1.44k likes | 3.24k Views
ภูเขาไฟ. เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก เป็นภูเขาที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภูเขาทั่วไป คือ สามารถพ่นสารละลายร้อนหรือหินหนืดที่หลอมละลายอยู่ใต้โลก ที่เรียกว่า แมกมา และเถ้าถ่านจากภายในโลกออกสู่พื้นผิวโลก บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ
E N D
ภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก เป็นภูเขาที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภูเขาทั่วไป คือ สามารถพ่นสารละลายร้อนหรือหินหนืดที่หลอมละลายอยู่ใต้โลก ที่เรียกว่า แมกมา และเถ้าถ่านจากภายในโลกออกสู่พื้นผิวโลก บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างแผ่นธรณีภาค จะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิด ภูเขาไฟได้มากที่สุด
ประเภทของภูเขาไฟ ภูเขาไฟสามารถแบ่งได้ได้หลายประเภท เช่น แบ่งตามรูปร่าง ลักษณะทางกายภาพของสิ่งที่ประทุออกมา การปะทุ วัตถุที่มาสะสมกันรอบๆปล่องภูเขาไฟ โอกาสที่จะระเบิด • แบ่งตามรูปร่าง ได้แก่ ที่ราบสูงลาวา ภูเขาไฟแบบรูปโล่ กรวยกรวดภูเขาไฟ และภูเขาไฟสลับชั้น • แบ่งตามโอกาสการระเบิด ได้แก่ ภูเขาไฟมีพลัง ภูเขาไฟสงบและภูเขาไฟที่ดับสนิท
เมื่อหินหลอมละลายภายในโลกไหลออกมาภายนอก และทับถมแผ่กระจาย เป็นบริเวณกว้างจนกลายเป็น “แผ่นลาวา บะซอลต์” ขึ้น ซึ่งหินที่เกิดขึ้นใหม่นี้จะทำให้ผิวโลกบริเวณนั้นกลายเป็นที่ราบสูงขึ้นมาเรียกว่า “ที่ราบสูงลาวา” (Lava Plateau) ตัวอย่างเช่น ที่ราบสูงแอนทริม (antrim Plateau) ทางตอนเหนือของประเทศไอร์แลนด์ และส่วนทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูง เดคข่านในประเทศอินเดีย เกาะสกาย ประเทศอังกฤษ ที่ราบสูงลาวา ที่ราบสูงลาวา (เกาะสกาย)
ภูเขาไฟรูปโล่(ShieldVolcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ เกิดจากลาวาที่เป็นเบส คือมีแร่เหล็กและแมกนีเซียมสูงโดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบะซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาไหลเร็ว แข็งตัวช้า ระเบิดไม่รุนแรง ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ มอนาคี(ฮาวาย) ภูเขาไฟรูปโล่ ภูเขาไฟ มัวนาลัวในหมู่เกาะฮาวาย
กรวยกรวดภูเขาไฟ (CinderCone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมากมีลักษณะเป็นกรวยสูงขึ้น ฐานแคบ เกิดจากลาวาที่เป็นกรด คือมีธาตุซิลิคอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวาข้นเหนียวและเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูงแต่จะแข็งตัวได้เร็ว การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบมีการระเบิดอย่างรุนแรงมากที่สุด ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด ประเทศชิลี
ภูเขาไฟสลับชั้น (CompositeConeVolcano) เป็นภูเขาไฟรูปร่างสมมาตร รูปทรงสวยงามเป็นรูปกรวยคว่ำ เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกะทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน (ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐอเมริกา) ภูเขาไฟฟูจิยามาในประเทศญี่ปุ่น
ประเภทของภูเขาไฟตามโอกาสแห่งการระเบิดประเภทของภูเขาไฟตามโอกาสแห่งการระเบิด • ภูเขาไฟในโลกเรามีทั้งแบบที่เป็นภูเขาไฟมีพลัง (active volcanoes) • คือ ภูเขาที่ยังคงมีการประทุอยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันทั่วโลก มีภูเขาไฟที่ • มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก และส่วนมากมีอยู่ในมลรัฐฮาวายประเทศ • สหรัฐอเมริกา ร้อยละ15 ของจำนวนภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ในประเทศ • อินโดนีเซีย • ภูเขาไฟสงบ (dormant volcanoes) คือ ภูเขาที่เคยมีการประทุในอดีตส่วนปัจจุบันจะไม่มีการประทุอีก เช่น ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนในประเทศสหรัฐอเมริกา ภูเขาไฟฟูจิ ญี่ปุ่น • ภูเขาไฟดับสนิท (extint volcanoes) คือ ภูเขาไฟที่ไม่มีการประทุมาตั้งแต่ในอดีตแต่มีการผุพังไป เช่น ภูเขาไฟในประเทศไทย
ภูเขาไฟวิสุเวียส ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับเพียงแห่งเดียวในทวีปยุโรป
ก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาประกอบด้วยไอน้ำประมาณ70%คาร์บอนไดออกไซด์15%สารประกอบไนโตรเจนและซัลเฟอร์อย่างละ5%ก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาประกอบด้วยไอน้ำประมาณ70%คาร์บอนไดออกไซด์15%สารประกอบไนโตรเจนและซัลเฟอร์อย่างละ5% ก๊าซอื่นๆ ที่มีปริมาณน้อยกว่าได้แก่คลอรีนไฮโดรเจนและอาร์กอนสารประกอบซัลเฟอร์
แนวการเกิดภูเขาไฟที่สำคัญมีอยู่ 4 แนว คือ 1. แนวรอบมหาสมุทรแปซิฟิกหรือวงแหวนแห่งไฟ 2. แนวเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย 3. แนวเทือกเขาแอฟริกาตะวันออกหรือเทือกเขาคิลิมันจาโร 4. แนวมหาสมุทรแอตแลนติก
สิ่งเตือนภัย ของภูเขาไฟ สัญญาณบอกเหตุการณ์เกิดภูเขาไฟระเบิดมีหลายอย่าง พอจะเป็นสิ่งเตือนให้ทราบถึงภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น จะได้มีการเตรียมตัวหลบหลีกภัยธรรมชาติดังกล่าว1) ภูเขาไฟพ่นควันมากขึ้น มีแก๊สมากขึ้น บางครั้งมีนกที่กำลังบินอยู่รับแก๊สพิษที่ลอยขึ้นบนอากาศ แล้วตกลงมาตาย2) ภูเขามีอาการบวมหรือเอียง เพราะมีเนื้อลาวาพ่นออกมาเสริมเนื้อภูเขา ทำให้เกิดอาการบวม หรือเอียงขึ้น สามารถวัดได้จากกล้องสำรวจ3) พื้นผิวมีการสั่นสะเทือนมากขึ้น มีการส่งพลังงานเสียงออกมามากขึ้นกว่าปกติ วัดได้จากเครื่องไซสโมกราฟ คอยรายงานข้อมูลอัตราการเพิ่มการสั่นไหว4) สุนัข หรือสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดจะตื่นตกใจ เพราะสัตว์เหล่านี้สามารถรับรู้การสั่นสะเทือนของพื้นดินได้ดีกว่ามนุษย์
ภูเขาไฟในประเทศไทย- ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง- ภูพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ - ภูเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด
โทษของภูเขาไฟระเบิด 1. แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน 2. ลาวา ที่ไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ มนุษย์และสัตว์ถ้าหนีไม่ทัน ก็จะเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง 3. เกิดฝุ่นภูเขาไฟ เถ้ามูล บอมบ์ภูเขาไฟ ระเบิดขึ้นสู่บรรยากาศ ครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟและลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟระเบิดหลายพันกิโลเมตร 4. เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ 5. หลังจากภูเขาไฟระเบิด มีฝุ่นเถ้าภูเขาไฟตกทับถมอยู่ใกล้ภูเขาไฟเมื่อฝนตกหนัก อาจจะเกิดน้ำท่วมและโคลนถล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟเหล่านั้น
ประโยชน์ของภูเขาไฟ 1. ช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล 2. ทำให้หินอัคนีและหินชั้นใต้ที่ลาวาไหลผ่านเกิดการแปรสภาพ เช่น หินแปรที่แข็งแกร่งขึ้น 3. ทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญขึ้น เช่น เพชรเหล็ก และธาตุอื่น ๆ 4. แหล่งภูเขาไฟจะเป็นแหล่งดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูก 5. แหล่งภูเขาไฟ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 6. ทำให้บรรยากาศโลกเย็นลง 7. เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล