570 likes | 997 Views
ส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่ (สบท.) สำนักบริหารการปกครองท้องที่ (สน.ปท.) กรมการปกครอง. คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.).
E N D
ส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่ (สบท.) สำนักบริหารการปกครองท้องที่ (สน.ปท.) กรมการปกครอง
คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เป็นองค์กรที่ถูกเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486 และมีการปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจ หน้าที่ใหม่ ตามมาตรา 28 ตรี แห่งพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551
อำนาจหน้าที่ของ กม. 1. ช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้าน 2. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ 3. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายอำเภอมอบหมายหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ 4. เป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และบริหารกิจกรรมที่ดำเนินในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน
การพัฒนาหมู่บ้าน...โดยการขับเคลื่อน กม. สร้างรากฐานของประเทศ จัดระเบียบการบริหารจัดการหมู่บ้าน สร้างองค์คณะแห่งความร่วมมือ (จุดเชื่อม)
ระดมพลังและภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมแก้ปัญหาของหมู่บ้านตนเอง สร้างช่องทางให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางหมู่บ้านของตนเอง
องค์ประกอบของ กม. โดยการเลือก โดยตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ 2-10 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต./สจ. ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่ม
เปรียบเทียบโครงสร้างเดิมกับโครงสร้าง ตามมาตรา 28 ตรีแห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 กม. โดยตำแหน่ง โครงสร้างเดิม โครงสร้างใหม่ ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน กม. ประธาน กม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการ กรรมการ สมาชิกสภา อปท. - กรรมการ ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้าน - กรรมการ
กม. โดยการเลือก โครงสร้างเดิม โครงสร้างใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ กรรมการ จำนวน 5-9 คน จำนวน 2-10 คน
การเป็น กม. ของผู้นำกลุ่มในหมู่บ้าน ตามระเบียบ มท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็นกรรมการหมู่บ้าน การปฏิบัติหน้าที่ และการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2551 แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มบ้าน (นอ. ประกาศ) กลุ่มหรือกลุ่มกิจกรรม (มท. ประกาศ มี 18 กลุ่ม) กลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มกิจกรรม (นอ.ประกาศ)
1. กม. ประเภทผู้นำกลุ่มบ้าน กลุ่มบ้าน กลุ่มบ้าน หมายความว่า บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นกลุ่มย่อยภายในหมู่บ้าน โดยการแบ่งตามสภาพภูมิประเทศ ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม ประเพณี หรือระบบเครือญาติและให้หมายความรวมถึง คุ้มบ้าน เขตบ้าน บ้านจัดสรร หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มบ้าน (ระเบียบ มท.ฯ ข้อ 5 วรรคสอง)
2. กม. ประเภทผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มกิจกรรมที่ มท ประกาศ จำนวน 18 กลุ่ม *หากหมู่บ้านมีกลุ่มตามที่ประกาศ ประธานกลุ่มจะเป็น กม. โดยตำแหน่ง
3. กม. ประเภทผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มกิจกรรมในหมู่บ้าน ตามที่ นอ. ประกาศ ระเบียบ มท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็น กม.ฯ ข้อ 5 กลุ่มอาชีพ หมายความว่า กลุ่มที่มีการจัดตั้งขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเพิ่มพูนรายได้ หรือการพัฒนาอาชีพ
กลุ่มกิจกรรม หมายความว่า กลุ่มที่มีการจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่มหรือเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ระเบียบ มท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็น กม. ฯ ข้อ 6 (3) กลุ่มอาชีพหรือกลุ่มกิจกรรมที่มาจากการรวมตัวของสมาชิกหรือตั้งขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มและต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกไม่น้อยกว่ายี่สิบคน (ข) สมาชิกของกลุ่มไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน (ค) เป็นกลุ่มที่มีการดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง มาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน (ง) เป็นกลุ่มที่มีกฎระเบียบที่กำหนดไว้ชัดเจน และต้องเกิดจาก สมาชิกร่วมกันกำหนด ทั้งนี้ นายอำเภออาจพิจารณายกเว้นลักษณะตาม (ก) ได้ในกรณีที่เห็นสมควร
กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ... จำนวน กม.ผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 คนแต่ไม่เกิน 10 คน (ที่ประชุมราษฎรเป็นผู้กำหนดจำนวน) การเลือก กม.ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจใช้วิธีลับ หรือเปิดเผย (ที่ประชุมราษฎรเป็นผู้กำหนดวิธีการเลือก)
กม.ผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (นับแต่วันที่ นอ.ประกาศแต่งตั้ง) ผู้มีสิทธิเข้าประชุม/เลือก (มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน)
โครงสร้าง หน้าที่ของคณะทำงาน กม. คณะทำงานด้านอำนวยการ • อำนวยการประชุม ระเบียบวาระ จัดการประชุม • งานธุรการ การเงิน เลขานุการ ประชุม อื่นๆ คณะทำงานด้านการปกครอง และรักษาความสงบเรียบร้อย คณะทำงานด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข คณะทำงานด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คณะทำงานด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน คณะทำงานด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ •ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย•ส่งเสริมให้ราษฎรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหมู่บ้าน•การสร้างความธรรมและประนีประนอมข้อพิพาท •ดำเนินการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและกิจกรรมที่ดำเนินการในหมู่บ้าน •ปรับแผนพัฒนาร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน•จัดทำข้อมูลของหมู่บ้าน •เศรษฐกิจพอเพียง •ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การผลิตการตลาด •การพัฒนาสตรี เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ การจัดสวัสดิการในหมู่บ้าน•การสงเคราะห์ผู้ยากจน•การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม •ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของหมู่บ้าน
1.คณะทำงานด้านอำนวยการ1.คณะทำงานด้านอำนวยการ ประกอบด้วย • ประธาน กม. • รองประธาน กม. • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน • หัวหน้าคณะทำงานด้านต่าง ๆ • เลขานุการ • และเหรัญญิก โดยให้ประธาน กม. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และเลขานุการ เป็นเลขานุการคณะทำงาน
มีหน้าที่... • งานธุรการ • การจัดประชุม • การรับจ่ายและเก็บรักษาเงินและทรัพย์สิน ของหมู่บ้าน • การประชาสัมพันธ์ • การประสานงานและติดตามการทำงานของ คณะทำงานด้านต่าง ๆ • การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของ คณะกรรมการในรอบปีและ • งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
2. คณะทำงานด้านการปกครอง และรักษาความสงบเรียบร้อย ประกอบด้วย • กม. ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าคณะทำงาน • กม. ที่คณะกรรมการเลือก
มีหน้าที่... • ส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข • ส่งเสริมอุดมการณ์และวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยให้กับราษฎรในหมู่บ้าน • ส่งเสริมดูแลให้ราษฎรปฏิบัติตามกฎหมาย และ กฎระเบียบ ข้อบังคับของหมู่บ้าน • การสร้างความเป็นธรรมและประนีประนอมข้อพิพาท
การตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดภายในหมู่บ้าน • การคุ้มครองดูแลรักษาทรัพย์สินอันเป็น สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน • การป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภยันตราย ของหมู่บ้าน • งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
3. คณะทำงานด้านแผนพัฒนา ประกอบด้วย • กม. ที่คณะกรรมการหมู่บ้านเลือก มีหน้าที่ • จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน • ประสานการจัดทำโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านกับคณะทำงานด้านต่าง ๆ เพื่อดำเนินการหรือเสนอของบประมาณจากภายนอก
การรวบรวมและจัดทำข้อมูลต่าง ๆ ของหมู่บ้าน • การติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาหมู่บ้าน • งานอื่นใด ที่ได้รับมอบหมาย
4. คณะทำงานด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ ประกอบด้วย • กม. ที่คณะกรรมการหมู่บ้านเลือก มีหน้าที่ • การส่งเสริมการดำเนินการตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน
การพัฒนาและส่งเสริมการประกอบอาชีพ การผลิตและการตลาดเพื่อเสริมสร้างรายได้ ให้กับราษฎรในหมู่บ้าน • งานอื่นใด ที่ได้รับมอบหมาย
5. คณะทำงานด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข ประกอบด้วย • กม. ที่คณะกรรมการหมู่บ้านเลือก มีหน้าที่ • การพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ การจัดสวัสดิการในหมู่บ้าน
การสงเคราะห์ผู้ยากจนที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ การสงเคราะห์ผู้ยากจนที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ • การส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข • งานอื่นใดที่ได้รับมอบหมาย
6. คณะทำงานด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประกอบด้วย • กม. ที่คณะกรรมการหมู่บ้านเลือก มีหน้าที่ • การส่งเสริมการศึกษา ศาสนา การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของหมู่บ้าน • งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
หมายเหตุ • ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เลือก กม. และราษฎรที่มีความรู้ ไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ของคณะทำงานทั้ง 6 ด้าน
การประชุม กม. ให้ กม. ประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ภายใน 7 วัน หลังจากการประชุมประจำเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การประชุม : ให้กระทำโดยเปิดเผยและเปิดโอกาสให้ราษฎรเข้าฟังได้ เว้นแต่คณะกรรมการจะลงมติให้ประชุมลับ การประชุม : ต้องมี กม. มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กม. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะครบองค์ประชุม
กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้านกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน มีรายได้ จาก... (ก) เงินที่กลุ่มหรือองค์กรภายในหมู่บ้านจัดสรรให้ (ข) เงินที่ได้รับการอุดหนุนจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ค) เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้ (ง) รายได้จากการจัดกิจกรรมของหมู่บ้าน
การใช้จ่ายเงิน (ก) ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม (ข) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการ (ค) การจัดสวัสดิการภายในหมู่บ้าน (ง) การจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน (จ) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด * หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงิน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายอำเภอ
ภารกิจในปี 2553 ที่ต้องดำเนินการ 1. ผลักดันการขับเคลื่อน มติ ครม. 1) ให้ทุกส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ พิจารณามอบภารกิจตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงและภารกิจที่ต้องดำเนินการในหมู่บ้านให้ กม. รวมทั้งสนับสนุนภารกิจของ กม. ตามกฎหมาย 2) ให้ กม. เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยในระดับหมู่บ้าน และสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นที่มีภารกิจหน้าที่ในเรื่องเดียวกันตามที่กฎหมายกำหนด
3) ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณากำหนดกรอบแนวทาง แผนงานหรือโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ กม. 4) ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนให้ กม. เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และนำแผนพัฒนาหมู่บ้านที่ กม. จัดทำ เป็นข้อมูลในการจัดทำคำของบประมาณของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5) ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมของ กม. ตามหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางให้ความเห็นชอบ 6. ให้กระทรวงการคลังพิจารณากำหนดระเบียบ แนวทาง ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ให้ กม. สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) พิจารณากำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการใช้และการพัฒนาศักยภาพของ กม. เพื่อให้ส่วนราชการนำไปเป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการ 8. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง พิจารณาให้คำแนะนำ คำปรึกษา หรือสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ กม. เมื่อได้รับการร้องขอ 2. ปรับค่านิยม/วัฒนธรรมการทำงานในพื้นที่ ให้เป็นในรูปคณะกรรมการ
3. เสริมศักยภาพการบริหารจัดการของผู้ใหญ่บ้าน การประชุม ประเมินผลการทำงาน การมอบหมายงานให้คณะทำงาน การติดตามผล (รายงานผล) เพื่อทราบจุดอ่อน/ปัญหา แล้วหาทางแก้ไข สนับสนุนการทำงานของ กม.ให้มีความคล่องตัว เช่น เงิน บุคคล วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้น
การประชุม มีเพื่อ... 1 แจ้งข้อราชการ/ข่าวสาร ร่วมเสนอโครงการ 2 เสนอแนวทางแก้ปัญหา 3 ระดมความคิดเห็น 4
การมอบหมายงานให้คณะทำงาน 1 มอบตามหน้าที่ 2 มอบตามศักยภาพ 3 มอบตามความสามารถ
การติดตามผล 1 การประชุม 2 การรายงานผล 3 การตรวจงาน
ประเมินผลการทำงาน 1 ระยะเวลาที่ใช้ 2 ผลการทำงาน 3 การสะท้อนความรู้สึกจากผู้อื่น
4. ให้ กม. เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น... การจัดทำโครงการ/กิจกรรมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การแก้ไขปัญหายาเสพติด การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ การดำเนินงานตามโครงการชุมชนพอเพียง การบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการหมู่บ้าน…รากฐานของแผ่นดินคณะกรรมการหมู่บ้าน…รากฐานของแผ่นดิน หมู่บ้าน เปรียบเสมือนรากฐานของแผ่นดิน หากรากฐาน มีความแข็งแรง ประเทศชาติย่อมแข็งแรงและมั่นคง กม. ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานของทุกภาคส่วนในหมู่บ้าน จะต้องประสานการทำงาน บริหารและพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดความเข้มแข็ง อันจะส่งผลรวมต่อการพัฒนาประเทศไทย