว่าง มัลักษณะของดุลยภาพแบบซ้ายขวาเท่ากัน ซึ่งให้ความรู้สึกสงบทางกายภาพจุดเด่นแสดงจัดเด่นอยู่บนใบหน้า มีดวงตาที่ให้ความรู้สึกเหมือนมองผู้ดูผลงานอยู่ตลอดเวลาและรอยยิ้มที่เป็นปริศนาความกลมกลืน แสดงการจัดภาพของส่วนประกอบต่างๆ ทางทัศนธาตุ ทั้งรูปแบบของเส้น รูปร่าง รูปทรง สี ขนาด สัดส่วน แสงเงา บริเวณว่าง และพื้นผิวได้อย่างสัมพันธ์กลมกลืนกันทั้งเทคนิค วิธีการสร้างสรรค์ ซึ่งสอดประสานกับอารมณ์ ความรู้สึกของภาพได้อย่างงดงามความขัดแย้ง แสดงความขัดแย้งในด้านน้ำหนัก สี แสงเงา ส่วนรวมของภาพมีความเข้มคล้ำ ต่างกับส่วนใบหน้าที่ใช้น้ำหนักสี สงเงาอ่อนกว่า แต่มีผลดีคือช่วยส่งเสริมบริเวณส่วนใบหน้าให้มีความเจิดจ้า เด่นชัด และงดงามยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ 4. ขั้นตีความ เป็นการค้นหาความหมายของผลงานว่า ศิลปินหรือผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อให้ผู้ชมผลงานได้รับรู้เกี่ยวกับอะไร เช่น สภาพปัญหาในชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
ขั้นตีความ 4. ขั้นตีความเป็นงานจิตรกรรมภาพเหมือน (Portrait) ที่มีชื่อเสียงมาก เป็นภาพของหญิงสาวในท่านั่ง แต่งกายตามสมัยนิยมในแฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ในอิตาลี เบื้องหลังเป็นภาพทิวทัศน์ภูเขาที่ดูนุ่มเบา แสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้า โดยเฉพาะแววตาและรอยยิ้มที่เป็นปริศนา ไม่สามารถจะบอกได้ว่าเธอกำลังยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ หรือเธอต้องการบอกอะไรบางอย่างกันแน่ ผู้ที่ได้ชมภาพนี้จะเกิดจินตนาการในการสร้างความรู้สึกหรืออารมณ์เข้าไปในภาพด้วย
ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ 5. ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้นจากการพิจารณาทุกข้อในเบื้องต้น สรุปให้เห็นข้อดีและข้อด้อยในด้านเนื้อหาและเรื่องราว หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทักษะ ฝีมือ และการถ่ายทอดความงาม เพื่อการพัฒนาหรือตัดสินผลงานชิ้นนั้น
5. ขั้นประเมินผล หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ศิลปินนำหลักทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบศิลป์มาใช้ให้เกิดความสัมพันธ์กันทั้งในส่วนประธานและส่วนรองของภาพ ทำให้ผลงานมีเอกภาพ ดุลยภาพ จุดเด่น ความกลมกลืนและความขัดแย้งได้งดงามตามกรรมวิธีการจัดองค์ประกอบศิลป์แบบศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
5. ขั้นประเมินผล ทักษะฝีมือและการถ่ายทอดความงามจิตรกรมีทักษะและความสามารถในการเขียนภ่าพเหมือนจริง และพัฒนากรรมวิธีการแก้ปัญหาระยะตื้นลึกของภาพโดยใช้เทคนิคภาพสีหม่น (Sfumato) ทำให้ฉากหลังดูนุ่มเบา และใช้โทนสีหนักกับตัวนางแบบ นอกจากนี้จิตรกรยังนำหลัก ทัศนมิติเชิงอากาศ (Aerial Perspective) มาใช้ในการแก้ปัญหาระยะตื้นลึก คือการทำให้ภาพดูเหมือนกับมองผ่านปริมาณอากาศ สีของสิ่งที่อยู่ในระยะไกลดูจางลงเป็นลำดับ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในอากาศ สีและเส้นรอบนอกของสิ่งที่อยู่ระยะไกลในภาพทิวทัศน์จะมีความชัดเจนน้อยกว่าสิ่งที่อยู่ในระยะใกล้ ทำให้ภาพดูมีระยะตื้นลึก ซึ่งปรากฏในส่วนฉากหลังของโมนาลิซา จัดเป็นภาพที่แสดงระยะตื้นลึกและบรรยากาศยามหมอกลงจัดได้ อย่างน่าชม
ภาพพิมพ์ • ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้ • 1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ1.1 ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์ 1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์
ภาพพิมพ์ • 2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ2.1 ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธี การพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย 2.2 ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
ภาพพิมพ์ 3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 3.1 ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป 3.2 ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม
4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ 4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ 4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร 4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT ) 4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น
ประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินสาขา ภาพพิมพ์
4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ 4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ 4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร 4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT ) 4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น
ภาพพิมพ์ครั้งเดียว • ( MONOPRINT )
4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ 4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ 4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร 4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT ) 4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น
4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ 4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ 4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร 4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT ) 4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น
ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN )
ลายกนก หางไหล เป็นที่มาของกนกตัวต้น ทรงคล้ายกนกเปลว หรือเป็นแกนของตัวกนกอีกทีหนึ่ง โดยมากใช้เขียนเป็นลายเปลวไฟ ไม่มีใช้ผูกเป็นลายกนกเปลวเทียนหรือเป็นลายก้านขด
ลายกนก ลายกนกเปลว
ลายกนก ลายกนกสามตัว กนกสามตัวจัดว่าเป็นแม่ลายที่สำคัญมาก เท่ากับเป็นแม่บทของกนกต่างๆทุกชนิด
ลายกนก ลายกนกเปลว กนกเปลวมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่กาบล่างของกรกเปลวต่างกัน
ลายกนก เทศหางโต หรือ หางโต มีลักาณะรูปร่างเหมือนกนกใบเทศตลอดจนส่วนประกอบก็เช่นเดียวกัน แต่ผิดกันก็ตอนบนของหางโต ใช้ทรงพุ่มทรงข้าวบิณฑต่อจากก้านหรือจะใช้ใบเทศต่อก้านก็ได้ เมื่อถึงตอนยอดก็ให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เทศหางโต หรือ หางโต เมื่อเข้าลายหรือผูกลายจะใช้ปนกับกนกใบเทศก็ได้การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตัว
ลายกระจัง ตาอ้อย
ลายกระจัง กระจังใบเทศ การแบ่งจังหวะรอบตัวของกระจังใบเทศนี้ เรียกว่า "แข้งสิงห์"
ลายกระจัง กระจังหูหรือกระจังปฏิญาณ กว้างสองส่วน สูงสามส่วน(ดูแบบ) ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาอีกครึ่งส่วนซ้ายและขวา มีตาอ่อนหรือกระจังใบเทศห้าม แต่ภายในตอนล่างมีกาบทั้งซ้ายและขวา
ลายกระจัง กระจังรวน มีส่วนเหมือนกระจังหูทุกส่วน แต่ใช้ยอดลงปลายยอด(ยอดเฉ)ยอดบัดไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้
ลายกระจัง ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ เขียนอย่างใบกระจังเทศแต่ให้สั้น
ลายกระจัง ลายประจำยาม ประกอบด้วยวงกลมกับตัวกระจังใบเทศ ถ้าเป็นตัวย่อเล็กก็ใช้กระจังตาอ้อนแทน ลายประจำยาม ไม่เฉพาะแต่ใช้กระจังใบเทศ จะใช้กระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑก็ได้ ลายประจำยามอยู่ในจำพวกดอกลอยและใช้เป็นแม่ลาย คือ ที่ออกลายหรือใช้เป็นที่ห้ามลาย