1 / 69

ท้องไม่พร้อมในวัยเรียน โรงเรียน ควรจัดการอย่างไร??

ท้องไม่พร้อมในวัยเรียน โรงเรียน ควรจัดการอย่างไร??. กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและ สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ เสนอในเวทีวิชาการเพศศึกษาเพื่อเยาวชน ครั้งที่ ๕ ณ โรงแรม แอมบาส ซา เดอร์ กรุงเทพมหานคร. ขัอ เท็จจริงเกี่ยวกับ การท้องในวัยเรียน (1).

tanith
Download Presentation

ท้องไม่พร้อมในวัยเรียน โรงเรียน ควรจัดการอย่างไร??

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ท้องไม่พร้อมในวัยเรียนโรงเรียน ควรจัดการอย่างไร?? กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ เสนอในเวทีวิชาการเพศศึกษาเพื่อเยาวชน ครั้งที่ ๕ ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร

  2. ขัอเท็จจริงเกี่ยวกับการท้องในวัยเรียน (1) ท้องในวัยเรียน คือ ท้องไม่พร้อม

  3. ท้องไม่พร้อมคือ ท้องที่ไม่ตั้งใจ ไม่ต้องการ ไม่ได้วางแผน ไม่ ปรารถนา ไม่พึงประสงค์ 1. เพราะการคุมกำเนิดล้มเหลว 2. เพราะสุขภาพของหญิงที่ท้อง 3. เพราะปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ 4. เพราะความรุนแรงทางเพศ ท้องจากการถูกข่มขืน • เพราะมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจและไม่ได้คุมกำเนิด และอื่น ๆ อีกมากมาย

  4. ขัอเท็จจริงเกี่ยวกับการท้องในวัยเรียน (2) ไม่มีนักเรียนหญิงคนไหนในโลกที่ตั้งใจท้องไม่พร้อมในวัยเรียน

  5. การควบคุมเรื่องเพศในสังคมไทยการควบคุมเรื่องเพศในสังคมไทย • เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร • เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน • เพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน • รักนวลสงวนตัว • อย่าให้ใครถูกเนื้อต้องตัว • อย่าแสดงออกว่ามีความต้องการ • ทางเพศ

  6. วัฒนธรรมทางเพศแบบไทยๆ วัฒนธรรมทางเพศคือ ระบบของการให้ความหมาย ความรู้ ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องเพศ และปฏิบัติการทางสังคมเกี่ยวกับระบบการให้ความหมายและความเชื่อเรื่องเพศ 1. มีมาตรฐานซ้อนทางเพศ 2. สร้างระบบเพศภาวะแบบแข็งทื่อ/ตายตัว 3. เพศวิถีศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน เป็นการเรียนรู้/หล่อหลอม/ขัดเกลาให้เพศ ชายทำร้ายเพศหญิงอย่างไม่รู้ตัว

  7. ขัอเท็จจริงเกี่ยวกับการท้องในวัยเรียน (3) จำนวนนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ทั่วประเทศ ออกจากโรงเรียนเพราะแต่งงาน พ.ศ. 2548-2552 ที่มา: สุขภาพคนไทย2554. หน้า 65 (คำนวณจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ)

  8. ขัอเท็จจริงเกี่ยวกับการท้องในวัยเรียน (4) นักเรียนหญิงที่ท้องไม่พร้อมส่วนใหญ่เป็นเด็กเรียน (ข้อมูลจาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สหทัยมูลนิธิ มติชน 24 พ.ย. 2551)

  9. ท้องในวัยเรียนควรทำอย่างไรดี?ท้องในวัยเรียนควรทำอย่างไรดี? choisangki 3 มี.ค. 2553, 20:26:50 ผมอยู่ ม.5 และมีแฟนอยู่ ม.5 เช่นกันแล้ววันนึงเรามีอะไรกัน โดยไม่ได้ใส่ถุงยางแล้วแฟนผมก็ท้อง...อยากจะทราบว่า ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคืออะไรแฟนผมห่วงอนาคตตัวเอง และผมอยากจะเลี้ยงลูกตัวเองไว้มันมี 2 ทางคือ แท้ง กับ เลี้ยงลูก (ที่จริงคือท้องต่อ) [http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4c7f79b6488b302b&pli=1] น่าสนใจว่า คนมาเขียนตอบทุกคนเสนอว่าอย่าทำแท้ง

  10. ผู้หญิงที่ท้อง ‘ไม่พร้อม’ มีทางเลือกสองทาง ท้องต่อ ยุติการท้อง (ทำแท้ง)

  11. ขัอเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้ง [1] ไม่มีผู้หญิงคนไหนในโลกนี้ ที่ตั้งใจท้อง เพื่อจะไปทำแท้ง

  12. ขัอเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้ง [2] การทำแท้งเสรีไม่มีใน โลกนี้

  13. ท้องไม่พร้อม - รากเหง้าของการทำแท้ง ภาพระดับโลก 2551: จำนวนท้อง 205 ล้านท้องต่อปี ท้องที่วางแผนกับท้องที่ไม่ได้วางแผน 22 % ของจำนวนท้องทั้งหมด จบลงโดยการทำแท้ง 25% ไม่วางแผน ที่มา : 1996-2009, Guttmacher Institute[http://www.guttmacher.org/pubs/fb_IAW.html]

  14. ท้องไม่พร้อม - รากเหง้าของการทำแท้ง ประเทศพัฒนา 2551 : จำนวนท้อง 23 ล้านท้องต่อปี ท้องที่วางแผนกับท้องที่ไม่ได้วางแผน 28 % ของจำนวนท้องทั้งหมด จบลงโดยการทำแท้ง 40% ไม่วางแผน ที่มา : 1996-2009, Guttmacher Institute[http://www.guttmacher.org/pubs/fb_IAW.html]

  15. ท้องไม่พร้อม - รากเหง้าของการทำแท้ง ประเทศกำลังพัฒนา 2551 : จำนวนท้อง 182 ล้านท้องต่อปี ท้องที่วางแผนกับท้องที่ไม่ได้วางแผน 19 % ของจำนวนท้องทั้งหมด จบลงโดยการทำแท้ง (11% เป็นการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย) 33% ไม่วางแผน ที่มา : 1996-2009, Guttmacher Institute[http://www.guttmacher.org/pubs/fb_IAW.html]

  16. โครงการวิจัย ‘สำมะโนระดับชุมชน 2 แห่งเรื่องสุขภาพผู้หญิงและประวัติการตั้งครรภ์’ 85% เกิดมีชีพ ผลการตั้งท้องโดยรวม 1% ตายคลอด 6% แท้งเอง 8% ทำแท้ง จากจำนวนท้องประมาณ 1,000ท้อง ที่มา : ณัฐยา บุญภักดี และคณะ. 2545. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง

  17. 55% วาง แผน โครงการวิจัย ‘สำมะโนระดับชุมชน 2 แห่งเรื่องสุขภาพผู้หญิงและประวัติการตั้งครรภ์’ (ต่อ) ท้องที่วางแผนกับท้องที่ไม่ได้วางแผน 45% ไม่วางแผน ที่มา : ณัฐยา บุญภักดี และคณะ. 2545. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง

  18. 7% แท้งเอง 77% เกิดมีชีพ 16% ทำแท้ง โครงการวิจัย ‘สำมะโนระดับชุมชน 2 แห่งเรื่องสุขภาพผู้หญิงและประวัติการตั้งครรภ์’ (ต่อ) ผลการท้องเฉพาะท้องที่ไม่ได้วางแผน ที่มา : ณัฐยา บุญภักดี และคณะ. 2545. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง

  19. 92% เกิดมีชีพ 1% ตายคลอด 6% แท้งเอง 1% ทำแท้ง โครงการวิจัย ‘สำมะโนระดับชุมชน 2 แห่งเรื่องสุขภาพผู้หญิงและประวัติการตั้งครรภ์’ (ต่อ) ผลการท้องเฉพาะท้องที่วางแผน ที่มา : ณัฐยา บุญภักดี และคณะ. 2545. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง

  20. โครงการวิจัย ‘สำมะโนระดับชุมชน 2 แห่งเรื่องสุขภาพผู้หญิงและประวัติการตั้งครรภ์’ (ต่อ) ข้อสรุป • เมื่อผู้หญิงมีโอกาสตั้งท้อง ก็ย่อมมีโอกาสทำแท้งได้เสมอการปฏิเสธความจริงอันนี้ ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าเดิม • การพยายามทำความเข้าใจว่า อะไรคือเงื่อนไขที่ทำให้ผู้หญิงยุติการตั้งท้องต่างหากที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจสภาพปัญหาที่แท้จริงและจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกทาง ตรงจุด ในท้ายที่สุด ที่มา : ณัฐยา บุญภักดี และคณะ. 2545. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง

  21. บริการที่ต้องการ • ในกรณีที่ผู้หญิงเลือกการทำแท้ง - การทำแท้งต้องปลอดภัย ค่าใช้จ่ายไม่สูง เข้าถึงได้ง่าย มีบริการให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลังทำ มีบริการดูแลสุขภาพกายใจหลังการทำด้วย เจ้าหน้าที่มีความเป็นมิตร ยืนอยู่ข้างเดียวกับผู้เดือดร้อน • ในกรณีที่ไม่เลือกการทำแท้ง - ต้องการให้มีบ้านพักอาศัยระหว่างรอคลอด, บริการรับเลี้ยงเด็กชั่วคราว และในกรณีที่ไม่พร้อมจะเลี้ยงลูกเอง ต้องการยกให้เป็นบุตรบุญธรรม กองทุนสนับสนุนผู้หญิงที่ต้องเลี้ยงลูกเพียงคนเดียว ไม่ว่าผู้หญิงคนนั้น จะเป็นแรงงานในระบบหรือนอกระบบ บริการพื้นฐานที่ผู้หญิงทุกคนอยากให้มีอันดับต้นๆ คือ บริการรับฟังปัญหา และให้ข้อมูลแบบรอบด้านแก่ผู้มีปัญหา โดยยึดหลักเคารพในสิทธิ และความต้องการของผู้หญิงที่เป็นเจ้าของปัญหานั้นๆ

  22. รูปแกะสลักที่นครวัต แสดงการทำแท้งด้วยวิธีบีบท้องผู้หญิงโดยการใช้สาก

  23. Global Trends 1900 1950 1985 2007 Laws liberalized the least restrictive ground in almost all nations (190/195 countries) Abortion almost universally illegal Laws liberalized in almost all industrialized nations 22 nations reduce restrictions on laws

  24. เหตุผลในการอนุญาตให้ยุติการตั้งครรภ์ในกฎหมายเหตุผลในการอนุญาตให้ยุติการตั้งครรภ์ในกฎหมาย • เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของผู้หญิงที่ ตั้งครรภ์ (2) ปกป้องสุขภาพกายของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ (3) ปกป้องสุขภาพจิตของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ (4) ในกรณีผลการตั้งครรภ์มาจากการข่มขืน หรือความสัมพันธ์ทางสายเลือด (5) ในกรณีที่ตัวอ่อนในครรภ์มีปัญหา/พิการ (6) เหตุผลทางเศรษฐกิจและสังคม (7) เมื่อร้องขอบริการ

  25. WORLD ABORTION POLICIES 2007 Source: www.unpopulation.org

  26. WORLD ABORTION POLICIES 2007 Source: www.unpopulation.org

  27. WORLD ABORTION POLICIES 2007 Source: www.unpopulation.org

  28. World AbortionLaw Mapwww.pregnantpause.org/lex/world02map.htm Key: Green - Abortion never legal, or legal only when necessary to save the life of the mother or protect her physical health Yellow - Abortion legal in "hard cases", such as rape, incest, and/or deformed child. Red - Abortion legal for social reasons (e.g. mother says she can't afford a child), or to protect the mother's "mental health" (definitions and requirements vary). Purple - Abortion legal at any time during pregnancy for any reason.

  29. สถานการณ์การทำแท้งในประเทศไทยสถานการณ์การทำแท้งในประเทศไทย

  30. ข่าวที่สื่อสนใจ....... “แม่” จำเลยเพศเดียวของการทำแท้ง จากฐานข้อมูลข่าว/บทความของแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ พบว่า การใช้คำของสื่อ มักจะใช้คำในทางประนามผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เช่น แม่ใจยักษ์ แม่ใจเหี้ยม แม่ใจทมิฬ แม่ใจบาป อีสาวใจแตก โจ๋ใจอำมหิต หมอเถื่อนรีดลูก กินยาขับลูกทะลัก แม่สุดโหดรีดมารหัวขน เป็นต้น จากข่าวในรอบ 10 ปีพบว่า รูปแบบของการทำแท้ง จะมีลักษณะหลากหลาย และเป็นอันตรายมากในบางกรณี • แม่ใจยักษ์ใช้รถทัวร์เบ่งลูกทิ้งลงโถส้วม • นศ.สาวรีดลูก-บีบคอฆ่า • แม่ใจยักษ์คลอดลูก ฟันหัวดับอนาถ • วัยรุ่นทำแท้งพิสดาร ยากระเพาะยัดช่องคลอด • คุมกำเนิดสยองรีดท้อง-ใส่ของแข็ง • ตะลึงโจ๋ยุคใหม่เพื่อนตื้บท้องทำแท้ง • วัยรุ่นยุคใหม่ฮิตยาแก้สิวทำแท้ง • สถิติทำแท้งพุ่งเสี่ยงตายไม้แขวนเสื้อล้วง • ทำแท้งเถื่อนวิตถาร น้ำยาล้าง องน้ำฉีดมดลูก ที่มา:กุลภา วจนสาระ. 2551. มี ‘เรื่อง’ เพศแบบไหนในห้องสมุดและในข่าว. รายงานในชุดโครงการวิจัย ‘การวิจัย และการพัฒนาฐานข้อมูลเรื่องเพศวิถี เพศภาวะ และสุขภาพทางเพศ’ แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ ดำเนินงานโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพ ผู้หญิง (สคส.).

  31. ปัจจุบัน……….ผู้หญิงไทยไม่ควรตายหรือบาดเจ็บสาหัสจากการยุติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน……….ผู้หญิงไทยไม่ควรตายหรือบาดเจ็บสาหัสจากการยุติการตั้งครรภ์

  32. ในทุกๆ ปี ยังมีผู้หญิงไทย ตายและบาดเจ็บจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยในแทบทุกจังหวัด..... ข่าวที่สื่อสนใจน้อย.......

  33. เพราะเข้าไม่ถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและปลอดภัย

  34. ทั้ง ๆ ที่เทคโนโลยี่ที่ใช้เพื่อยุติการตั้งครรภ์ ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จนเกิดเครื่องมือหรือตัวยาใหม่ ๆ ที่ใช้ง่าย ปลอดภัย ราคาถูก และมีประสิทธิภาพในการยุติการตั้งครรภ์สูงถึง 95-99% ได้แก่ • เครื่องดูดมือถือ (Manual Vaccum Aspirator -MVA) • การยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยา (MedicalTermination – MTOP) ซึ่งผู้หญิงสามารถใช้เองได้ หากสามารถเข้าถึงยาได้

  35. กฎหมาย

  36. กฎหมายการทำแท้งไทย : จากผู้มีสิทธิสู่ผู้ไร้สิทธิ - ผู้หญิงไทยในโบราณกาล เมื่อท้องแล้วจะทำแท้งหรือไม่ ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง • - การทำแท้งกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายเมื่อเริ่มมีการปรับปรุงกฎหมายไทยให้มีความทันสมัยอย่าง ‘ศิวิไลซ์’ อันเป็นเงื่อนไขทางการเมืองในสมัยจักรวรรดินิยม • กฎหมายอาญา ร.ศ.127 ห้ามทำแท้งในทุกกรณี • กฎหมายอาญาพ.ศ. 2500 • (มาตรา 301-305 ใช้จนถึงปัจจุบัน)

  37. ความพยายามแก้ไขกฎหมายในอดีตความพยายามแก้ไขกฎหมายในอดีต ช่วงการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) ซึ่งเริ่มทำกันมาตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 4 จะสิ้นสุดลง (เริ่มจากปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา) แนวคิดเกี่ยวกับการทำแท้งทางประชากรศาสตร์ได้รับการบรรจุเข้าไปอยู่ในแผนฉบับที่ 5 ด้วยดังนี้ ‘(1.3) ปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 เพิ่มเหตุให้ทำแท้งได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หากมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหลังการวางแผนครอบครัว เนื่องจากยังไม่มีการวางแผนครอบครัววิธีใดที่ได้ผลไม่มีการผิดพลาด’

  38. การแก้ไขในรัฐสภา : สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภากับขบวนการต่อต้าน ข้อยกเว้นในมาตรา 305 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2500 1. จำเป็นจะต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ 2. หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำผิดทางอาญามาตรา 276, 277, 282, 283, และ 284 เงื่อนไขเพิ่มเติมมาตรา 305 ที่เสนอในร่างแก้ไข พ.ศ. 25241. จำเป็นจะต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพทางกาย หรือสุขภาพทางจิตของหญิงนั้น หรือ 2. หากทารกในครรภ์คลอดออกมา จะพิการทางกายหรือทางจิต หรือ 3. เมื่อการคุมกำเนิดของหญิงหรือสามีซึ่งได้รับบริการจากแพทย์ หรือโดยคำสั่งแพทย์ ไม่ได้ผล 4. หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำผิดทางอาญามาตรา 276, 277, 283, และ 284

  39. “ในการทำแท้งพระองค์ไม่ทรงทราบในด้านกฎหมาย แต่ทรงเห็นว่าถ้ามีกฎหมายทำแท้งก็จะดีทรงตรัสว่า ในทางพระแล้วการทำแท้ง ถือว่าเป็นบาป แต่การให้โอกาสทำแท้งเป็นการช่วยเหลือผู้หญิงที่เคราะห์ร้ายได้ เพราะการทำแท้งที่ทำอย่างลับๆเป็นอันตรายทั้งแม่และลูก ดังนั้นผู้ที่ผิดพลาดไปชีวิตควรเริ่มต้นใหม่ได้” ข่าวในตะวันสยาม ฉบับวันที่ 30 สิงหาคม 2523สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระราชทานวโรกาส ให้สมาชิกสโมสรนักข่าวหญิงเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เพื่อรับพระราชทานเลี้ยงน้ำชาและพระราชทานพระกระแสสัมภาษณ์เป็นเวลาถึง 4 ชั่วโมงเต็ม ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ในพระกระแสช่วงหนึ่งสมเด็จฯทรงตอบคำถามของนักข่าวเกี่ยวกับกฎหมายทำแท้งที่เป็นข่าวอยู่ในช่วงนั้น... กฤตยา อาชวนิจกุล และกนกวรรณ ธราวรรณ. 2545. ‘ขบวนการทางสังคมบนมิติการเมืองเรื่องเพศและร่างกายผู้หญิง’. ใน วิถีชีวิต วิธีสู้: ขบวนการประชาชนร่วมสมัย. ผาสุข พงษ์ไพจิตร และคณะ: หน้า 34-129. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์มบุ๊ค.

  40. ความล้มเหลวของการแก้ไขเพราะ การเสนอแก้กฎหมาย=เปิดให้มีการทำแท้งเสรี ความล้มเหลวครั้งนี้ เป็นเรื่องของการคาดไม่ถึง และขาดประสบการณ์ของกลุ่มผู้สนับสนุน นั่นคือคิดไม่ถึงว่าขบวนการใหญ่โตจะออกมาต่อต้าน และนำโดยบุคคลระดับวุฒิสมาชิก และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงสามารถสร้างความสนใจ จูงใจ และดึงดูดใจให้คนคล้อยตาม และเชื่อในวาทกรรม ‘แท้งเสรี’ ที่ชูขึ้นมาในขณะนั้น กว่าที่ฝ่ายสนับสนุนจะตั้งหลักได้ทัน กระแสแท้งเสรีก็กระหึ่มไปทั่วประเทศแล้ว ในประวัติศาสตร์ของการพิจารณากฎหมายในรัฐสภาไทย มีน้อยครั้งมากที่กฎหมายซึ่งผ่านการพิจารณาจากสภาล่างไปแล้วจะไปตกที่สภาบน เพราะสภาบนในสมัยที่ยังเป็นสภาแต่งตั้งมักจะไม่คัดค้านกฎหมายจากสภาล่าง แล้วเหตุใดเล่า วุฒิสมาชิกในยุคนั้นจึงยกมือคัดค้านกฎหมายนี้เกือบทั้งสภา?

  41. ความพยายามภายใต้สถานการณ์เอดส์ความพยายามภายใต้สถานการณ์เอดส์ • ในช่วงปี พ.ศ 2530-2531 พรรคประชากรไทยและพรรคชาติไทยได้พยายามเสนอร่างกฎหมายเรื่องนี้เข้าสู่สภาอีกครั้ง โดยพรรคประชากรไทยเสนอเพิ่มเงื่อนไขเฉพาะประเด็น ‘หากทารกในครรภ์คลอดออก อาจพิการหรืออาจเป็นพาหะนำโรคร้าย’ ในขณะที่พรรคชาติไทย เสนอเพิ่มอีกหนึ่งเงื่อนไขคือ ‘เมื่อการคุมกำเนิดอย่างถาวรของหญิงนั้นผิดพลาด โดยได้รับความยินยอมจากสามี’ • ปลายปี พ.ศ.2531 แพทยสภามีมติเห็นชอบเฉพาะเงื่อนไขแรกโดยปรับแก้ข้อความใหม่ดังนี้ ‘เมื่อมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อได้ว่า หากทารกในครรภ์คลอดออกมาจะพิการ หรือเป็นพาหะนำโรคร้าย’ • ร่างกฎหมายเดินทางจากปี 31 มาถึงปี 43 มาถึงกระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา สรุปปรับเงื่อนไขที่อนุญาตให้ทำแท้งได้เป็น ‘จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหลักฐานทางวิชาการแจ้งชัดว่าทารกในครรภ์คลอดออกมาแล้วอาจจะมีความพิการจนถึงขั้นทุพพลภาพหรือเป็นพาหะนำโรคร้าย’

  42. จากงานวิจัยกรมอนามัย สู่ข้อบังคับใหม่ของแพทยสภา • 2541-2542 “โครงการสำรวจสถานการแท้งในประเทศ • ไทย” จากรพ. 787 แห่งทั่วประเทศ โดย • กองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย และ • จากผลการวิจัย จึงมีการเสนอให้แก้ไข • กฎหมายเมื่อธันวาคม 2543 • 2543- 2544 “โครงการแก้ไขปัญหาการทำแท้งไม่ • ปลอดภัย” • แพทยสภารับลูกแต่งตั้งอนุกรรมการยกร่างแก้ไขกฎหมาย ให้ความหมายคำว่า “สุขภาพ” คือ “สุขภาพกายและจิตใจ” โดยเพิ่มข้อยกเว้นความผิดฐานทำแท้งของกฎหมายฯ ในกรณีที่การตั้งครรภ์นั้นมีผลต่อ “สุขภาพกาย” หรือเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีปัญหา “สุขภาพจิตใจ” หรือ ทารกในครรภ์พิการหรือมีโรคพันธุกรรมร้ายแรง

  43. ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๘

  44. การยุติการตั้งครรภ์ทำได้ในกรณีใดบ้าง?การยุติการตั้งครรภ์ทำได้ในกรณีใดบ้าง? 2. กรณีหญิงมีครรภ์มีปัญหาสุขภาพจิต จะต้องได้รับการรับรองจากแพทย์ที่มิใช่ผู้ทำการยุติการตั้งครรภ์อย่างน้อยหนึ่งคน 1. กรณีหญิงมีครรภ์มีปัญหาสุขภาพทางกาย ทั้งนี้ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน และต้องมีการบันทึกการตรวจและวินิจฉัยโรค ไว้ในเวชระเบียนเพื่อเป็นหลักฐาน

  45. 3. เมื่อทารกในครรภ์มีความพิการอย่างรุนแรงหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคพันธุกรรมที่รุนแรง และหญิงนั้นมีความเครียด ซึ่งรับรองโดยสูตินรีแพทย์หรือแพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์ ให้ถือว่าหญิงมีครรภ์นั้น มีปัญหาสุขภาพจิต

  46. 4. กรณีถูกข่มขืน ต้องมี หลักฐานหรือข้อเท็จจริงอันควรเชื่อได้ว่าหญิงนั้นมีครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืน (ไม่จำเป็นต้องมีใบแจ้งความ)

  47. สถานที่และอายุครรภ์ที่จะยุติการตั้งครรภ์สถานที่และอายุครรภ์ที่จะยุติการตั้งครรภ์ 1. ร.พ. ของรัฐ หรือ ร.พ. เอกชน หรือคลินิกมีเตียงทำได้ตามความเหมาะสมทุกอายุครรภ์ 2. คลินิกไม่มีเตียง ทำได้อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทั้งนี้จะต้องส่งรายงาน ให้แพทยสภาทุก 3 เดือน

  48. 1. ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลคลินิกเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่ประสงค์จะกระทำการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามข้อบังคับแพทยสภาฯ ต้องลงทะเบียนตามแบบฟอร์มที่แพทยสภากำหนด 2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์ ควรผ่านการอบรม เพื่อกระทำการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ 3. ต้องเก็บข้อมูลรายละเอียดการกระทำไว้ในสถานพยาบาลฯอย่างน้อย 5 ปี เพื่อการตรวจสอบภายหลัง 4. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์ต้องดำเนินการ รวบรวมส่งรายงานตามแบบฟอร์มแพทยสภาทุก 3 เดือน

  49. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติตามผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์นี้ถือว่าได้กระทำตาม มาตรา ๓๐๕ (ผู้กระทำไม่มีความผิด)

  50. สภาพปัญหาและภาพสะท้อนสังคมไทย ที่สะท้านและสะเทือนใจ

More Related