1.02k likes | 1.91k Views
การประเมินบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA. บันได 3 ขั้นสู่ HA. ขั้นที่ 3 วัฒนธรรมคุณภาพ เริ่มด้วยการประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA พัฒนาอย่างเชื่อมโยง เป็นองค์กรเรียนรู้ ผลลัพธ์คุณภาพที่ดีขึ้น ปฏิบัติตามมาตรฐาน HA ได้ครบถ้วน. ขั้นที่ 2 ประกันและพัฒนาคุณภาพ
E N D
การประเมินบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA
บันได 3 ขั้นสู่ HA • ขั้นที่ 3 วัฒนธรรมคุณภาพ • เริ่มด้วยการประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA • พัฒนาอย่างเชื่อมโยง เป็นองค์กรเรียนรู้ • ผลลัพธ์คุณภาพที่ดีขึ้น • ปฏิบัติตามมาตรฐาน HA ได้ครบถ้วน • ขั้นที่ 2 ประกันและพัฒนาคุณภาพ • เริ่มด้วยการวิเคราะห์เป้าหมายและกระบวนการ • ประกันและพัฒนาคุณภาพที่สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วย • ครอบคลุมกระบวนการสำคัญทั้งหมด • ปฏิบัติตามมาตรฐาน HA ในส่วนที่ไม่ยากเกินไป • ขั้นที่ 1 สำรวจและป้องกันความเสี่ยง • นำปัญหามาทบทวน เพื่อแก้ไขป้องกัน • ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันปัญหา • ครอบคลุมปัญหาที่เคยเกิด/มีโอกาสเกิดสูง
การทบทวน 12 กิจกรรม 1.การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย 2.การทบทวนความคิดเห็นและข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ 3.การทบทวนการส่งต่อ/ขอย้าย/ปฏิเสธการรักษา 4.การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ชำนาญกว่า 5 การค้นหาและป้องกันความเสี่ยง 6.การป้องกันและเฝ้าระวังการติดเชื้อใน ร.พ. 7.การป้องกันการเฝ้าระวังการคลาดเคลื่อนทางยา 8.การทบทวนการดูแลผู้ป่วยจากเหตุการณ์สำคัญ 9.การทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน 10.การทบทวนการใช้ความรู้ทางวิชาการ 11.การทบทวนการใช้ทรัพยากร 12.การติดตามเครื่องชี้วัดที่สำคัญ
กรณีศึกษา มารดาอายุ 25 ปีคลอดครั้งแรกปกติท้องที่สองอายุครรภ์ 41 สัปดาห์ประมาณการ น้ำหนักเด็ก 3500 กรัมมารพ.ด้วยอาการเจ็บครรภ์มาถึงรพ. 5 โมงเย็น ปากมดลูกเปิด 5 ซม. 2 ชม.แล้วไม่ก้าวหน้า สูติแพทย์ มาดูตอนทุ่มกว่าวินิจฉัย CPD set C/S ระหว่างทำผ่าตัดมี trauma มากผ่าตัดเสร็จ 2 ทุ่มกว่าส่งผู้ป่วยกลับ ward ให้ routine post-op ที่หอผู้ป่วยพยาบาลขึ้นเวร 1 คนพนักงานผู้ช่วย วัด VS ชั่วโมงที่สอง P เร็วขึ้น BP ไม่ drop ไม่ได้เปิดดูว่ามีการตกเลือดใต้ผ้าห่มหรือไม่ กว่าจะส่งเวรเสร็จคนไข้ arrest พอดีหมอสูติวิ่งมาทีม CPR คนอื่น ยังไม่มาเครื่องมือไม่พร้อมสุดท้ายผู้ป่วยเสียชีวิต ตอนตีหนึ่งครึ่ง
ประเด็นที่ควรวิเคราะห์ประเด็นที่ควรวิเคราะห์ • Communication: การส่งต่อปัญหาของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (trauma) หลังผ่าตัด? ความชัดเจนของข้อมูลส่งต่อในเวชระเบียน ? • Process design : การดูแลในช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัด? • Human capita : พยาบาล 1 คน, ทีม CPR ไม่พร้อม เพราะจำนวนเจ้าหน้าที่ในแผนกอื่น ๆ มีน้อยเช่นกัน? • Equipment: ความไม่พร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ในการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงในระยะวิกฤต (หลังผ่าตัดทันที) และในภาวะฉุกเฉิน(เมื่อผู้ป่วย arrest)
ประเด็นที่ควรวิเคราะห์ประเด็นที่ควรวิเคราะห์ • Environment : นอกเวลา, ภาระงานของแต่ละแผนกในเวลาดังกล่าว ? • Competencyประสบการณ์แพทย์? พยาบาล ? • Process Monitoring ; การกำหนดลักษณะและติดตามอุบัติการณ์สำคัญที่ควรเฝ้าระวัง • Risk management : - การระบุความเสี่ยงและระบบรองรับเพื่อจัดการปัญหาเฉพาะหน้าในระหว่างผ่าตัด (criteria ที่ต้องการผู้ที่ชำนาญกว่า) - การระบุความเสี่ยงในผู้ป่วยหลังผ่าตัด / ความชัดเจนของการแบ่งระดับความรุนแรงในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเพื่อกำหนดระบบในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด (ทีมที่ควรดูแลกรณีเป็นผู้ป่วย high risk หลังผ่าตัด)
วิเคราะห์ให้ครอบคลุมทุกวิชาชีพ / ทุกแผนกที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ให้ครบทุกขั้นตอน / ทุกช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ให้ครบทั้งวิธีทำงานและกระบวนการบริหารจัดการ ของทุกวิชาชีพ /ทุกกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ มองขั้นตอนการ monitoring ภายในและระหว่างแผนก/ฝ่าย/วิชาชีพให้มากขึ้น วิเคราะห์ถึงความเพียงพอของการกำหนดนโยบายความปลอดภัยที่จำเป็น เช่น การดูแลผู้ป่วย high risk ให้อยู่ในความรับผิดชอบของทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นในการดูแลให้เพียงพอ เหมาะสม ให้แต่ละแผนกระบุความเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังและติดตาม รายงานผลการทบทวนเป็นระยะ เป็นต้น
Pitfall ของการทบทวน ที่พบบ่อย • ทบทวนไม่ตรงประเด็นสำคัญของหน่วยงาน • ทบทวนโดยไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการทบทวน • ทบทวนโดยยึดติดรูปแบบ เน้นเอกสาร รอประชุมครบทีม แยกออกจากงานประจำ • ข้อมูลที่นำมาทบทวนไม่เพียงพอ ไม่มีมุมมองวิชาชีพอื่น ทำให้ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้ • การระบุประเด็นสำคัญ ไม่ได้นำมาปรับปรุงงานของตัวเอง ทบทวนเพื่อส่งพรพ.
ภาพรวมลำดับขั้นของการพัฒนาภาพรวมลำดับขั้นของการพัฒนา 1.ขั้นเริ่มต้น : เริ่มกิจกรรม มีโครงสร้างหรือแนวทางปฏิบัติ 2.ขั้นพอใจ: เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มีการสื่อสาร การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาอีกมากพอสมควร 3.ขั้นดี:เริ่มเห็นผลลัพธ์ตามเป้าหมายของหัวข้อกิจกรรมนั้นๆ มีความครอบคลุมในสิ่งที่สำคัญ ทำกิจกรรมด้วยความเข้าใจ เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 4. ขั้นดีมาก : เป็นขั้นที่ทำได้ดีเกินกว่าระดับเฉลี่ย มีการประสานงานที่ดี มีการประเมินผล มีการขยายขอบเขตออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น 5. ขั้นดีเยี่ยม : เป็นขั้นสมควรเป็นแบบอย่างสำหรับ รพ.อื่นๆ
1.การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย1.การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย วัตถุประสงค์ 1.ผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนได้รับการดูแลแบบเป็นองค์รวม 2.ทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโดยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ทีมงานเรียนรู้ของจริง ปฏิบัติจนเป็นปกติประจำวัน ไวต่อการรับรู้ปัญหา C3-THER
ความคาดหวัง • แพทย์และพยาบาลร่วมกันทบทวนผู้ป่วยทุกสัปดาห์ และเมื่อมีผู้ป่วยซับซ้อน • มีวิชาชีพอื่นมาร่วมทบทวนอย่างน้อยเดือนละครั้ง • มีการบันทึกกรณีที่น่าสนใจบางรายไว้เป็นบทเรียน • มีการวิเคราะห์ root cause อย่างเหมาะสม และนำไปสู่การปรับปรุงระบบงาน • สมาชิกในหน่วยงานสามารถแสดงวิธีการประยุกต์การทบทวนกับผู้ป่วยทุกรายที่กำลังนอนอยู่ในหอผู้ป่วย
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA แพทย์ พยาบาล ร่วมกันทบทวนทุกสัปดาห์ มีวิชาชีพ อื่นมาร่วมเมื่อจำเป็น ความครอบคลุม ทุกหอผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มีความ ซับซ้อน/ความเสี่ยงเป็นส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ปรับปรุงระบบ ป้องกันการเกิดซ้ำโดยทีมสหสาขา การสื่อสารผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหา ที่สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติมีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน
2.การทบทวนความคิดเห็น / คำร้องเรียนของผู้รับบริการ วัตถุประสงค์ 1.ความคิดเห็น/คำร้องเรียนได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม 2.ความคิดเห็น/คำร้องเรียนถูกนำไปสู่การปรับปรุงระบบงานเพื่อป้องกันปัญหา 3.เพิ่มความไวในการรับรู้และการตอบสนองโดยทีมงาน
ความคาดหวัง • มีระบบที่จะรับความคิดเห็น/คำร้องเรียนด้วยวิธีที่ proactive กว่ารอรับจากตู้ซึ่งนานๆ เปิดครั้ง • มีการวิเคราะห์จัดกลุ่มและจัดลำดับความสำคัญของ ความคิดเห็น/คำร้องเรียน • มีการเลือกความคิดเห็น/คำร้องเรียนที่สำคัญมาพิจารณา ปรับปรุงระบบงาน ในระดับหน่วยงานและในระดับ รพ. ตามความเหมาะสม • ไม่มีคำร้องเรียนที่สำคัญซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของ รพ. ที่เหลืออยู่โดยไม่ได้รับการตอบสนอง
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีระบบอำนวยความสะดวกในการรับฟัง เช่น รับฟังทุกรูปแบบ มีการสรุปของความคิดเห็น/คำร้องเรียน จากหน่วยงานต่างๆ มาเป็นภาพรวมของ รพ. จัดกลุ่มและจัดลำดับความสำคัญ ความครอบคลุมทุกหน่วยงาน และมีการตอบสนองเรื่องที่ มีความสำคัญเป็นส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ร่วมกับการใช้ความรู้ทางวิชาการ การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่สำคัญและ แนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน
3.การทบทวนการส่งต่อ/ ขอย้าย/ปฏิเสธการรักษา วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งความเหมาะสมในการดูแลก่อนที่จะมีการส่งต่อ
ความคาดหวัง • มีการทบทวนผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ/ขอย้าย/ ปฏิเสธการรักษาทุกราย • มีการวิเคราะห์สาเหตุ จุดอ่อน หรือโอกาสพัฒนา ในการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย และนำมาปรับปรุง กระบวนการดูแลผู้ป่วย • มีการติดตามผลการดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลที่รับ การส่งต่อเพื่อนำมาปรับปรุง
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการวิเคราะห์สาเหตุ จุดอ่อน หรือโอกาสพัฒนาในการ ดูแลผู้ป่วยทุกรายหรือส่วนใหญ่ โดยทีมสหสาขา ความครอบคลุมทุกราย/เกือบทั้งหมด การวางแนวทางป้องกัน ปรับปรุงแนวทางโดยวิเคราะห์ หาสาเหตุที่แท้จริง ร่วมกับการใช้ข้อมูลทางวิชาการ การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่สำคัญและ แนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน
4.การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ที่ชำนาญกว่า4.การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ที่ชำนาญกว่า วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ป่วยที่มารับบริการจะได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยในทุกช่วงเวลาของการรับบริการ
ความคาดหวัง • มีการทบทวนการตรวจรักษานอกเวลาราชการโดย พยาบาลทุกวันทำการ โดยการเลือกกรณีที่มีข้อสงสัย ร่วมกับการสุ่ม • มีการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจรักษาอย่างไม่เหมาะ สมมาตรวจรักษาใหม่ • มีการสรุปความผิดพลาดที่พบบ่อยเพื่อนำมาสู่การ ฝึกอบรมและการสร้างสื่อเรียนรู้ที่จำเป็น • มีการติดตามประเมินผลความผิดพลาดที่พบบ่อย
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการทบทวนทุกวันทำการโดยสุ่มเลือกกรณีที่มีข้อสงสัย ร่วมกับการสุ่ม ความครอบคลุมความผิดพลาดที่พบเป็นส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน มีการปรับปรุงแนวทางการ ตรวจรักษาโดยใช้ข้อมูลทางวิชาการ การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุ ปัญหาที่สำคัญ และแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน มีการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลอย่างไม่เหมาะสมมา ตรวจรักษาใหม่
ผลที่ได้จากการทบทวน • เพิ่มพูนศักยภาพของพยาบาลที่ทำหน้าที่ตรวจรักษาแทนแพทย์ • กำหนดแนวทางการตรวจรักษาเฉพาะโรค(CPG/Gap analysis) • ข้อบ่งชี้ในการตามแพทย์ตรวจด้วยตนเอง • ข้อบ่งชี้ในการติดตามผู้ป่วยรับการตรวจโดยแพทย์ • คู่มือในการให้ยาเด็กเล็ก • ทบทวนรายการยาที่มีอันตรกิริยาต่อกัน (drug interaction) ฯลฯ
5.การค้นหาและป้องกันความเสี่ยง5.การค้นหาและป้องกันความเสี่ยง วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ป่วย ผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงาน จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย มีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด
การค้นหาความเสี่ยง • ตามสิ่งที่เคลื่อนไหวในระบบบริการ • ทบทวนในหน่วยงานถึงเหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิด หรือมีโอกาสเกิด • จัดทีมนอกหน่วยงานเข้ามาสังเกตความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม • รวบรวมบัญชีรายการความเสี่ยงที่พบจากทุกหน่วยงานส่งให้แต่ละหน่วยทบทวนตนเอง • ติดตามปัญหาหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานอื่น • นำโรคที่พบบ่อย หรือโอกาสที่ผลลัพธ์ในการดูแลรักษาที่จะไม่ดีมาพิจารณาความเสี่ยงด้านคลินิก
แนวคิดพื้นฐานในการค้นหาความเสี่ยงแนวคิดพื้นฐานในการค้นหาความเสี่ยง ทุกคนคือผู้จัดการความสี่ยง ความเสี่ยงคืออะไร ผู้จัดการความเสี่ยงคือใคร การเขียนรายงานกับการประเมินผลการทำงานและการ พิจารณาความดีความชอบ ความเข้าใจในเรื่องการเขียนรายงานเป็นช่องทาง สำคัญที่จะทำให้องค์กรทราบจุดอ่อนของระบบที่มีอยู่ เพื่อหาโอกาสพัฒนา ปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น
ความคาดหวัง • มีการสำรวจความเสี่ยงทาง ENV สม่ำเสมอและดำเนินการแก้ไขป้องกัน • มีการนำปัญหา/ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับ รพ. อื่นมาพิจารณา • มีการติดตาม Flow ของผู้รับบริการ วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อค้นหาความเสี่ยงและดำเนินการแก้ไขป้องกัน • มีการวิเคราะห์บัญชีความเสี่ยงหาโอกาสเกิดและดำเนินการแก้ไขป้องกัน • มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางคลินิกในกลุ่มผู้ป่วยสำคัญ • มีการค้นหาความเสี่ยงอื่นๆ เช่น เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เคยเกิดขึ้น • มีการวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความเสี่ยงและแสดงให้เห็นว่ามีการแก้ไขป้องกันในความเสี่ยงสำคัญ
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA ความครอบคลุมหน่วยงานบางหน่วย ผู้ป่วยที่ เสี่ยงทุกกลุ่ม และกระบวนการที่สำคัญ การวางแนวทางป้องกัน มีการวิเคราะห์ หาสาเหตุและวางแนวทางป้องกันโดยทีม การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหา ที่สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตาม แนวทางป้องกัน
6.การป้องกันและ เฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างหลักประกันว่าผู้ป่วย และผู้ปฏิบัติงาน จะมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลในระดับต่ำสุด
ความคาดหวัง • มีระบบป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากการปฏิบัติงานสำหรับ จนท. • มีการกำหนดการติดเชื้อที่เป็นความเสี่ยงสำคัญและเป็นเป้าหมายของ การควบคุมป้องกัน • มีการเก็บข้อมูลอัตราการติดเชื้อเหมาะสมกับระดับของโรงพยาบาล โดย มีคำจำกัดความที่ชัดเจน • มีการวิเคราะห์และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ • มีการกำหนดมาตรการทั่วไปเพื่อป้องกันการติดเชื้อโดยให้ความสำคัญ กับเรื่องการล้างมือ เทคนิคปราศจากเชื้อและการแยกผู้ป่วย • มีการกำหนดมาตรการเฉพาะที่เป็นความเสี่ยงและเป็นเป้าหมายของ การลดระดับการติดเชื้อ โดยอาศัยข้อมูลวิชาการ
ระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในรพ.ระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในรพ. • Hospital-wide surveillance • Targeted surveillance • Post discharge surveillance
โรงพยาบาลขนาดใหญ่ Ventilator Association Pneumonia (VAP) Surgical Site Infection (SSI) IV Catheter-related Infection (CRI) Catheter-Association UTI (CAUTI) โรงพยาบาลชุมชน Surgical Site Infection (SSI) การติดเชื้อหลังคลอด การติดเชื้อแผลฝีเย็บ IV Catheter-related Infection (CRI) Catheter-Association UTI (CAUTI) ตัวอย่าง...การติดเชื้อที่ควรเฝ้าระวัง
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาหรือทบทวนมาตรการที่ใช้อยู่ ความครอบคลุมกลุ่มผป. /กระบวนการที่มีความเสี่ยงสูง บางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวางแนวทางป้องกัน มีการวิเคราะห์หาสาเหตุกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ในการป้องกัน การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะ “ การล้างมือ เทคนิคการปราศจากเชื้อ การแยกผู้ป่วย การป้องกันการติดเชื้อสำหรับ จนท.”
7. การป้องกันและเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างหลักประกันว่าผู้ป่วยได้ใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย
ความคาดหวัง • นำปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยา/เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาที่เคยเกิดขึ้นที่ รพ.อื่นมาวิเคราะห์ระบบและกำหนดแนวทางป้องกัน • พิจารณายาที่มีโอกาสเกิดปัญหา หรือผลไม่พึงประสงค์ หรือความคลาดเคลื่อนสูง และกำหนดมาตรการป้องกันที่รัดกุม • กำหนดแนวทางปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา เช่น การเขียนคำสั่งใช้ยา การใช้คำย่อ การยืนยันคำสั่งด้วยวาจา การเก็บยาไว้ในหอผู้ป่วย การใช้ยาที่ผู้ป่วยนำมาเอง • มีการเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา และทบทวนประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังเป็นระยะ
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการเฝ้าระวัง ME ทั้งในส่วนความรับผิดชอบของแพทย์ พยาบาลและเภสัชกร ความครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ป่วย การป้องกันครอบคลุมยาที่มีโอกาสเกิดปัญหาส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน พิจารณายาที่มีโอกาสเกิดปัญหา / ผลไม่พึงประสงค์ / ความคลาดเคลื่อนสูง และกำหนดมาตรการป้องกันที่รัดกุม
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่ สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทาง ที่กำหนด
8.การทบทวนการดูแลผู้ป่วยจากเหตุการณ์สำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ใช้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นมาสร้างหลักประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ซ้ำ โดยเน้นการป้องกันไปที่การวางระบบ
ความคาดหวัง • ทบทวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต/เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงทุกราย • ทบทวนการเกิดภาวะแทรกซ้อน(การติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ผลข้างเคียงจากยา ปฏิกิริยาให้เลือด)และการรักษาซ้ำ(การผ่าตัดซ้ำ การรับไว้รักษาซ้ำด้วยโรคเดิม)ทันทีเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและหาวิธีการป้องกัน • ทบทวนอุบัติการณ์ตามระดับความรุนแรง และวิเคราะห์ภาพรวมเป็นระยะ • มีการทำความเข้าใจ/ให้ความสำคัญกับกรณี “เกือบพลาด” • มีการวิเคราะห์ความเพียงพอของการปรับปรุงระบบที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการทบทวนอุบัติการณ์ตามความรุนแรง โดยเข้าใจเป้าหมาย ความครอบคลุมทบทวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตหรือเหตุการณ์ไม่ พึงประสงค์ที่รุนแรงส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน RCA วิเคราะห์ ปรับปรุงระบบ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ โดยทีม การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่ สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด
9.การทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน9.การทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน วัตถุประสงค์ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเวชระเบียน สำหรับการสื่อสารระหว่างการดูแลผู้ป่วย และการประเมินคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่
ความคาดหวัง • มีการทบทวนความสมบูรณ์ของเวชระเบียนระหว่างการดูแลผู้ป่วย และเพิ่มเติมบันทึกให้สมบูรณ์ตามความเหมาะสม • มีระบบการทบทวนที่สม่ำเสมอ (เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคนทบทวนเวชระเบียนสัปดาห์ละ 3-5 ฉบับ) • ความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินเวชระเบียนที่เหมาะสม มีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 4 เดือน ความครอบคลุมครอบคลุม >5% ของเวชระเบียนผู้ป่วยใน กระจายในผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน การวางแนวทางป้องกัน มีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการ ปรับปรุงที่ชัดเจน การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุจุดอ่อน เป้าหมาย และแนวทาง การปรับปรุง การปฏิบัติ ความสมบูรณ์ของบันทึกเวชระเบียนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
10.การทบทวนการใช้ความรู้ทางวิชาการ วัตถุประสงค์ Gap Analysis เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีการดูแล ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของข้อมูลวิชาการที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ
ความคาดหวัง • มีการวิเคราะห์โรคที่สำคัญและประเด็นปัญหา/ ความเสี่ยงในโรคนั้นๆ • มีการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยในโรคนั้นๆ โดยใช้ข้อมูล วิชาการร่วมกับการพัฒนาจาก approach อื่นๆ • มีความพยายามที่จะนำข้อมูลวิชาการมาปรับปรุง การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง • ทบทวนสิ่งที่เราปฏิบัติอยู่ (peer review) • พิจารณาความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัย(Scientific evidence) • เป็นการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ (Clinical CQI)
การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการทำ gap analysis เพื่อพิจารณาว่าควรปรับปรงใน ประเด็นใด ความครอบคลุมกลุ่มโรคสำคัญบางส่วน เช่น high risk, high cost การวางแนวทางป้องกัน มีการปรับปรุงแนวทางการดูแล ผู้ป่วยโดยใช้ข้อมูลทางวิชาการ การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่ สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางที่ปรับปรุง
11.การทบทวนการใช้ทรัพยากร (Utilization Review) วัตถุประสงค์ เพื่อให้การตัดสินใจใช้ทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วยและการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างเหมาะสม คุ้มค่า อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการ