840 likes | 2.08k Views
การประเมินเทียบระดับการศึกษา (แนวใหม่). สำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม http://sarakham.nfe.go.th. แนวคิดและความเป็นมา.
E N D
การประเมินเทียบระดับการศึกษา (แนวใหม่) สำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม http://sarakham.nfe.go.th
แนวคิดและความเป็นมา การดำเนินงานประเมินเทียบระดับการศึกษา ได้นำแนวคิดของการยอมรับความรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อนมาประยุกต์ใช้ (Recognition of Prior Learning Assessment) โดยประเมินเพื่อให้ได้รับการรับรองวุฒิการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายประกอบกัน ซึ่งการให้คุณค่า ของผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจาก วิถีชีวิต จากประสบการณ์ทางอาชีพ การฝึกอบรม การทำงาน การให้คุณค่าของผลการเรียนดังกล่าว จะกระตุ้นและสนับสนุนให้ประชาชนรักการเรียนรู้ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของประชาชนที่ประเทศต้องการ
วัตถุประสงค์ของการเทียบระดับการศึกษาวัตถุประสงค์ของการเทียบระดับการศึกษา 1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณธรรม จริยธรรม ได้รับการรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา และมีหลักฐานการศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ แสดงสถานะในสังคมหรือการศึกษาต่อ 2. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคคลทั่วไปมีความกระตือรือร้นในการที่จะแสวงหา ความรู้ เพิ่มทักษะและสั่งสมประสบการณ์อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 3. เพื่อตอบสนองความต้องการการยอมรับความรู้และประสบการณ์ของ ผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา ซึ่งจะทำให้มีความมั่นใจในตนเอง มั่นใจ ในสถานภาพทางสังคม
ความเป็นมา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2546 ข้อ 3 และระเบียบระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา พ.ศ. 2551 ข้อ 9 ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาจำนวนไม่เกินห้าคน ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาของการศึกษาระดับนั้น จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน และผู้มีความรู้ประสบการณ์ด้านวัดผลและประเมินผลจำนวนหนึ่งคน ดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษา คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษาอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ความเป็นมา (ต่อ) ตามกฎกระทรวงข้อ 3 วรรคสอง กำหนดว่า คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาจำนวนไม่เกินห้าคนนั้น ให้เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการและให้หัวหน้าสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษานั้นจำนวนหนึ่งคน เป็นเลขานุการ และกรรมการจะอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าประเมิน 2. แนะแนวและรับสมัคร 3. ปฐมนิเทศผู้เข้าประเมิน 4. ดำเนินการประเมินมิติความรู้ ความคิด และมิติประสบการณ์ 5. ประมวลผลการประเมิน 6. คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ ผลการประเมิน 7. การสัมมนาวิชาการ/ปัจฉิมนิเทศ 8. สถานศึกษาออกหลักฐานการศึกษาให้กับผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับ การศึกษา
คุณสมบัติของผู้สมัครเทียบระดับการศึกษาคุณสมบัติของผู้สมัครเทียบระดับการศึกษา 1. สัญชาติไทยหรือเป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย 2. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่ประกอบอาชีพในเขตบริการ การเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา 3. ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ในระบบหรือการศึกษานอกระบบที่แบ่งระดับเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ 4. มีพื้นความรู้ในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่ประสงค์จะขอเทียบระดับการศึกษา หนึ่งระดับ (ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย)
ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษาขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา การประเมินเทียบระดับการศึกษาจึงมีขอบข่ายเนื้อหาการประเมิน 4 องค์ประกอบ 1. ความรู้พื้นฐาน เป็นความรู้ทางด้านวิชาสามัญ ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาหา ความรู้ด้วยตนเอง จากสื่อและแหล่งวิทยาการต่าง ๆ ต่อไป เช่น ทักษะภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนความรู้ที่เป็นฐานความรู้ของ เรื่องอื่น ๆ ได้แก่ ความรู้ทางด้าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้ พื้นฐานเหล่านี้ต้องเป็นความรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด และ สอดคล้องกับสภาพวิถีชีวิตของบุคคลที่จะมาขอเทียบระดับการศึกษา
ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา (ต่อ) 2. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาอาชีพ เป็นความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านการงานอาชีพ ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการงานอาชีพ มีการพัฒนากระบวนการ การทำงาน หรือ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ในการวางแผน การเลือกใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ดำเนินงานและพัฒนาการ งานอาชีพไปสู่เป้าหมายได้อย่างสมเหตุสมผลรวมทั้งการมีคุณธรรม จริยธรรม ในการงานอาชีพ
ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา (ต่อ) 3. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นความรู้ความสามารถที่สะท้อนให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและ เห็นคุณค่าของชีวิตครอบครัว มีทักษะในการดำเนินชีวิต การมีสุนทรียภาพ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพทั้งทางกาย และจิตใจตลอดจนยึดหลักธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือเป็นแนวทางในการ ดำเนินชีวิต
ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา (ต่อ) 4. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับสังคมรอบ ๆ ตัว และทักษะในการนำความรู้ ความสามารถที่มีมาใช้ในการดำเนินชีวิตครอบครัว ให้มีความมั่นคง เข้มแข็ง อบอุ่น ตลอดจนนำศักยภาพของตนเองมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมเพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม ทั้ง ด้านอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งส่งเสริมให้สังคมและชุมชนมีความ กระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
เครื่องมือและวิธีการประเมินเทียบระดับการศึกษาเครื่องมือและวิธีการประเมินเทียบระดับการศึกษา สำนักงาน กศน. ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) พิจารณาปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้ โดยสำนักงาน กศน. เป็น ผู้จัดทำเครื่องมือประเมินเทียบระดับการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ โดยใช้เครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย แบ่งการประเมินเทียบ ระดับการศึกษา เป็น 2 มิติ คือ มิติความรู้ ความคิด และมิติประสบการณ์
มิติที่ 1 มิติความรู้ ความคิด มี 6 มาตรฐาน 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสิน 3) ความสามารถในการแสวงหาความรู้และการใช้เทคโนโลยี 4) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและจิตของตน 5) ความเป็นไทย สากล และพลเมืองดี 6) ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิต • วิธีการประเมิน ใช้เครื่องมือที่เป็นแบบทดสอบ ซึ่งมีทั้งแบบปรนัยและอัตนัย
มิติที่ 2 มิติประสบการณ์ มี 3 มาตรฐาน คือ 1) ด้านการพัฒนาอาชีพ 2) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน • วิธีการประเมิน ผู้เข้าประเมินต้องนำเสนอแฟ้มประมวลประสบการณ์ และ เข้ารับการสัมภาษณ์ โดยมีคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาที่ได้รับ การแต่งตั้งจากผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการประเมิน
การตัดสินผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาการตัดสินผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา 1. ผลการประเมินมิติความรู้ ความคิด ต้องได้คะแนนรวมทุกมาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 2. ผลการประเมินมิติประสบการณ์ ต้องได้คะแนนรายมาตรฐานไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ผู้เข้าประเมินต้องผ่านการประเมินทั้ง 2 มิติ จึงจะตัดสินผลว่า “ผ่าน” การประเมินเทียบระดับการศึกษานั้น ๆ ผลของการผ่านและไม่ผ่านจะไม่มี ระดับคะแนนและไม่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX)
การอนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาการอนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้อนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา การออกหลักฐานการประเมินเทียบระดับการศึกษา เมื่อหัวหน้าสถานศึกษาอนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา แล้วให้สถานศึกษาจัดทำเอกสารหลักฐานการประเมินเทียบระดับการศึกษา
การติดตามผลการเทียบระดับการศึกษาการติดตามผลการเทียบระดับการศึกษา การดำเนินงานเทียบระดับการศึกษาของแต่ละสถานศึกษา ผู้มีบทบาท สำคัญ คือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่ ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาจะต้องเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนของการดำเนินงาน โดยเฉพาะขั้นตอนของการประเมินมิติประสบการณ์ ที่จะต้องติดตาม ให้กำลังใจแก่ ผู้เข้าประเมินในการจัดทำแฟ้มประมวลประสบการณ์ และเมื่อการประเมินเทียบระดับ การศึกษาแต่ละครั้งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือ ควร มีการติดตามผลผู้ที่ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษาไปแล้วว่าผู้นั้นได้ดำเนินการ พัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่อย่างไร มีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ มีการ นำวุฒิการศึกษาไปพัฒนาหน้าที่การงานของตนเองหรือไม่
การเงินและงบประมาณ ผู้สมัครเข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา ต้องชำระ ค่าธรรมเนียมเพื่อขอเทียบระดับการศึกษา ระดับการศึกษา ละ 1,500 บาท ต่อคน และรายได้ที่ได้รับนี้สถานศึกษาสามารถนำไป เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานประเมินเทียบระดับการศึกษา เช่น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสอบมิติความรู้ ความคิด และค่าตอบแทน คณะกรรมการประเมินมิติประสบการณ์ (ค่าอ่านแฟ้ม ค่าสัมภาษณ์)
สวัสดี " แม้ไม่ได้ทุกอย่างที่หวังไว้ ก็มั่นใจในคุณค่ามหาศาล หนึ่งส่วนจากเศษฝันเมื่อวันวาน อาจสร้างงานเกียรติยศปรากฎไกล..."