1 / 24

ภัยแฝงออนไลน์

ภัยแฝงออนไลน์. - การ พูดคุยกับคนรู้จักในอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจนำพาสู่การล่อลวงทั้งทางร่างการและทรัพย์สิน - การ เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง อาจนำภัยมาสู่ตัวโดยมิได้ตั้งใจ - การ หลอกลวงในการซื้อ - ขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต - เป็น ที่ด่าทอ หมิ่นประมาทใส่ร้ายผู้อื่น

tegan
Download Presentation

ภัยแฝงออนไลน์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภัยแฝงออนไลน์ - การพูดคุยกับคนรู้จักในอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจนำพาสู่การล่อลวงทั้งทางร่างการและทรัพย์สิน - การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง อาจนำภัยมาสู่ตัวโดยมิได้ตั้งใจ - การหลอกลวงในการซื้อ-ขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต - เป็นที่ด่าทอ หมิ่นประมาทใส่ร้ายผู้อื่น - การส่งต่อภาพโป๊ คลิปโป๊ต่างๆ อาจนำพาตำรวจมาถึงตัวได้

  2. สารสนเทศมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตสารสนเทศมหาศาลบนอินเทอร์เน็ต เราจะเลือกบริโภคสารสนเทศอย่างไร ? โฆษณา ข่าวสาร ความคิดเห็น ความรู้สึก ความเชื่อ คำเชิญชวน ข้อเท็จจริง ความรู้

  3. พึงระวัง...สื่อรักทางอินเทอร์เน็ตพึงระวัง...สื่อรักทางอินเทอร์เน็ต "เราชื่อ ปอ อยากมีเพื่อนคุยแก้เหงา ไม่ผูกมัด สนใจเจอกันที่ห้อง คนเหงา" “ใครอยากรู้จัก ปุ๋ย..คนน่ารักเชิญเอ็มมาที่ pui@hotmail.com" "น้องมีแฟนหรือยังอ่ะ น่ารักอย่างนี้ ผมขอสมัครคนแรกเยย…"

  4. ล่อลวงทางแช็ตรูม เด็กสาวอายุ 15 ปี พูดคุยกับเพื่อนแช็ตว่าชีวิตไม่มีความสุข อยากหนีออกจากบ้านเพื่อนแช็ตรับพาหนีโดยนัดแนะให้ออกมาเจอกันในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ที่จุดนัดหมาย แทนที่จะได้พบเพื่อนสาวที่แช็ตด้วยกันเธอกลับเจอสามีภรรยาอายุราว 40 เศษ ซึ่งบอกว่าเป็นลุงกับป้าของเพื่อนให้มารับเธอไปแทน เธอหลงเชื่อขึ้นรถตู้ไปด้วย พอถึงบ้านแทนที่จะเจอเพื่อน เปล่าเลย เธอถูกจับมัดขังในตู้เสื้อผ้า ถูกทุบตีและข่มขืน กว่าจะหนีรอดมาได้ก็ 7 วันแล้ว

  5. facebookนำภัยถึงตัว มีการร้องเรียนมาว่า เด็กนักเรียนหญิงม.3 ได้ถูกคนมาดักรอหน้าโรงเรียนและพยายามพาไปร่วมเพศที่โรงแรม แต่โชคดีที่วิ่งหนีเอาตัวรอด และชาวบ้านช่วยกันรุมจับตัวคนร้ายได้ จากการสืบสวนชายดังกล่าว ได้ความว่า ตนเองได้โอนเงินซื้อบริการทางเพศโดยติดต่อผ่านหน้าส่วนตัวของเว็บไซต์ยอดฮิต facebookโดยตนมิทราบว่า เจ้าของหน้าfacebookที่ตนไปติดต่อ จะไม่ใช่คนเดียวกันกับในรูป จากผลของการตรวจหลักฐานพบว่า เป็นการนำรูปของเด็กหญิงผู้เกือบเคราะร้ายและข้อมูลส่วนตัวที่ลงในfacebookมาเปิดหน้าใหม่เพื่อใช้ขายบริการทางเพศเพื่อหลอกลวงเงิน แล้วนัดให้มาเจอที่หน้าโรงเรียนของเด็กหลังจากที่โอนเงินจ่ายค่าบริการเสร็จ

  6. โพสต์รูปลงเว็บ...ภัยถึงตัวโพสต์รูปลงเว็บ...ภัยถึงตัว นักล่าเหยื่อทางเน็ตรายหนึ่งเปิดเผยว่า เข้าไปหา เบอร์หญิงสาวตามเว็บไซต์ที่เปิดให้โพสต์รูปถ่าย โดยตนจะเลือกคนที่มีรูปร่างหน้าตาถูกสเป็ค จากนั้น ติดต่อทางโทรศัพท์ อีเมล์ หรือ MSN ซึ่งมีให้เลือกจำนวนมาก ตนจะหว่านล้อมด้วยคำพูดดีๆ เยินยอ จนหญิงสาวตายใจ การนัดหมายดูตัวเป็นขั้นตอนต่อไป หลังจากนั้นค่อยดูท่าทีว่าผู้หญิงจะยอมมากน้อยแค่ไหน เช่น ยอมให้พาเข้าสถานที่ลับตา ยอมให้จับมือถือแขน ล่วงเกิน หรือพาไปที่บ้าน

  7. ใส่ความทางเว็บบอร์ด • นักเรียนชั้น ม.6 โกรธที่อาจารย์ดุด่า จึงไปเขียนในเว็บบอร์ดใส่ร้ายอาจารย์ว่าเป็นเอเย่นต์สาวขายบริการ พร้อมกับใส่เบอร์มือถือของอาจารย์ไปด้วย นอกจากนั้นยังไปเขียนที่เว็บบอร์ดอีกแห่งหนึ่งว่า ภรรยาของอาจารย์ “เหงาจัง อยากมีคู่นอน” • นักศึกษา ป.โท โกรธที่อาจารย์ให้คะแนนน้อย ไปเขียนลงเว็บบอร์ดใส่ร้ายอาจารย์ว่า “ช่วยด้วย ถูกอาจารย์ข่มขืน”

  8. ปัญหาการล่อลวงโดยคนแปลกหน้าปัญหาการล่อลวงโดยคนแปลกหน้า - บนอินเทอร์เน็ต เราจะสร้างตัวตนอย่างไรก็ได้ เป็นบุคคลเสมือนจริง(Virtual man)ทั้งที่จริงตนอาจถูกเพื่อนดูหมิ่นไม่ยอมรับเพราะไม่สวยไม่รวยไม่เก่งบางครั้งไม่มีเพื่อนบนโลกจริงแต่มีเพื่อนมากมายบนเน็ต - เมื่อได้พบกับ Virtual man ที่อ้างว่าสวย,หล่อ,รวย,เก่ง,หนุ่ม,สาวฯลฯจึงทำให้ประทับใจ หลงเชื่อได้ง่าย - ความเหงาอยากมีเพื่อน ความเกรงใจไว้ใจคนมองโลกในแง่ดีความเชื่อมั่นในตนเอง ฯลฯ เป็นเงื่อนไขที่ทำให้โดนหลอกได้ง่ายขึ้น - เด็กส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงภัยออนไลน์ - ผู้ปกครอง, ครูขาดความรู้ความเข้าใจจึงไม่ได้ตักเตือน ดูแล เด็กและเยาวชน

  9. เด็กชาย 3 คน เลียนแบบเว็บลามกข่มขืนเด็กหญิง - (เม.ย. 2551) ด.ช.เอ 8 ขวบ กับ เพื่อนอีก 2 คน (11,12 ขวบ) เข้าไปเล่นเกมในร้านอินเทอร์เน็ต และเห็นกลุ่มวัยรุ่นที่อยู่ภายในร้านเปิดเว็บโป๊ ตนจึงเข้าไปร่วมดูด้วย จากนั้นจึงได้ชักชวน ด.ญ.เก๋ 7 ขวบ ไปเล่นตามแบบหนังโป๊ที่เห็น - เคยกระทำมาแล้ว 2- 3 ครั้ง โดยที่ ด.ญ.เก๋ ยินยอมเล่นด้วยทุกครั้ง ในวันเกิดเหตุตนได้ชักชวนกลุ่มเพื่อนประมาณ 5 คน ไปเล่นกับ ด.ญ.เก๋ แบบเดิมอีกที่พงหญ้าภายในหมู่บ้าน แต่ เพื่อนๆ บางคนไม่ยอมเล่นด้วย ตนจึงแสดงให้เพื่อนดู จนกระทั่งมีเพื่อนในกลุ่มวิ่งไปบอกแม่ของ ด.ญ.เก๋ จากนั้นจึงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวมาที่สน.

  10. แช็ตลวงบัณฑิตสาวตกงานแช็ตลวงบัณฑิตสาวตกงาน - (เม.ย. 2551) น.ส.เอ เพิ่งเรียนจบปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่งใน จ.เลย และกำลังหางานทำ ภายหลังได้เข้าไปพูดคุยหรือแช็ตทางอินเทอร์เน็ต จนได้รู้จักกับนายอาทิตย์ ประมาณ 1 เดือน ล่าสุดนายอาทิตย์ได้ชักชวนให้เดินทางมา จ.อุดรธานี โดยรับปากว่าจะหางานให้ทำ ด้วยความอยากมีงานทำ เลยตอบตกลง และนัดพบกัน - เมื่อพบกัน นายอาทิตย์ไม่ยอมพาไปสมัครงาน กลับพาไปเปิดห้องพักชั่วคราวแล้วลงมือปลุกปล้ำขืนใจ ด้วยความตกใจและกลัว น.ส.เอ ดิ้นจนหลุดและวิ่งหลบหนีเข้าไปในห้องน้ำ ล็อกประตูขังตัวเองแล้วใช้โทรศัพท์มือถือโทรแจ้งตำรวจ รอดมาได้อย่างหวุดหวิด

  11. กามเทพไฮเทค - (ก.พ. 2551) เมืองไทยยุคนี้ การหาคู่ออนไลน์ เริ่มบูม อาจมาจากไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ ที่เปลี่ยนไป คือใช้เวลาทำงานมากขึ้นจนขาดเวลาสานสัมพันธ์กับเพื่อนและคนรอบข้าง คนหนุ่มสาววัยทำงานที่ใช้เวลาบนโลกไซเบอร์มากขึ้น ทำให้เน็ตเข้ามามีบทบาทมากอย่างที่เห็น - เว็บไซต์สื่อรักออนไลน์ เปิดเผยข้อมูลว่า สมาชิกเว็บไซต์จะบอกอย่างชัดเจนว่า ต้องการหาคู่หรือหาเพื่อน โพสต์รูป และให้รายละเอียดเกี่ยวกับตนเองอย่างเต็มที่ โดยในส่วนนี้ มีมากถึง 25% ของผู้ใช้บริการ - สมาชิกเว็บหาคู่ กล่าวว่า สื่อรักออนไลน์ เป็นทางเลือกที่ง่ายในการทำความรู้จักกับใครสักคน เรารู้จักพื้นฐานนิสัยอีกฝ่ายจากสิ่งที่เขาเขียนเล่ามา ทำให้เลือกคนคุยที่มีนิสัยหรือความคิดเห็นในทางเดียวกัน เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนขี้อาย ไม่กล้าพูด เว็บจับคู่ก็น่าจะมีทั้งข้อดีข้อเสีย มีทั้งคนจริงใจ หรือที่อาจสร้างภาพหลอกลวง ผู้ใช้ต้องพิจารณาถ้วนถี่รอบคอบเอาเอง

  12. ยิงเพื่อนนักเรียนดับ เลียนแบบคลิปยูทิวบ์ - (พ.ย. 2550) นักเรียนฟินแลนด์วัย 18 ปี บุกยิงเพื่อนร่วมสถาบันตาย 8 คน บาดเจ็บกว่าอีกสิบราย ก่อนยิงตัวตายตาม ตำรวจกำลังวิเคราะห์คลิปวิดีโอในเว็บไซต์ YouTube เพื่อหาแรงจูงใจของการก่อเหตุ - ศาตราจารย์ด้านจิตวิทยา เตือนว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการเลียนแบบในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เว็บไซต์ YouTube ทำให้เหล่ามือปืนมีสื่อในการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความชอบในการลงมือ

  13. โรคติดอินเทอร์เน็ต - กระวนกระวายหากไม่ได้ต่อเน็ต หงุดหงิดง่ายถ้ามีผู้รบกวนขณะเล่น - ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ว่าจะใช้เน็ตแค่ 15 นาที เมื่อรู้ตัวก็ 3 ชั่วโมงแล้ว - หงุดหงิดตัวเองที่หยุดเล่นเน็ตไม่ได้เสียที - ใจจดจ่อแต่เรื่องเมื่อเลิกเรียนกลับบ้าน ไม่ทำการบ้าน จะรีบต่อเน็ต - เมื่อออนไลน์แล้วรู้สึกดีขึ้นอย่างบอกไม่ถูก - ทานอาหารไม่เป็นเวลา สายตาแย่ลง ปวดเมื่อยไม่เป็นไร ขอให้ได้เล่นเน็ต

  14. เกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์เกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ผิดเป็นถูกสับสนในศีลธรรม/จริยธรรม ก้าวร้าว รุนแรง เลือด ผจญภัย จินตนาการ เข้าสังคม/หมู่พวก

  15. เล่นเกมจนเสียคน ลูกชายคุณตั๊กอายุ 12 ปี เริ่มเล่นเกมออนไลน์มาตั้งแต่ มี.ค. 2547 โดยเริ่มแรกคุณตั๊กเป็นผู้ลงทะเบียนให้เล่นเอง แต่พอเล่นไปได้ 2-3 เดือน พฤติกรรมเปลี่ยนไป เดือนที่ 5 นิสัยเสียไปเลย “เมื่อติดเกม เขาเริ่มพูดปด ขโมยเงิน ขอเงินทุกวันเอาแต่เล่นเกมอย่างเดียว ไม่อาบน้ำ ไม่กินข้าว กินแต่เป๊ปซี่ จนผอมลงมาก ไหล่งองุ้ม เขาจะขอไปอยู่บ้านเพื่อนทุกอาทิตย์ พออาทิตย์ที่ 4 ก็ลืมบ้านตัวเองไปเลย กลับมาเที่ยงคืนบ้าง ตี 2 บ้าง หรือไม่กลับมาเลย จากเดิมที่การเรียนดีมาก เคยสอบเลขได้คะแนนเต็มร้อย ตอนนี้ก็ตกหมด ”

  16. เล่นเกมเครียดยิงตัวตายเล่นเกมเครียดยิงตัวตาย เด็ก ม.6 เล่นเกมคอมพิวเตอร์ยิงต่อสู้กันอย่างชนิดบ้าคลั่ง ไม่ทำการบ้าน ไม่อ่านหนังสือ จนผลการเรียนตกต่ำ จากที่เมื่อก่อนเคยเป็นเด็กเรียนเก่งเลยทำใจไม่ได้เที่ยงคืนยิงตัวตาย หลังโทรศัพท์บอกเพื่อน ตำรวจระบุว่าเด็กเครียดจัดและเกมก็มีส่วน

  17. ปัญหาที่เกิดบนโลกออนไลน์ปัญหาที่เกิดบนโลกออนไลน์ โดย พ.ต.อ. ญาณพล ยั่งยืน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กระทรวงยุติธรรม

  18. ปัญหาติดคอมพิวเตอร์และเกมปัญหาติดคอมพิวเตอร์และเกม - เด็กชอบเล่นเกม - เกมให้ความสนุกสนาน บันเทิง ได้ผ่อนคลาย ได้ซึมซับอารมณ์ในเกม ได้เติมเต็มจินตนาการ - เกมท้าทายความสามารถ ได้คิด/แก้ปัญหา สะสมคะแนน ผ่านด่าน - เกมสมัยนี้มีภาพ แสง สี เสียง สมจริง ผู้เล่นสวมบทบาทในเกมได้ - เกมออนไลน์ทำให้เด็กได้พบเพื่อนใหม่ มีสังคมใหม่ - เกมบางชนิด มีความก้าวร้าวรุนแรง, ผิดศีลธรรม, ยั่วยุทางเพศ, การพนัน ฯลฯ

  19. ปัญหาติดคอมพิวเตอร์และเกมปัญหาติดคอมพิวเตอร์และเกม - เกมดีๆ มีสาระไม่สนุก เกมสนุกจะไม่ค่อยมีสาระ - เด็กติดเกม ใช้เวลาเล่นเกมมากจนลืมกิจกรรมอื่นๆ - เด็กยังไม่มีรายได้ ก็จะฉกชิงวิ่งราว ขโมยเงินพ่อแม่มาเล่นเกม - การติดเกม ทำให้เสียเวลา เสียสุขภาพ เสียการเรียน และปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง - บริษัทเกมส่งเสริมการเล่นเกมนานๆ เช่น กิจกรรมแข่งขัน ประกวด - ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ให้เด็กมานอนค้างเล่นเกมข้ามคืน - รัฐไม่ได้ควบคุมดูแลประเภทของเกม และการจัด rating เกม

  20. ปัญหาเว็บไซต์ไม่สร้างสรรค์ปัญหาเว็บไซต์ไม่สร้างสรรค์ - เว็บไซต์ภาษาไทยดีๆ ที่มีสาระประโยชน์มีน้อย รูปแบบเว็บไซต์ไม่น่าสนใจ ไม่สนุก ทำให้คนเข้าน้อย ขาดรายได้ คนทำไม่มีกำลังใจ ส่วนใหญ่ทำด้วยใจรัก ใช้เวลาว่างทำ - เว็บไซต์ไร้สาระมีมาก น่าสนใจ ให้ความบันเทิงสนุกสนาน คนทำมีรายได้มากจากค่าโฆษณาและอื่นๆ จึงมีคนทำตาม เว็บไซต์ประเภทนี้จึงเพิ่มมากขึ้น - กลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น เด็กและเยาวชน จึงใช้เพื่อการบันเทิงมากกว่าทางสร้างสรรค์ ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่มีความคิด ไม่มีเวลา ไม่ค่อยได้ใช้อินเทอร์เน็ต

  21. ปัญหาเว็บไซต์ไม่สร้างสรรค์ปัญหาเว็บไซต์ไม่สร้างสรรค์ - ขาดการกระตุ้นให้ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ เอกชน และบุคคล สร้างเว็บไซต์ของตนที่มีข้อมูลเนื้อหาสาระประโยชน์ สวยงาม น่าสนใจ - ขาดการกระตุ้นให้ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ เอกชน และบุคคล นำอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพในกิจการ - ขาดการสร้างแนวร่วม และสื่อ เพื่อช่วยกันสร้างค่านิยมใหม่ ในการใช้อินเทอร์เน็ตก่อประโยชน์ ต่อทั้ง ตนเอง ครอบครัว องค์กร สังคม และประเทศชาติ

  22. ปัญหาการล่อลวงโดยคนแปลกหน้าปัญหาการล่อลวงโดยคนแปลกหน้า - บนอินเทอร์เน็ต เราจะสร้างตัวตนอย่างไรก็ได้ เป็นบุคคลเสมือนจริง(Virtual man)ทั้งที่จริงตนอาจถูกเพื่อนดูหมิ่นไม่ยอมรับเพราะไม่สวยไม่รวยไม่เก่งบางครั้งไม่มีเพื่อนบนโลกจริงแต่มีเพื่อนมากมายบนเน็ต - เมื่อได้พบกับ Virtual man ที่อ้างว่าสวย,หล่อ,รวย,เก่ง,หนุ่ม,สาวฯลฯจึงทำให้ประทับใจ หลงเชื่อได้ง่าย - ความเหงาอยากมีเพื่อน ความเกรงใจไว้ใจคนมองโลกในแง่ดีความเชื่อมั่นในตนเอง ฯลฯ เป็นเงื่อนไขที่ทำให้โดนหลอกได้ง่ายขึ้น - เด็กส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงภัยออนไลน์ - ผู้ปกครอง, ครูขาดความรู้ความเข้าใจจึงไม่ได้ตักเตือน ดูแล เด็กและเยาวชน

  23. ปัญหาการฉ้อโกง - ความโลภ อยากได้ของดีราคาถูก อยากได้อะไรที่ได้มาง่ายๆ - การไว้ใจคนง่ายๆ โดยเฉพาะคนที่รู้จักกันทางเน็ต - ไม่ระมัดระวังการใช้บัตรเครดิตกับเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ - หลงเชื่อให้ข้อมูลสำคัญกับคนร้ายที่อ้างว่าเป็นธนาคาร, บริษัทบัตรเครดิต - ขาดความรู้ความเข้าใจ ตัวอย่างคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ขาดความตระหนักเรื่องภัยออนไลน์ - ปัญหาด้านกฎหมาย บทลงโทษ การเฝ้าระวัง เตือนภัย ฯลฯ

  24. ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ - ผู้ใช้ชอบใช้ของฟรีราคาถูก - ขาดจิตสำนึกในการเคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น - มีความคิดเข้าข้างตนเองว่าผู้ผลิตรวยพอแล้ว - การ Download Software เพลง โปรแกรมทำได้ง่าย - สามารถซื้อขายสินค้าได้ง่ายไม่ต้องมีร้านขายไม่ต้องมีแหล่งเก็บสินค้าเป็นความผิดส่วนตัวต้องมีผู้เสียหายแจ้งความยากต่อการสืบสวนจับกุม - ผู้ประกอบการลงทุนน้อยขายง่ายรายได้ดีมีอิทธิพลหนุน

More Related