1 / 20

คุณลักษณะของครูภาษาไทย

คุณลักษณะของครูภาษาไทย. มีความรู้ทางภาษาไทยเป็นอย่างดี ครูต้องขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ เตรียมการสอนอย่างดีทุกครั้ง แนะนำแหล่งวิทยาการต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการศึกษาเพิ่มเติมให้นักเรียนมีความรู้กว้างขวางยิ่งขึ้น. คุณลักษณะด้านภาษาไทย.

tausiq
Download Presentation

คุณลักษณะของครูภาษาไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คุณลักษณะของครูภาษาไทยคุณลักษณะของครูภาษาไทย

  2. มีความรู้ทางภาษาไทยเป็นอย่างดีมีความรู้ทางภาษาไทยเป็นอย่างดี • ครูต้องขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ • เตรียมการสอนอย่างดีทุกครั้ง • แนะนำแหล่งวิทยาการต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการศึกษาเพิ่มเติมให้นักเรียนมีความรู้กว้างขวางยิ่งขึ้น คุณลักษณะด้านภาษาไทย

  3. จุดมุ่งหมายสำคัญในการเรียนภาษาไทยคือ ให้ผุ้เรียนมีความรู้ ทักษะ และเจนคติที่ดี สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูภาษาไทยต้องเป็นตัวอย่างที่ดีโดยใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เช่น การเขียนพยัญชนะให้ประณีตเรียบร้อย ใช้ลีลาการเขียนให้ถูกต้องโดยเขียนหัวอักษรให้ชัดเจน ถูกต้องทิศทางและถูกต้องตามรูปแบบของอักษร การพูดครูควรออกเสียง ร ล และคำควบกล้ำให้ชัดเจน เมื่อพบว่านักเรียนเขียนผิด ก็ควรเขียนคำที่ถูกต้องให้นักเรียน ให้คำติชมที่ให้กำลังใจแก่นักเรียนเมื่อมีข้อผิดพลาด ไม่ตำหนิหรือว่ากล่าวด้วยถ้อยคำที่รุนแรง มีความสามรถในการใช้ภาษาไทยได้ดี

  4. การฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อผสมผสานความรู้การแสดงออกในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึกสนุกสนาน เช่น การฝึกอ่านทำนองเสนาะ ร้องเพลง สาธิตการทำท่าทางต่างๆ ประกอบบทละครในวรรณคดีตามนาฏลีลา การมีความสามารถพิเศษจะช่วยให้การเรียนการสอนภาษาไทยมีความหมายและมีชีวิตชีวามากขึ้น มีความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก

  5. ครูภาษาไทยมีหน้าที่ส่งเสริมและสืบสานภาษาไทยโดยจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาไทย เช่น การจัดกิจกรรมวันสุนทรภู่ (26 มิถุนายน) การจัดกิจกรรมวันภาษาไทย (29 กรกฎาคม) ของทุกปี การจัดกิจกรรม การจัดรายการวิทยุ หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทย การทำโครงงานภาษาไทย การจัดเกมภาษาไทย การจัดหาคำที่น่ารู้จักมาจัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเขียนและการใช้คำต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ส่งเสริมและสืบสานภาษาไทย

  6. ตัวเลขไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย และเลขไทยมีลีลาที่สวยงาม • ฝึกเขียนเลขไทย • ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ การเขียนเลขไทยมีความยากง่ายต่างกัน ดังนั้นหลังการสอนให้นักเรียนรู้จักเลขไทยแล้ว ควรฝึกเขียนเลขไทยจากง่านไปยาก โดยไม่จะเป็นต้องเรียงจาก ๑ ถึง ๑๐ ควรจัดเป็นหมวดหมู่ตามลีลาและทิศทางการเขียนอักษรแต่ละประเภท ส่งเสริมการใช้เลขไทย

  7. คุณลักษณะทางวิชาชีพของครูภาษาไทยประกอบด้วย การสนใจใฝ่รู้และการมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรภาษาไทยอย่างถ่องแท้ การรู้จักติดตามความเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงในด้านหลักสูตร วิธีสอนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ในสังคมที่มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนภาษาไทย คุณลักษณะด้านวิชาชีพ

  8. ศึกษาวัตถุประสงค์ของหลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรภาษาไทยให้กระจ่าง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดหลักสูตรของโรงเรียน และจัดการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับวิชาต่างๆ • มีความเข้าใจหลักจิตวิทยาและศึกษาพัฒนาการของผู้เรียนระดับประถมศึกษาเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยพยายามจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดไว้

  9. สนใจเข้าร่วมการอบรมและสัมมนาในด้านการพัฒนาเทคนิควิธีสอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำความรู้มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดนเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพตามความแตกต่างของบุคคล พัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข การสอนต้องเน้นกระบวนการมากกว่าเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ • มีความรอบรู้และขวนขวายหาแหล่งวิทยาการทางภาษาไทย ทั้งในส่วนบุคคล สถาบัน และเอกสาร เช่นผู้เชี่ยวชาญการสอนภาษาไทย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาไทยราชบัณฑิตเพื่อให้ความช่วยเหลือในการเป็นวิทยากร หรือขอคำแนะนำต่างๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอน • เช่น สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์พัฒนาหลักสูตรของกรมวิชาการ สำนักทดสอบทางการศึกษาของกรมวิชาการ โครงการหมอภาษาของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

  10. ศรัทธาในวิชาชีพของตน ภูมิใจที่เป็นครูภาษาไทย มีความรักในการสอน พยายามหากลวิธีมาจูงใจให้ผู้เรียนสนุกในกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานและเรียนได้อย่างเพลิดเพลินไม่เบื่อหน่าย • มีความสนใจและรอบรู้ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ และมีการประสานงานกับครูวิชาอื่น ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนภาษาไทยน่าสนใจและมีความหมายมากยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน ผู้เรียนจะเห็นความเชื่อมโยงกับเนื้อหาต่างๆ ถ้าครูภาษาไทยได้จัดเนื้อหาภาษาไทยที่มีลักษณะบูรณาการ

  11. จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาไทยของผู้เรียน มีความสนใจในการศึกษาวิจัย เพื่อนำผลการทดลองใช้วิธีสอน รูปแบบต่างๆ มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อเผยแพร่ต่อไป • มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านภาษาไทย โดยการจัดทำแบบฝึกหัดทางภาษาไทย หนังสืออ่านเสริมประสบการณ์ หรือพัฒนาตำราหรือคู่มือการสอนภาษาไทย โดยรวบรวมจากงานประจำที่สอนอยู่ จดบันทึกผลที่ได้จากการลองใช้กับผู้เรียนและปรับปรุงแก้ไข ขยายผลสู่เครือข่าย

  12. คุณลักษณะด้านการสอนภาษาไทยคุณลักษณะด้านการสอนภาษาไทย • เตรียมการสอนทุกครั้ง เพื่อช่วยให้ผู้สอนมีความั่นใจในตนเองและทำให้ผู้เรียนมีความศรัทธาต่อผู้สอนที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย การเตรียมการสอนจะส่งผลให้การดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่นทุกขั้นตอน ผู้สอนสามารถจัดหาสื่อและวิธีการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ • ครูที่มีการเตรียมการสอนล่วงหน้าจัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่ดีและได้เปรียบผู้ที่ไม่เตรียมการสอน การเตรียมการสอนล่วงหน้าจึงเปรียบได้กับการทำงานที่สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง เปรียบกับนักวิ่งที่มองเป็นลู่ทางๆไปสู่เส้นชัยโดยง่าย

  13. ใช้วิธีการสอนที่จูงใจ ท้าทายความคิดของผู้เรียน ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ให้นักเรียนฝึกสังเกต คิดวิเคราะห์และหาข้อสรุปด้วยตนเอง • ดังตัวอย่าง การเรียนเรื่อง “สระโอ” ครูให้นักเรียนเล่นเกม “โอ –โฮะ-โอ” โดยหาคำที่มีเสียงสระโอมาเติมในช่องว่าง • โอ โอะ โอ โฮะ โอ โฮะ โอ (ซ้ำ ๒ เที่ยว) ไม้เอกไม่ใช้จะใช้ไม้โท (สร้อย ๒ เที่ยว) เล็ก ๆ ไม่เอาจะเอาโตๆ (สร้อย ๒ เที่ยว) รถเบนซ์ไม่นั่ง จะนั่ง...... (สร้อย ๒ เที่ยว) หัวแตกไม่เอา เอาแค่ ...... (สร้อย ๒ เที่ยว) โอวัลตินไม่ดื่ม จะดื่ม........ (สร้อย ๒ เที่ยว) กุหลาบไม่ปลูก จะปลูก..... (สร้อย ๒ เที่ยว) บะหมี่ไม่เอาจะเอา........ (สร้อย ๒ เที่ยว) ไข่เจียวไม่เอาจะเอา ....... (สร้อย ๒ เที่ยว) หนึ่งอันไม่พอ จะขอ ....... (สร้อย ๒ เที่ยว) มะม่วงไม่กินจะกิน ......... (สร้อย ๒ เที่ยว)

  14. ขวนขวาย เลือกสรรสื่อนำมาใช้ประกอบการสอน การใช้สื่อประกอบการสอนส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น สื่อที่ใช้สอนในระดับประถมศึกษา อาจใช้ของจริง สื่อสำเร็จรูป หรือสื่อที่ครูสร้างขึ้นเองจากเศษวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น VCD คอมพิวเตอร์ เกม เพลง นิทาน ฯลฯ การเลือกสื่อมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเป็นหน้าที่ของครูที่จะใช้วิจารณญาณพิจารณาความเหมาะสมว่าจะสอนอะไร และจะใช้สื่อประเภทไหนอย่างไรจึงจะสอดคล้องและเหมาะสมกับการพัฒนาผู้เรียน • การพิจารณาเลือกสื่อการสอน ครูควรใช้ความรอบคอบและพึงระลึกอยู่เสมอ ว่าต้องใช้สื่อนั้นอย่างคุ้มค่า ช่วยประหยัดเวลาในการอธิบายของครู ช่วยให้ผู้เรียนรับรู้ได้รวดเร็ว และช่วยพัฒนาความคิดแก่ผู้เรียน นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงความชัดเจนของสื่อที่จะใช้ ต้องสร้างให้ผู้เรียนมองเห็นอย่างชัดเจน มีสีสันที่จูงใจเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

  15. จัดการเรียนการสอนภาษาไทยที่บูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ การสอนภาษาไทยที่ดีต้องบูรณาการกับวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ไม่ควรจำกัดการสอนเฉพาะในห้องเรียน ควรนำนักเรียนออกจากห้องเรียนมาสัมผัสกับธรรมชาติภายนอก โดนอาจมีการจดบันทึกเหตุการณ์ ในการเดินทาง การเลือกสถานที่ในการแต่งบทร้อยกรอง ออกไปสัมภาษณ์พ่อค้า แม่ค้า เพื่อเรียนรู้วิธีการตั้งคำถามการสัมภาษณ์ • การวาดภาพประกอบบทร้อยกรอง ให้ผู้เรียนฟังเพลงต่างๆ แล้วหาคำประเภทต่างๆ จากเพลง การศึกษาวงจรเจริญเติบโตของแมลงแล้วจดบันทึกผล ฯลฯ • วิธีการต่างๆ เหล่านี้ครูภาษาไทยจะบูรณาการกับวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลศึกษา ศิลปศึกษา ดนตรี ฯลฯ

  16. จัดบรรยากาศในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้จัดบรรยากาศในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ • ผู้สอนต้องมีการจูงใจและเร้าใจให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน ด้วยการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนมีส่วนสำคัญที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน • เช่น การสอนเรื่อง อักษรนำ ( ห นำ ) บรรยากาศในชั้นเรียนควรกลมกลืนกับเรื่องที่เรียนโดยครูอาจจัดป้ายนิเทศให้มีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์การใช้ ห นำ โดยมีแถบประโยค บัตรคำ บัตรภาพ ประกอบคำอธิบาย นอกจากนี้อาจจัดมุมประสบการณ์ จัดวางของจริง ภาพ หรือของจำลอง ซึ่งเป็นอักษรนำประเภท ห นำ ให้ผู้เรียได้เล่นเกม จ่ายตลาด โดยฝึกจำแนกสิ่งของต่างๆ ที่ครูจัดเตรียมไว้เป็นหมวดหมู่ที่ใช้ ห นำ

  17. หมวดของใช้ หมวดสัตว์ หมวดพืช หมวดพืช หมอน หมวก หม้อ หนังสือ หวี นกหวีด หมึก หลอด หมี หนอน หนู จิ้งหรีด นกดุเหว่า หนาม หวาย หน่อไม้ กุหลาบ พริกหยวก หนวด ผิวหนัง หลัง หน้าผาก ไหล่ หลอดลม

  18. มีการวัดและประเมินผลอย่างเที่ยงธรรม การเรียนการสอนต้องมีการประเมินผลตลอดเวลา เพื่อให้ได้แนวทางมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนในการประเมินผลจะทำให้ครูได้รูปแบบต่างๆที่นอกเหนือจากการทดสอบด้วยข้อสอบ ครูอาจใช้การสังเกตการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน หรือสังเกตการใช้ภาษาไทยของผู้เรียนในโอกาสและสถานที่อื่น ๆ ดูผลจากการทำแบบฝึกหัด ดูผลจากการซักถามขณะสอน หรือการทำการบ้าน • จัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมภาษาไทย ครูต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เรียนที่ประสบปัญหาในการเรียนภาษาไทย การสอนซ่อมเสริมมีจุดประสงค์เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจให้ผู้เรียนที่มีข้อบกพร่องในการเรียนภาษาไทย ครูต้องหมั่นสังเกต และประเมินผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้ทราบข้อบกพร่องของผู้เรียนว่ามีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องด้านใด จากนั้นก็สอนซ่อมเสริมโดยจัดเวลาในการซ่อมเสริมตามดุลพินิจของครู

  19. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรภาษาไทย ครูต้องจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้แก่ผู้เรียนเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่ได้เรียนไปแล้วมาใช้ให้เกิดทักษะ สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น โครงงานภาษาไทย จัดนิทรรศการเอกลักษณ์ไทย จัดนิทรรศการวันสุนทรภู่ จัดการแข่งขันโต้วาที ประกวดการแต่งร้อยกรอง ประกวดการอ่านออกเสียง การนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมการแข่งขันภาษาไทยนอกโรงเรียนตามที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น • พัฒนางานวิจัยในชั้นเรียน ตามพรบ.๒๕๔๒ ให้ความสำคัญแก่การวิจัยในชั้นเรียน โดยกำหนดให้ผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ครูภาษาไทยต้องสนใจ ใฝ่รู้ทำการวิจัยควบคู่ไปกับการเรียนการสอน การวิจัยสามารถทำได้โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ คือ จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แปลผล และนำผลการวิจัยมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น • การวิจัยในชั้นเรียนทำให้เกิดความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งครูสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนสามารถนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการของเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น

  20. สร้างสำนึกของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องสร้างสำนึกของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง • หน้าที่สำคัญของครูภาษาไทยอีกประการหนึ่งคือ การสอดแทรกเสริมสร้างสำนึกของการใช้ภาษาไทย ให้ถูกต้องแก่ผู้เรียน โดยเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทย ครูต้องสร้างความสำนึกให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจที่มีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ แสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติและคนไทย • พยายามรวบรวมตัวอย่างการใช้ภาษาไทยผิดพลาดในประเด็นต่างๆ มาให้ผู้เรียนพิจารณาวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นตลอดจนหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข เช่น ผลเสียของการพูด ออกเสียงคำไม่ชัดเจน เขียนผิดพลาดโดยใช้วรรณยุกต์ผิด วางวรรณยุกต์และสระผิดตำแหน่ง ฯลฯ ทำให้ความหมายของคำคลาดเคลื่อนไป

More Related