1 / 75

วิทยากร

วิทยากร. นายวิจิตร แสงกุล นิติกร 7ว ส่วนกฎหมาย วุฒิ นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประสบการณ์ นายตรวจฯ 6 ปี นิติกร 16 ปี . สี่เสาหลักกฎหมายภาคสนาม. ประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา.

tex
Download Presentation

วิทยากร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิทยากร นายวิจิตร แสงกุล นิติกร 7ว ส่วนกฎหมาย วุฒิ นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประสบการณ์ นายตรวจฯ 6 ปี นิติกร 16 ปี

  2. สี่เสาหลักกฎหมายภาคสนามสี่เสาหลักกฎหมายภาคสนาม • ประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ • ประมวลกฎหมายอาญา • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป • ไม่มีคำว่าไม่มีกฎหมายที่จะนำมาปรับแก่คดี - ม.4 การใช้กฎหมาย/การตีความ ต้องใช้กฎหมายตามตัวอักษรหรือใช้ตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น และเมื่อไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดี ให้วินิจฉัยตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณี ให้เทียบเคียงกับกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีกฎหมายใกล้เคียง ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

  4. กฎหมายแพ่งสันนิษฐานว่าทุกคนใช้สิทธิโดยสุจริตกฎหมายแพ่งสันนิษฐานว่าทุกคนใช้สิทธิโดยสุจริต • ม.5 ในการใช้สิทธิของตน ในการชำระหนี้ของตน บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต • ม.9 การอันใดกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นจะต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น และการพิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน ถือเสมอกับลายมือชื่อ แต่การพิมพ์ลายนิ้วมือซึ่งทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องมีพยานรับรองก็ใช้ได้

  5. ลักษณะ 2 บุคคล • ม.15 สภาพบุคคลธรรมดา เริ่มเมื่อคลอดแล้วรอดอยู่เป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา ถ้าคลอดแล้วรอดอยู่ก็สามารถมีสิทธิต่างๆเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาอื่นๆ • ม.19 บุคคลย่อมพ้นจากผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ • ม.20 ผู้เยาว์ ถ้าแต่งงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมบรรลุนิติภาวะ • ม.21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆให้มีผลตามกฎหมาย ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ถ้าไม่ได้รับความยินยอม เป็นโมฆียะคืออาจถูกบอกล้างได้ในภายหลัง

  6. นิติบุคคล - ม.65,66,70 นิติบุคคลเกิดขึ้นได้โดยผลของกฎหมาย และมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โดยแสดงเจตนา/ความประสงค์ของนิติบุคคลผ่านผู้แทนของนิติบุคคล

  7. ลักษณะ 4 นิติกรรม - ม.149 คำว่านิติกรรม กฎหมายให้คำนิยามว่า การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ • ม.150 การใดมีวัตถุประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ • ม.165 การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่

  8. บรรพ 2 ลักษณะ 1 หนี้ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป - ม.194,213 ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้จะบังคับชำระหนี้เองไม่ได้ ต้องฟ้องศาลเพื่ออาศัยอำนาจของศาลในการบังคับคดี - ม.204 ถ้าถึงกำหนดนัดชำระหนี้ ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ นับแต่นั้นถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ต้องใช้ค่าเสียหายจากการผิดนัด เช่น ต้องให้ดอกเบี้ยในการผิดนัด

  9. ลักษณะ 2 สัญญา • ม.356 คำเสนอที่จะทำนิติกรรมต่อบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้า ทำคำเสนอ ณ ที่ใด เวลาใด ก็สามารถที่จะสนองรับคำเสนอได้ ณ ที่นั้น เวลานั้น และความข้อนี้ให้ใช้ได้ถึงการทำคำเสนอไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งทางโทรศัพท์ด้วย กล่าวคือ เมื่อคำเสนอ คำสนอง ถูกต้องตรงกัน ทำให้เกิดสัญญาขึ้น และสัญญาเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้อีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้คู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ต่อกัน

  10. บรรพ 3 ลักษณะ 1 เอกเทศสัญญา • ม.453 สัญญาซื้อขายคือสัญญาซึ่งผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย • มาตรา 137 ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง • มาตรา 138 ทรัพย์สิน หมายความว่า ทรัพย์ และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ • ม.458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขาย

  11. เสาหลักที่ 2 ประมวลกฎหมายอาญา • ภาค 1 ลักษณะ 1 บทบัญญัติที่ใช้กับความผิดทั่วไป • ม.1 ในประมวลกฎหมายนี้ (1) โดยทุจริต หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น (3) สาธารณสถาน หมายความว่า สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ (4) เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือหรือแพซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม

  12. หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา • ม.2 บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญาก็ต่อเมื่อกระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย • ม.4 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย • ม.17 บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญานี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่ กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

  13. หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย ส่วนที่ 1 โทษ • ม.18 โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้ (1) ประหารชีวิต (2) จำคุก (3) กักขัง (4) ปรับ (5) ริบทรัพย์สิน

  14. ม.28,29 ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดในคำพิพากษาต่อศาล และถ้าไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันจะต้องถูกยึดทรัพย์สินมาใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ • ม.30 การกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน และไม่ว่าในกรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้ามกักขังเกินหนึ่งปี เว้นแต่ ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีก็ได้ • ม.31 ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิดหลายคนในความผิดเดียวกัน ให้ปรับเรียงตามรายตัวบุคคล

  15. หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา • ม.59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่ กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทหรือกระทำโดยไม่มีเจตนา...ฯลฯ... • บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา จะต้องกระทำครบองค์ประกอบความผิดที่กฎหมายบัญญัติไว้ • องค์ประกอบความผิดในทางอาญา ประกอบด้วย 1. องค์ประกอบภายนอก 2. องค์ประกอบภายใน

  16. สิ่งที่บุคคลอาจอ้างว่าไม่ต้องรับผิดในทางอาญาได้สิ่งที่บุคคลอาจอ้างว่าไม่ต้องรับผิดในทางอาญาได้ 1. ไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด(ม.59 ว3) 2. สำคัญผิดในข้อเท็จจริง(ม.62) • สิ่งที่บุคคลจะอ้างว่าไม่ต้องรับผิด(ทางอาญา)ไม่ได้ 1. อ้างว่าไม่รู้กฎหมาย(ม.65) 2. อ้างว่ากระทำผิดเพราะความมึนเมา(ม.66)

  17. เด็กหรือผู้เยาว์ กระทำความผิด • ม.73 เด็กอายุยังไม่เกินสิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ • ม.74 เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษแต่ให้ศาลมีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และจะเรียกบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วยมาตักเตือนด้วยก็ได้ • ม.78 ผู้ใดอายุตั้งแต่สิบแปดปีแต่ยังไม่เกินยี่สิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ศาลจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้

  18. เหตุบรรเทาโทษ • ม.78 เมื่อปรากฏเหตุบรรเทาโทษ ศาลจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้ และเหตุบรรเทาโทษนั้นได้แก่ ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉนดเขาเบาปัญญา ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น หรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี • ม.79 ในคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว ถ้าผู้กระทำความผิดนำค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นมาชำระก่อนที่ศาลเริ่มต้นสืบพยาน ให้คดีนั้นเป็นอันระงับไป

  19. หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน • ม.83 ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง • ม.90 เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด • ม.91 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป...ฯลฯ...

  20. หมวด 9 อายุความ • มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ (1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดโทษจำคุกยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต... (2) สิบห้าปี สำหรับความผิดโทษจำคุกกว่าเจ็ดปี แต่ไม่ถึงยี่สิบปี (3) สิบปี สำหรับความผิดโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี (4) ห้าปี สำหรับความผิดโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี (5) หนึ่งปี สำหรับความผิดจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

  21. ภาค 2 ความผิด ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ • ม.149 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน... เรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต • ม.157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี...

  22. เสาหลักที่ 3 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง • ภาค 1 บททั่วไป ลักษณะ 1 บทวิเคราะห์ศัพท์ หมวด 1 บทนิยาม • มาตรา 1 ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น (3) คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใดที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา...ฯลฯ... (4) คำให้การ หมายความว่า กระบวนพิจารณาใดๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง... (11) คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงทนายความด้วย

  23. ลักษณะ 2 ศาล หมวด 1 เขตอำนาจศาล • ม.2 ห้ามมิให้เสนอคำฟ้องต่อศาลใด เว้นแต่ (1) เมื่อพิจารณาถึงสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลแล้วปรากฏว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้นได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (2) เมื่อได้พิจารณาถึงคำฟ้องแล้วปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง

  24. ลักษณะ 3 คู่ความ • คดีแพ่งจะขึ้นมาสู่ศาลส่วนแพ่งได้จะต้องมีข้อโต้แย้งตามกฎหมายแพ่งเกิดขึ้นก่อน - มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจศาลได้

  25. ลักษณะ 5 พยานหลักฐาน • ต้องเป็นพยานหลักฐานในคดีและฝ่ายใดกล่าวอ้างฝ่ายนั้นนำสืบ • มาตรา 84 การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใด จะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่ (1) ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป (2) ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ (3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล - มาตรา 84/1 คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น...ฯลฯ...

  26. หมวด 2 ว่าด้วยการมาศาลของพยานและการซักถามพยาน • มาตรา 112 ก่อนเบิกความ พยานทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตนว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่ (1) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท... (2) บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี... (3) พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา (4) บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องให้สาบาน - มาตรา 113 พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามมิให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา เว้นแต่ ศาลจะอนุญาต

  27. การซักถามพยาน - มาตรา 117 คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานชอบที่จะตั้งข้อซักถามได้ในทันทีที่พยานได้สาบานตนและแสดงตนแล้ว เมื่อซักถามเสร็จแล้วคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถามค้านพยานนั้นได้ และเมื่อได้ถามค้านพยานเสร็จแล้ว คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานชอบที่จะถามติงได้

  28. ลักษณะ 6 คำพิพากษาและคำสั่ง หมวด 2 ข้อความและผลแห่งคำพิพากษาและคำสั่ง - มาตรา 145 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอุทธรณ์ ฎีกา.... คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่า ผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิจารณาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย...

  29. ภาค 3 อุทธรณ์และฎีกา • ลักษณะ 1 อุทธรณ์ • มาตรา 223 ...คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่ คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นที่สุด • มาตรา 224 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท... ห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง... • มาตรา 229 อุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น...

  30. ลักษณะ 2 ฎีกา • มาตรา 247 ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้ว ให้ยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์...ฯลฯ... • มาตรา 248 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง...ฯลฯ...

  31. เสาหลักที่ 4 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา • ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น ลักษณะ 1 หลักทั่วไป • มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้ (2) ผู้ต้องหา หมายความถึง บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล (3) จำเลย หมายความถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด (4) ผู้เสียหาย หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง

  32. มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้(ต่อ) (13) ที่รโหฐาน หมายความถึง ที่ต่างๆซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดังบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา (16) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่นๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมปราบปราม

  33. สิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา • มาตรา 7/1 ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา...มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ...ทราบถึงการถูกจับกุมกับสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ (1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน (3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร (4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหา มีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบในโอกาสแรก

  34. สะพานเชื่อมระหว่างวิธีพิจารณาความอาญากับวิแพ่งสะพานเชื่อมระหว่างวิธีพิจารณาความอาญากับวิแพ่ง - มาตรา 15 วิธีพิจารณาใดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้

  35. ลักษณะ 2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล หมวด 1 หลักทั่วไป • มาตรา 16 ...อำนาจของพนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ หมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน - มาตรา 17 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้

  36. หมวด 3 อำนาจศาล • มาตรา 22 เมื่อความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น... ลักษณะ 3 การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมวด 1 การฟ้องคดีอาญา • มาตรา 28 บุคคลเหล่านี้ฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้ (1) พนักงานอัยการ (2) ผู้เสียหาย - มาตรา 34 คำสั่งไม่ฟ้องคดี หาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตนเองไม่

  37. การถอนฟ้องคดีอาญา • มาตรา 35 คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา ถ้าเป็น (1) คดีความผิดต่อแผ่นดิน ถอนก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น (2) คดีความผิดต่อส่วนตัว ถอนก่อนคดีนั้นถึงที่สุด ศาลจะอนุญาตให้ถอนหรือมิอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

  38. คดีอาญาเลิกกัน และทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องอีกย่อมระงับไป • มาตรา 37 คดีอาญาเลิกกันได้ดังต่อไปนี้ ...ฯลฯ.. (4) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว...ฯลฯ... • มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้ ...ฯลฯ... (3) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 37...ฯลฯ...

  39. หมวด 2 หมายอาญา ส่วนที่ 3 หมายค้น • มาตรา 69 เหตุที่จะออกหมายค้นได้มีดังนี้ (1) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน (2) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด...ฯลฯ... ลักษณะ 5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว • มาตรา 78 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับนั้นไม่ได้ เว้นแต่ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังบัญญัติไว้ในมาตรา 80 - มาตรา 80 ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้าได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ...

  40. การจับของราษฎร • ปกติราษฎรจะจับใครไม่ได้ ที่จับได้เป็นข้อยกเว้นของกฎหมาย • มาตรา 79 ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่ จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่งมาตรา 82 หรือผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้าและความผิดนั้นได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ • มาตรา 82 เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับจะขอความช่วยเหลือจากบุคคลใดใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายจับนั้นก็ได้...ฯลฯ..

  41. หน้าที่ของผู้จับหลังจากจับกุมแล้วหน้าที่ของผู้จับหลังจากจับกุมแล้ว • มาตรา 83 ในการจับนั้นเจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้จับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับว่าเขาต้องถูกจับและสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ...แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป • มาตรา 84 ผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับทันที และส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวน...ฯลฯ...

  42. การควบคุมผู้ถูกจับ • มาตรา 86 ห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เขาหลบหนีเท่านั้น • มาตรา 87 ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี และในคดีความผิดลหุโทษจะควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และที่จะรู้ตัวว่าเป็นใคร และที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหนเท่านั้น...

  43. หมวด 2 ค้น • มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นและในกรณีดังต่อไปนี้...ฯลฯ... (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน... (4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด.......ได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบกับทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน

  44. อำนาจค้นตามหมายค้น - มาตรา 94 ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ทำการค้นสั่งให้เจ้าของหรือคนที่อยู่ในที่ถูกค้นให้ยอมให้เข้าไปโดยมิหวงห้าม อีกทั้งให้ความสะดวกตามสมควร อีกทั้งให้พนักงานผู้นั้นแสดงหมาย/ ถ้าค้นโดยไม่มีหมายให้แสดงตำแหน่ง และถ้าเจ้าของ...ไม่ยินยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอำนาจใช้กำลังเพื่อเข้าไป ในกรณีจำเป็นจะเปิดหรือทำลายประตูบ้าน ประตูเรือน หน้าต่าง รั้วหรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่นทำนองเดียวกันนั้นก็ได้

  45. ค้นไปพบความผิดซึ่งหน้าค้นไปพบความผิดซึ่งหน้า • มาตรา 98 การค้นในที่รโหฐานนั้นจะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคนหรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) ในกรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจยึดสิ่งของใดๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ (2) เจ้าพนักงานซึ่งทำการค้นมีอำนาจจับบุคคลอื่นหรือสิ่งของอื่นในที่ค้นนั้นได้เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือในกรณีความผิดซึ่งหน้า

  46. ภาค 2 สอบสวน ลักษณะ 1 หลักทั่วไป • มาตรา 121 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั่วไป และถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวห้ามมิให้ทำการสอบสวน เว้นแต่ จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ • มาตรา 126 ผู้ร้องทุกข์จะถอนคำร้องทุกข์...เสียเมื่อใดก็ได้ และการถอนเช่นนั้น ย่อมไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน... ลักษณะ 2 การสอบสวน หมวด 1 การสอบสวนสามัญ - มาตรา 130, 131 ให้เริ่มการสอบสวนโดยมิชักช้า จะทำการในที่ใด เวลาใดแล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำเป็นต้นอยู่ด้วย และให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิดที่สามารถจะทำได้ เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา...

  47. ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น • ลักษณะ 1 ฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง • มาตรา 157 การฟ้องคดีอาญาให้ยื่นต่อศาลใดศาลหนึ่งที่มีอำนาจ... ลักษณะ 2 การพิจารณา • มาตรา 172 การพิจารณาและสืบพยานในศาลให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่ บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น....

  48. ลักษณะ 3 คำพิพากษาและคำสั่ง • มาตรา 182 ให้อ่านคำพิพากษา...ในศาลโดยเปิดเผยในวันเสร็จการพิจารณาหรือภายในสามวันนับแต่วันเสร็จคดี ถ้ามีเหตุสมควรจะเลื่อนไปอ่านวันอื่นก็ได้ - มาตรา 185 ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ดี คดีขาดอายุความก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป... เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีเหตุยกเว้นโทษ ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยความความผิด

  49. ภาค 4 อุทธรณ์และฎีกา • ลักษณะ 1 อุทธรณ์ หมวด 1 หลักทั่วไป • มาตรา 193 คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ เว้นแต่ จะถูกห้ามโดยกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น • มาตรา 193 ทวิ ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท เว้นแต่...ฯลฯ... (4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินกว่าหนึ่งพันบาท... - มาตรา 198 อุทธรณ์ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาให้คู่ความที่อุทธรณ์ฟัง

  50. ลักษณะ 3 ฎีกา • หมวด 1 หลักทั่วไป - มาตรา 126... คู่ความมีอำนาจคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง...ฯลฯ...

More Related