880 likes | 1.18k Views
“โครงการเสริมสร้างความรู้ผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC”. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. หัวข้อนำเสนอ.
E N D
“โครงการเสริมสร้างความรู้ผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
หัวข้อนำเสนอ 1. ภาพรวมของบริการโลจิสติกส์ของประเทศอาเซียนภายใต้ AEC 2. บริการด้านโลจิสติกส์และกิจการรับฝากเก็บสินค้าของไทย 3. บริการด้านโลจิสติกส์และกิจการรับฝากเก็บสินค้าของมาเลเซีย 4. บริการด้านโลจิสติกส์และกิจการรับฝากเก็บสินค้าของสิงคโปร์ 5. บริการด้านโลจิสติกส์และกิจการรับฝากเก็บสินค้าของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 6. บริการด้านโลจิสติกส์และกิจการรับฝากเก็บสินค้าของเมียนมาร์ 7. ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจด้านโลจิสติกส์และ กิจการรับฝากเก็บสินค้าของไทยเพี่อเตรียมเข้าสู่การเป็น AEC
ภาพรวมของบริการโลจิสติกส์ของประเทศอาเซียนภาพรวมของบริการโลจิสติกส์ของประเทศอาเซียน ภายใต้ AEC
ภาพรวมของบริการโลจิสติกส์ของประเทศอาเซียนภายใต้ AEC ภายใต้กรอบอาเซียน มีการกำหนดแผนงานรวมกลุ่มบริการโลจิสติกส์อาเซียน (Roadmap for the Integration of Logistic Services) ในแผนงานประกอบด้วย 5 มาตรการ ดังนี้ • การเปิดเสรีบริการโลจิสติกส์อย่างมีนัยสำคัญ • การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของอาเซียน • การเพิ่มความสามารถให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของอาเซียน เช่น การสนับสนุนการพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขาบริการโลจิสติกส์ การพัฒนาฐานข้อมูลผู้ให้บริการโลจิสติกส์เพื่อนำไปสู่การสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการโลจิสติกส์อาเซียน • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น การส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์อาเซียน • การเสริมสร้างสาธารณูปโภคและการลงทุนสำหรับการขนส่งต่อเนื่องในหลายรูปแบบ เช่น การพัฒนาโครงข่ายเส้นทางการค้าหลักของอาเซียน
ขอบเขตของบริการโลจิสติกส์ ภายใต้ AEC หมายเหตุ: * การขนส่งสินค้าทางอากาศอยู่ในความดูแลของกระทรวงคมนาคมซึ่งมีการเปิดการเจรจาเฉพาะ ไม่ได้นำมา เจรจาร่วมในการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการ ภายใต้กรอบอาเซียนชุดที่ 7 (The 7th Package of Commitments under ASEAN Framework Agreement on Services) ** ประกอบด้วยการตรวจสอบใบขน นายหน้าค่าระวาง การตรวจสอบค่าระวาง การชั่งน้ำหนักและสุ่มตรวจ การรับและยอมรับค่าระวาง การจัดเตรียมเอกสารการขนส่ง กิจกรรมเหล่านี้เป็นการให้บริการทำธุรกรรมในนามของเจ้าของสินค้า ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาลัยหอการค้าไทย เอกสารวิชาการหมายเลข 3 “โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ โลจิสติกส์และขนส่งสินค้าทางบกของไทยและประเทศในอาเซียน”
เปรียบเทียบข้อผูกพันของแต่ละประเทศในสาขาบริการโลจิสติกส์เปรียบเทียบข้อผูกพันของแต่ละประเทศในสาขาบริการโลจิสติกส์ ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาลัยหอการค้าไทย เอกสารวิชาการหมายเลข 3 “โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ โลจิสติกส์และขนส่งสินค้าทางบกของไทยและประเทศในอาเซียน”
เปรียบเทียบข้อผูกพันของแต่ละประเทศในสาขาบริการโลจิสติกส์ (ต่อ) ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาลัยหอการค้าไทย เอกสารวิชาการหมายเลข 3 “โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ โลจิสติกส์และขนส่งสินค้าทางบกของไทยและประเทศในอาเซียน”
หลักเกณฑ์การเปิดเขตการค้าเสรีในภาคบริการขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) หลักเกณฑ์ตามรูปแบบของให้บริการ (Modes of supply) ตามรูปแบบสากลที่อาเซียนถือปฏิบัติมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังนี้
อุปสรรคต่อการค้าภาคบริการอุปสรรคต่อการค้าภาคบริการ
ประเภทของบริการที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ประเภทของบริการที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
บริการด้านโลจิสติกส์ • และกิจการรับฝากเก็บสินค้าของไทย • สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย • สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย • บริการโลจิสติกส์ของไทยมีความหลากหลาย คล่องตัว และมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี • ผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และสามารถสร้างฐานการผลิตได้อย่างเหนียวแน่น • โครงสร้างพื้นฐานทางบก ถนน และรางรถไฟของไทยมีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพเพียงพอ มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์ในการดำเนินการขนส่ง • ปัจจุบันจุดที่ถือว่าเป็นทำเลทองของด้านโลจิสติกส์ของไทย ได้แก่ ย่านภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะธุรกิจคลังสินค้ามีแนวโน้มที่จะเติบโตจากปัจจัยหลายด้าน
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย • การศึกษาความพร้อมในด้านต่างๆ ของบริการโลจิสติกส์ไทยของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ • หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความพร้อม ประกอบด้วย ความพร้อมด้านปัจจัยการผลิต ด้านกลุ่มวิสาหกิจและอุตสาหกรรม ด้านกลยุทธ์ของธุรกิจและการแข่งขัน และด้านภาครัฐฯ • ความพร้อมของไทยอยู่ในระดับปานกลาง ความพร้อมในด้านต่างๆ ของประเทศไทยในธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย เปรียบเทียบตัวชี้วัดด้านการขนส่งโลจิสติกส์ที่สำคัญระหว่างไทยกับ ประเทศคู่แข่งในอาเซียน ที่มา: World Bank และ International Institute of Management Development (2012) เมื่อพิจารณาจากตัวชี้วัดด้านการขนส่งโลจิสติกส์มาเปรียบเทียบระหว่างไทยกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญในอาเซียนแล้ว สถานะของไทยอยู่ในระดับปานกลาง ยังเป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่เหนือกว่าอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย • แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย (พ.ศ. 2550-2554) • การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคการผลิต • (Business LogisticsImprovement) • 2) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ • (Transport and Logistics NetworkOptimization) • การพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ • (Logistics Service Internationalization) • 4) การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า • (Trade Facilitation Enhancement) • 5) การพัฒนากำลังคนและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ • (Capacity Building)
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ของไทย ปี พ.ศ. 2556-2560 แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ของไทย ปี พ.ศ. 2556-2560 ของไทย ได้ให้ความสำคัญใน 4 ประเด็น
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แบ่งโครงสร้างของบริการโลจิสติกส์ไทย ออกเป็น 5 ประเภท
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทย ประกอบไปด้วย ต้นทุนของกิจกรรมต่างๆ ทั้งสิ้น 4 กิจกรรม
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย ต้นทุนโลจิสติกส์ไทย ปี พ.ศ. 2548-2555 ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ: p หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้น e หมายถึง ข้อมูลประมาณการ • ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย จะอยู่ที่ต้นทุนค่าขนส่งสินค้า และต้นทุนการถือครองสินค้ามากที่สุด รองลงมา คือ ต้นทุนการบริหารจัดการและต้นทุนบริหารคลังสินค้า • ต้นทุนโลจิสติกส์ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2555 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ. 2555 พบว่า ต้นทุนค่าขนส่งสินค้ามีมูลค่า 851.2 พันล้านบาท ต้นทุนการถือครองสินค้ามีมูลค่า 692.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมต้นทุนทุกกิจกรรมแล้ว พบว่า ต้นทุนโลจิสติกส์ไทยในปี พ.ศ. 2555 มีมูลค่า 1,711.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2554 ซึ่งมีมูลค่า 1,641.9 พันล้านบาท
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย ต้นทุนโลจิสติกส์ไทย ปี พ.ศ. 2548-2555 ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ: p หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้น e หมายถึง ข้อมูลประมาณการ
สถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทยสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของไทย สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ ต่อ GDP ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2548-2555 หน่วย: ร้อยละ ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ: p หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้น e หมายถึง ข้อมูลประมาณการ • เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนโลจิสติกส์รวมของไทยต่อ GDP ของประเทศ พบว่า ต้นทุนโลจิสติกส์มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 14-17 ต่อ GDP นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้น • ในปี พ.ศ. 2555 มีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์รวมของไทยต่อ GDP ของประเทศเท่ากับร้อยละ 14.3 ซึ่งลดลงจากปี พ.ศ. 2554 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 14.7
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย จำนวนผู้ประกอบการ และความจุ ของกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นสาธารณะ ตามประกาศกรทรวงพาณิชย์ฯ พ.ศ.2535 เดือน กรกฏาคม ปี พ.ศ. 2556 ที่มา: สำนักส่งเสริมและบริหารระบบตลาด
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย เปรียบเทียบจำนวนผู้ประกอบการ และความจุ ของกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นสาธารณะ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ พ.ศ.2535 ระหว่างเดือน มีนาคม ปี พ.ศ. 2555 กับ เดือน มีนาคม ปี พ.ศ.2556 ที่มา: สำนักส่งเสริมและบริหารระบบตลาด
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย เปรียบเทียบจำนวนผู้ประกอบการ ของคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นสาธารณะ ระหว่างเดือน มีนาคม ปี พ.ศ. 2555 กับ เดือน มีนาคม ปี พ.ศ.2556 ที่มา: สำนักส่งเสริมและบริหารระบบตลาด
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย เปรียบเทียบความจุ ของคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นสาธารณะ ระหว่าง เดือน มีนาคม ปี พ.ศ. 2555 กับ เดือน มีนาคม ปี พ.ศ.2556 ที่มา: สำนักส่งเสริมและบริหารระบบตลาด
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย ความจุของคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น รายภูมิภาค ณ กรกฏาคมปี พ.ศ.2556 หน่วย: ล้านตัน ที่มา: สำนักส่งเสริมและบริหารระบบตลาด
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย ความจุของคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น ณ กรกฏาคมปี พ.ศ.2556 แยกรายภูมิภาค หน่วย: ล้านตัน ที่มา: สำนักส่งเสริมและบริหารระบบตลาด
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย หน้าที่ของคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นของไทย • เก็บรักษาสินค้า ให้บริการเกี่ยวกับสินค้า • สามารถนำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน โดยเอาสินค้าที่ฝากไว้จำนำไว้เป็นประกันแก่ผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น ซึ่งผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น จะได้รับดอกเบี้ย หรือประโยชน์อื่นใดเป็นค่าตอบแทน • ให้บริการด้านความเย็นในการเก็บรักษาสินค้า หรือรับอบพืชลดความชื้น กะเทาะ คัดผสม หรือกรรมวิธีอย่างอื่น เพื่อประโยชน์แก่ผู้ฝาก • ซื้อขาย แลกเปลี่ยน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อกู้ยืม จำนอง จำนำ เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น • กระทำการใด ๆ ตามแบบพิธีการเกี่ยวกับการศุลกากร การนำเข้า การส่งออก การขนส่งสินค้า และการประกันภัยสินค้า เป็นต้น
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย ประโยชน์ของคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นของไทย
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย ยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้า บริการ การค้าและการลงทุน ครอบคลุมในด้านพัฒนาศักยภาพการผลิต มาตรฐานสินค้าบริการ และการตลาด ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการคุ้มครองทางสังคม เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองทางสังคม ได้รับการคุ้มครองแรงงาน มีสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่มั่นคงปลอดภัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานมีความเชื่อมโยงและมีขีดความสามารถในการรองรับและมีกฎระเบียบที่อำนวยความสะดวกทั้งการค้าและการลงทุน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานการศึกษาอาเซียน รวมทั้งทักษะฝีมือและภาษา ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน รวมทั้งสามารถปกป้องผลประโยชน์และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียน เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าใจและตระหนักถึงการเป็นประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเสริมสร้างความมั่นคง เน้นสร้างความร่วมมือ สร้างพันธมิตร การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนทั้งทางบก ทางทะเล รวมถึงการสร้างปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 8 การเพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงโอกาสจากอาเซียน เพื่อทำให้เมืองมีศักยภาพที่จะเชื่อมโยงกับสมาชิกอาเซียน ทั้งในด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การลงทุนและการค้าชายแดน ภาครัฐได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ โดยได้กำหนดการพัฒนาไว้ใน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ข้างต้น
สถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยสถานการณ์ด้านกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย • สำนักส่งเสริมและบริหารระบบตลาด กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับ AEC ของธุรกิจคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นของไทย จึงได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น ให้มีมาตรฐานในการประกอบกิจการ และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความสำคัญของ AEC ให้กับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ • เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการรับฝากเก็บสินค้าให้ได้รับความเชื่อถือและความนิยมแก่ผู้ใช้บริการอันเป็นการสร้างพื้นฐานที่มั่นคงแก่การพัฒนากิจการคลังสินค้า ไซโล ห้องเย็น และระบบตลาดของประเทศ รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบกิจการ • เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการตลาดกลาง คลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถอาศัยโอกาสทั้งจากด้านบวกและด้านลบ จากการเข้าสู่ AEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพในปี พ.ศ. 2558
หน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจด้านโลจิสติกส์ของไทยหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจด้านโลจิสติกส์ของไทย
หน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจด้านโลจิสติกส์ของไทยหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจด้านโลจิสติกส์ของไทย
กฎระเบียบด้านโลจิสติกส์และกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยกฎระเบียบด้านโลจิสติกส์และกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย กฎระเบียบด้านโลจิสติกส์ของไทย ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎระเบียบที่กำกับดูแลบริการโลจิสติกส์โดยเฉพาะ แต่มีกฎหมายและกฎระเบียบของไทยหลายฉบับที่เกี่ยวกับบริการด้านโลจิสติกส์ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหลายหน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใต้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงแรงงาน องค์การคลังสินค้า บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นต้น
กฎระเบียบด้านโลจิสติกส์และกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยกฎระเบียบด้านโลจิสติกส์และกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย กฎระเบียบด้านโลจิสติกส์ของไทย • (1) กฎหมายทั่วไป • - พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (กระทรวงพาณิชย์) • - พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) • พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 (กระทรวงแรงงาน) • (2) กฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับบริการขนส่งและโลจิสติกส์ • (2.1) การขนส่งทางน้ำ (กระทรวงคมนาคม) • (2.2) การขนส่งทางอากาศ (กระทรวงคมนาคม) • (2.3) การขนส่งทางบก (กระทรวงคมนาคม) • (2.4) พ.ร.บ.ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 (กระทรวงคมนาคม) • (2.5) ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจบริการโลจิสติกส์ พ.ศ. ... (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
กฎระเบียบด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทยกฎระเบียบด้านการรับฝากเก็บสินค้าของไทย • ร่างพระราชบัญญัติคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้ • - พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป • ให้มีคณะกรรมการกำกับคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ และอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตเช่าคลังสินค้า ไซโล ห้องเย็น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และการทุเลาคำสั่ง • การประกอบกิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น จะกระทำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด สหกรณ์ หรือองค์การของรัฐบาล และได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการค้าภายใน • กำหนดให้ผู้จัดตั้งคลังสินค้า ไซโล หรือห้องเย็นที่เก็บรักษาสินค้าของตนเอง ซึ่งมีพื้นที่ ขนาด หรือความจุของคลังสินค้า ไซโล หรือห้องเย็น ตามที่อธิบดีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการจัดตั้ง • - กำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิดโดยเน้นโทษทางปกครอง
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ของธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าของไทย ที่มา: ปรับปรุงข้อมูลจากปรับปรุงจากโครงการศึกษาประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของประเทศ พ.ศ. 2550-2554 (สศช.) (พ.ศ.2555)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ของธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าของไทย (ต่อ) ที่มา: ปรับปรุงข้อมูลจากปรับปรุงจากโครงการศึกษาประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของประเทศ พ.ศ. 2550-2554 (สศช.) (พ.ศ.2555)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ของธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าของไทย (ต่อ) ที่มา: ปรับปรุงข้อมูลจากปรับปรุงจากโครงการศึกษาประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของประเทศ พ.ศ. 2550-2554 (สศช.) (พ.ศ.2555)
ข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย • ประเทศไทยมีจุดเชื่อมโยงระบบขนส่งสินค้าหลัก ดังนี้ • สถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) • สถานีตรวจและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออก หรือ สตส. (Off-Dock Container Freight Station: CFS) • โรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์นอกเขตทำเนียบท่าเรือ (Inland Container Depot: ICD) • ย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard: CY) • สถานที่เก็บพักสินค้า
ข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย การเชื่อมโยงการขนส่งทางถนนกับประเทศเพื่อนบ้าน • ประเทศไทยได้พัฒนากรอบความร่วมมือทวิภาคกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างเครือข่ายการขนส่งเชื่อมโยงทางบกผ่านจุดผ่านแดนของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน • จุดผ่านแดนถาวร เป็นจุดผ่านแดนที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน ประกาศให้มีการสัญจรไป-มา ทั้งบุคคล สิ่งของ และยานพาหนะ ปัจจุบันนี้ ไทยมีจุดผ่านแดนถาวรกับประเทศเพื่อนบ้านรวม 29 จุด แบ่งเป็น • ประเทศไทย-ประเทศเมียนมาร์ มีจุดผ่านแดนถาวร 3 จุด • ประเทศไทย-ประเทศลาว มีจุดผ่านแดนถาวร 13 จุด (รวมด่านสากล 5 ด่าน) • ประเทศไทย-ประเทศกัมพูชา มีจุดผ่านแดนถาวร 6 จุด • ประเทศไทย-ประเทศมาเลเชีย มีจุดผ่านแดนถาวร 7 จุด • จุดผ่านแดนชั่วคราวและจุดผ่อนปรน เป็นจุดผ่านแดนที่เปิดเป็นการเฉพาะกิจเพื่อเหตุฉุกเฉินจําเป็นเฉพาะคราวเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการค้า ปัจจุบันไทยมี 42 แห่ง โดยแยกเป็น ไทย-เมียนมาร์ 11 แห่ง ไทย-ลาว 21 แห่ง และไทย-กัมพูชา 10 แห่ง
ข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย
ข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย
ข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย
ข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยข้อมูลด้านเส้นทางและตำแหน่งจุดรองรับและกระจายสินค้าในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย
ผลกระทบ โอกาส และแนวทางการปรับตัวของธุรกิจรับฝากเก็บสินค้า • ในประเทศไทย • ผลกระทบของธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าในประเทศไทย • การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอาจหลีกเลี่ยงได้ยากหากมีการเปิดเสรีอาเซียน ทั้งจากผู้ประกอบการรายใหญ่ในประเทศอาเซียนและประเทศนอกอาเซียนที่อาจเข้ามา • ธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าในประเทศไทย ยังขาดทั้งเงินทุนและความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและมาตรฐาน รวมทั้งขาดจุดเด่นเฉพาะตัว • ด้านกฎระเบียบ ขั้นตอน และธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ของแต่ละประเทศ ซึ่งจะเป็นกำแพงสำคัญที่ปิดกั้นการเข้าถึงตลาดของผู้ประกอบการธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าของไทยในการเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน • การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของภาครัฐที่ผ่านมามีการถ่ายโอนเทคโนโลยีค่อนข้างน้อย เป็นการลงทุนที่ใช้ทรัพยากรในประเทศเพื่อสร้างกำไรและส่งคืนกลับไปยังประเทศที่เป็นเจ้าของทุนในขณะที่ขาดการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ เช่น การเรียกเก็บภาษีซ้ำซ้อน
ผลกระทบ โอกาส และแนวทางการปรับตัวของธุรกิจรับฝากเก็บสินค้า • ในประเทศไทย • โอกาสของธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าในประเทศไทย • การเปิดเสรีและการรวมกลุ่มไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยดึงดูด การลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น • การเปิดเสรีโลจิสติกส์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนจะเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าของไทยเข้าไปทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนได้ง่ายขึ้น • โอกาสขยายตลาดธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าของไทยในประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ให้บริการไทยมีโอกาสพัฒนาช่องทางตลาดผ่านการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน โดยเฉพาะภายในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) • การเปิดเสรีอาเซียนอาจเป็นโอกาสหนึ่งของผู้ประกอบการธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าของไทยที่จะเข้าถึงตลาดการให้บริการที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งในอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้านของอาเซียนที่มีพรมแดนติดกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน
ผลกระทบ โอกาส และแนวทางการปรับตัวของธุรกิจรับฝากเก็บสินค้า • ในประเทศไทย • แนวทางการปรับตัวของธุรกิจรับฝากเก็บสินค้าในประเทศไทย • เผยแพร่องค์ความรู้พื้นฐานด้านโลจิสติกส์ และการคลังสินค้าสำหรับสินค้าเกษตรให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย • จัดตั้งมาตรฐานการคลังสินค้าแห่งชาติ โดยการออกระเบียบ ข้อกำหนดต่างๆ เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของคลังสินค้าและไซโล ให้เหมาะสมกับประเภทของผลผลิต รวมทั้งมีการฝึกอบรมความรู้ด้านมาตรฐานและการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องโดยองค์กรอิสระ • สร้างความเชื่อมั่นในระบบการคลังสินค้าของไทยแก่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงิน เกษตรกร ผู้ส่งออก เป็นต้น • ส่งเสริมนโยบายในการพัฒนาระบบการคลังสินค้า การขนส่ง และการกระจายสินค้าแบบบูรณาการในด้านต่างๆ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกลยุทธ์การจัดการ ด้านมาตรฐาน ด้านเทคโนโลยี ด้านบุคลากร เป็นต้น
บริการด้านโลจิสติกส์ และกิจการด้านการรับฝากเก็บสินค้า ของมาเลเซีย