1.25k likes | 2.16k Views
ความรู้เกี่ยวกับสัญญา / การทำสัญญา การบริหารสัญญา และ หลักประกันสัญญา. รวีวัลย์ แสงจันทร์ นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง โทร. ๐๒ ๒๗๓๙๐๒๔ ต่อ ๔๕๕๑-๔๕๕๓ www.gprocurement.go.th (สงวนลิขสิทธิ์). สัญญา คืออะไร. สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง
E N D
ความรู้เกี่ยวกับสัญญา /การทำสัญญา การบริหารสัญญา และ หลักประกันสัญญา รวีวัลย์ แสงจันทร์นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง โทร. ๐๒ ๒๗๓๙๐๒๔ ต่อ ๔๕๕๑-๔๕๕๓ www.gprocurement.go.th(สงวนลิขสิทธิ์)
สัญญา คืออะไร สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๔๙ ให้ความหมายไว้ว่า • “การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วย ใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการ ผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
(ตัวอย่าง)การซื้อหรือจ้างจากส่วนราชการเดียวกัน ไม่อาจทำได้ถือเป็นงานจัดทำเอง(มติกวพ.ครั้งที่๓๐/๒๕๕๐ ) • กรณีขอให้หน่วยงานเดียวกัน ทำการผลิตหรือจัดหาพัสดุให้ มิใช่การซื้อ หรือจ้าง กับบุคคลอื่น แต่ถือว่าเป็นงานจัดทำเอง • งานจัดทำเอง หมายความว่า หน่วยงานที่จัดหาจะนำเงินไปจัดหาเฉพาะพัสดุ หรือสิ่งของแล้วมาดำเนินการเอง โดยไม่มีการจ่ายค่าจ้าง หรือ ไม่มีการจ้างบุคคลอื่นเข้ามาดำเนินการอีก หรือจะให้หน่วยงานเดียวกันเป็นผู้จัดทำ หรือจัดหาพัสดุให้ • วิธีปฏิบัติ เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องจัดทำรายงานขอให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้พิจารณาสั่งการด้วย โดยออกเป็นใบสั่งของหรือใบสั่งงาน เป็นต้น
การทำสัญญา ตามระเบียบฯพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ มี ๓ แบบ ๑.ทำตามตัวอย่าง(แบบ) ที่ กวพ. กำหนด (ข้อ๑๓๒) ๓.ไม่ทำเป็นหนังสือ ไว้ต่อกันก็ได้ (ข้อ ๑๓๓วรรคท้าย) ๒.ทำข้อตกลง เป็นหนังสือ ไว้ต่อกัน (ข้อ ๑๓๓) • สัญญาที่มีข้อความแตกต่างไปจากแบบที่กวพ.กำหนด • ให้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน
สัญญาที่จำเป็นต้องทำเป็นภาษาต่างประเทศ(ข้อ ๑๓๒ วรรคห้า/วรรคหก) ๑.ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยเฉพาะที่สำคัญไว้ด้วย ยกเว้น แบบสัญญาที่ กวพ. กำหนด ไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย ๒.การทำสัญญาของส่วนราชการในต่างประเทศ -จะทำเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาของประเทศที่หน่วยงานตั้งอยู่ โดยผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้รู้กฎหมายของส่วนราชการนั้น ๆ ก็ได้
กรณีทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน (ข้อ ๑๓๓) หลัก -เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน โดยไม่ต้องทำ สัญญาตามแบบในข้อ ๑๓๒ ก็ได้ ในกรณีดังนี้ ซื้อ/จ้าง/แลกเปลี่ยนโดยวิธีตกลงราคา /การจ้างปรึกษา • คู่สัญญาส่งของได้ครบถ้วน ภายใน ๕ วันทำการ นับจากทำข้อตกลง • การซื้อ/จ้าง โดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๓หรือ ๒๔ (๑)-(๕) การเช่า ที่ไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากการเช่า
กรณีที่ไม่ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ ไว้ต่อกันก็ได้ (ระเบียบข้อ ๑๓๓ วรรคท้าย) ได้แก่ (๑)การจัดหาซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑ หมื่นบาท หรือ (๒) การซื้อ/จ้าง ซึ่งใช้วิธีดำเนินการตาม ระเบียบข้อ ๓๙ วรรคสอง (ได้แก่ วิธีตกลงราคา กรณีจำเป็นเร่งด่วน ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และ ไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน)
(ตัวอย่าง)การซื้อ/จ้างกับส่วนราชการด้วยกันหนังสือโต้ตอบ ถือเป็นข้อตกลงเป็นหนังสือ ตามข้อ ๑๓๓ แล้ว • แนววินิจฉัยของ กวพ.กค๐๔๐๘.๔/๖๙๓ ลว.๑๙ ธ.ค.๔๘ • ส่วนราชการ ก. จ้างกรมประชาสัมพันธ์ จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ สัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ และถ่ายทอดสดโดยใช้วิธีพิเศษ • คำวินิจฉัย ระเบียบฯ ข้อ ๑๓๒กำหนดให้การจ้างโดย วิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๔(๓) สามารถทำเป็นบันทึกข้อตกลงได้ • โดยหนังสือโต้ตอบระหว่างส่วนราชการ กับ ส่วนราชการด้วยกันนั้น ถือเป็นข้อตกลงเป็นหนังสือตามข้อ ๑๓๓ แล้ว
ใคร ? เป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญา หรือใบสั่งซื้อ /ใบสั่งจ้าง • สัญญาหัวหน้าส่วนราชการ (ข้อ ๑๓๒) • ใบสั่งซื้อ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ • ใบสั่งจ้าง (ในวิธีตกลงราคาข้อ๓๙วรรคแรก)
สาระสำคัญของสัญญา (ในแบบสัญญา) ๑. ข้อตกลงเกี่ยวกับสิ่งของที่ซื้อขาย/งานที่จ้าง ปริมาณ จำนวน และราคาแบบรูป (งานซื้อต้องเป็นของแท้ ของใหม่ ไม่เคยใช้งานมาก่อน) ๒. เงื่อนไขการส่งมอบ การตรวจรับ(ทั้งหมด/บางส่วน) ๓. เงื่อนไขการชำระเงิน (เงินล่วงหน้า /งวดเงิน) ๔. เงื่อนไขการรับประกัน ความชำรุดบกพร่อง ๕. การวางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ๖. เงื่อนไขการบอกเลิกสัญญา /ค่าปรับ ๗. การรับผิดชอบค่าเสียหาย/การขยายเวลาส่งมอบ
รูปแบบสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด ๑. สัญญาซื้อขาย ๒. สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ ๓. สัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์ ๔. สัญญาซื้อขายและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๕. สัญญาจ้าง ๖. สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขคอมพิวเตอร์
แบบสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด (ต่อ) ๗. สัญญาเช่าคอมพิวเตอร์ ๘. สัญญาเช่ารถยนต์ ๙. สัญญาแลกเปลี่ยน ๑๐. สัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญรายบุคคล หรือ จ้างบริษัทที่ปรึกษา ๑๑. สัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงาน
แบบสัญญา ตามตัวอย่างที่เคยผ่านการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด • ๑. สัญญาจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัย • ๒. สัญญาจ้างทำความสะอาดอาคาร ฯลฯ
การทำสัญญาจ้างก่อสร้างทุกประเภท ต้องมีเงื่อนไขให้มีการปรับราคาได้(ค่าK) • มติคณะรัฐมนตรี หนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ว ๑๐๙ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๒กำหนดให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพก่อสร้าง • โดยให้ทุกส่วนราชการมีข้อกำหนดในประกาศสอบราคา ประกวดราคา ไว้ด้วยว่าจะทำสัญญาแบบปรับราคาได้ และในขั้นตอนทำสัญญาต้องการทำสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่าK) • กรณีมีปัญหา ให้หารือสำนักงบประมาณ
สัญญาที่มีข้อตกลงให้มีการจ่ายเงินล่วงหน้า ให้ระบุในสัญญาได้ไม่เกินอัตราดังนี้(ข้อ ๖๘) • ๑.ซื้อ/จ้าง กับส่วนราชการ ,รัฐวิสาหกิจฯ จ่าย ๕๐ % • ๒. ซื้อจากต่างประเทศ จ่ายตามที่ผู้ขายกำหนด ๓. การบอกรับวารสาร,/สั่งจองหนังสือ/ ซื้อข้อมูล E /บอกรับสมาชิกInternetจ่ายเท่าที่จ่ายจริง ๔.ซื้อ/จ้าง วิธีสอบราคา/ประกวดราคา จ่าย ๑๕% (ต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในประกาศสอบ/ประกวด ด้วย) • ๕. ซื้อ/จ้าง โดยวิธีพิเศษ (แจ้งขณะเจรจาราคา) จ่าย ๑๕%
อัตราค่าปรับ ที่ต้องกำหนดไว้ในสัญญา(ข้อ ๑๓๔) การซื้อ/จ้าง –ให้กำหนดอัตราค่าปรับเป็นรายวันในอัตรา ตายตัวระหว่าง ร้อยละ ๐.๐๑-๐.๒๐ของราคา พัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ งานจ้าง-ที่ต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน เป็นจำนวนตายตัว ในอัตราร้อยละ๐.๐๑-๐.๑๐ ของราคาค่าจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท
งานก่อสร้างสาธารณูปโภค- ที่มีผลกระทบต่อการจราจร ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ๐.๒๕ การจ้างที่ปรึกษา –หากเห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดค่าปรับไว้ ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน หรือในอัตราตายตัวในอัตราร้อยละ๐.๐๑-๐.๑๐ ของราคาค่าจ้างนั้น ได้ตามความเหมาะสม การจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนใด ส่วนหนึ่งแล้วไม่อาจใช้งานได้ หากส่งมอบเกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย -ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด
การจัดหาสิ่งของ-ที่คิดราคารวมค่าติดตั้ง/ทดลองด้วย • ถ้าส่งของเกินกำหนดสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใด • ให้ปรับเป็นรายวัน ในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญา/ข้อตกลง • ให้ส่วนราชการรีบแจ้งการเรียกค่าปรับจากคู่สัญญา และ • เมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุให้ส่วนราชการบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
ระเบียบข้อ ๑๓๕สัญญา/ข้อตกลง มูลค่า ๑ ล้านขึ้นไป ส่งสำเนาให้สตง.และกรมสรรพากรด้วย • สัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่มีมูลค่าตั้งแต่ ๑ ล้านบาทขึ้นไป • ให้ส่งสำเนา ให้สตง. หรือสตง.ภูมิภาค และกรมสรรพากรภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทำสัญญา หรือ ข้อตกลง
ผลของสัญญา หลักการ • สัญญามีผลนับตั้งแต่วันที่คู่สัญญาได้ลงนาม ในสัญญา ยกเว้น • คู่สัญญามีข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขกันไว้ในสัญญาเป็นอย่างอื่น
ระเบียบฯ พัสดุ อนุมัติเป็นหลักการ ให้สัญญาเช่า หรือสัญญาจ้าง มีผลย้อนหลัง ? หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) ๐๔๐๘.๔/ ว ๓๕๑ ลงวันที่ ๙ กันยายน๒๕๔๘ • อนุมัติยกเว้นเฉพาะสัญญาเช่า หรือสัญญาจ้างที่จำเป็นต้องเช่า/จ้างต่อเนื่องไปในปีงปม.ใหม่ ภายหลังจากสัญญาเดิมสิ้นสุดลง • แต่ส่วนราชการไม่สามารถลงนามสัญญาได้ทันภายในวันที่ ๑ ตุลาคม เนื่องจาก • ๑. พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ยังไม่มีผลใช้บังคับ หรือ • ๒. ยังไม่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณ
ระเบียบฯ พัสดุ อนุมัติเป็นหลักการให้สัญญาเช่าหรือสัญญาจ้าง มีผลย้อนหลัง ได้(ต่อ) • ผลให้สัญญามีผลย้อนหลังได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม อันเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณ หรือวันที่มีการเช่าหรือจ้างจริง • โดยมีเงื่อนไขว่า:- • ๑.) ส่วนราชการได้ดำเนินการจัดหาไว้แล้วก่อนสิ้นปีงบประมาณ และรู้ตัวผู้ให้เช่า หรือผู้รับจ้างที่จะลงนามเป็นคู่สัญญา แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรายเดิม หรือรายใหม่ ก็ตาม • ๒.)ผู้มีอำนาจอนุมัติ ได้อนุมัติให้เช่า หรือจ้างจากรายที่ได้จัดหา ไว้แล้วก่อนสิ้นปีงบประมาณ เพียงแต่อยู่ในขั้นตอนไม่อาจ ลงนามในสัญญาได้ทันในวันที่ ๑ ตุลาคม เท่านั้น
ใคร ? เป็นผู้มีหน้าที่บริหารสัญญา คำวินิจฉัยกวพ.ด่วนที่สุด ที่ กค(กวพ)๐๔๐๘.๔/๒๘๕๑๔ลว.๑๒ ต.ค.๔๘ • เจ้าหน้าที่พัสดุ/ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง • โดยปกติ ต้องมีหน้าที่บริหารสัญญา กล่าวคือ เมื่อสัญญา ครบกำหนด จะต้องแจ้งให้ผู้ขายหรือรับจ้างส่งมอบงาน ตามสัญญา • เจ้าหน้าที่ดังกล่าว จะต้องเสนอหัวหน้าส่วนราชการให้มี หนังสือแจ้งเตือน แจ้งปรับ แล้วแต่กรณี “”” • หากมิได้ดำเนินการ จะถือว่าละเลยไม่ดำเนินการตามหน้าที่
กรณีจำเป็นต้องแก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญา(ข้อ ๑๓๖) • หลัก*สัญญาที่ลงนามแล้ว ห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลง • ข้อยกเว้น -กรณีจำเป็นต้องแก้ไข • เป็นอำนาจหัวหน้าส่วนราชการพิจารณา • การแก้ไขจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ราชการ หรือไม่ทำให้ทางราชการเสียประโยชน์ • ระยะเวลาที่จะแก้ไข :- “จะแก้ไขเมื่อไดก็ได้ แต่ต้องก่อนการตรวจรับงวดสุดท้าย”
การแก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญา(ต่อ)การแก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญา(ต่อ) • การแก้ไขสัญญา ถ้าจำเป็นต้อง:- -เพิ่ม /ลดวงเงิน /ขยายเวลาการส่งมอบ/ ก็ให้ตกลงไปพร้อมกัน • กรณีงานเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง/งานเทคนิคเฉพาะอย่าง -ต้องได้รับการรับรองจากสถาปนิก/วิศวกรฯ ที่รับผิดชอบ ก่อนการแก้ไข
(ตัวอย่าง)คู่สัญญาขอแก้ไขสัญญา เพื่อเปลี่ยนพัสดุใหม่ เนื่องจากบริษัทเลิกผลิตแล้ว • ปัญหาบริษัทแจ้งขอแก้ไขสัญญาโดยเปลี่ยนพัสดุใหม่ จากรุ่นที่ทำสัญญาไว้ เป็น รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพเท่าเดิม หรือดีกว่าเดิม ราคา และเงื่อนไขเดิม หรือดีกว่าเดิม • แนวทางแก้ไข • หากส่วนราชการพิจารณาเห็นควรแก้ไขสัญญา • เพื่อประโยชน์ราชการ • และมิได้ทำให้ทางราชการเสียประโยชน์ ก็สามารถกระทำได้
(ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งของไม่ได้ตามสัญญา จะขอเปลี่ยนพัสดุ เนื่องจากบริษัทเลิกผลิตแล้ว (ต่อ) แต่การแก้ไขสัญญา (๑) จะต้องระบุการสงวนสิทธิ์เรียกค่าปรับจากผู้ขาย/ผู้รับจ้าง (๒) ต้องกำหนดระยะเวลาการส่งมอบใหม่ให้ชัดเจนใน สัญญาที่แก้ไขใหม่ด้วย (หากไม่เขียน จะเรียกค่าปรับไม่ได้ เพราะไม่มีวันส่งมอบที่จะนำมาคำนวณค่าปรับได้ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือว่าเป็นการยกเลิกสัญญาเดิมหรือแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเดิมย่อมระงับไป แม้จะสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับไว้ก็ตาม แต่ขณะที่บริษัทขอแก้ไขสัญญานั้น ค่าปรับยังไม่เกิดขึ้น)
(ตัวอย่าง) การแก้ไขสัญญาหลังจากผิดสัญญาแล้ว เมื่อไม่กำหนดวันส่งมอบไว้ในสัญญาที่แก้ไขใหม่ จึงไม่อาจคิดค่าปรับได้ กรมฯ แก้ไข /เปลี่ยนแปลงสัญญาในส่วนขั้นตอนที่ผู้รับจ้างต้อง ดำเนินการกับแบบแสดงรายการภาษีบางประการ -ภายหลังจากครบกำหนดส่งมอบงานตามสัญญาแล้ว -โดยไม่ได้กำหนดเวลาส่งมอบกันใหม่ • ถือได้ว่า สัญญาจ้างดังกล่าวไม่มีกำหนดวันส่งมอบเมื่อใดไว้ด้วย • อันมีผลทำให้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้รับจ้างผิดนัดชำระหนี้ในการส่งมอบงาน • ประกอบกับตามสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติม กรมฯ ก็มิได้มีการตกลงในการสงวนสิทธิ์เรียกค่าปรับจากผู้รับจ้างไว้ในสัญญาที่แก้ไขใหม่ด้วย • กรณีนี้กรมฯ จึงไม่อาจเรียกค่าปรับในส่วนของการที่ส่งมอบงานล่าช้าจากผู้รับจ้างได้
(ตัวอย่าง) การแก้ไขสัญญา เพื่อเปลี่ยนหลักประกันสัญญา • คู่สัญญาขอเปลี่ยนหลักประกันสัญญา เป็นอย่างใดตามข้อ ๑๔๑(๑)-(๔)ย่อมแก้ไขสัญญาได้ ทางราชการมิได้เสียประโยชน์ • เนื่องจากระเบียบข้อ ๑๔๑ กำหนดว่า “หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญาให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้เงินสด /เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่ายซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ใช้เช็คนั้น ชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ/ หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด/ หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามรายชื่อที่ธปท.แจ้งเวียน/ พันธบัตรรัฐบาล
(ตัวอย่าง) กรณีงานก่อสร้างที่คู่สัญญาทำสัญญาหรือข้อตกลง โดยถือราคาแบบเหมารวมเป็นเกณฑ์ • ระหว่างสัญญาจะคิดค่างานที่เพิ่ม-ลด เกินกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงไม่ได้ • เว้นแต่ คู่สัญญามีข้อตกลงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ใคร ?เป็นผู้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อ แก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญา หรือข้อตกลง การงด ลดค่าปรับ/ขยายเวลาสัญญา/ข้อตกลง • หนังสือแจ้งเวียนของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) ๑๓๐๕/ว ๑๑๙๔๘ ลว.๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๓ ข้อ ๓ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ :- • “คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ • คณะกรรมการตรวจการจ้าง • แล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอความเห็นในแต่ละครั้งด้วย”
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญา (ข้อ๑๓๙) • ให้พิจารณาได้เฉพาะเหตุดังต่อไปนี้ • (๑) เหตุเกิดจากความผิด/ความบกพร่องของส่วนราชการ (๒) เหตุสุดวิสัย • (๓) เหตุเกิดจากพฤติการณ์ ที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิด • เงื่อนไข • คู่สัญญาของทางราชการจะต้องมีหนังสือแจ้งเหตุ • ที่เกิดขึ้นตาม ข้อ ๑๓๙ (๒)หรือ(๓) ให้ทราบ • ภายใน ๑๕ วัน นับแต่เหตุนั้นสิ้นสุดลง • นับแต่เหตุสิ้นสุด • ให้พิจารณาให้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง • อำนาจอนุมัติ • หัวหน้าส่วนราชการ
(ตัวอย่าง) การพิจารณาอนุมัติให้งด/ ลดค่าปรับ หรือการขยายระยะเวลาสัญญา ไม่ต้องทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม • วิธีปฏิบัติ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาให้งด หรือลดค่าปรับ หรืออนุมัติให้คู่สัญญาขยายระยะเวลาการส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญาแล้ว • ข้อควรจำ • ส่วนราชการไม่จำต้องแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นสัญญาฝ่ายเดียว ไม่จำต้องให้คู่สัญญายินยอม • เพียงแต่ให้เจ้าหน้าที่พัสดุนำคำอนุมัติให้แก้ไขสัญญาของหน.ส่วนราชการแนบติดไว้ในสัญญา พร้อมกับแจ้งให้คู่สัญญาทราบการงด /ลดค่าปรับ /หรือการขยายเวลาว่าอายุสัญญาสิ้นสุดเมื่อใด • เพื่อให้คู่สัญญาทราบเท่านั้น
(ตัวอย่าง) ผู้รับจ้างของดค่าปรับ อ้างว่า ส่วนราชการใช้เวลาพิจารณาอนุมัติขยายเวลา ทำการตามสัญญา ล่าช้า • ปัญหา • กรมฯ ใช้เวลาพิจารณาอนุมัติให้ขยายเวลาสัญญาล่าช้า • แต่ในระหว่างที่ กรม ฯ.ใช้เวลาพิจารณาคำขอขยายเวลา กรม ฯ มิได้สั่งให้บริษัทหยุดงานแต่อย่างใด บริษัทยังคงสามารถทำงานตามสัญญาได้ตามปกติ • การใช้เวลาพิจารณาขยายเวลา มิได้มีส่วนสัมพันธ์ หรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินการตามสัญญาแต่อย่างใด • ดังนั้น กรณีนี้จึงมิไช่เหตุที่จะนำมาอ้างให้งด ลดค่าปรับ ตามระเบียบฯข้อ ๑๓๙ (๑) แต่อย่างใด
(ตัวอย่าง) ส่วนราชการจ่ายเงินล่าช้า ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงิน จะอ้างเป็นเหตุที่จะงด ลดค่าปรับ ขยายเวลาสัญญาไม่ได้ • เหตุที่กรม ส. จ่ายเงินล่าช้า มิไช่ผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติงานตามสัญญาที่ทำให้ผู้รับจ้างต้องหยุดการทำงาน • เนื่องจาก ในระหว่างการปฏิบัติงานตามสัญญา ผู้รับจ้างมีหน้าที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการทำงานให้เพียงพอ • ดังนั้น ปัญหาที่ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องทางการเงิน ในกรณีนี้ จึงไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุที่จะงด หรือลดค่าปรับ ตามระเบียบฯ ข้อ ๑๓๙(๑)
(ตัวอย่าง) คณะกก. ตรวจรับงานล่าช้า/หากมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้รับจ้างโดยตรง /งดค่าปรับได้ • คำวินิจฉัยกวพ. • คณะกรรมการตรวจการจ้างมิได้ตรวจรับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้ตามนัยหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๑๓๐๕/๕๘๕๕ ลว.๑๑ ก.ค.๒๕๔๔ • ผู้รับจ้างมิได้รับเงินค่างานในวงเงินที่สูงเป็นระยะเวลานานเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้การก่อสร้างไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาได้ ย่อมถือว่ามีส่วนสัมพันธ์ และมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้รับจ้างโดยตรง • กรม ส. จึงชอบที่จะพิจารณางด ลดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างได้ ตามนัยระเบียบฯ ข้อ ๑๓๙(๑)
(ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งมอบไม่ตรงงวดงาน ในสัญญา ยังไม่ถือว่าผิดสัญญา จึงปรับระหว่างงวดงานไม่ได้ • สัญญากำหนดเงื่อนไขการปรับว่า “หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างนับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญา” คำวินิจฉัย • การแบ่งงวดงานแต่ละงวดในสัญญา เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาตกลงแบ่งงวดงาน เพื่อประโยชน์ในการ จ่ายเงินค่าจ้างเป็นงวด ตามผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว • มิใช่เป็นการกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานตามสัญญา ►เมื่อผู้รับจ้างส่งงานไม่เป็นไปตามงวด จึงไม่อาจนำมาคิดค่าปรับตามสัญญาได้
(ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งมอบหลังจากผิดสัญญาแล้ว ต้องแจ้งสงวนสิทธิ์การปรับ • เมื่อคู่สัญญาส่งมอบพัสดุตามสัญญา ภายหลังผิดสัญญาแล้ว • โดยส่วนราชการมิได้บอกเลิกสัญญา • ต้องแจ้งสงวนสิทธิ์ การปรับไว้ด้วย • ให้คิดค่าปรับนับถัดจากวันครบกำหนดสัญญา/ข้อตกลง • การปรับต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา เช่น -สัญญาซื้อขายเป็นชุด ให้ปรับทั้งชุด -สิ่งของที่ซื้อรวมติดตั้ง/ทดลอง/ให้ปรับตามราคาของทั้งหมด
วิธีคิดค่าปรับงานซื้อและจ้างทำของวิธีคิดค่าปรับงานซื้อและจ้างทำของ • ตัวอย่าง สัญญามูลค่า ๑ ล้านบาท อัตราค่าปรับร้อยละ๐.๑๐ กำหนดส่งมอบพัสดุ/งาน ไว้ ๓ งวด งวด๑,๒งวดละ ๒.๕ แสน งวดสุดท้าย ๕ แสน คิดค่าปรับตามจำนวนสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ • ผู้ขาย/ผู้รับจ้างส่งมอบทั้ง ๓งวด หลังจากผิดสัญญาแล้ว งวดที่๑ ๑ล.X ๐.๑๐Xจำนวนวันนับถัดจากครบกำหนดสัญญาถึงวันส่งมอบ๑๐๐ งวดที่๒ ๗.๕แสนX๐.๑๐Xจำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๑ถึงวันส่งมอบงวด ๒ ๑๐๐ งวดที่๓ ๕แสนX๐.๑๐X จำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๒ ถึงวันส่งมอบงวด ๓ ๑๐๐
วิธีคิดค่าปรับงานจ้างก่อสร้างวิธีคิดค่าปรับงานจ้างก่อสร้าง ตัวอย่าง • สัญญามูลค่า ๑ ล้านบาท อัตราค่าปรับวันละ๑,๐๐๐บาท กำหนดส่งมอบไว้ ๓ งวด งวด ๑, ๒ งวดละ ๒.๕ แสน งวดสุดท้าย ๕ แสน ผู้รับจ้างส่งมอบทั้ง ๓ งวด หลังจากที่มีการผิดสัญญาแล้ว งวดที่๑ ๑,๐๐๐ X จำนวนวันนับถัดจากครบกำหนดสัญญา ถึงวันส่งมอบ งวดที่๒ ๑,๐๐๐X จำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๑ ถึงวันส่งมอบ งวด ๒ งวดที่๓ ๑,๐๐๐ X จำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๒ ถึงวันส่งมอบงวด ๓
แบบสัญญาตามตัวอย่างที่กวพ.กำหนด มีเงื่อนไขสัญญากำหนดให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าทำสัญญาต้องวางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา • ในขณะทำสัญญานี้ ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็น...............เป็นจำนวน.......บาท(.........)ซึ่งเท่ากับร้อยละ........(.......%) ของราคาทั้งหมด ตามสัญญามามอบให้แก่ผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้
หลักประกันสัญญา มี๕ อย่างคู่สัญญาสามารถนำหลักประกันสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งมาวางได้ดังต่อไปนี้(ระเบียบฯข้อ ๑๔๑)
มูลค่าหลักประกันสัญญา (ข้อ ๑๔๒) • อัตราจำนวนเต็ม๕%ของวงเงินที่ทำสัญญา • เว้นแต่ การจัดหาที่มีความสำคัญพิเศษ จะกำหนดสูงกว่าได้ไม่เกิน ๑๐% กรณีส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ เป็นคู่สัญญา • - ยกเว้นไม่ต้องวางหลักประกัน • คู่สัญญาจะวางหลักประกันสูงกว่าที่กำหนด ให้อนุโลมรับได้
สัญญาที่มีระยะเวลาเกิน ๑ ปี และไม่มีการประกันความชำรุดบกพร่อง เช่น พัสดุใช้สิ้นเปลือง(ข้อ๑๔๒ว.๒) • ให้กำหนดหลักประกันในอัตรา ๕%ของราคาพัสดุที่ส่งมอบ ในแต่ละปี โดยให้ถือว่าหลักประกันนี้เป็นการค้ำประกัน ตลอดอายุสัญญา • หากปีต่อไปราคาพัสดุเปลี่ยนไป ให้ปรับปรุงหลักประกันตามอัตราส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก่อนครบรอบปี • หากหลักประกันที่เพิ่มขึ้น และคู่สัญญาไม่นำหลักประกันมาวางให้ครบภายใน ๑๕ วัน ก่อนการส่งมอบพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้น --ให้หักจากเงินค่าพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นที่ทางราชการต้องจ่าย มาเป็นหลักประกันที่เพิ่มขึ้นนั้น
วิธีปฏิบัติในการ รับหลักประกันสัญญาที่เป็นพันธบัตรรัฐบาลวิธีปฏิบัติในการ รับหลักประกันสัญญาที่เป็นพันธบัตรรัฐบาล • หนังสือกระทรวงการคลัง ที่กค๐๕๐๗/๔๘๔๐๕ลว. ๒๗ กันยายน ๒๕๒๖ • ให้ผู้รับพันธบัตรรัฐบาลไว้เป็นหลักประกัน มีหนังสือแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ทราบ -เพื่อธปท.จะได้ลงทะเบียนบันทึกการรับหลักประกันไว้ แล้วมี หนังสือตอบรับการแจ้งให้ทราบ ๒. การถอนหลักประกัน ให้ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งธปท. ทราบ เพื่อจะได้ลงทะเบียนบันทึกการถอนหลักประกัน • เมื่อคู่สัญญาผิดสัญญา กรรมสิทธิ์ในพันธบัตรยังไม่ตกเป็นของผู้รับหลักประกัน จะต้องฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันก่อน
วิธีปฏิบัติในการรับหลักประกันที่เป็นพันธบัตรรัฐบาล (กรณีเป็นพันธบัตรของบุคคลธรรมดา) • มติกวพ.ครั้งที่ ๒๖/๒๕๕๒ พ.ย.๕๒ • กรณีพันธบัตรที่เป็นชื่อของบุคคลธรรมดา ซึ่งมิใช่ชื่อของนิติบุคคลผู้เสนอราคา หรือ คู่สัญญา ที่ผู้เสนอราคา หรือคู่สัญญานำมาวางเป็นประกัน ระเบียบยังไม่เคยวางหลักเกณฑ์ไว้ • อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันปัญหาโต้แย้งกันในภายหลัง เห็นควรจะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ทรงพันธบัตร ให้นำมาวางเป็นหลักประกันได้โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ
วิธีปฏิบัติในการนำหลักประกันซอง มาใช้เป็นหลักประกันสัญญา • หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่กค(กวพ) ๐๔๐๘.๔/ว ๑๓๐ ลว.๒๐ ต.ค.๒๕๔๙ กำหนดวิธีการไว้ดังนี้:-
หนังสือค้ำประกันสัญญาต้องมีระยะเวลา ครอบคลุมถึงวันสิ้นสุดสัญญา แบบสัญญาซื้อขายตามตัวอย่างที่กวพ. กำหนดข้อ ๓ มีว่า ********* ””+ หนังสือค้ำประกันนี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันทำสัญญา ซื้อขายจนถึงวันที่ภาระหน้าที่ทั้งหลายของผู้ขาย จะได้ปฏิบัติลุล่วงไป และ ข้าพเจ้าจะไม่เพิกถอนการค้ำประกันไม่ว่ากรณีใด ๆ ตราบเท่าที่ผู้ขายยังต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายอยู่+