1 / 56

การจัดการสวนป่า (สวนไม้) อย่างยั่งยืน

การจัดการสวนป่า (สวนไม้) อย่างยั่งยืน. หัวข้อบรรยายและบทปฏิบัติการ. 1. หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และการจัดการอย่างมีส่วนร่วม 2. การมีส่วน ร่วม ของประชาชน 3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการสวนไม้อย่าง ยั่งยืน และ

tender
Download Presentation

การจัดการสวนป่า (สวนไม้) อย่างยั่งยืน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการสวนป่า (สวนไม้) อย่างยั่งยืน

  2. หัวข้อบรรยายและบทปฏิบัติการหัวข้อบรรยายและบทปฏิบัติการ • 1. หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม • หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้และการจัดการอย่างมีส่วนร่วม • 2. การมีส่วนร่วมของประชาชน • 3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืน และ • บทปฏิบัติการการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  3. 1.1 หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม • หลักการจัดการป่าไม้ • (Principle of Forest Management, FM) • “การประยุกต์เทคนิค (techniques) วิธีการ (method) ทางด้านวิทยาศาสตร์ (science) ในการบริหารจัดการต้นไม้ (tree) และหมู่ไม้ (plantcommunity) เพื่อให้ผลผลิตในรูปเนื้อไม้ (ไม้ซุง) เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและยาวนาน” • เป็นแนวคิดการจัดการในยุคเก่า • ผู้ดำเนินการส่วนใหญ่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ • มีการพัฒนาแนวคิดไปสู่การจัดการทรัพยากรป่าไม้

  4. หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้ • (Principle of Forest Resources Management, FRM) • “กระบวนการ (process) ประยุกต์เทคนิควิธีการทางด้านวิทยาศาสตร์ในบริหารจัดการ (management) พืช (flora) และสัตว์ (fauna) รวมไปถึงดิน น้ำ อากาศ และทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยประโยชน์แก่สังคมภายใต้หลักการอนุรักษ์ (conservation)” • เป็นการพัฒนาแนวคิดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น • ผู้ดำเนินการส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ • มีการพัฒนาแนวคิดไปสู่การจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม

  5. การจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม • (Participatory Forest Resources Management, PFRM) • “กระบวนการ (process) ทำงานร่วมกัน (collaboration) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ในการประยุกต์เทคนิควิธีการทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์และแขนงอื่นๆ ในบริหารจัดการ (management) พืช (flora) และสัตว์ (fauna) รวมไปถึงดิน น้ำ อากาศ และทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน (sustainable) ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ (economic) สังคม (social) และสิ่งแวดล้อม (environment)” • เป็นการพัฒนาแนวคิดการจัดการเพื่อการทำงานร่วมกัน • ให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ (interaction) ของ stakeholder • กำหนดเป้าหมายสู่ความยั่งยืน คือ การมีใช้ตลอดเวลา และสม่ำเสมอ

  6. การป่าไม้ชุมชน • (Community forestry / Social forestry / Joint management) • “การจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมโดยเน้นการทำงานของชุมชนเพื่อชุมชนในรูปของคณะกรรมการ (committee) โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษา ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น (increasing livelihood / well being) ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ (conservation)” • ใกล้เคียงกับแนวคิดการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม • เน้นการทำงานร่วมกันของชุมชนให้เกิดเป็นรูปธรรม • คือลักษณะของการกระจายอำนาจสู่ชุมชน (decentralization) • คำนึงถึงหลักการธรรมาภิบาล (governance) : โปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ และมีส่วนร่วม

  7. การป่าไม้เอกชน(สวนป่าเพื่อ เศรษฐกิจ และ/หรือ อนุรักษ์) • (Private Forestry) • “การจัดการทรัพยากรป่าไม้ (forest resources management) ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของเอกชน (private land) โดยเอกชน เพื่อเอกชน โดยมีเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น เพื่อเศรษฐกิจ เพื่อสังคม หรือเพื่อสิ่งแวดล้อม” • คือแนวโน้มการป่าไม้ในอนาคต • เอกชนเป็นเจ้าของป่าดังเช่นประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Countries) • เกิดอาชีพนักการป่าไม้ (forester) ในอนาคต

  8. พัฒนาการของแนวคิดการจัดการป่าไม้พัฒนาการของแนวคิดการจัดการป่าไม้ • “จากอดีตสู่ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต” อนาคต ปัจจุบัน อดีต

  9. ขั้นตอนการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมขั้นตอนการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม PFRM

  10. ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ; • Goal is “Sustainability of economic, social and environment; การมีใช้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณตลอดทั้งความเข้มแข็งของชุมชนและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม” การจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ อย่างมีส่วนร่วม

  11. หัวข้อบรรยายและบทปฏิบัติการหัวข้อบรรยายและบทปฏิบัติการ • 1. หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม • หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้และการจัดการอย่างมีส่วนร่วม • 2. การมีส่วนร่วมของประชาชน • 3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืน และ • บทปฏิบัติการการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  12. 2. การมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Participation); • Characteristic of activities (ลักษณะ) • Duration : always long-term of participate (เวลา) • Collaboration / Coordination (ทำงาน/ประสาน ร่วมกัน) • Related multi-stakeholder (ความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) • Sharing resources; knowledge/skill/technology/cost & benefit (การแลกเปลี่ยน / แบ่งปัน)

  13. Participation Dimension (มิติของการมีส่วนร่วม)

  14. WHO should involve participatory process ??

  15. ดังนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือองค์ประกอบที่สำคัญของการมีส่วนร่วม People’s participation (การมีส่วนร่วมของประชาชน)

  16. Participation is not easy; “เพราะต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน, ปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวก (positive interaction), สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน (consensus-building), การตัดสินใจร่วมกัน (decision-making), sharing resources and conflict resolution (แลกเปลี่ยน แบ่งปัน และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง).”

  17. การมีส่วนร่วมคือวิธีการเปลี่ยนประชาชนให้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้กล้าตัดสินใจ;การมีส่วนร่วมคือวิธีการเปลี่ยนประชาชนให้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้กล้าตัดสินใจ; • การมีส่วนร่วมจะไม่เลือกปฏิบัติ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสที่เท่ากัน; • ประชาชนได้ร่วมงานอย่างเป็นรูปธรรม; • การมีส่วนร่วมคือความจำเป็นที่แสดงถึงความห่วงใยต่อทรัพยากรป่าไม้;

  18. PFRM ควรเข้าใจผู้ร่วมกระบวนการในเรื่อง..; • In what people know Knowledge (ความรู้) • In what they think Attitude (ทัศนคติ) • In what they can do Skill (ทักษะ) • In what they actually do Motivation ( แรงกระตุ้น/แรงดลใจ)

  19. Physiological or Basic needs Security or Safety needs Belonging or Affection needs Esteem or Ego needs Self- Actualisation needs Motivation of rural people (A.H. Maslow’s hierarchy of needs) • แรงกระตุ้นคือบางสิ่งบางอย่างที่ผลักดันไปสู่การได้รับซึ่งเป้าหมาย; • ประชาชนพิจารณาความสำคัญในแต่ละขั้นตอนของการจัดการแตกต่างกัน; • เพราะประชาชนมีความต้องการแตกต่างกัน; • A.H. Maslow has defined a hierarchy of human needs;

  20. Adoption การจัดการที่ดีต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง Trial Evaluation กระบวนการยอมรับของมนุษย์ (Human Adoption Process) Interest Awareness Everett M. Roger

  21. PFRM is a continuous Process ความต้องการจะเป็น? Desirable situation (increase production) Gap = needs and interest of the community Present situation What is ?

  22. Innovators 2.5% Early adopters 13.5% Early majority 34% Last majority 34% Laggards 13.5% Dogmatists 2.5% หัวไวใจสู้ เรียนรู้ว่องไว รอดูท่าที ศึกษารอบคอบ ชอบพะวงสงสัย ไม่ใคร่ยอมรับ ชอบดื้อรั้น

  23. การมีส่วนร่วมของประชาชนการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s participation) • การมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับประชาชน หรือ multi-stakeholder; • ประชาชนคือศูนย์ของการจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ (use and management of forest resources); • ประชาชนใช้ทรัพยากรป่าไม้เพื่อชีวิตความเป็นอยู่และความสบาย (livelihood and luxury); • ประชาชนต้องการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการ; • ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นก่อนขั้นตอนของการจัดการ (people’s participation is a prerequisite PFRM).

  24. การจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน / บนพื้นฐานของชุมชน (community-based) คือรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชน (people’s participation FORM); Community-based forest resources management, CBFRM “CBFRMคือกลยุทธ์ (strategy) ของการจัดการที่นำมาซึ่งการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้โดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-centered development) ที่มุ่งเน้นกระบวนการตัดสินใจ (decision-making) โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน (sustainable use of forest resources) ตามแนวทางของประชาชนในชุมชน.” (B. Badadion, 1996) Community-based forest plantation management, CBFPM

  25. ขั้นตอนการดำเนินการของ CBFPM มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ • เลือกพื้นที่และทำงานร่วมกันกับชุมชน (Selection of site and collaborators; • ประเมิน/ตรวจสอบชุมชน (identify community) • วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ stakeholder.

  26. 2. เสริมสร้างศักยภาพชุมชน (capacity-building); • ฝึกอบรมคณะทำงานเพื่อติดตามการมีส่วนร่วมของประชาชน (train collaborators); • ฝึกอบรมวิธีการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน (train in sustainable approaches. • 3. สร้างวิสัยทัศน์ให้กับชุมชน (Community visioning); • จัดกระบวนการกลุ่มเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) ของการจัดการร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชน หน่วยงานรัฐ กลุ่มสตรี และเยาวชน.

  27. 4. ทำความเข้าใจกับสถานการณ์ปัจจุบัน (Understanding the situation); • ประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของท้องถิ่นโดยการวิธีการประเมินอย่างมีส่วนร่วม (participatory appraisal method); • ศึกษาแผน นโยบาย ของรัฐบาล หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง. • 5. วางแผนอย่างมีส่วนร่วม (participatory planning); • ช่วยเหลือกลุ่มผู้นำชุมชนเพื่อกำหนดแผน; • ปรับแก้ ตรวจสอบความถูกต้องของแผนโดยการทำประชาวิจารณ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่น กลุ่มสตรี (women group) ผู้สูงวัย (elder group) เยาวชน (youth) คนพื้นเมือง (indigenous people) etc.

  28. 6. ดำเนินการตามแผน (implementation); • ทำงานร่วมกันกับกลุ่ม (collaborating group); • พยายามทำงานร่วมกับกลุ่มชุมชนท้องถิ่นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้; • สร้างความมั่นใจให้ได้ว่าความเป็นเจ้าของโครงการถูกถ่ายโอนไปเป็นของชุมชน (ownership of the project is transferred to the community). • 7. การติดตามและประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม (participatory monitoring and evaluation); • ดำเนินการติดตามอย่างสม่ำเสมอ; • สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ร่วมโครงการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลว(successes or fail).

  29. หัวข้อบรรยายและบทปฏิบัติการหัวข้อบรรยายและบทปฏิบัติการ • 1. หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม • หลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้และการจัดการอย่างมีส่วนร่วม • 2. การมีส่วนร่วมของประชาชน • 3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืน และ • บทปฏิบัติการการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  30. สถานการณ์ปัจจุบันมีหลากหลายแนวคิดและการปฏิบัติต่อทรัพยากรป่าไม้ โดยส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลวโดยเฉพาะแนวทางการทำงานจากบนสู่ล่าง หรือ เจ้านายกับลูกน้อง (top-down policy) ; • กระแสและแนวโน้มความต้องการของการจัดการอย่างมีส่วนร่วมมีบทบาทมากยิ่งขึ้น (Espaldon, Arances and Cubillas 2001 (พ.ศ. 2544)) ;

  31. การจัดการทรัพยากรป่าไม้จึงจำเป็นต้องพิจรณาบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับท้องถิ่น (local organizations) หน่วยงานของรัฐ (government organizations) เอกชน (private organizations) และ อื่นๆ (otherorganizations); • นี่คือเหตุผลที่การจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ; • การจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม (PFRM) เป็นการจัดการที่รวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งที่ทำหน้าที่ผู้ปฏิบัติ (actors) และผู้ใช้ประโยชน์ (users) (Ashby 2003)

  32. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืน • !! ทำไมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงสำคัญในการจัดการ // การมีส่วนร่วม ? • เป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ (experience) ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (insight) ตามลักษณะของงานว่าควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม; • วางแผนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเพิ่มคำมั่นสัญญา (commitment) ความเชื่อมั่น (confidence) ให้กับโครงการ; • ทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถช่วยพัฒนาเทคนิค (techniques) และทักษะ (skill) การจัดการเพื่อสร้างโอกาสการค้าในอนาคต;

  33. ทำงานร่วมกับพวกเขา (stakeholder) ช่วยเพิ่มทรัพยากรที่สามารถใช้กับโครงการได้(resources available); • ทำงานร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น (local people) คือการนำมาซึ่งการเรียนรู้ของชุมชน ‘social learning’ เพื่อการวางแผนและแบ่งปันผลประโยชน์ (planning and beneficiaries. (World Bank, 1966). Etc.

  34. What is stakeholder ?? • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ บุคคล / กลุ่มคน / หน่วยงาน / องค์กร / ที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ หรือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์/ผลกระทบ หรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในสถานการณ์ของประเด็นและปัญหาเดียวกันเช่น โครงการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืน Siam Forestry.. • ในด้านการป่าไม้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลายตั้งแต่คนที่อาศัยอยู่ในป่า (forest dwellers) คนเก็บหาของป่า (NTFPs collectors) ชุมชนต้นน้ำ (upstream community) ชุมชนปลายน้ำ (downstream community) หน่วยงานรัฐ เอกชน NGOs รวมไปถึงกลุ่มเยาวชนที่เป็นผู้สานแผนและนโยบายต่อไปในอนาคต (future generation) หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการผลิตและการค้าของโครงการฯ

  35. International/Global ระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Level of stakeholder National Provincial/Regional Local off-site Local on-site โครงการจัดการ สวนไม้อย่างยั่งยืน Forestry Project

  36. ระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นานาชาติ / ชาติ / ภูมิภาค / และ ท้องถิ่น :

  37. ระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นานาชาติ /ชาติ/ ภูมิภาค / และ ท้องถิ่น :

  38. ระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นานาชาติ / ชาติ /ภูมิภาค/ และ ท้องถิ่น :

  39. ระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นานาชาติ / ชาติ / ภูมิภาค / และ ท้องถิ่น:

  40. What is Stakeholder Analysis ? “วิธีการ (approach) หรือกระบวนการให้ได้มาซึ่งความเข้าใจต่อความสัมพันธ์ ความสนใจ ของผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบใดระบบหนึ่ง โดยการประเมินความคาดหวัง (respective) ผลประโยชน์ (benefits) ของกลุ่มคนที่มีต่อโครงการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืน (system)”

  41. Stakeholder Analysis • มีอยู่หลายเทคนิควิธีการ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะวิเคราะห์

  42. บทปฏิบัติการการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบทปฏิบัติการการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรณีโครงการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืน ขั้นตอนการทำบทปฏิบัติการ 1) แบ่งกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่เป็นตัวแทนของแต่ละ stakeholder ในที่นี้อนุโลมให้กลุ่มละ 5-7 คน 2) ฟังคำอธิบายการดำเนินงาน 3) เตรียมอุปกรณ์ และ ปฏิบัติการ 4) นำเสนอรายงาน 5) สรุปและข้อเสนอแนะ

  43. การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้สวนเสีย กรณี โครงการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืน 1. สมมติว่าทุกท่าน ณ ที่นี้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการจัดการสวนไม้อย่างยั่งยืนเป็นอย่างดี 2. ให้แต่ละกลุ่มสนทนากันเพื่อค้นหาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและบทบาทหน้าที่.. ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ และบันทึกรายชื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้อง ลงในตาราง (10 นาที)

  44. 3. สนทนาภายในกลุ่มเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ตามการเป็นพันธมิตร (alliance) ซึ่งกันและกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบันทึกข้อมูลในตาราง (5 นาที)

  45. 4. สนทนาภายในกลุ่มเพื่อศึกษาความขัดแย้ง (conflict) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบันทึกข้อมูลในตาราง (5 นาที)

  46. 5. สนทนาภายในกลุ่ม เพื่อจัดเรียงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามกลุ่มของความสำคัญ (importance) และ อิทธิพล (influence) ของแต่ละผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการฯ และบันทึกข้อมูล (5 นาที) ความสำคัญ: คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีผลต่อการดำเนินโครงการฯ อิทธิพล: คือผู้มีส่วนได้สวนเสียที่มีผลต่อการตัดสินใจให้สามารถดำเนินโครงการได้ หรือ ไม่ได้

  47. 6. สนทนาภายในกลุ่ม เพื่อจำแนกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามระดับความเกี่ยวข้องในหัวข้อต่าง ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ดังนี้ • Pre-existing rights (PR) = สิทธิความเป็นเจ้าของที่ดิน • Dependency degree (D) = ระดับของการพึ่งพาโครงการฯ • Economic knowledge (EK) = การมีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการตลาด • Local knowledge Owner (LKO) = ความเป็นเจ้าของในภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ การมีทักษะ • Forest/Culture Integration (FC) = การปฏิบ้ติที่กลมกลืนกับวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือ มีการจัดการสวนไม้อย่างสอดคล้อกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง • Proximity (PX) =ระดับความเหมาะสมของการปฏิบัติตัวที่เอื้อประโยชน์ต่อโครงการ หรือ การให้ความร่วมมือกับโครงการ • Level of Trust (LT) = ระดับความไว้วางใจที่ได้รับ พิจารณาจากการได้รับการยอมรับจากชุมชน • ให้คะแนนในแต่ละหัวข้อข้างต้น เป็น 3 ระดับ ได้แก่ low (ต่ำ) medium (กลาง) และ high (สูง) โดยแทนค่าระดับด้วยคะแนน ดังนี้ low = 1 คะแนน medium = 2 คะแนน และ high = 3 คะแนน และบันทึกข้อมูลในตารางพร้อมคำนวณค่าเฉลี่ยในคอลัมม์สุดท้าย (10 นาที)

More Related