810 likes | 1.14k Views
แหล่งสารสนเทศอ้างอิง. Reference resources. อยากทราบว่า คำว่ายา-เสพ-ติด เขียนอย่างไรกันแน่นะ ?. ยาเสพติด เขียนอย่างนี้นะถูกแล้ว เราว่า เขียนอย่างงี้นะ “ยาเสพย์ติด” เราจะตรวจสอบจากไหนดีนะ จาก.........................ซิจ๊ะ แล้วจะเจอมั๊ยนี่ .
E N D
แหล่งสารสนเทศอ้างอิง Reference resources
อยากทราบว่า คำว่ายา-เสพ-ติด เขียนอย่างไรกันแน่นะ ? • ยาเสพติด เขียนอย่างนี้นะถูกแล้ว • เราว่า เขียนอย่างงี้นะ “ยาเสพย์ติด” • เราจะตรวจสอบจากไหนดีนะ • จาก.........................ซิจ๊ะ • แล้วจะเจอมั๊ยนี่
คำว่า เสพ เป็นคำกริยา แปลว่า ดื่ม กิน บริโภค เช่น นายจำลองเสพสุราถ้าเป็นอาการนาม ใช้ว่า การเสพเช่น การเสพสุราเป็นสิ่งไม่ดี • คำว่า เสพย์ แปลว่า พึงเสพ ใช้เป็นคำวิเศษณ์เช่น นายนิกรเสพยาเสพย์ติด ซึ่งแปลว่า นายนิกรเสพยาที่พึงเสพแล้วทำให้ติด
อยากทราบว่า อังคาส แปลว่า อะไรนะ ? • คำว่า อังคาส แปลว่า เลี้ยงพระ ,ถวาย เขียนว่า อังคาด ก็มี อังคาส ก็คือ การเลี้ยงพระอังคาสด้วยมือ หมายความว่าอย่างไร
ต้องการชื่อ ที่อยู่ของนักวิจัยด้านการศึกษา • จะหาจากไหนดีละ • ชื่อที่อยู่นี่มันคุ้น ๆ นะ • ใช่ไหม คิดเหมือนกันเลย • สมุดโทรศัพท์ แต่จะมีหรือเปล่านะ ทำเนียบนักวิจัย
แหล่งสารสนเทศอ้างอิง reference resources • เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาคำตอบเฉพาะเรื่องราวที่ตรงต้องการ • ให้สารสนเทศที่เป็นจริง เชื่อถือได้ • จัดทำอย่างเป็นระบบ • มีรูปแบบทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ประเภทของแหล่งสารสนเทศอ้างอิง • จำแนก ได้ 2 ประเภท คือ 1. จำแนกตามลักษณะการให้สารสนเทศ2. จำแนกตามลักษณะของเนื้อหา
1. จำแนกตามลักษณะการให้สารสนเทศ • แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1.1 ให้สารสนเทศโดยตรง เช่น พจนานุกรมสารานุกรม นามานุกรม รายปี คู่มือ สิ่งพิมพ์รัฐบาล...1.2 ให้สารสนเทศทางอ้อมหรือแนะนำแหล่งสารสนเทศ เช่น หนังสือบรรณานุกรม ดรรชนี..
2. จำแนกตามลักษณะของเนื้อหา • แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1.1 สารสนเทศอ้างอิงทั่วไป ให้ความรู้ ข้อเท็จจริงทั่วๆไป ไม่เน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นพจนานุกรมหรือสารนุกรม ฉบับราชบัณฑิตฯ 1.2 สารสนเทศอ้างอิงเฉพาะสาขาวิชา เน้นให้สารสนเทศเฉพาะวิชาอย่างละเอียด สมบูรณ์ เช่น พจนานุกรมคอมพิวเตอร์ หรือศัพท์ศาสนา
รูปแบบของแหล่งสารสนเทศอ้างอิงรูปแบบของแหล่งสารสนเทศอ้างอิง • แบ่งได้ 2 รูปแบบ ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา คือ 1. หนังสืออ้างอิง2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออ้างอิง • ใช้หาคำตอบเฉพาะเรื่องที่ต้องการ ไม่ใช่เพื่ออ่านตลอดเล่ม • แยกจากหนังสือทั่วไป • อ หรือ R บนเลขเรียกหนังสือ • ให้บริการเฉพาะในห้องสมุดเท่านั้น
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง • เนื้อหา ขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมสารพัดเรื่อง • ผู้แต่ง มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียน • การจัดเนื้อหา เป็นระบบ คือ • เรียงลำดับอักษรของหัวข้อเรื่อง • จัดหัวข้อเรื่องเป็นหมวดหมู่ • เรียงตามลำดับเหตุการณ์ • จัดหัวข้อเป็นกลุ่มทางภูมิศาสตร์
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง • มีเครื่องมือช่วยค้น • อักษรกำกับเล่ม
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง • มีเครื่องมือช่วยค้น • อักษรกำกับเล่ม • คำกำกับหน้า
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง • มีเครื่องมือช่วยค้น • อักษรกำกับเล่ม • คำกำกับหน้า • ดรรชนีข้างเล่มหรือดรรชนีหัวแม่มือ • ดรรชนี (Index) หรือสารบัญช่วยค้นอย่างละเอียด มักอยู่ท้ายเล่ม หรือแยกเล่มต่างหาก
แหล่งสารสนเทศอ้างอิง อิเล็กทรอนิกส์ • จัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลดิจิทัล ใช้คอมฯเป็นเครื่องมือ ในการสืบค้น • นำเสนอข้อมูลคล้ายหนังสืออ้างอิง แต่อาจมีขอบเขตกว้างงขวาง ครอบคลุมมากกว่าตามความสามารถในการบันทึกข้อมูล • สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลให้ทันสมัยได้ง่ายและตลอดเวลา • บริการสารสนเทศได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งพจนานุกรมและ สารานุกรม อื่นๆ
ลักษณะและวิธีใช้แหล่งสารสนเทศอ้างอิงลักษณะและวิธีใช้แหล่งสารสนเทศอ้างอิง
พจนานุกรม • ให้ความรู้เกี่ยวกับคำที่มีอยู่ในภาษา • เรียงตามลำดับอักษร • ให้คำอธิบายรายละเอียดของคำนั้นๆ เช่น ตัวสะกด การออกเสียง ความหมายของคำ คำจำกัดความ ประวัติที่มาของคำ รากศัพท์ วิธีใช้คำ ตัวอย่างประโยค คำพ้อง คำตรงข้าม ตัวย่อต่างๆ
ประเภทพจนานุกรม • พจนานุกรมภาษา • พจนานุกรมเสริมพจนานุกรมภาษา • พจนานุกรมเฉพาะวิชา
วิธีใช้พจนานุกรม • ดูคำที่ต้องการค้น ภาษาหรือ เฉพาะวิชา • เลือกพจนานุกรมให้ตรงข้อมูลที่ต้องการ • อ่านข้อแนะนำการใช้ • ใช้เครื่องมือช่วยในการค้นหา อักษรกำกับเล่ม ดรรชนีหัวแม่มือ คำกำกับหน้า
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
สารานุกรม (Encyclopedia) • รวบรวมความรู้สารพัดอย่างในรูปของบทความ • มีขอบเขตครอบคลุมเนื้อหาสาระในสาขาวิชาต่างๆ และเรื่องราวที่น่าสนใจทั่วไปอย่างกว้างขวาง • จัดเรียงเนื้อหาอย่างมีระบบ เรียงลำดับอักษรของ หัวข้อวิชา มีดรรชนีช่วยค้นเรื่องย่อยอย่างละเอียด • เสนอความรู้ที่ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ • เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา
ประเภทของสารานุกรม • สารานุกรมทั่วไป รวบรวมความรู้พื้นฐาน ทุกแขนงวิชาไว้ในเล่มเดียวกันหรือชุดเดียวกัน เช่น สารนุกรมไทยฉบับเยาวชน • สารานุกรมเฉพาะวิชา รวบรวมเรื่องราว ความรู้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น สารานุกรมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ความรู้ต่าง ๆ เช่น บุคคลสำคัญ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ภูมิภาค ประเทศ นครและเมืองสำคัญ ดาราศาสตร์ เชื้อชาติของมนุษย์ ศาสนา ปรัชญา ลัทธินิกาย วรรณกรรมสำคัญ ตำนาน นิทาน นิยายโบราณ ตัวละครสำคัญในวรรณคดี การเมือง สังคม เศรษฐกิจ สถาบัน วันสำคัญ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งถือเป็นแหล่งรวมความรู้เล่มใหญ่ของคนไทย • เล่มแรกในหมวดอักษร ก เริ่มจัดทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 • ท้ายบทความจะมีชื่อย่อของผู้เขียนกำกับไว้ และใส่ชื่อเต็มของผู้เขียน วุฒิ ตำแหน่ง ท้ายเล่ม
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน • จัดทำขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะให้มีสารานุกรมที่เหมาะสมกับคนไทย เพื่อหาความรู้อย่างต่อเนื่อง • มุ่งหมายส่งเสริมให้เยาวชนให้มีความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาต่างๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ • แบ่งเป็น 3 ระดับ เด็กเล็ก (8-11 ปี) เด็กรุ่นกลาง (12-14 ปี) และเด็กโต(15 ปีขึ้นไป) เนื้อหา 3 ตอน แยกด้วยขนาดตัวพิมพ์และเนื้อเรื่อง • เนื้อเรื่องไม่ได้เรียงตามลำดับอักษร ใช้ค้นเรื่องจากสารบัญ • ท้ายเล่มทุกเล่มมีรายชื่อผู้เขียนบทความและดรรชนีช่วยค้นเรื่อง
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับอิเล็กทรอนิกส์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับอิเล็กทรอนิกส์
สารานุกรมออนไลน์ แบบเสรี วิกิพีเดีย
สารานุกรมต่างประเทศที่น่าสนใจสารานุกรมต่างประเทศที่น่าสนใจ
สารานุกรมต่างประเทศที่น่าสนใจสารานุกรมต่างประเทศที่น่าสนใจ
สารานุกรมเฉพาะวิชา • สารานุกรมวัฒนธรรมไทย.(2542) มี 63 เล่ม.รวบรวมความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและวัฒนธรรมพื้นบ้านทุกแขนงของไทย ภูมิปัญญาพื้นบ้านจาก 4 ภาคให้ข้อมูล 18 หมวดวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อและประเพณี อาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ อาหารการกิน • สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย. (2539-ปัจจุบัน)อธิบายศัพท์ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ • Macmillan encyclopedia of chemistryสารานุกรม 4 เล่มจบ เป็นบทความขนาดสั้น ทางด้านเคมีเรียงตามลำดับอักษร เล่มสุดท้ายมีรายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
หนังสือรายปี Yearbook • หนังสือที่จัดพิมพ์เป็นรายปี รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ บุคคลสำคัญและความก้าวหน้าของวิทยาการสาขาต่างๆ ในรอบปีที่ผ่านมา • เสนอข้อความสั้นๆในรูปของทำเนียบนาม ตารางสถิติและปฏิทินเหตุการณ์
ประเภทหนังสือรายปี • หนังสือรายปีสารานุกรม (Encyclopedia Yearbook) • หนังสือรายปีสรุปข่าว (New Summary) • หนังสือสมพัตรสร (Almanac) • รายงานประจำปี (Subject Record of Progress)
หนังสือรายปีสารานุกรมหนังสือรายปีสารานุกรม • เพื่อเสริมเนื้อหาของสารานุกรมชุดแม่ ให้มีเนื้อหาทันสมัยอยู่เสมอ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษร เช่น The Britannica book of the year เสริม The New Encyclopedia Britannica
หนังสือรายปีสรุปข่าว • เป็นจดหมายเหตุบันทึกเหตุการณ์สำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยประมวลจากข่าวประจำวัน ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเสนอในรูปสรุปความ ออกเป็นวารสารรายสัปดาห์ เช่น สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวและเหตุการณ์ ...
สมพัตสร • เสนอความรู้เบ็ดเตล็ดต่างๆ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในเรื่องทั่วๆไปอย่างสั้นๆ เหตุการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา เรื่องราวของประเทศต่างๆ ภัยพิบัติ สภาพภูมิศาสตร์เด่นๆ เสนอความรู้ในรูปของปฏิทินเหตุการณ์ ตารางสถิติ ทำเนียบนาม และพรรณนาความ สถิติต่างๆ เชื่อถือได้เพราะมีแหล่งอ้างอิง เช่น สยามแอลมาแนค หรือ The world almanac and book of fact