210 likes | 357 Views
ข้อมูลพื้นฐาน. ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่าง. แผนที่ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่าง. ขอบเขตพื้นที่. อำเภอท่าม่วง ด่านมะขามเตี้ย เมืองกาญจนบุรี ไทรโยค ความยาว 379 กิโลเมตร
E N D
ข้อมูลพื้นฐาน ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่าง
แผนที่ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่างแผนที่ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่าง
ขอบเขตพื้นที่ อำเภอท่าม่วง ด่านมะขามเตี้ย เมืองกาญจนบุรี ไทรโยค ความยาว 379 กิโลเมตร ต้นกำเนิดจากบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร อำเภอสังขละบุรีมีแม่น้ำรันตี แม่น้ำซองกาเลีย และเทือกเขาตะนาวศรี มีแม่น้ำบิคลี่ รวมเป็น 3 สาย ไหลมารวมกันเป็นต้นแม่น้ำแควน้อย และไหลผ่าน ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี ลงสู่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนวชิราลงกรณ ท้ายน้ำของอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ไหลผ่านอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอเมือง ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำแควใหญ่ที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ปริมาณน้ำฝน ลุ่มน้ำแม่กลอง มีปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย 1,376.7 มิลลิเมตร แควน้อยตอนล่าง ปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย 1,309.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำท่า ลุ่มน้ำแควน้อยมีพื้นที่รับน้ำ 9,256 ตารางกิโลเมตร
สถานีตรวจวัดสภาพน้ำ มี 3 สถานี ปากน้ำแควน้อย อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี หน้าอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โรงแรมหมู่บ้านริเวอร์แคว อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
การใช้ประโยชน์ที่ดิน IEL พื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแควน้อย มีจำนวน 5.79 ล้านไร่ • * พื้นที่การเกษตร 1.16 ล้านไร่ (20.1%) • * พื้นที่ป่าไม้ 4.29 ล้านไร่ (74.1%) • * ที่อยู่อาศัย 0.04 ล้านไร่ (0.7 %) • * แหล่งน้ำ 0.17 ล้านไร่ (2.9 %) • พื้นที่อื่นๆ 0.13 ล้านไร่ (2.2 %)
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ประเทศไทย มีพื้นที่ป่าสงวน 167,590.30 ตารางกิโลเมตร ลุ่มน้ำแม่กลอง มีพื้นที่ป่าสงวน 17,990.48 ตารางกิโลเมตร (11.24 ล้านไร่) 58.34 % แควน้อย มีพื้นที่ป่าสงวน 4.29 ล้านไร่ * พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 83.2 % * พื้นที่เศรษฐกิจ 16.6 % * พื้นที่ป่าเพื่อการเกษตร 0.2 %
พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม พื้นที่ชุ่มน้ำ ชุดดินที่พบในพื้นที่ลุ่มน้ำ ร้อยละ 1.1 ชุดดินในพื้นที่ดอน ร้อยละ 27.0 ชุดดินภูเขา ร้อยละ 68.3 ทรัพยากรดิน พื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชประมาณ ร้อยละ 20 มันสำปะหลัง และอ้อย พืชหลัก
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ประกอบด้วยขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โครงการสูบน้ำ ด้วยไฟฟ้า * อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ หรือเขื่อนเขาแหลม • - เขื่อนดินถมดาดหน้าด้วยคอนกรีต • - ที่ตั้งลุ่มน้ำแควน้อย ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี • พื้นที่รับน้ำฝน 3,720 ตารางกิโลเมตร • ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเฉลี่ย 5,000 ล้าน ลบ.ม/ปี • - ความจุ 8,860 ล้าน ลบ.ม. ความจุใช้งาน 5,848 ล้าน ลบ.ม. • - ผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 777 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ฝาย * โครงการขนาดเล็ก ดำเนินการโดยกรมชลประทาน จำนวน 76 โครงการ • พื้นที่รับประโยชน์ 92,174 ไร่ ประกอบด้วย • - อ่างเก็บน้ำ จำนวน 39 แห่ง • ฝาย จำนวน 7 แห่ง • สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน 33 แห่ง สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า อ่างเก็บน้ำ
ความต้องการใช้น้ำในปัจจุบันและอนาคตความต้องการใช้น้ำในปัจจุบันและอนาคต
สถานการณ์และศักยภาพในการพัฒนาสถานการณ์และศักยภาพในการพัฒนา * มีอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ เป็นแหล่งน้ำเก็บกักน้ำหลักของพื้นที่ * ตอนบนมีป่าไม้ปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ * มีการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำในพื้นที่ประมาณ 90,000 ไร่ ส่วนใหญ่ เป็นการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าทางท้ายน้ำอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ * คาดว่าเมื่อพัฒนาเต็มพื้นที่จะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นประมาณ 580,000 ไร่ ในอีก 15 ปีข้างหน้า * พื้นที่ได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีน้ำพอเพียง ทั้งใน สภาพปัจจุบันและอนาคต * จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงการทางด้านการอนุรักษ์ต้นน้ำควบคู่กันไป
ประเด็นปัญหา 1.ปัญหาด้านการขาดแคลน * ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ชุมชนกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ป่า พื้นที่สูงชันและห่างไกล * ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรนอกเขตพื้นที่ชลประทาน - พื้นที่เกษตรกรรมตามที่ราบริมแม่น้ำ อาศัยน้ำฝนและน้ำที่ระบายจาก อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ มีน้ำเพียงพอแต่มีปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าสูบน้ำ - พื้นที่เกษตรกรรมในเขตนิคมอพยพ เป็นพื้นที่จัดสรรให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างเขื่อนฯ กระจายอยู่รอบเขื่อนฯ ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมาก ไม่มีระบบสูบน้ำ เพื่อนำน้ำไปใช้ในพื้นที่เกษตรกรรม และมีปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการสูบน้ำ - พื้นที่เกษตรกรรมบนพื้นที่สูง กระจายอยู่ทั่วไปอาศัยน้ำฝนเพื่อการเกษตร
ประเด็นปัญหา 2.ปัญหาน้ำท่วม
น้ำป่าไหลหลากและดินล่ม สาเหตุจากฝนตกหนัก น้ำหลากจากสาขาขนาดเล็ก ลงมาบรรจบกันในเขตที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณจุดบรรจบของลำน้ำสาขาย่อยๆ ที่ไม่มีการควบคุมน้ำทางด้านเหมือนน้ำ
ประเด็นปัญหา 3.ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
* การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร * ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่ลาดชันในการปลูกพืช ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินและดินเสื่อมสภาพ * ปัญหาการถือครองที่ดิน ได้แก่ การไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินประชาชนในพื้นที่ประสบกับปัญหาความยากจน
ประเด็นปัญหา 4.ปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ
ผลกระทบ ผล
* ปัญหาด้าน กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ - ยังไม่มีหน่วยงานที่จะทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการมาช่วยปฏิบัติงานของคณะทำงานต่างๆ - การถ่ายโอนงานก่อสร้างแล้วเสร็จให้กับท้องถิ่นในการจัดหางบประมาณมาซ่อมแซมและบำรุงรักษาแต่ไม่มีรายรับเข้าท้องถิ่น รวมทั้งยังขนาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ในการดำเนินงาน
สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 7 ราชบุรี • หมู่ 4 ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี • โทร. 0-3237-0405-6 โทรสาร 0- 3237-0408 นางสาวสมพิศ ประสมทรัพย์ ผู้อำนวยการส่วนประสานและบริหารจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง โทร. 0-3237-0405-6 ต่อ 401 มือถือ 08-1935-1205 น้ำคือชีวิต...เป็นภารกิจของทุกคน