1 / 76

การศึกษาคือปัจจัยอำนาจแห่งชาติ

การศึกษาคือปัจจัยอำนาจแห่งชาติ. ดร. จรวย พร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ( วป รอ.4313 ) วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2551 เวลา 10.40 - 12.00 น. ณ ห้องเรียนรวม วปอ. วปอ. 2551. ประเด็นที่ 1. ทำไมการศึกษา คือปัจจัยอำนาจ ในการสร้างชาติ. การศึกษาคือปัจจัยอำนาจ เพราะ.

Download Presentation

การศึกษาคือปัจจัยอำนาจแห่งชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาคือปัจจัยอำนาจแห่งชาติการศึกษาคือปัจจัยอำนาจแห่งชาติ ดร.จรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม(วปรอ.4313) วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2551 เวลา 10.40 - 12.00 น. ณ ห้องเรียนรวมวปอ. วปอ.2551

  2. ประเด็นที่1 • ทำไมการศึกษา คือปัจจัยอำนาจ ในการสร้างชาติ

  3. การศึกษาคือปัจจัยอำนาจ เพราะ • การศึกษาเป็นเครื่องมือของการพัฒนาคุณภาพคน รู้พออ่านออกเขียนได้ รู้พอทำมาหากินได้ รู้เอาตัวรอดทันผู้คนในสังคม ต้องจัดการความรู้ในองค์กร สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ รู้ดีมากแข่งขันได้ในเวทีโลก

  4. ประเด็นที่1: การศึกษาคือปัจจัยอำนาจ เพราะ(2)เป็นเครื่องมือจัดการความรู้ สร้างสังคม/องค์กรฐานเศรษฐกิจความรู้(Knowledge Based Society) 1.ข้อมูลไม่เท่าเทียมได้ข้อมูลอิสระมากขึ้น 2.ตลาดเหมารวมตลาดเจาะเฉพาะกลุ่ม 3.ทำให้มากแล้วขายออกไปทำด้วยความรับผิดชอบ 4.ความได้เปรียบให้ได้ผลสูงสุดครอบคลุมตลาดโลก 5.ได้ลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุดได้ผลตอบแทนไม่เป็นตัวเงินมากที่สุด 6.ความเป็นเจ้าของใครก็เป็นเจ้าของได้ 7.บริหารจัดการธุรกิจให้ดีจัดการตลาดให้ดี 8.มีคุณธรรมเป็นสิ่งดีมีคุณธรรมต่อทุกคน 9. ต้องทำให้ทันเวลาต้องทำในเวลาที่เป็นจริง

  5. สิ่งท้าทายประเทศไทยในเวทีเศรษฐกิจโลกสิ่งท้าทายประเทศไทยในเวทีเศรษฐกิจโลก 1. ไทยต้องอิงเศรษฐกิจโลกจึงต้องทันโลก โดยลด หนี้สิน และสร้างการลงทุนเพื่ออนาคต 2. เร่งพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ บนฐานความรู้ ใช้เทคโนโลยี บุคคล การบริหารจัดการ และโครงสร้างพื้นฐาน 3. ไทยถูกกลุ่มศักยภาพสูงกว่ากด และถูกดันโดยกลุ่มต้น ทุนต่ำ

  6. สิ่งท้าทายประเทศไทย ( ต่อ) 4. ไทยผูกพันกับอาเซียนมากที่สุด แต่กลุ่มนี้ไม่มี อำนาจต่อรอง 5. สังคมไทยบริโภคและวัตถุนิยม เป็นผู้ซื้อมากกว่า เป็นผู้ผลิตและผู้พัฒนา 6. ธุรกิจขนาดใหญ่อยู่ในมือชาวต่างชาติ เงินไหลออก 7. สถานการณ์การเมืองไทยไม่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

  7. ประเด็นที่1: การศึกษาปัจจัยอำนาจ เพราะ(3)เป็นการลงทุนสร้างคนให้ตรงความต้องการของชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต(ความต้องการกำลังคน) • 1. ต้องการกำลังคนในสายอาชีวศึกษา • 2. ต้องการการผลิตสายวิชาชีพที่มีทักษะทำงานได้ มากกว่าความรู้ในห้อง • 3. ต้องการคนรอบรู้เรียนรู้ตลอดชีวิต • 4. ต้องการคนที่รักวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี สุนทรียะไทย • 5. ต้องการมาตรฐานการศึกษาทัดเทียมทั้งในเมืองและชนบท • 6. ต้องการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมสนับสนุน

  8. 10 ปรัชญาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใหม่ที่ใช้การศึกษาเป็นฐาน 1. ถือว่ามนุษย์เป็นปัจจัยการผลิต เป็นทุนทางสังคมจึงต้องทุ่มลงทุน มีค่าใช้จ่าย ( HUMAN CAPITAL INVESTMENT) 2. เน้นการพัฒนาโดยสร้างสมรรถนะวิชาชีพอย่างมีแผน ยุทธศาสตร์(Competencies-based HRM Strategic Plan) 3. เน้นผู้บริหารใช้ภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

  9. 10 ปรัชญากระแสการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่ 4. เน้นการสร้างสังคมพันธุ์ใหม่ - สร้างสังคมทั่วไปให้เป็น สังคมฐานเศรษฐกิจเรียนรู้(Knowledge- Based Society) -สร้างองค์กรให้มีการจัดการความรู้(Knowledge Management Organization) - พัฒนาพนักงานให้เป็นผู้เรียนรู้ (Knowledge Workers) 5. เปลี่ยนการวัดการพัฒนาประเทศด้วยเงินอย่างเดียว มาวัดด้วยการพัฒนาคนจากดัชนี 3 ตัวได้แก่ รายได้การศึกษา และความยืนยาวของอายุคน

  10. 10 ปรัชญาใหม่ : การลงทุน Human Capital Investment • 6. เงิน/วัตถุดิบ เป็นทรัพยากรใช้แล้วหมดไป เทคโนโลยี/ข่าวสารเป็นทรัพยากรที่ล้าสมัยได้ คนเป็นทรัพยากรที่พัฒนาได้ ถือเป็นการลงทุนขององค์กร • 7.ต้องใช้ทรัพยากรคนที่มีอยู่ในองค์กรแล้วอย่างเต็มที่ • 8.ต้องพัฒนาทรัพยากรคนที่มีอยู่อย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน • 9.ต้องใช้หรือจ้างมืออาชีพมาร่วมพัฒนา • 10.ต้องใช้ e-learningให้สืบค้นหาข้อมูล เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

  11. ประเด็นที่ 2 • มีปรากฏการณ์ในความพยายามสร้างปัจจัยอำนาจทางการศึกษามาแล้วอย่างไร

  12. ความพยายามสร้างปัจจัยอำนาจทางการศึกษา : สิ่งที่ได้เกิดแล้ว (1)ได้ปฏิรูปการศึกษามาแล้ว 2 ครั้งใหญ่ สมัยแรกในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และสมัยที่สองในปี 2542 (2)สิ่งเปลี่ยนไปที่เห็นชัดคือโครงสร้างและระบบบริหารราชการใหม่ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้เมื่อประเทศไทยได้ปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี2546 (3)การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก้าวหน้ามากในภาคเอกชน และกลายเป็นตัวเร่งภาครัฐ ให้ต้องปรับตัวตาม โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ

  13. ความพยายามสร้างปัจจัยอำนาจทางการศึกษา : สิ่งที่ได้เกิดแล้ว (4) มีการนำเครื่องมือและแนวคิดใหม่ของการจัดการธุรกิจ มาใช้พัฒนาการจัดการศึกษา และ ทรัพยากรมนุษย์ เช่น • Road Map Strategic Planning, • Balanced Score Card, • Best Practices, Bench Marking, Key Performance Indicators, • Corporate Social Response, • หลักเศรษฐกิจพอเพียง

  14. ความพยายามสร้างปัจจัยอำนาจทางการศึกษา :สิ่งที่ได้เกิดแล้ว • (5) ยังคงต้องอิงกฎหมาย หลายฉบับ ซึ่งกลับเป็นตัวสร้างประเด็นปัญหา เช่น มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ขอแยกมัธยมออกจากประถมในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน • (6) การเรียนรู้ด้วยตนเองที่หวังจะได้จากปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน/ความสนใจฝึกอาชีพ ยังไม่เห็นผลจริงจัง

  15. ประเด็นที่ 3 • ประเมินปัจจัยอำนาจของการศึกษาของไทยแล้ว เป็นอย่างไร

  16. 1. IMD ชี้ขีดความสามารถไทย และสมรรถนะด้านการศึกษาของไทยปรับตัวล่าช้าและยังอยู่กลุ่มครึ่งหลังและรั้งท้าย ภาพรวมสังคมไทย ปี 2550 และแนวโน้มปี 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่า - ศักยภาพในภาพรวมกลับพัฒนาได้ ต่ำลง จากปี 2549 ลำดับที่ 29 ตกลงเป็นลำดับที่ 33 ในปี 2550 - โครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในระดับต่ำลง คือ ลดลงจากลำดับที่ 42 เป็นลำดับที่ 48 ในปี 2550

  17. ใช้ดัชนีIMDจัดอันดับความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยใน ปี 2546-2550 ปัจจัยหลัก ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 1.สมรรถนะทางเศรษฐกิจ 13 9 7 19 15 2.ประสิทธิภาพของภาครัฐ 18 20 14 20 27 3.ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ 25 21 25 25 34 4.โครงสร้างพื้นฐาน 43 42 39 42 48 อันดับโดยรวม 28 26 25 29 33 จำนวนประเทศ 51 51 51 53 55 สมรรถนะการศึกษา - 48 46 48 46 *สมรรถนะการศึกษา รวมอยู่ในปัจจัย4.โครงสร้างพื้นฐาน

  18. 2. วัดจากคะแนน"คณิต-วิทย์"TIMSS ปี 2550พบเด็กไทยเรียนหนักมากเป็นที่2ของโลก แต่อ่อน"คณิต-วิทย์" ได้ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ(มติชน 10 ธันวาคม 2551) ผลวิจัย Trends in International Mathematics and Science Study2007, TIMSS - 2007)โดยสมาคมการประเมินผลนานาชาติ (The International Association forEvaluation of Educational Achievement)ได้ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ม.2 ในช่วงปี 2547-2551จำนวน 59 ประเทศ และประเมินทุก 4 ปี คณิตศาสตร์ไทยอยู่ในลำดับ 29 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ไทยลำดับ 21 จากจำนวน 59 ประเทศ

  19. เด็กไทยเรียนหนัก แต่อ่อนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ • ไทยคะแนนเฉลี่ยอยู่อันดับที่ 29 ได้ 441 คะแนน ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ ซึ่งอยู่ที่ 500 คะแนน ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรกอยู่ในทวีปเอเชียได้แก่ สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฮ่องกง ส่วนมาเลเซียอยู่อันดับที่ 20 • ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ ไทยอันดับที่ 21เท่ากับมาเลเซีย โดยได้ 471 คะแนน ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ ซึ่งอยู่ที่ 500 คะแนน ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ สิงคโปร์ จีน-ไทเป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอังกฤษ • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 วิชาของไทยนี้ ลดต่ำลงกว่าปี 2542-2546 โดยครั้งที่แล้ว ไทยได้วิชาคณิตศาสตร์ 467 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 482 คะแนน

  20. เด็กไทยเรียนหนักมากเป็นที่ 2ของโลก • ไทยจัดเวลาเรียนซึ่งรวมคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก คือ 35 คาบต่อสัปดาห์ • แต่ผลประเมินกลับมีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าครั้งที่ผ่านมา • แสดงว่าไทยไม่สามารถปรับตัว และเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก • เกิดจากปัญหา ครูเก่าไม่ได้รับพัฒนา ขาดแคลนครู ที่เกิดจากนโยบายลดอัตรากำลังคนตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด(เออร์ลี่รีไทร์) รวมทั้งไม่มีมาตรการจูงใจให้คนเก่งมาเป็นครูกลุ่มใหม่

  21. ประเทศส่วนใหญ่จะจัดสรรงบการศึกษาพื้นฐานมากกว่าระดับอื่นๆประเทศส่วนใหญ่จะจัดสรรงบการศึกษาพื้นฐานมากกว่าระดับอื่นๆ ปิรามิดหัวกลับ(สหรัฐอเมริกา) รูปเพชรเอเชียตะวันออก ปัจจุบัน รูปปิรามิด(ประเทศส่วนใหญ่, circa 1960) ฐานแคบลง เอเชียตะวันออก 1980s) (ไทย) 3.World Bankวัดจากลักษณะการกระจายงบประมาณ พบไทยไปทุ่มงบอุดมศึกษามากกว่ามัธยม …บางประเทศเน้นหลังมัธยม อุดมศึกษา มัธยม ประถม Source : World bank 2003

  22. 4. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ใช้ข้อมูลธนาคารโลก)ผลประเมิน2549:การศึกษาคือจุดอ่อนของประเทศไทย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สรุปงานสัมมนาประจำปี 2549 ของธปท.ในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการก้าวสู่เศรษฐกิจเอเชียยุคใหม่ ” (ใช้ข้อมูลธนาคารโลก) จุดอ่อนที่สุดของประเทศไทยคือด้านการศึกษา ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย

  23. 5. ผลประเมินจากการวิจัยโดยสภาการศึกษา ปฏิรูปการศึกษาผ่านไป 9 ปี ช่วง 2542 -2549 1.ส่วนใหญ่ประชาชนพอใจสภาพการจัดการศึกษา 88% เห็นว่ามีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น 2.คาดหวังให้-ครูได้รับการอบรมเทคนิกการสอนที่หลากหลาย -นักเรียนได้รับการปลูกฝังคุณธรรมมากขึ้น -สถานศึกษามีมาตรฐานคุณภาพและอุปกรณ์มากขึ้น 3.การมีส่วนร่วมต้องการบริจาคเงินซื้ออุปกรณ์+พัฒนาบรรยากาศร.ร -ต้องการสนับสนุนโรงเรียนใช้ ICTช่วยสอน -ผู้ปกครองต้องการแสดงความคิดเห็น ร่วมช่วยเหลือ

  24. 6.รมว.ศธ.ศ.วิจิตรสรุปผลสำเร็จ10ปีปฏิรูปการศึกษาไทยปี2542 ถึง2550 1.มีหลักประกันด้านเจตจำนงของรัฐให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน บรรจุในรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 2.ทุกพรรคการเมืองมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้เกิดความหวังปัจจัยเกื้อกูล 3.ประชาชนมีส่วนร่วมเรียกร้องให้จัดมีประสิทธิภาพเช่นการสอบ O-Net ให้ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระ 4.ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารและครูออกมาขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นวาระแห่งชาติ 5.ปัจจัยการบริหาร ได้รับงบอันดับ 1 ของประเทศติดต่อมาทุกปี

  25. 6.รมว.ศธ.วิจิตรสรุปผลสำเร็จ10ปีของการปฏิรูปการศึกษา ปี2550 (ต่อ) 6. ความก้าวหน้าของการปฏิรูปการศึกษาที่ชัดเจนมากที่สุด อ • มีระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก ใช้อ้างอิง ตอบสนองต่อสภาพปัญหาทางการศึกษา และเป็นเครื่องมือกำหนดนโยบาย • เน้นการปฏิรูปการเรียนรู้และการกระจายอำนาจ ซึ่งยึดสถานศึกษาเป็นฐาน และไม่ต้องการให้ สมศ. มองข้ามสถานศึกษา เพราะผลของสถานศึกษาเกิดที่สถานศึกษา • ศธ.และหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนเล็กลง

  26. 7. งานวิจัยสภาการศึกษา ชี้สภาวะการศึกษาไทยล่าสุดปี 2550- 2551ปัญหาทั้ง"คุณภาพ-ปริมาณ” (มติชน 1 กันยายน 2551) มอบวิทยากร เชียงกุล วิจัย เรื่อง "สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551ปัญหาความเสมอภาค และคุณภาพของการศึกษาไทย" • สรุปภาพรวมการศึกษาไทย ยังมีปัญหาทั้งปริมาณ และคุณภาพ • 1. พบว่าประชากรในวัยเรียน 3-17 ปี มีโอกาสได้รับการศึกษาเป็นสัดส่วนต่อประชากรสูงขึ้นจาก 85.31% ในปีการศึกษา 2549 เป็น 88.77% ในปี 2551

  27. 7. ชี้สภาวะการศึกษาไทยปี 2550 -2551 (วิทยากร เชียงกูล) • 2. จำนวนประชากรวัย 3-17 ปี ที่หายไปไม่ได้เรียนในปี 2551 สูงถึง 11.23%หรือ 1.6 ล้านคน ของประชากรวัยเดียวกัน ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้รัฐบาลจัดการศึกษาภาคบังคับ9 ปี • แสดงว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียน และออกกลางคัน ไม่ได้เรียนต่อในช่วงชั้นต่างๆ มาก • ข้อมูลออกกลางคันปี 2550 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) พบว่า มีนักเรียนออกกลางคันในทุกระดับชั้นรวม 1.19 แสนคน หรือ 1.4%

  28. 7. ชี้สภาวะการศึกษาไทยปี 2550-51(วิทยากร เชียงกูล) • 3. จำนวนนักศึกษาปริญญาตรีในปี2549-2550 มีประมาณ 2.4 ล้านคน ปริญญาโท 1.8 แสนคน และปริญญาเอก 16,305 คน • จบปริญญาตรี ปีละ 2.7 แสนคน • ว่างงานปีละ 1 แสนคน จุดนี้ทำให้ผู้เรียนระดับต่ำกว่าปริญญาตรีในปี2550ลดลง เพราะสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ขยายการเรียนระดับปริญญาตรี และสูงกว่ามากขึ้น เนื่องจากนิยมเรียนให้ได้ปริญญา

  29. 7.ชี้สภาวะการศึกษาไทยปี 2550-2551(วิทยากร เชียงกูล) • 4. การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา จากการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศ อันดับของไทยมีแนวโน้มต่ำลงมาตลอด • ปัจจัยที่เป็นตัวฉุดคือ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการศึกษา และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ • จากการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องมาตรฐานครู ด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า สถานศึกษามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.2 หรืออยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง

  30. 7. ชี้สภาวะการศึกษาไทยปี 2550-2551(วิทยากร เชียงกูล) • ข้อเสนอแนะการพัฒนาการศึกษาไทย • 1. ต้องจัดการศึกษาและจัดกิจกรรมให้ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ให้เรียนรู้ใหม่ปรับตัวใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และสร้างสรรค์ • จำนวนประชากรไทยจะเพิ่มในอนาคต โครงสร้างอายุจะเปลี่ยนไป คือ มีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี เป็นสัดส่วนสูงขึ้น • สัดส่วนคนวัยทำงาน และวัยเด็กลดลง • เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมโลกมีปัญหามากขึ้น • ต้องจัดการศึกษา แบบเน้นคุณภาพ เข้าใจปัญหา และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น

  31. 7.ข้อเสนอแนะสภาวะการศึกษาไทยปี 2550-51(วิทยากร เชียงกูล) • 2. ควรปฏิรูปโครงสร้างการบริหารการศึกษา แบบลดขนาด • 3. ลดบทบาทของการบริหารแบบรวมศูนย์อยู่ที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และส่วนกลาง • 4. กระจายอำนาจ ให้มีการบริหารแบบใช้ปัญญารวมหมู่ • 5. ปฏิรูปการจัดสรร และการใช้งบประมาณให้เป็นธรรม

  32. 7.ข้อเสนอแนะสภาวะการศึกษาไทยปี2550-2551(วิทยากร เชียงกูล) • 6. ปฏิรูปด้านคุณภาพประสิทธิภาพ และคุณธรรม ของครูอาจารย์ • 7. เปลี่ยนแปลงวิธีวัดผลสอบแข่งขัน และการคัดเลือกคนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยรัฐ • 8.ปฏิวัติการศึกษาสร้างความเสมอภาค โดยเฉพาะต้องทุ่มงบฯพัฒนาเด็กปฐมวัย ไม่ใช่ทุ่มงบฯ กับโครงการเมกะโปรเจ็คต์

  33. 8. สวนดุสิตโพล สำรวจปัญหาอุปสรรคของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (8 กันยายน 2551) ระดับชั้นอนุบาล 1. สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอนไม่เพียงพอ 2. เด็กยังเล็กไม่สามารถดูแลตัวเองได้ 3. ครูมีน้อยไม่สามารถดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่ 4. ศักยภาพของครูผู้สอนและการเตรียมพร้อมใน การสอนของครู 5. การเรียนรู้พัฒนาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน

  34. 8.สวนดุสิตโพล สำรวจปัญหาอุปสรรคของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (8 กันยายน 2551) ระดับชั้นประถมศึกษา • 1.ศักยภาพของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน และขาดความพร้อมด้านเครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย • 2. เด็กขาดความกระตือรือร้น ไม่ให้ความสำคัญในการเรียน ปัญหาเรื่องเด็กขาดทักษะ คิดไม่เป็น และไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง • 3. ครูไม่มีเวลาดูแลเด็กได้เต็มที่ และภาระงานมีมาก • 4. วุฒิการศึกษาและความรู้ความสามารถของครูผู้สอนไม่ตรงกับวิชาที่สอน

  35. 8. สวนดุสิตโพลระดับชั้นมัธยมศึกษา(8กันยายน2551) • 1.เด็กไม่ตั้งใจเรียน ขาดความสนใจ และสมาธิในการเรียนมีน้อย • 2.หลักสูตรการเรียนการสอนไม่เหมาะสมกับวัยของเด็ก • 3.สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ • 4. สภาพสังคม และสื่อต่างๆ ที่มอมเมาเยาวชนจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง • 5. เด็กสนใจกิจกรรมมากเกินไปจนไม่มีเวลาทบทวนบทเรียน

  36. 8. สวนดุสิตโพล เรื่องเร่งด่วนที่ควรแก้ไข (8 กันยายน 2551) • อันดับ1 ควรปรับปรุงหลักสูตรการเรียน การสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก • 2. ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ • 3. ควรมีสื่อการเรียนการสอนเพียงพอเหมาะสมกับวิชาที่เรียน • 4. สร้างพื้นฐานคุณธรรมเริ่มต้นจากครอบครัว ปลูกฝังให้เด็กรักการเรียนการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์ และสอดแทรกเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้มากขึ้น

  37. 9. เวทีอภิปราย“อุดมศึกษา : ทางรอดแห่งวิกฤติของสังคมไทย”จัดโดยที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ( คมชัดลึก 8 กันยายน 2551) • 1. จำนวนสถาบันอุดมศึกษาไทยมีอยู่ถึง260 สถาบัน ทำให้แย่งนักศึกษาเข้าเรียน ส่งผลต่อคุณภาพลดลง • 2. ตัวชี้วัดหนึ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพอุดมศึกษาไทยคือ ไม่ติดอันดับ1ใน 500ของโลก • ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สกอ.ควบคุมคุณภาพไม่ได้ • แต่ละมหาวิทยาลัยมีพ.ร.บ.ของตนเอง • กระบวนการได้มาซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย เป็นระบบของอาจารย์เลือกคณบดี คณบดีเลือกอธิการบดี และอธิการบดีเลือกสภามหาวิทยาลัย จึงอนุมัติได้ง่าย

  38. 9. เวที“อุดมศึกษา : ทางรอดแห่งวิกฤติของสังคมไทย”(ต่อ) • 3. อาชีวศึกษาเปิดสอนระดับปริญญาตรีอีกกว่า 480 แห่ง • 4. น่าห่วงถึงวิกฤติอุดมศึกษาไทย ดูจากโฆษณาว่า “จ่ายครบ จบแน่”รวมถึงการเปิดศูนย์การศึกษามากมาย • 5. การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) รอบ 3 ในอีก 5 ปีข้างหน้า ควรจัดลำดับสถาบันไหนคุณภาพดี เพื่อเชื่อมโยงกับการจัดสรรงบประมาณ

  39. 9. เวที“อุดมศึกษา : ทางรอดแห่งวิกฤติของสังคมไทย” • 6. แต่ละคณะจัดการเรียนการสอนแต่สิ่งที่เคยสอนในอดีต ไม่คำนึงถึงการปรับเปลี่ยนเข้าสู่สภาพความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน • 7. รอยต่อระหว่างสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับอุดมศึกษาไม่เชื่อมโยงกัน ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต • 8. ต้องสร้างนักศึกษาให้มีภูมิต้านทานความคิด เวลานี้นักศึกษาถูกชี้นำไปในทางที่ไม่รู้จักคิดอย่างมีเหตุและผล

  40. 10 อาการที่ทำให้ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์อดีตเลขาธิการสกอ.มติชน13พ.ย.2551) 1.คุณภาพการศึกษาพื้นฐานตกต่ำ: ต้องปฏิรูปการเรียนรู้ -สมศ.หรือผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติ (NT) ต่างพบนักเรียนไทยส่วนใหญ่มีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน 2.ปัญหาของการปฏิรูปโครงสร้าง -มีปลัดกระทรวงถึง 5 คน -โรงเรียนถูกถ่ายโอนจากโครงสร้างรูปแบบกรมแบบเดิม ไปสังกัดเขตพื้นที่

  41. 10 อาการที่ทำให้ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์มติชน13พ.ย.2551) 3.ปัญหาของครู -วิชาชีพครู ตกต่ำ ผลิตครูมากถึงปีละ12,000 คน ในขณะที่อัตราบรรจุครูใหม่ในแต่ละปีมีเพียง 3,000-4,000 คน - ขาดแคลนครูในสาขา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา -ครูเป็นหนี้ เพราะโครงสร้างเงินเดือนในระบบราชการที่โบราณ 4.ขาดแคลนบัณฑิต แต่บัณฑิตที่มีอยู่ก็ยังตกงาน - ขาดแคลนกำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม

  42. 10 อาการที่ทำให้ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์มติชน13พ.ย.2551) • 5.ปัญหาของอาชีวศึกษา -ความนิยมที่ตกต่ำ ปัญหาด้านคุณภาพ วัฒนธรรมแปลกที่ไม่พบในที่ใดในโลก คือ ยกพวกตีกัน -กำลังจะมี "สถาบันอาชีวศึกษา" ในสถานภาพของอุดมศึกษาเต็มรูปแบบเกิดขึ้นอีก ทั้งที่ประเทศไทยมีอุปทานด้านอุดมศึกษามากกว่าอุปสงค์

  43. 10 อาการที่ทำให้ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์มติชน13พ.ย.2551) • 6.วิทยาลัยชุมชน - เดิมจะผนวกอาชีวศึกษาชั้นต้นให้เป็นส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้อาชีวะชั้นสูงรวมเป็นส่วนของอุดมศึกษา คือไม่ต้องมีแท่งอาชีวะ จึงคิดสร้างวิทยาลัยชุมชน - แต่แล้วอาชีวศึกษายังคงอยู่ จัดโครงสร้างเป็นองค์กรหลัก แยกออกจากการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา วิทยาลัยชุมชนที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว รวม 20 แห่ง - ความไม่ชัดเจนของสถานภาพ และพันธกิจที่มีบางส่วนซ้ำซ้อนกับอาชีวศึกษา ยังมีความคาดหวังของชุมชนที่คิดว่ามีอุดมศึกษาอยู่ในพื้นที่ และอาจมีโอกาสพัฒนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยในที่สุด

  44. 10 อาการที่ทำให้ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์มติชน13พ.ย.2551) • 7.ปริญญาเฟ้อ "ไร้ทิศทาง ซ้ำซ้อน ขาดคุณภาพ ขาดประสิทธิภาพ" -20ปีที่ผ่านมา คนไทยเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาต่ำเพียง 14% ของจำนวนประชากรวัยอุดมศึกษา ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษา255 แห่ง โอกาสเข้าสู่อุดมศึกษาจึงเปลี่ยนไป เป็นใกล้ 50% • 8.การขาดวิจัยและพัฒนา ขาดนวัตกรรม และปัญหาความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม“ -ปี 2548 อาจารย์50,000 คน ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเพียง 2,000 ฉบับ ในจำนวนนี้ 90% เกิดมาจากมหาวิทยาลัยเพียง 8 แห่ง เฉลี่ยตีพิมพ์เพียงคนละ 0.12 บทความ • ถ้าเปรียบเทียบประเทศอื่น อาจารย์จะตีพิมพ์คนละไม่ต่ำกว่า 2 ฉบับต่อปี มากกว่าที่ดีที่สุดของไทย ถึง 20 เท่า

  45. 10 อาการที่ทำให้ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์มติชน13พ.ย.2551) • 9.การปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษา -ข้อจำกัดของการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม และไม่เป็นธรรม -มหาวิทยาลัยที่ได้งบประมาณน้อยที่สุดได้50 ล้านบาท ในขณะที่มหาวิทยาลัยที่ได้มากที่สุด ได้เกิน 5,000 ล้านบาท -ความต่างกันมากระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐ และของเอกชน • 10.เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา -สารสนเทศที่ใช้ในการศึกษา ไทยใช้คอมพิวเตอร์เพียง 43 เครื่องต่อประชากร 1,000 คน ญี่ปุ่นใช้ 477 เครื่อง เกาหลีใต้ 324 เครื่อง ไต้หวัน 314 เครื่อง และมาเลเซีย 137 เครื่อง -ขาดแคลนแหล่งเรียนรู้โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แบบอีเลิร์นนิ่ง (e-learning)

  46. สรุป ผลประเมินปัจจัยอำนาจของการศึกษาพบว่าประเมินวิธีไหน ก็ยังหวังพึ่งไม่ได้ (1) ไทยต้องแข่งขันระหว่างประเทศ แต่ศักยภาพ ยังต่ำหลายด้าน (การศึกษากลายเป็นตัวฉุด) (2) มีการจัดทำตัวชี้วัดปัจจัยความสำเร็จหลายสูตร ไทยต่ำเกือบทุกตัว (จะใช้ตัวชี้ใดเป็นตัวหลัก?) (3) ปัจจัยไทยอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการศึกษา (ที่มีจุดอ่อน) • พบว่าบัณฑิตสายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมีร้อยละ30 ขณะที่สายสังคม ร้อยละ70 • แต่จบมาแล้วตกงาน เพราะผลิตไม่ตรงตลาด และคิดไม่เป็นทำไม่เป็น

  47. ประเด็นที่ 4. • บริบทของสังคมส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษาอย่างไร

  48. ประเด็นที่ 4.บริบทของสังคมที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษา • (1) กระแสรัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพ เกิดกระแสเสียงเรียกร้องสิทธิ์ แต่ยังไม่เข้าใจหน้าที่ ซึ่งสิทธิ์ต้องมาควบคู่กับหน้าที่ • (2) กระแสเรียกร้องคุณภาพจากผู้จัด จากรัฐ แต่ยังขาดส่วนความรับผิดชอบของผู้รับบริการ • (3)ยังมีความแตกต่างไม่ทัดเทียมระหว่างเมือง กับชนบท ชนชั้นสูงกับชาวรากหญ้า

  49. 4.บริบทของสังคมที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษา4.บริบทของสังคมที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษา • (4) ปัจจัยการศึกษามาจาก ตัวหลักสูตร วิธีสอน สื่อการสอน ค่านิยมผู้ปกครอง กระแสโลกาภิวัตน์ และปัจจัยนโยบายการเมือง (ยังไม่ชัดเจนว่าสังคมจะมีส่วนร่วมอย่างไร) • (5) การขับเคลื่อนแผนงานอย่างมียุทธศาสตร์ กลายเป็นทักษะจำเป็นของผู้บริหาร (จะทำให้ผู้บริหารทุกระดับทำงานเป็นทีมเดียวได้อย่างไร) • (6) ทรัพยากรมนุษย์ต้องพัฒนาให้เรียนรู้และสร้างความรู้ด้วยตนเอง จากระบบการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย หรือที่เรียกว่าการศึกษาตลอดชีวิต (ที่ยังไม่มีใครสนใจ)

  50. ประเด็นที่4. บริบทของสังคมที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษา • (7) เสียงเรียกร้องให้การศึกษาปรับตัวให้ทันสมัยและถูกใช้เป็นเครื่องมือจัดการความรู้เพื่อยกฐานะและคุณภาพชีวิตของหน่วยงานและคนวัยทำงาน • (8) กระแสเทคโนโลยีไหลบ่า สร้างปัญหาสังคมรูปแบบใหม่ ที่ภาคการศึกษาไล่ไม่ทัน เช่น No Sex or Save Sex, On line Gambling, Brand Name/Fashion Consumers

More Related