1 / 22

ชีววิทยา ม.4

ชีววิทยา ม.4. การย่อยของฟองน้ำ.

tex
Download Presentation

ชีววิทยา ม.4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชีววิทยา ม.4

  2. การย่อยของฟองน้ำ • ฟองน้ำกินอาหารแบบกรอง ด้วยการจับอนุภาคอาหารขนาดเล็กที่ปะปนอยู่ในน้ำทะเลโดยพัดพาผ่านรูเล็ก ๆ ของช่องน้ำเข้าเข้าไปในตัวฟองน้ำ โดยเซลล์ที่มีแฟลกเจลลัมซึ่งเรียกว่า โคแอนโนไซต์(Choanocyte) โบกน้ำผ่านเข้ามาและใช้เมือกจับอนุภาคอาหารนั้น แล้วใช้กระบวนการฟาโกไซโทซิสจับอาหารเข้าเซลล์พร้อมกับสร้างฟูดแวคิวโอล(Food vacuole) อาหารจะถูกย่อยและส่งไปตามส่วนต่าง ๆ โดยเซลล์อะมีโบไซต์(Amoebocyte)

  3. การย่อยของไฮดรา • พวกไฮดรา ซีแอนีโมนี ปะการัง กัลปังหา มีช่องภายในลำตัวที่เรียกว่าช่องแกสโทรวาสคิวลาร์(Gastrovascular cavity) ซึ่งเป็นช่องที่มีรูเปิดเพียงทางเดียว รูเปิดนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งปากในการกินอาหารและเป็นทวารหนักในขับของเสีย เมื่อสัตว์พวกนี้ใช้แทนตาเคิล(Tentacle) หรือหนวดเล็กๆ ที่มีเข็มพิษ (Nematocyst) จับเหยื่อใส่ปาก อาหารจะเข้าไปในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ ที่ผนังของช่องนี้มีเซลล์ต่อม (Gland cell) ทำหน้าที่ปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ อาหารบางส่วนที่ย่อยแล้วอาจถูกเซลล์ย่อยอาหาร(Digestive cell หรือ Nutritive cell) ที่อยู่ที่ผนังของช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ ทำการจับและย่อยภายในเซลล์ด้วยกระบวนการแบบเดียวกับอะมีบา

  4. การย่อยของไฮดรา

  5. การย่อยของพารามีเซียมการย่อยของพารามีเซียม • พารามีเซียม(Paramecium)จะใช้ซีเลีย (Cilia) ที่อยู่บริเวณร่องปาก (Oral groove) โบกพัดพาอาหารเข้าทางร่องปากที่มีช่องเปิด เรียกว่า ไซโตสโตม(Cytostome) อาหารจะเข้า ไปในไซโทพลาซึมจนอยู่ในสภาพที่เป็นฟูดแวคิวโอล แล้วอาหารจะถูกย่อยโดยเอนไซม์ในไลโซโซม เช่นเดียวกับอะมีบา ในที่สุดเหลือเพียงกากอาหาร ฟูดแวคิวโอลนี้เคลื่อนมาที่บริเวณใต้ร่องปากเพื่อ กำจัดกากอาหารออกทางช่องเปิด (Anal pore) ซึ่งมีตำแหน่งที่แน่นอน

  6. การย่อยของอะมีบา • อะมีบา(Amoeba) จะมีวิธีการนำอาหารเข้าสู่เซลล์ โดยกระบวนการ ฟาโกไซโทซิส(Phagocytosis) โดยการยื่นส่วนไซโทพลาซึมที่เรียกว่า ซูโดโพเดียม(Pseudopodium) โอบล้อมอาหารเข้าสู่เซลล์ เกิดเป็น ฟูดแวคิวโอลแล้วไปรวมกับไลโซโซม(Lysosome) ซึ่งมีเอนไซม์ไลโซไซม (Lysozyme) อยู่มากมายจึงเกิดการย่อยแบบภายในเซลล์ขึ้น สารที่ย่อยได้จะ ถูกดูดซึมเข้าสู่ไซโทพลาซึมในบริเวณใกล้เคียง ส่วนกากอาหารหรือสารที่ย่อย ไม่ได้จะถูกขับออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ โดยแตกทะลุออกทางเยื่อหุ้มเซลล์

  7. การย่อยของพลานาเรีย • พลานาเรีย(Planaria)เป็นสัตว์พวกหนอนตัวแบนชนิดหนึ่งที่ดำรงชีพอิสระ จับเหยื่อโดยการปล่อยเมือกออกมาและใช้ลำตัวคลุมลงบนตัวเหยื่อ เหยื่อจะถูกเมือกพันตัวทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ และจะใช้งวงหรือฟาริงซ์ยื่นออกมาดูดของเหลวในตัวเหยื่อเป็นอาหาร หรือกลืนเหยื่อเข้าไปช่อง แกสโทรวาสคิวลาร์ที่แตกแขนงทอดยาวไปตามลำตัว เซลล์ต่อมที่อยู่ตามผนังทางเดินอาหารจะปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร และชิ้นส่วนที่ย่อยแล้วจะมีเซลล์ที่ผนังทางเดินอาหารโอบล้อมอาหารเข้าไปย่อยภายในเซลล์ต่อ ส่วนกากอาหารที่ย่อยไม่ได้ก็จะกลับออกมาทางปาก

  8. การย่อยของพลานาเรีย

  9. การย่อยในแมลง • ตั๊กแตน ประกอบด้วยปาก(Mouth) ถัดไปเป็นคอหอย (Pharynx) หลอดอาหาร (Esophagus) เป็นทางเดินอาหารที่ค่อย ๆ พองออกจนเป็นถุงใหญ่เรียกว่า ถุงพักอาหาร (Crop) สองข้างของหลอดอาหารมีต่อมน้ำลาย(Salivary gland) สีขาว รูปร่างคล้ายกิ่งไม้ ส่วนปลายของถุงพักอาหารนี้มีกระเปาะแข็ง ๆ เรียกว่าโปรเวนตริคูลัส หรือกึ๋น (Proventiculusหรือ Gizzard) ภายในมีฟันเพื่อใช้บดอาหาร ส่วนที่ต่อกับกึ๋นมีถุงเล็ก ๆ รูปร่างคล้ายนิ้วมือ 8 ถุง เรียกว่า แกสตริกซีกา (Gastric ceca) เชื่อกันว่าทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย ช่วงนี้จะต่อกับทางเดินอาหารส่วนกลาง (Mid gut) ตอนกลางของลำตัวจะมีอวัยวะกำจัดของเสีย เรียกว่า หลอดมัลพิเกียน (Malpighian tubule) เป็นเส้นฝอยบาง ๆ สีเหลืองอยู่กันเป็นกระจุก ถัดไปเป็นโคลอน (Colon) เป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ ส่งกากอาหารไปยังไส้ตรง (Rectum) แล้วจึงเปิดออกที่ทวารหนัก (Anus)

  10. การย่อยในแมลง

  11. การย่อยในนก • นก (Bird) นกกินอาหารที่มีพลังงานสูงและมีการย่อยอาหารอย่างรวดเร็ว นกไม่มีฟันและต่อมน้ำลายเจริญไม่ดี แต่สามารถสร้างเมือกสำหรับคลุกเคล้าอาหารและหล่อลื่น ลิ้นมีต่อมรับรสน้อยแต่ก็รับรสได้บ้าง คอหอยสั้น หลอดอาหารค่อนข้างยาวมีผนังกล้ามเนื้อตอนปลาย มีกระเพาะพักอาหาร (Crop) มีหน้าที่เก็บอาหาร และนำไปย่อยในกระเพาะอาหาร (Stomach หรือ Proventriculus)ลักษณะทางเดินอาหารของนกสร้างน้ำย่อย ถัดไปเป็นกระเพาะบดหรือกึ๋น (Gizzard) มีกล้ามเนื้อหนา ผนังด้านในเป็นสันใช้บดอาหาร นอกจากนี้นกยังมีการกลืนก้อนกรวดขนาดเล็กเข้าไปช่วยในการบดอาหาร ถัดไปเป็นลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และโคลเอกา

  12. การย่อยในนก

  13. การย่อยในไส้เดือนดิน • ไส้เดือนดิน (Earth worm)ทางเดินอาหารแยกเป็นส่วนต่าง ๆ แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน เริ่มจากปาก (Mouth) เป็นทางเข้าของอาหาร เนื่องจากไส้เดือนดินกินซากขนาดเล็ก ปากจึงไม่มีฟัน อาหารจะถูกกลืนเข้าไปเข้าปากด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อที่แข็งแรงบริเวณคอหอย (Pharynx) ลักษณะทางเดินอาหารของไส้เดือนดินอาหารจึงผ่านไปยังกระเพาะพักอาหาร (Crop) ก่อนที่จะถูกส่งไปบดที่กึ๋น (Gizzard) ซึ่งมีกล้ามเนื้อแข็งแรง เมื่ออาหารถูกบดแล้วจึงส่งผ่านต่อไปยังลำไส้ (Intestine) ซึ่งเป็นช่วงทางเดินอาหารที่มีความยาวมากที่สุด มีเอนไซม์ถูกปล่อยออกมาจากเซลล์บุผนังลำไส้ สารที่ได้จากการย่อยแล้วจะถูกดูดซึมและส่งเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด สำหรับผนังลำไส้ทางด้านหลังจะเจริญและบุ๋มเข้าไปในช่องลำไส้เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหาร เกิดเป็นติ่งเนื้อที่เรียกว่า ไทโฟลโซล (typhlosole) ส่วนกากอาหารจะถูกขับออกมาทางทวารหนัก (Anus)

  14. การย่อยในไส้เดือนดิน

  15. การย่อยในสัตว์เคี้ยวเอื้องการย่อยในสัตว์เคี้ยวเอื้อง • สัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant)เช่น วัว ควาย แพะ แกะ มีกระเพาะเป็น 4 ห้องขนาดใหญ่ หญ้าที่กินเข้าไปจะผ่านจากหลอดอาหารเข้าสู่รูเมน (Rumen) ที่คนทั่วไปเรียกว่า ผ้าขี้ริ้ว ซึ่งภายในมีจุลินทรีย์ทำการย่อยสลายอาหารและทำให้เป็นก้อนขนาดเล็กเรียกว่า คัด (Cud) ในเวลาที่พักอยู่เฉย ๆ จะสำรอกคัดกลับเข้ามาที่ปากเพื่อเคี้ยวตัดเส้นใยพืชให้สั้นลงที่เรียกว่า เคี้ยวเอื้อง หลังเคี้ยวเอื้องจะกลืนอาหารลงไปในรูเมนอีกครั้งเพื่อให้แบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลส อาหารผ่านไปยังกระเพาะส่วนที่สอง เรติคิวลัม(Reticulum) หรือกระเพาะรังผึ้ง ต่อไปยังโอมาซัม (Omasum)หรือกระเพาะสามสิบกลีบ และสิ้นสุดที่แอบโอมาซัม (Abomasum) ซึ่งเป็นกระเพาะที่แท้จริง มีน้ำย่อยโปรตีน และมีการย่อยตามปกติเกิดขึ้นที่แอบโอมาซัม เมื่ออาหารผ่านกระเพาะออกมาแล้วจึงเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นที่มีอวัยวะช่วยย่อยอาหาร ได้แก่ ตับ ทำหน้าที่สร้างน้ำดีเพื่อทำให้ไขมันที่อยู่ในลำไส้เล็กแตกตัว ตับอ่อนสร้างเอนไซม์ช่วยย่อยพวกโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในลำไส้เล็ก เมื่ออาหารถูกย่อยโมเลกุลเล็กแล้วจะถูกส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป และขับกากอาหารออกทางทวารหนัก (Anus)

  16. การย่อยในสัตว์เคี้ยวเอื้องการย่อยในสัตว์เคี้ยวเอื้อง

  17. การย่อยในปาก • การเคี้ยวอาหาร (Mastication หรือ Chewing)เกิดจากการเคลื่อนไหวของฟัน ลิ้น แก้ม ริมฝีปาก ขากรรไกรล่าง เพื่อช่วยทำให้อาหารแตกสลายมีขนาดเล็กลง และเกิดการคลุกเคล้ากับน้ำลาย และปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ เปียกชื้น และอ่อนนุ่ม ที่เรียกว่า ก้อนโบลัส(Bolus) เพื่อให้สะดวกในการกลืน

  18. การย่อยในกระเพาะอาหารการย่อยในกระเพาะอาหาร • โปรตีนเริ่มถูกย่อยที่กระเพาะอาหาร โดยมีโพรเอนไซม์ที่ชื่อว่าเพปซิโนเจน (Pepsinogen) จาก ชีฟเซลล์ และมีการหลั่งกรดเกลือมาจากพาริเอตัลเซลล์ กรดเกลือจะเปลี่ยนเพปซิโนเจน ซึ่งไม่สามารถทำงานได้กลับมาทำงานได้ โดยเป็นเอนไซม์เพปซิน นอกจากกรดเกลือจะเปลี่ยนเพปซิโนเจนเป็นเพปซินแล้ว เพปซินที่ออกมายังไปเปลี่ยนเพปซินโนเจนให้เป็นเพปซินได้ด้วย เอนไซม์เพปซินจะสลายพันธะเฉพาะที่อยู่ระหว่างกรดอะมิโน Tyrosine PhenylalaninและTyptophanจนได้โพลีเพปไทด์ที่เล็กลง

  19. การย่อยในลำไส้เล็ก • อาหารที่ย่อยแล้วบางส่วนและยังไม่ได้ย่อยเคลื่อนผ่านกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็ก ลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 6-7 เมตร ขดอยู่ในช่องท้อง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนต้นที่ต่อจากกระเพาะอาหารเป็นท่อโค้งรูปตัวยู ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร เรียกว่า ดูโอดินัม(Duodenum) ส่วนถัดไป เรียกว่า เจจูนัม(Jejunum) ยาวประมาณ 2.50 เมตร และไอเลียม (Ileum) เป็นส่วนสุดท้ายยาวประมาณ 4 เมตร ดังภาพ 2.28 การย่อยอาหารในลำไส้เล็กเกี่ยวข้องกับการทำงานของตับ ตับอ่อน และผนังลำไส้เล็ก ซึ่งหลั่งสารออกมาทำงานร่วมกัน

  20. การย่อยในลำไส้เล็ก

  21. การดูดซึมสารอาหาร • ลำไส้เล็กมีการดูดซึมสารอาหารได้ดี เนื่องจากผนังด้านในของลำไส้เล็กซึ่งบุด้วย เซลล์บุผิวชั้นเดียวมีส่วนที่ยื่นเล็ก ๆ คล้ายนิ้ว เรียกว่า วิลลัส(Villus) เป็นจำนวนมาก ความหนาแน่นของวิลลัสมีประมาณ 20 –40 หน่วยต่อพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวในการดูดซึมได้มากขึ้น และด้านนอกของ เซลล์บุผิวนี้ยังมีส่วนยื่นออกไปเรียกว่า ไมโครวิลลัส(Microvillus) ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิว

More Related