740 likes | 1.02k Views
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการปรับตัวสู่การเรียนรู้ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. หัวข้อเนื้อหา. เทคโนโลยีสารสนเทศในสวนดุสิต ลักษณะการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนในสวนดุสิต วิธีการเรียนรู้ในสวนดุสิต การปรับตัวของผู้เรียนด้านการเรียนรู้ผ่าน IT.
E N D
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการปรับตัวสู่การเรียนรู้ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
หัวข้อเนื้อหา • เทคโนโลยีสารสนเทศในสวนดุสิต • ลักษณะการเรียนการสอน • สื่อการเรียนการสอนในสวนดุสิต • วิธีการเรียนรู้ในสวนดุสิต • การปรับตัวของผู้เรียนด้านการเรียนรู้ผ่าน IT
บทที่ 4เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปรับตัวสู่การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
1. งานบริการด้านเครือข่าย บริการด้านเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้บริการด้านการเรียนการสอน และการบริหารจัดการมีดังนี้ 1.1 บริการระบบเครือข่ายหลัก ด้านเครือข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber optic) เชื่อมระหว่างอาคารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยด้วย ATMSwitch และ Gigabit Switch
1.2 บริการเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) สำหรับให้บริการนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook Computer) และคอมพิวเตอร์มือถือ เพื่อเป็นเครือข่ายเสริมเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายหลักและสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยมี Access Point 22 จุด ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัย
1.3 บริการอินเทอร์เน็ต บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ทั้งในมหาวิทยาลัยและศูนย์การศึกษา นอกจากนี้ยังมีบริการให้สามารถเข้าใช้บริการผ่านโมเด็ม (Modem) จากที่บ้านได้ 150 ช.ม./1 ภาคเรียน ผ่านเบอร์โทร 0-2340-0900 และ 0-2340-0905
1.3.1 บริการสืบค้นข้อมูลผ่านเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)1.3.2 บริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) 1.3.3 บริการสร้างโฮมเพจ (Home Page) และเก็บข้อมูลส่วนตัวสำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัย บริการอินเทอร์เน็ตที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตให้บริการ
1.4 ระบบเชื่อมโยงกับเครือข่ายสาธารณะ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ • 1.4.1 เชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ชนิดดิจิตอลที่ความเร็ว 56 Kbps จำนวน 600 คู่สาย
1.4.2 มหาวิทยาลัยมีการเชื่อมสัญญาณระบบ 1222 ของบริษัท ทศท. คอปอร์เรชั่น (มหาชน) จำกัด เพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถเชื่อมต่อเข้าใช้ระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยผ่านทางระบบเครือข่ายขององค์การโทรศัพท์ โดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกล นักศึกษาจึงเสียค่าใช้จ่ายในการหมุนโมเด็ม เข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตของทางมหาวิทยาลัย ครั้งละ 3 บาท เช่นเดียวกับนักศึกษาที่อยู่กรุงเทพฯ
1.5 การเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับศูนย์การศึกษา มีการเชื่อมต่อเครือข่ายวงจรความเร็วสูงสำหรับส่งข้อมูลผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference) 16 ศูนย์ โดยใช้ช่องทางเชื่อมต่อสำหรับส่งข้อมูล ด้วยความเร็วศูนย์ละ 768 Kbps และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ตที่ความเร็วศูนย์ละ 2 Mbps
หมายเลขโทรศัพท์ของ ม. ราชภัฏสวนดุสิตที่นักศึกษาต้องใช้เมื่อต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากบ้านในกรุงเทพคือเบอร์ใด ก. 0-2244-5000 ข. 0-2244-5362 ค. 0-2340-0900 ง. 1222
เว็บไซต์ที่นักศึกษาสามารถใช้เนื้อที่เพื่อสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว คือข้อใด ก. http://dusithost.dusit.ac.th ข. http://webmail.dusitac.th ค. http://regis.dusit.ac.th ง. http://elearning.dusit.ac.th
2. งานบริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และการอบรมสัมมนาด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมีการบริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ทั้งแก่บุคลากร นักศึกษา และบุคคลภายนอกดังนี้
2.1 งานบริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้ 2.1.1 บริการห้องปฏิบัติการเพื่อจัดการเรียนการสอน มีห้องปฏิบัติการ PC จำนวน 7 ห้อง ห้องละ 40-60 เครื่อง และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ Macintosh 1 ห้อง จำนวน 52 เครื่อง 2.1.2 นักศึกษาที่ต้องการใช้ห้องปฏิบัติการนอกเวลาเรียน สามารถตรวจสอบตารางใช้ห้องปฏิบัติการ และติดต่อขอใช้บริการได้ที่ ชั้น 3 อาคารสมเด็จพระนางเจ้าฯ (ตึก 11) โทรศัพท์ 0-2244-5220
2.2 บริการอบรม สัมมนาความรู้เกี่ยวกับทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไปที่สนใจ 2.3 บริการเช่าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำหรับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยคิดอัตราค่าบริการ
3. ระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference)เป็นระบบรูปแบบการสื่อสารสองทางในระยะไกลผ่านทางเครือข่ายความเร็วสูง พัฒนาในเกิดรูปแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่ โดยให้อาจารย์สามารถบรรยายเนื้อหาได้จากแม่ข่ายและกระจายสัญญาณไปยังเครื่องลูกข่ายต่างๆ นักศึกษาสามารถโต้ตอบพูดคุยกับอาจารย์ผู้สอนได้ทันที เสมือนว่านั่งเรียนอยู่ภายในห้องเรียนเดียวกัน
3.2 องค์ประกอบพื้นฐานของวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 3.2.1 เครือข่ายโทรคมนาคม มีหน้าที่เชื่อมสัญญาณจากผู้ร่วมประชุมแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน เพื่อการประชุม 3.2.2 อุปกรณ์เชื่อมต่อ (terminal) เป็นอุปกรณ์ต้นทางและปลายทาง ทำหน้าที่รับและถ่ายทอดภาพและเสียง ได้แก่ จอโทรทัศน์ เครื่องฉายภาพนิ่ง กล้องวีดิทัศน์ ไมโครโฟน เป็นต้น
ภาพที่ 4.1 ระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
4. สวนดุสิตอินเทอร์เน็ตบรอดแคสติ้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการจัดการศึกษาและกิจกรรมทางวิชาการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นช่องทางสื่อสารที่มหาวิทยาลัยมีความพร้อมด้านบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานมายาวนาน เผยแพร่สาระความรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เอสดีไอบี (Suan Dusit Internet Broadcasting : SDIB)
4.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ตบรอดแคสติ้ง (Internet Broadcasting)หมายถึง เทคโนโลยีการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง ผ่านเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลจำนวนมากของภาพและเสียงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการบีบอัดสัญญาณ อินเทอร์เน็ต บรอดแคสติ้งมีชื่อเรียกอื่นๆ ในความหมายเดียวกัน ได้แก่ ไซเบอร์แคสติ้ง (cybercasting), เน็ตแคสติ้ง (netcasting) , เว็บแคสติ้ง (webcasting) , ยูนิแคสติ้ง (unicasting) และ สตรีมมิ่ง มีเดีย (streaming media)
4.2 ระบบการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ตบรอดแคสติ้ง มี 2 ระบบ ดังนี้ 4.2.1 ไลฟ์บรอดแคสติ้ง (live broadcasting)เป็นการส่งข้อมูลในเวลาจริงๆ ขณะนั้น 4.2.2 ออนดีมานด์ บรอดแคสติ้ง (on-demand broadcasting)การส่งข้อมูลในรูปแบบนี้ ไม่ได้เป็นการส่งข้อมูลในเวลาจริง แต่จะเป็นการส่งข้อมูลภาพ และเสียงเก็บไว้ในแหล่งข้อมูลหนึ่งก่อน เมื่อมีคนล๊อกอิน (log- in) เข้ามาก็จะส่งข้อมูลเหล่านี้ไปแสดงผลยังเครื่องปลายทาง
ภาพที่ โครงสร้างการทำงานของระบบไอพีทีวี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตภาพที่
โครงสร้างการทำงาน ของระบบ ไอพีทีวี (IP TV) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
4.3 รูปแบบและรายละเอียดของรายการที่จะนำเสนอ เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายจึงมีการแบ่งช่องในการแพร่ภาพออกอากาศเป็น 3 ช่อง โดยมีรูปแบบและการนำเสนอของรายการดังต่อไปนี้ 4.3.1 รูปแบบและการนำเสนอรายการ ช่อง 1 มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ เพื่อให้นักศึกษาได้รับชมภาพบรรยากาศของการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมประจำวันของเด็ก
4.3.2 รูปแบบและการนำเสนอรายการ ช่อง 2 มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) เพื่อถ่ายทอดการเรียนการสอนไปยังศูนย์การศึกษาต่าง ๆ
4.3.3 รูปแบบและการนำเสนอรายการ ช่อง 3 มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับกิจกรรมและภาพบรรยากาศของกิจกรรม เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ตลอดจนบุคคลภายนอก
อินเทอร์เน็ตบรอดแคสติ้ง (Internet Broadcasting ) คือ อะไร ก. การบริการข่าวผ่านเว็บไซต์ ข. การถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงผ่านเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต ค. เว็บไซต์ที่ให้บริการมัลติมีเดีย ง. การเรียนแบบออนไลน์
ข้อใดคือลักษณะของ on demand broadcasting ก. สมชายเลือกดูรายการย้อนหลังจาก บริการ SDIB ช่อง 1 ข. สมศักดิ์นั่งดูการถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านระบบ Video Conference ค. สมพลฟังเพลงทาง internet radio ง. สมควรนั่งดูการถ่ายทอดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิตผ่าน จากบริการของ SDIB
ข้อใด คือ ลักษณะของ Live Broadcasting ก. สมศรี download ไฟล์วิดีโอและกลับไปเปิดดูที่บ้าน ข. สมศักดิ์นั่งดูการถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านระบบ Video Conference ค. สมพลฟังเพลงทาง internet radio ง. สมควรนั่งดูการถ่ายทอดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิตผ่าน จากบริการของ SDIB
ลักษณะการเรียนการสอน 1. การแบงการเรียนการสอนออกเปนตอนเรียน (section) เพื่อให้ผู้สอนสามารถติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งเกิดความสะดวกในการจัดสถานที่ศึกษา และการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนในทุกด้าน
2. เน้นจัดการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติ (Learn and Practice) เปดโอกาสใหผูเรียนไดใชเวลาอยางเต็มที่กับผูสอนในการฝกปฏิบัติทักษะตางๆจนรอบรู หรือการอภิปราย การซักถาม การโตตอบกับผูสอนได้อย่างเต็มที่ เพราะผูสอนหนึ่งทานจำเปนตองดูแลผูเรียนเปนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจสงผลใหผูเรียนบางสวนไมสามารถบรรลุวัตถุประสงคตามที่ตั้งไวได้
3. ใชระบบการเรียนการสอนในรูปแบบของการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส (e-Learning) เนนการเรียนรูดวยตนเองของผูเรียน โดยผูเรียน ไมจำเปนตองอยูในสถานที่เดียวกันกับผูสอน และผูเรียนสามารถที่จะเลือกเวลาเรียน และสถานที่ที่ผูเรียนตองการจะศึกษาได้ดวยตนเอง นอกจากนี้การเรียนทางอิเล็กทรอนิกสยังเปนการจัดสภาพแวดลอมของการเรียนรูของผูเรียน เพื่อสนับสนุนใหผูเรียนเกิดการเรียนรูตลอดชีวิตสอดคลองกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
4. นำระบบการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกสไปใชบริการผูเรียนดวยรูปแบบการเรียนทางไกล (Video Conference) การเรียนทางอิเล็กทรอนิกสนี้จะชวยขจัดปญหาในเรื่องของขอจำกัดในดานเวลาและสถานที่ศึกษาของผูเรียน ทำให้ผูเรียนสามารถเขาศึกษาในรายวิชาตาง ๆ ที่เปดใหผูเรียนใชการเรียนทางอิเล็กทรอนิกสได
5. การเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook Computer)
ลักษณะการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 5.1 สรางเว็บไซตเพื่อเปนสื่อการเรียนการสอน (e-Learning) 5.2 เรียนได้ทุกเวลา (any time) สามารถเข้าถึงโปรแกรมการเรียนในเวลาใดก็ได้ตามความสะดวกของผู้เรียน 5.3 เรียนได้ทุกที่ (any place) ผู้เรียนสามารถบันทึกเปิดเข้าเรียนได้ในทุกที่ 5.4 มีการโต้ตอบแบบไม่ประสานเวลา (asynchronous interaction) ช่วยให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนมีเวลาเตรียมตัวในการตอบสนองและให้ข้อมูลป้อนกลับซึ่งกันและกัน 5.5 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม (group collaboration) เพื่อเสริมสร้างการแบ่งปันความรู้
ข้อใดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบ e-learning แบบ real time ก. การส่งการบ้านผ่าน e-mail ให้อาจารย์ที่สอน ข. การเข้าไปดูกระทู้หัวข้อการบ้านที่อาจารย์สั่ง ค. การสนทาออนไลน์กับอาจารย์ถามถึงข้อสงสัยในการเรียน ง. การเข้าไปดูคะแนนสอบผ่านเว็บ
สื่อการเรียนการสอนในสวนดุสิตสื่อการเรียนการสอนในสวนดุสิต
1. บทเรียนออนไลน์ บทเรียนออนไลน์ (e-Learning) เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น
ภาพบทเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่มา (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2550)
2. มัลติมีเดีย มัลติมีเดีย (multimedia) หรือสื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน
องค์ประกอบของมัลติมีเดียในคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของมัลติมีเดียในคอมพิวเตอร์ • ข้อความ (Text) เป็นส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาของมัลติมีเดีย ใช้แสดงรายละเอียดหรือเนื้อหาของเรื่องที่นำเสนอ ได้แก่ ข้อความที่ได้จากการพิมพ์ ข้อความจากการสแกนด้วยสแกนเนอร์ ข้อความไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) เป็นรูปแบบของข้อความที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเผยแพร่เอกสารในรูปของเอกสารเว็บไซต์
ภาพกราฟิก (graphics)เป็นสื่อในการนำเสนอที่ดี เนื่องจากมีสีสันมีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสื่อความหมายได้กว้างกว่าข้อความ มี 2 ประเภทดังนี้ • - ภาพกราฟิกที่ได้จากการสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น (Adobe Photoshop) เป็นต้น เป็นภาพกราฟิกที่ได้จากการสแกนด้วยสแกนเนอร์ (Bitmapgraphic)
ภาพกราฟิกที่ได้จากการสแกนภาพเป็นภาพบิตแมพ (Bitmap) ที่มีการ เก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี รูปภาพแต่ละภาพใช้หน่วยความจำมากในการจัดเก็บ ขนาดของไฟล์ข้อมูลจะมีขนาดใหญ่ เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF เมื่อทำการขยายเราจะเห็นจุดสีที่ประกอบกันแตกกระจายอยู่ ทำให้ภาพนั้นไม่ชัดเจน และความละเอียดลดลง ภาพกราฟิกประเภทบิตแมตกราฟิก
ภาพเวกเตอร์ (Vector graphic)เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การขยายภาพจึงทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียดเหมือนภาพบิตแมพ ได้แก่ ภาพที่เป็นคลิปอาร์ต (clipart) ของไมโครซอฟต์ออฟฟิศ (Microsoft Office) นั่นเอง ภาพกราฟิกประเภทเวกเตอร์กราฟิก
เสียง (Sound)เป็นอีกองค์ประกอบของมัลติมีเดีย ที่ช่วยให้เกิดบรรยากาศที่น่าสนใจในการรับรู้ทางหู โดยอาศัยจะนำเสนอในรูปของเสียงประกอบ เพลงบรรเลง เสียงพูด เสียงบรรยาย หรือเสียงพากษ์ เป็นต้น
ลักษณะของเสียง • 1 คลื่นเสียงแบบออดิโอ (Audio)ซึ่งมีฟอร์แมตเป็น .WAV, .AUการบันทึกจะบันทึกตามลูกคลื่นเสียง โดยมีการแปลงสัญญาณเสียงที่เป็นอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ไฟล์ประเภทนี้จะใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมาก ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่สียงที่ได้จากการใช้โปรแกรมนี้จะเป็น • คลื่นเสียงแบบออดิโอ • ที่มีนามสกุลของไฟล์เป็น .WAV โปรแกรมการบันทึกเสียง (Sound Recorder)
2. คลื่นเสียงแบบ MIDI(Musical Instrument Digital Interface : MIDI)เป็นรูปแบบของเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ สามารถเก็บข้อมูล และให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ สร้างเสียงตามตัวโน้ต เสมือนการเล่นของเครื่องเล่นดนตรีนั้นๆ ขนาดไฟล์มีดี้จึงมีขนาดเล็ก เนื่องจากเก็บคำสั่งในรูปแบบง่ายๆ
วีดิโอ (Video)เป็นสื่ออีกรูปหนึ่งที่นิยมใช้กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เนื่องจากสามารถแสดงผลได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงพร้อมกัน ทำให้เกิดความน่าสนใจในการนำเสนอมากยิ่งขึ้น รูปแบบของไฟล์วีดิโอที่ใช้ในการบันทึกภาพและเสียงที่สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้เลย มี 3 รูปแบบ ดังนี้
1. เอวีไอ (Audio / Video Interleave : AVI) เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เรียกว่าวีดิโอฟอร์วินโดว์ (Video for Windows) มีนามสกุลของไฟล์เป็น .AVI เป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ และมีความคมชัดสูง ไฟล์ประเภทนี้มักจะเป็นฟอร์แมตของการบันทึกภาพวิดิโอจากกล้องวีดิโอดิจิตอล ปัจจุบันมีโปรแกรมแสดงผลไฟล์ .AVI ที่ติดตั้งมาพร้อมกับชุดไมโครซอฟต์วินโดว์ (Microsoft Windows) คือ วินโดว์มีเดียเพลเยอร์ (Windows Media Player)
2. เอ็มเพ็ก (Moving Pictures Experts Group : MPAG)เป็นรูปแบบของการบีบอัดไฟล์ เพื่อให้มีขนาดเล็กลงโดยใช้เทคนิคการบีบอัดข้อมูล (Video Compression) ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ของไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็กกว่าไฟล์จากแผ่นดีวีดีปกติถึง 75-80% แต่ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะในการอ่านไฟล์ Divx