440 likes | 1.39k Views
โครงการรับจำนำข้าว. รายชื่อกลุ่ม. ทำความรู้จักกับนโยบายรับจำนำข้าว. รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการ ยกระดับ ราคา สินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่ง เงินทุน โดย ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่ เหมาะสม คำนึงถึง กลไกราคาตลาดโลก
E N D
ทำความรู้จักกับนโยบายรับจำนำข้าวทำความรู้จักกับนโยบายรับจำนำข้าว
รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการยกระดับ ราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลก • ใช้วิธีบริหารจัดการ ทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุนโดยนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้
เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้า เกวียนละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิ ที่ราคา 20,000 บาท *ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15*
วัตถุประสงค์ของโครงการ • เพื่อยกระดับรายได้ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวนา • เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และความมีเสถียรภาพ และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยการขยายตัวของการบริโภคภายใน • เพื่อดึงอุปทานข้าวเข้ามาอยู่ในความควบคุม • เพื่อยกระดับราคาข้าวไทยให้สูงขึ้นทั้งระบบ
การดำเนินการ * 1 ปี เกษตรกรได้สิทธิ์นำข้าวมาจำนำ 2 ครั้ง *
สาเหตุ และปัญหาเกิดขึ้นจากอะไร?
ปัญหาที่เกิดจากตัวนโยบายปัญหาที่เกิดจากตัวนโยบาย • นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน มีแรงจูงใจมากจากการออกแบบโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งโดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นฐานเสียงของพรรคการเมือง หรือกลุ่มที่พรรคการเมืองต้องการมาเป็นฐานเสียง
ปัญหาหลักของนโยบายประชานิยม • นโยบายประชานิยมอาจะก่อให้เกิดภาระการคลังของรัฐบาล ทั้งภาระการคลังเฉพาะหน้าและภาระผูกพันธ์ในอนาคตที่เกิดจากการกู้ยืม ซึ่งเงินงบประมาณที่ต้องนามาใช้เพื่อปฎิบัตินโยบายประชานิยมดังกล่าวมีมูลค่ามหาศาล • ความสามารถของระบบราชการในการนำนโยบายเหล่านี้ไปปฎิบัติได้อย่างเท่าเทียม และ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นได้กับนโยบายประชานิยมที่มีงบประมาณมหาศาลอีกด้วย
ภาระการคลังของรัฐบาล • นโยบายนี้จะสร้างภาระด้านงบประมาณสูงมาก เนื่องจากการตั้งราคารับจำนำข้าวไว้ค่อนข้างสูง ทำให้มีแนวโน้มขาดทุนสูงมาก การรับจำนำข้าวเปลือกในอัตรา 15,000 บาทต่อตัน เป็นการกำหนดราคาข้าวสูงกว่าตลาดที่แท้จริงมากยังผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวสารของประเทศไทยลดลงทันทีปัจจุบันราคาข้าวในตลาดโลกอยู่ในอัตราตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งๆ ที่ต้นทุนอยู่ในอัตราตันละ 800 ดอลลาร์สหรัฐ เปรียบเทียบแล้วจะขาดทุนถึงตันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 6,200 บาท
ใช้งบประมาณสูงทำให้งบลงทุนลดลงใช้งบประมาณสูงทำให้งบลงทุนลดลง • จะกระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลมีโครงการขนาดใหญ่ คือ โครงสร้างพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นผลประโยชน์กับประชาชนทุกคน ในแง่ส่วนรวม โครงการจำนำข้าวจะให้ประโยชน์กับเกษตรกร 1 ล้านราย บวกเกษตรกรที่มีข้าวขายอีกประมาณ 2 ล้านราย ทั้งหมดมีประชาชนที่ได้ประโยชน์ 3 ล้านกว่าราย แต่ว่าโครงการโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์กับประชาชนทั่วประเทศ 60 กว่าล้านคน
สัญญาณการส่งออกข้าวลดลงสัญญาณการส่งออกข้าวลดลง • ข้าวไทยจากที่ขายอยู่ 400 กว่าเหรียญสหรัฐฯ ขึ้นมาเป็น 600 เหรียญสหรัฐฯ ตามราคาตลาด ถ้าเป็นราคารับจำนำต้องไปถึงตันละ 800 เหรียญ • ลูกค้าส่วนหนึ่งรับไม่ได้ เพราะประเทศที่ซื้อข้าวส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นประเทศที่ร่ำรวยอะไรมากมาย ถ้าดูจากประเทศรายใหญ่ๆ ที่ซื้อ อย่างเช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
โครงการรับจำนำข้าวเป็นการแทรกแซงตลาด (Government Intervention) • ในทางทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ โครงการรับจำนำข้าวเป็นการแทรกแซงตลาด เป็นการกำหนดราคารับซื้อที่สูงเกินกว่าราคาตลาด เกษตรกรมีแรงจูงใจ (Incentive) ที่สูงกว่าความต้องการที่แท้จริงของตลาด (Demand) ก่อให้เกิด “ของเหลือ” เกิดขึ้น และจะเหมือนกับโครงการหอมแดงโดยอคส. ในปี พ.ศ. 2554
ความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีองค์การการจัดการความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีองค์การการจัดการ • ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (scientific management) เป็นผลงานของ Frederick W. Taylorที่เขียนไว้ใน “The Principles of Scientific Management” พิมพ์ครั้งแรกในปี 1911 โดยมีวัตถุประสงค์ในการเขียนอยู่ 3 ประการ คือ (1) เพื่อ ชี้ให้เห็นถึงความสูญเปล่าอันเนื่องมาจากการขาดประสิทธิภาพในการทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น (2) พยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของระบบการทำงานมากกว่าการพึ่ง พรสวรรค์ของคนเพียงอย่างเดียว (3) เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าการบริหารที่ดีที่สุดเป็นศาสตร์ที่แท้จริง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎ ระเบียบและหลักการที่ชัดเจนซึ่งสามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างดี
สาระสำคัญของทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์สาระสำคัญของทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ 1) นำหลักการบริหารงานในเชิงวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้เพื่อแก้ไขการทำงานที่ยึดหลักการทำงานตามความเคยชิน (rule of thumb) 2) วิธีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งหน้าที่การทำงานระหว่างฝ่ายจัดการ (นายจ้าง) กับฝ่ายคนงาน (ลูกจ้าง) โดย ฝ่ายจัดการจะต้องมีหน้าที่ใหม่ในการบริหารงาน คือ (1) พัฒนาหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์สำหรับขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ แทนที่การทำงานตามความเคยชิน (2) สรรหา คัดเลือก ฝึกอบรมและพัฒนาคนงานโดยใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (3) พัฒนาคนงานให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด (4) แบ่งงานและความรับผิดชอบระหว่างฝ่ายจัดการกับคนงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน การปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายจัดการ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการปฏิบัติงาน โดยต้องทำการวางแผนและรวบรวมข้อมูลจากคนงานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อนำมากำหนดเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร
สาระสำคัญของทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์(ต่อ)สาระสำคัญของทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์(ต่อ) 3) พัฒนาและสร้างกฎเกณฑ์ในการทำงาน โดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ ทดลอง/ทดสอบขั้นตอนการทำงานโดยศึกษาการเคลื่อนไหวของร่างกายและเวลาในการทำงาน (time and motion studies)เพื่อหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว (one best way)โดยวิธีเดียวกันสามารถใช้ได้เป็นสากล 4) แสวงหาความร่วมมือจากคนงาน โดยการมอบหมายงานที่เหมาะสมและให้รางวัลเมื่อคนงานทำงานตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องและได้ผลงานตามที่กำหนดไว้
คุณค่า…ของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์…ต่อ…การบริหารองค์การคุณค่า…ของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์…ต่อ…การบริหารองค์การ ถึงแม้ว่าทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้าง แต่ไม่ใช่เป็นโครงสร้างทั้งหมดขององค์การ ตรงกันข้ามโครงสร้างในสายตาของเทย์เลอร์ก็คือ วิธีการจัดแบ่งงานที่ดีที่สุดในสถานที่ที่ปฏิบัติงาน มีการวิเคราะห์งานแต่ละงานเพื่อหาหนทางที่ดีที่สุด นอกจากนี้ การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ยังทำให้นายจ้างและลูกจ้างสามัคคีกลมเกลียวกันเพราะต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจในหลักเกณฑ์การทำงานเป็นอย่างดีและยังเปิดโอกาสให้ทั้งฝ่ายจัดการและคนงานได้ร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มความสามารถ (maximum productivity)
แนวทางแก้ไขปัญหา โดย หลักธรรมาภิบาล • หลักธรรมาภิบาล” หรืออาจเรียกได้ว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หลักธรรมรัฐ และบรรษัทภิบาล ฯลฯ” ซึ่งเรารู้จักกันในนาม “Good Governance” ที่หมายถึง การปกครองที่เป็นธรรม
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล หลักธรรมาภิบาล มีองค์ประกอบที่สาคัญ 6 ประการดังนี้ • 1. หลักนิติธรรม คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม • กล่าวโดยสรุป คือ สถาปนาการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่กระทำกันตามอำเภอใจหรืออำนาจของบุคคล
โครงการรับจำนำข้าว เป็นการช่วยเหลือชาวนา ชาวนาในประเทศไทยมีจำนวน 4 ล้านคน 1 ล้านคนเป็นเกษตรกรผู้ร่ำรวยซึ่งมีปริมาณข้าวให้ตลาดข้าวถึง 52% • คำถามที่เกิดขึ้นคือ ทำไมรัฐต้องเลือกอุดหนุนชาวนา ? แน่นอนว่าชาวนามีความสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย • จากหลัก Maximinของ John Ralws ที่กล่าวว่าสวัสดิการของสังคมสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการไปเพิ่มสวัสดิการของผู้ที่ได้ส่วนแบ่งของความมั่งคั่งของชาติน้อยที่สุด พูดอีกทีก็คือ คนจนที่สุด รัฐควรช่วยเหลือคนจนที่สุด ปัญหาก็คือว่า แล้วคนจนที่สุดในประเทศไทยคือใคร ? คนจนในประเทศไทยที่ใช้ชีวิตภายใต้เส้นความยากจนที่ 1,678 บาทต่อเดือน มีมากกว่า 5 ล้านคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) แล้วคนเหล่านี้ ได้รับประโยชน์จากนโยบายแห่งรัฐแล้วหรือยัง ?
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 2. หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริตความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น
นโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลควรดำเนินการตามแนวคิดของการจำนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดราคารับจำนำที่เหมาะสม • หากรัฐบาลต้องการใช้นโยบายจำนำข้าวเป็นเครื่องมือยกระดับรายได้ชาวนา รัฐบาลควรกำหนดกลุ่มเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการตามความจำเป็น • แต่ในระยะยาว รัฐบาลควรสนับสนุนการใช้ระบบตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของราคาข้าวแทนการจำนำข้าว โดยการพัฒนาความรู้ของเกษตรกร “โครงการนี้ไม่ควรออกแบบมาเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ไม่แต่ควรออกแบบมาเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาวนา”
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 3. หลักความโปร่งใส คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และช่วยให้การทางานของภาครัฐและภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น
การขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว นอกจากจะเกิดจากการตั้งราคารับจำนำข้าวเปลือกที่15,000 บาทต่อตัน (โดยชาวนาไม่ได้เป็นฝ่ายเรียกร้องแต่แรก) การขาดทุนอีกส่วนหนึ่งยังเกิดจากการระบายข้าวในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ แต่รัฐบาลไม่เคยยอมแถลงตัวเลขราคาข้าวที่รัฐบาลขายได้และปริมาณข้าวที่ขาย • การดำเนินนโยบายมีความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตสูง เพราะรัฐบาลต้องจ้างเอกชนในการดำเนินการแทนรัฐ เช่น การรับซื้อข้าว การสีข้าว การจัดเก็บข้าว เป็นต้น ในขณะที่ภาครัฐมีกำลังในการตรวจสอบจำกัด (เช่น การตรวจสอบคุณภาพข้าว การตรวจสอบสต็อกข้าว) โครงการนี้จึงมีช่องทางที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชนจะแสวงหาประโยชน์จากการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ได้มาก
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 4. หลักความมีส่วนร่วม คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญ ๆ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็น การไต่สวน สาธารณะ การประชาพิจารณ์การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ และขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 5. หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
“เพราะคนบริหารประเทศ ความรับผิดชอบกับความมั่นคงของประเทศเป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด” นักเศรษฐศาสตร์ที่จีน นักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ก็เข้าไปประชุมกับรัฐบาล รัฐบาลก็มาแถลงนโยบายว่าจะทำอะไรต่างๆ เสร็จแล้วนักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ก็ลุกขึ้นมากลางเวที บอกว่า “สิ่งที่รัฐบาลพูดผิด” ต่อหน้านายกฯ นายกฯ โกรธมาก ฉีกหน้านายกฯ อีก 3 วันให้หลัง หลังจากหายโกรธ นายกฯ ตามนักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้เข้าไปถามว่า ที่พูดผิดนี่พูดผิดอย่างไร ช่วยมาอธิบายให้ฟังหน่อย พออธิบายให้ฟังเสร็จ นายกฯ เปลี่ยนนโยบาย “นี่เป็นผู้นำที่แท้จริง” • เวลาเราบริหารประเทศแล้วมันขาดทุนขนาดนี้ก็ต้องหยุดคิด และต้องคิดต่อไปว่าจะขาดทุนมากกว่านี้อีกหรือไม่ และถ้าทำดื้อ ทำไปอีกกี่ปี ในที่สุดฐานะการเงินประเทศจะเริ่มเซ
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6. หลักความคุ้มค่า ผู้บริหาร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งจำเป็นจะต้องตั้งจุดมุ่งหมาย ไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม
การจำนำข้าว ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะว่า 1) ค่าเช่าที่ดินทำนาเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากชาวนาแย่งกันเช่า จากราคาไม่เคยถึง 1,000 บาทต่อปี เป็น 1,500 บาทต่อปี 2) ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ปรับราคาเพิ่มขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ คือ พอชาวนาได้ราคาข้าวดี ปัจจัยการผลิตก็ปรับราคาขึ้นตามไปด้วย • ลดต้นทุนปลูกข้าว เวียดนามใช้นโยบายลด 3 ลด 1) ลดต้นทุน 2) ลดการใช้พันธุ์ข้าวที่ใช้ระยะเวลาปลูกน้อยลง 3) ลดการใช้สารเคมีให้น้อยลง