1 / 17

สภาพปัญหาและการวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำ พื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ

สภาพปัญหาและการวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำ พื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ. โดย ปราโมทย์ ไม้กลัด นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ลักษณะทางกายภาพเป็นปัญหาสำคัญพื้นฐานของพื้นที่. พื้นที่โดยรอบสนามบิน  700 กม 2 เป็น พื้นที่ลุ่มความลาดเอียงน้อย ค่อนข้างแบนราบ

Download Presentation

สภาพปัญหาและการวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำ พื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สภาพปัญหาและการวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำ พื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ โดย ปราโมทย์ ไม้กลัด นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  2. ลักษณะทางกายภาพเป็นปัญหาสำคัญพื้นฐานของพื้นที่ลักษณะทางกายภาพเป็นปัญหาสำคัญพื้นฐานของพื้นที่ • พื้นที่โดยรอบสนามบิน  700 กม2 เป็นพื้นที่ลุ่มความลาดเอียงน้อย ค่อนข้างแบนราบ • พื้นที่มีระดับพื้นดินต่ำ ... บางแห่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง • ย่านสนามบินและใกล้เคียงเป็นแอ่งกระทะเป็นที่พักรวมน้ำหลาก ... เป็น “แก้มลิง” ตามธรรมชาติ • ลักษณะดินเป็นดินเหนียวอ่อน ... ขณะนี้มีการทรุดตัวเกิดขึ้นทุกปี • เมื่อมีการขยายตัวของชุมชนและการพัฒนาพื้นที่อย่างรวดเร็วไม่เป็นระบบ ...เกิดภาวะน้ำท่วมขังมากขึ้น การจัดการน้ำหลากระบายออกจากพื้นที่มีความยากลำบากยิ่งขึ้น เกิดน้ำเน่าเสียกระจายไปทั่ว

  3. ปัญหาเรื่องน้ำ • ปัญหาการขาดแคลนน้ำ • ปัญหาน้ำเน่าเสีย • ปัญหาน้ำท่วม

  4. ปัญหาการขาดแคลนน้ำ • ประชาชนจำนวนมากยังใช้น้ำบาดาล ... เกิดแผ่นดินทรุด • ต้องการความชัดเจนเรื่องแผนและมาตรการก่อสร้างระบบน้ำประปาให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆโดยเร็ว • บริหารการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อกิจกรรมอื่นๆให้พอเพียงในฤดูแล้ง

  5. ปัญหาน้ำเน่าเสีย • ปัจจุบันพบว่ามีน้ำเน่าเสียขังแช่ตามคลองและแอ่งที่ลุ่มทั่วไปเพราะระบายน้ำออกทิ้งไปได้ไม่หมดเนื่องจากเป็นแอ่งกระทะ • ต้องการระบบบำบัดน้ำเสียในทุกพื้นที่ -- ย่านธุรกิจ ย่านอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย • มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาเหมือนกรุงเทพมหานครในขณะนี้

  6. ปัญหาน้ำท่วม • เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด เกิดมากบ้างน้อยบ้างทุกปี • การระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยมีประสิทธิภาพต่ำ เพราะคลอง ระบายน้ำมีความลาดเทน้อย หรือไม่มีความลาดเอียงเลย ตื้นเขิน ถูกบุกรุก มีสิ่งกีดขวาง

  7. เหตุการณ์น้ำท่วมในอดีตเหตุการณ์น้ำท่วมในอดีต ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (บริเวณนครสุวรรณภูมิ และพื้นที่ต่อเนื่องใกล้เคียง) เกิดน้ำท่วมรุนแรง ได้รับความเดือดร้อนและสูญเสียมาก 4ปี • พ.ศ. 2523 ฝนตกชุกทั่วประเทศ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล น้ำท่วมขังนาน • พ.ศ. 2526 เกิดอุทกภัยสร้างความเสียหายในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้านตะวันออก เป็นบริเวณกว้าง สภาพน้ำท่วมรุนแรงกว่าปี 2523 (พ.ศ.2527 เริ่มโครงการบรรเทาอุทกภัยกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)

  8. พ.ศ. 2533 พายุโซนร้อน “อีร่า” ก่อตัวในทะเลจีนใต้ ขึ้นฝั่ง เวียดนามเป็นพายุดีเปรสชั่น (4 ต.ค.)เข้าไทยที่ อุบลราชธานี พาดผ่านภาคกลาง เกิดฝนตกหนัก ที่กรุงเทพมหานคร และทุกจังหวัดภาคกลาง • พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกิดปัญหาอุทกภัย อย่างหนักเพราะมีพายุดีเปรสชั่นเข้าประเทศไทย หลายลูก พื้นที่ลุ่มบริเวณจะสร้างนครสุวรรณภูมิ น้ำ ท่วมลึก 1-2 เมตร  คลองธรรมชาติในเขตพื้นที่และเครื่องสูบน้ำขนาด ใหญ่จำนวนมากที่มีไม่สามารถสูบน้ำระบายออกสู่ อ่าวไทยให้หมดโดยเร็ว  สภาพน้ำท่วมรุนแรงกว่าปี 2533

  9. นอกเหนือจากปีต่างๆที่กล่าวข้างต้น พื้นที่ลุ่มบริเวณต่างๆ เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่รุนแรงเหมือน 4 ปีข้างต้น ในอนาคตจะเกิดฝนตกหนัก ไม่ปีใดปีหนึ่ง ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ

  10. พระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมขังพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ได้พระราชทานพระราชดำริในปี พ.ศ. 2523, 2526, 2533, 2534, 2538 และ 2546 ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ (รายละเอียดอยู่ในเอกสารประกอบการเสวนา) • ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสนามบินสุวรรณภูมิ ได้พระราชทานพระราชดำริไว้ดังนี้

  11. พ.ศ. 2534 “เนื่องจากการก่อสร้างสนามบินในบริเวณพื้นที่ลุ่มซึ่งเป็นแนวทางระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยทางด้านตะวันออก จะมีผลกระทบต่อการระบายน้ำในเขตพื้นที่ปริมณฑลด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ควรทำการศึกษาเรื่องการรับน้ำและการระบายน้ำอย่างละเอียด โดยทำการศึกษาในเรื่องการรับน้ำและการระบายน้ำทั้งหมด ... ควรศึกษาเรื่องนี้ทั้งหมดเพื่อดำเนินการต่อไปให้เหมาะสม”

  12. พ.ศ. 2546 “หลังจากที่สนามบินสุวรรณภูมิเปิดใช้งานแล้ว เพราะสนามบินสร้างปิดคลองระบายน้ำลงสู่อ่าวไทย รวม 3 คลองด้วยกัน ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ... ดำเนินการแก้ไขป้องกันน้ำท่วมพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบินดังกล่าว”

  13. ระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบัน • ดำเนินการตามลำดับถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย • คลองระบายน้ำคลองธรรมชาติหลายสายที่มี ซึ่งวางตัวอยู่ตามแนว เหนือ-ใต้ ตั้งแต่คลองแสนแสบ ถึงคลองชายทะเล ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำหลากจากตอนบนลงมาเพื่อ ระบายออกเมื่อน้ำทะเลลดต่ำหรือสูบออกอ่าวไทย • ประตูระบายน้ำชลหารพิจิตร (ปากคลองด่าน) ระบายน้ำออกอ่าวไทยเมื่อน้ำทะเลลดต่ำ • สถานีสูบน้ำสร้างที่ถนนสุขุมวิท รวม 6 สถานี ติดตั้งเครื่องสูบ น้ำความสามารถสูบน้ำได้เครื่องละ 3 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที รวม 87 เครื่อง

  14. รวมความสามารถระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยได้สูงสุดประมาณ 26 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน กรณีปี 2533 และ 2538 ใช้เวลาระบายน้ำออกหมดนานเกือบ 1 เดือน สาเหตุเพราะคลองต่างๆ ไม่สามารถลำเลียงน้ำลงมาได้ทัน ต้องหยุดเครื่องสูบน้ำเป็นระยะๆ น้ำจึงรวมกองอยู่ในที่ลุ่มแอ่งกระทะอยู่นาน ปรากฏให้เห็นทุกปี

  15. มาตรการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่รัฐจะดำเนินการมาตรการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่รัฐจะดำเนินการ มีอยู่ 2 แผน • แผนเร่งด่วน-- มาตรการจัดการน้ำหลากและการระบายน้ำบริเวณพื้นที่นครสุวรรณภูมิและพื้นที่ลุ่มต่ำที่ต่อเนื่อง โดย • การขุดคลองระบายน้ำสายใหม่เชื่อมจากคลองสำโรงลงมาถึงคลองชายทะเล ยาว 10 กม. ก้นคลองกว้าง 48 ม. ที่ปลายคลองสร้างสถานีสูบน้ำ มีเครื่องสูบน้ำได้สูงสุด 100 ม3/วินาที หรือประมาณ 8.6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน สูบออกอ่าวไทย เพื่อการลดระดับน้ำที่คลองสำโรงโดยตรง • ติดตั้งระบบโทรมาตรอุทกวิทยาเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำหลากและการทำงานของเครื่องสูนน้ำ (กรมชลประทานดำเนินการประกวดราคาแล้ว ยังเริ่มงานก่อสร้างได้ไม่เต็มที่ อาจสร้างไม่แล้วเสร็จครบถ้วนก่อนฤดูน้ำหลากปี พ.ศ. 2552)

  16. แผนระยะสั้น • ปรับปรุงท่อลอดถนนและสะพานที่ถนนบางนา-ตราดรวม 22 แห่ง เพื่อให้น้ำไหลผ่านลงคลองสำโรงได้สะดวก • ปรับปรุงขุดลอกคลองระบายน้ำ (คลองธรรมชาติ) ที่มีในเขตพื้นที่ทุกสาย • ปรับปรุงเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำต่างๆที่มีให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  17. ความเห็นโดยสรุป • หลังการเปิดใช้สนามบินอย่างเป็นทางการ พื้นที่โดยรอบสนามบินย่อมมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว • มาตรการแก้ไขปัญหาน้ำที่วางไว้ -- ยังไม่ครบถ้วน • โครงข่ายระบบระบายน้ำสายรองและสายย่อยของพื้นที่ทั่วไป ควรมีอย่างสมบูรณ์เชื่อมโยงกับระบบหลัก • งานแก้ไขปัญหาน้ำทั้งหมดเป็นงานพื้นฐานสำคัญของพื้นที่ รัฐต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว -- ไม่ว่าจะมีการจัดตั้งเป็นนครสุวรรณภูมิเขตปกครองพิเศษหรือไม่ก็ตาม 

More Related