250 likes | 441 Views
เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต. สิรักข์ แก้วจำนงค์. ภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ต. การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อในการหลอกลวง หรือล่อลวงผู้อื่น การเผยแพร่ข่าวสารที่ไม่เป็นจริง การล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวผู้อื่น การลักลอบเข้าใช้ระบบ การขโมยข้อมูล ลักลอบเปลี่ยนแปลงข้อมูล
E N D
เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต สิรักข์ แก้วจำนงค์
ภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ตภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ต • การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อในการหลอกลวง หรือล่อลวงผู้อื่น • การเผยแพร่ข่าวสารที่ไม่เป็นจริง • การล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวผู้อื่น • การลักลอบเข้าใช้ระบบ • การขโมยข้อมูล ลักลอบเปลี่ยนแปลงข้อมูล • การปลอมแปลงเป็นผู้อื่น • ไวรัสคอมพิวเตอร์ • ฯลฯ
วิธีแก้ปัญหาการบุกรุก และการแก้ไขข้อมูล • การลักลอบเข้ามาขโมย และแก้ไขข้อมูล แก้โดยการเก็บข้อมูลโดยใช้การเข้ารหัส (Encryption) ข้อมูล • การปลอมตัวเข้ามา และทำธุรกรรมปลอม แก้ไขโดยใช้ระบบการยืนยันตัวบุคคล (Authentication) • การลักลอบเข้าใช้ระบบโดยไม่มีสิทธิ และการใช้ระบบเป็นทางผ่านในการลักลอบใช้ระบบอื่น แก้ไขโดยการใช้ Firewall ตรวจสอบ และกรองข้อมูลของการติดต่อจากเครือข่าย
มาตรการรักษาความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ตมาตรการรักษาความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ต • การระบุตัวบุคคลและอำนาจหน้าที่ (Authentication & Authorization) คือการระบุตัวว่าบุคคลที่ติดต่อ เป็นบุคคลตามที่กล่าวอ้างไว้จริง • การรักษาความลับของข้อมูล (Confidentiality)คือการรักษาความลับของข้อมูลที่เก็บไว้หรือส่งผ่านทางเครือข่ายโดยป้องกันไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิ์ลักลอบดูได้ • การรักษาความถูกต้องของข้อมูล (Integrity)คือการป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกแก้ใขโดยตรวจสอบไม่ได้ • การป้องกันการปฎิเสธหรืออ้างความรับผิดชอบ (Non-repudiation)
เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรม • การเข้ารหัสข้อมูล คือการทำให้ข้อมูลที่เก็บ หรือที่จะส่งผ่าน อยู่ในรูปที่ไม่สามารถอ่านออกได้ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิจริง จึงจะสามารถถอดรหัสเพื่ออ่านข้อมูลนั้นได้ • การใช้ระบบ Digital Signature เป็นเสมือนลายมือชื่อของผู้ส่ง เป็นกลไกป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบจากผู้ส่ง และป้องกันการแก้ไขข้อมูล
การเข้ารหัสข้อมูล การเข้ารหัส จะประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ คือ • Algorithm ในการเข้ารหัส เช่นแบบ RSA , IDEA, MD5,Lucus ซึ่งจะเป็นตัวบอกความซับซ้อนในการเข้ารหัส และความยากง่ายในการถอดรหัส • กุญแจรหัส (key) ใช้ในการเข้า และถอดรหัส
การเข้ารหัสแบบสมมาตร • การเข้ารหัสแบบ Single key หรือแบบสมมาตรใช้หลักการคณิตศาสตร์มาผสมรวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลในระดับ bit บวกเข้ากับแนวคิดของการเข้ารหัสแบบ Classic โดยนำข้อมูลที่ต้องการเข้ารหัสเป็นตัวตั้งจากนั้นก็ให้นิยามกุญแจซึ่งเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรหลายบิตรวมกันเป็นกุญแจ (key) จากนั้นก็เอาไปเข้าสูตรผสมผลลัพธ์ออกมาเป็นก้อนข้อมูลรหัสที่ไม่มีใครอ่านเข้าใจเมื่อถึงปลายทางใช้กุญแจตัวเดิมเข้าผสมกับก้อนข้อมูลรหัสเมื่อเข้าสูตรอีกทีผลลัพธ์ที่ได้ก็จะออกมาเป็นข้อมูลต้นฉบับ
การเข้ารหัสแบบสมมาตร • ข้อดี- มีความรวดเร็วเพราะใช้เวลาในการคำนวณที่น้อยกว่า- สามารถสร้างได้ง่าย • ข้อเสีย- การบริหารจัดการกุญแจทำได้ยากเพราะกุญแจในการเข้ารหัสและถอดรหัสเหมือนกัน
การเข้ารหัสแบบอสมมาตรการเข้ารหัสแบบอสมมาตร • หลักการคือ มีกุญแจรหัส 2 ตัว เอาข้อมูลไปผสมกับกุญแจตัวใดตัวหนึ่งเมื่อได้ออกมาเป็นข้อมูลรหัสที่อ่านไม่รู้เรื่องแล้วเมื่อเวลาถอดรหัสไม่สามารถใช้กุญแจตัวเดิมได้ต้องใช้กุญแจอีกตัวหนึ่งมาถอดรหัสเข้าด้วย 1 ต้องถอดด้วย 2 หรือเข้าด้วย 2 จะต้องถอดด้วย 1 • กุญแจทั้งสอง เรียกว่า private key ซึ่งเจ้าของจะต้องเก็บรักษาไว้ ห้ามให้ผู้อื่นเด็ดขาด และ public key ซึ่งเป็นกุญแจที่แจกให้กับผู้อื่น
การเข้ารหัสแบบอสมมาตรการเข้ารหัสแบบอสมมาตร • ก่อนการใช้งาน ต้องมีการขอ public key ของผู้ที่เราต้องการจะส่งข้อความ • การใช้การเข้ารหัสแบบนี้ ผู้ส่ง จะเข้ารหัสข้อความที่ต้องการส่ง โดยใช้ public key ของผู้รับ ซึ่งหลังการเข้ารหัส แม้แต่ผู้ส่งก็ไม่สามารถถอดรหัสข้อความได้ • เมื่อผู้รับได้รับข้อความ ก็จะถอดรหัสโดยใช้ private key ของตัวเอง
การเข้ารหัสแบบอสมมาตรการเข้ารหัสแบบอสมมาตร
การเข้ารหัสแบบอสมมาตรการเข้ารหัสแบบอสมมาตร • ข้อดี- การบริหารจัดการกุญแจทำได้ง่ายกว่าเพราะใช้กุญแจในการเข้ารหัสและถอดรหัสต่างกัน- สามารถระบุผู้ใช้โดยการใช้ร่วมกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ข้อเสีย- ใช้เวลาในการเข้าและถอดรหัสค่อนข้างนานเพราะต้องใช้การคำนวณอย่างมาก
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์: Digital Signature • การทำธุรกรรมโดยทั่วไปนั้นหากผู้ใดลงลายมือชื่อ (Signature) ในกระดาษที่ปรากฏข้อความการลงลายมือชื่อนั้นจะก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างลงลายมือชื่อกับข้อความในกระดาษ • เมื่อมีการทำธุระกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อความที่ปรากฏในรูปอิเล็กทรอนิกส์ • ความสำคัญของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีด้วยกันสองประการคือ • เป็นสิ่งที่ระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นๆ • ใช้เป็นเครื่องแสดงความเห็นชอบของผู้ใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อผูกพันกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • เกิดขึ้นจากการสร้างโดยไม่ใช้เทคโนโลยีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบนี้บุคคลทั่วไปสามารถสร้างได้โดยง่ายยกตัวอย่างแดงตกลงกับเพื่อนๆว่าหากเขาใช้สัญลักษณ์ */# ลงท้าย E-Mail • ประเภทเทคโนโลยีระบบกุญแจคู่ (Public Key Infrastructure) ใช้โครงสร้างพื้นฐานของระบบกุญแจคู่
การใช้งานลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้งานลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • เริ่มจากการนำเอาข้อมูลต้นฉบับที่จะส่งไปนั้นมาผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าฟังก์ชันย่อยข้อมูล (Hash Function) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สั้นๆที่เรียกว่าข้อมูลที่ย่อยแล้ว (Digest) ก่อนที่จะทำการเข้ารหัสเนื่องจากข้อมูลต้นฉบับมักจะมีความยาวมากซึ่งจะทำให้กระบวนการเข้ารหัสใช้เวลานานมาก • จากนั้นจึงทำการเข้ารหัสด้วยกุญแจส่วนตัวของผู้ส่งเองซึ่งจุดนี้เปรียบเสมือนการลงลายมือชื่อของผู้ส่งเพราะผู้ส่งเท่านั้นที่มีกุญแจส่วนตัวของผู้ส่งเองและจะได้ข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วเรียกว่าลายมือชื่อดิจิทัล
การใช้งานลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้งานลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • จากนั้นก็ทำการส่งลายมือชื่อไปพร้อมกับข้อมูลต้นฉบับไปยังผู้รับผู้รับก็จะทำการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้รับถูกแก้ไขระหว่างทางหรือไม่โดยการนำข้อมูลต้นฉบับที่ได้รับมาผ่านกระบวนการย่อยด้วยฟังก์ชันย่อยข้อมูลจะได้ข้อมูลที่ย่อยแล้วอันหนึ่ง • นำลายมือชื่อดิจิทัลมาทำการถอดรหัสด้วยกุญแจสาธารณะของผู้ส่งก็จะได้ข้อมูลที่ย่อยแล้วอีกอันหนึ่งแล้วทำการเปรียบเทียบข้อมูลที่ย่อยแล้วทั้งสองอันถ้าหากว่าเหมือนกันก็แสดงว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นไม่ได้ถูกแก้ไขแต่ถ้าข้อมูลที่ย่อยแล้วแตกต่างกันก็แสดงว่าข้อมูลที่ได้รับถูกเปลี่ยนแปลงระหว่างทาง
การใช้งานลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้งานลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ลายมือชื่อดิจิทัลจะแตกต่างกันไปตามข้อมูลต้นฉบับและบุคคลที่จะลงลายมือชื่อไม่เหมือนกับลายมือชื่อทั่วไปที่จะต้องเหมือนกันสำหรับบุคคลนั้นๆไม่ขึ้นอยู่กับเอกสาร • กระบวนการที่ใช้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการเข้ารหัสแบบอสมมาตรแต่การเข้ารหัสจะใช้กุญแจส่วนตัวของผู้ส่งและการถอดรหัสจะใช้กุญแจสาธารณะของผู้ส่งซึ่งสลับกันกับการเข้าและถอดรหัสแบบกุญแจอสมมาตร
การใช้งานลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้งานลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ใบรับรองดิจิทัล (Digital Certificate) • ด้วยการรหัสและลายมือชื่อดิจิทัลในการทำธุรกรรมสามารถรักษาความลับของข้อมูลและรักษาความถูกต้องของข้อมูลแต่สามารถระบุตัวบุคคลได้ระดับหนึ่งเท่านั้น • เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยในการระบุตัวบุคคลโดยสร้างความเชื่อถือมากขึ้นด้วยใบรับรองดิจิทัล (Digital Certificate) ซึ่งออกโดยองค์กรกลางที่เป็นที่เชื่อถือเรียกว่าองค์กรรับรองความถูกต้อง(Certification Authority) จะถูกนำมาใช้สำหรับยืนยันในตอนทำธุรกรรมว่าเป็นบุคคลนั้นๆจริงตามที่ได้อ้างไว้
ประเภทของใบรับรองดิจิทัลประเภทของใบรับรองดิจิทัล ประเภทของใบรับรองดิจิทัลแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ • ใบรับรองเครื่องแม่ข่าย • ใบรับรองตัวบุคคล • ใบรับรองสำหรับองค์รับรองความถูกต้อง
ระดับการรับรอง • ใบรับรองชั้นที่หนึ่งเป็นระดับที่ออกใบรับรองที่ง่ายสุดเพราะจะตรวจสอบเพียงแค่ชื่อของผู้ถือใบรับรองและ e-mail address ว่าถูกต้องจริงเท่านั้น • ใบรับรองชั้นที่สองจะตรวจสอบเลขประจำตัวประชาขนเลขที่ประกันสังคม (Social Security Number) และวันเดือนปีเกิด • ใบรับรองชั้นที่สามจะมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการใช้เครดิตและการชำระเงิน • ใบรับรองชั้นที่สี่เป็นชั้นที่ยังไม่มีการออกมาตรฐานอย่างแน่ชัดแต่จะมีการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งงานในองค์กรด้วย
รายละเอียดในใบรับรองดิจิทัลรายละเอียดในใบรับรองดิจิทัล • ข้อมูลระบุผู้ที่ได้รับการรับรองได้แก่ชื่อองค์กรที่อยู่ • ข้อมูลระบุผู้ออกใบรับรองได้แก่ลายมือชื่อดิจิทัลขององค์กรที่ออกใบรับรองหมายเลขประจำตัวของผู้ออกใบรับรอง • กุญแจสาธารณะของผู้ที่ได้รับการรับรอง • วันหมดอายุของใบรับรองดิจิทัล • ระดับชั้นของใบรับรองดิจิทัลซึ่งมีทั้งหมด 4 ระดับในระดับ 4 จะมีกระบวนการตรวจสอบเข้มงวดที่สุดและต้องการข้อมูลมากที่สุด • หมายเลขประจำตัวของใบรับรองดิจิทัล
จะขอใบรับรองดิจิทัลได้จากไหน ? • สำหรับในประเทศไทย อาจขอได้จากหน่วยงาน G-CA หรือ Government Certification Authority ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) • ขอจากบริษัทผู้ออกในรับรองในต่างประเทศ เช่น บริษัท Verisign , Cybertrust และ Nortel
ข้อมูลเพิ่มเติม • http://www.ecommerce.or.th/ • ขอใบรับรอง digitalhttps://gca.thaigov.net/signin.php • Verisign http://www.verisign.com • PGPhttps://www.pgp.com/ • การชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต http://www.exd.mof.go.th/skc/it14.html • แนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต http://www.tradepointthailand.com/e_guru/e_trend_d.html • ลงทะเบียน secure mail http://www.verisign.com/products/class1/index.html