310 likes | 426 Views
การค้ามนุษย์. รายงานของ UNODC. รูปแบบการค้ามนุษย์ เกี่ยวข้องกับการค้าบริการทางเพศ 87% การใช้แรงงาน 28% การซื้อขายมนุษย์ เพื่อบริการทางเพศ มีจำนวนสูงขึ้น มากกว่าการลักลอบซื้อขาย เพื่อใช้แรงงาน. ความหมายการค้ามนุษย์ :พิธีสาร. การค้ามนุษย์ในพิธีสารข้อ 3 หมายถึง.
E N D
รายงานของ UNODC • รูปแบบการค้ามนุษย์ เกี่ยวข้องกับการค้าบริการทางเพศ 87% การใช้แรงงาน 28% • การซื้อขายมนุษย์เพื่อบริการทางเพศมีจำนวนสูงขึ้น มากกว่าการลักลอบซื้อขายเพื่อใช้แรงงาน
ความหมายการค้ามนุษย์ :พิธีสาร การค้ามนุษย์ในพิธีสารข้อ 3 หมายถึง • (1) การจัดหา ขนส่ง ย้าย จัดให้อยู่ในที่พักพิง หรือรับไว้ • (2) ซึ่งบุคคล (โดยเฉพาะหญิงและเด็ก) • (3) โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ • - ด้วยวิธีการข่มขู่ -คุกคามหรือใช้กำลัง -ด้วยการลักพาตัว • - ด้วยการบังคับในรูปแบบอื่นใด - ด้วยการหลอกลวง • - ด้วยการใช้อำนาจที่เหนือกว่าหรือความอ่อนแอของ • ผู้ถูกกระทำ หรือ • - มีการให้หรือรับค่าตอบแทนเป็นเงินหรือประโยชน์ • อย่างอื่น
ความหมายการค้ามนุษย์ :พิธีสาร(ต่อ) • (4) เจตนาธรรมดา • (5) เจตนาพิเศษหรือมูลเหตุชักจูงใจเพื่อนำผู้ถูกกระทำไปแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบซึ่งอย่างน้อยที่สุดต้องรวมถึง • - การค้าประเวณีหรือการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ • ในรูปแบบอื่น • - การบังคับแรงงานหรือบริการ • - การเอาลงเป็นทาสหรือกระทำอย่างอื่นในลักษณะเดียวกัน • - การจองจำ และ • - การตัดอวัยวะออกจากร่างกาย
ความเป็นมา • เดิมประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ มาบังคับใช้เป็นการเฉพาะ แต่มีการนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับมาใช้ให้เหมาะสมกับความผิด โดยมีเจตนารมณ์เพื่อคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • ประมวลกฎหมายอาญา และที่แก้ไขเพิ่มเติม (เพื่อบริการทางเพศ เช่น สนองความใคร่ อนาจาร เพื่อใช้แรงงาน เช่น เอาคนลงเป็นทาส การแสวงประโยชน์จากการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมาย) • พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 • พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 • พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) • พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปราม การค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 (ปัจจุบันถูกยกเลิก และประกาศใช้เป็นพ.ร.บ.ค้ามนุษย์ฯ พ.ศ.2551 แทน) • พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 • พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 • เนื่องจากพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิง และเด็ก พ.ศ. 2540 ยังมิได้กำหนดลักษณะความผิดให้ครอบคลุม การกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคล ที่มิได้จำกัดแต่เฉพาะหญิงและเด็ก และกระทำด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้น เช่น การนำบุคคลเข้ามาค้าประเวณีในหรือส่งไปค้านอกราชอาณาจักร บังคับใช้แรงงาน บริการหรือขอทาน บังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบประการอื่น ซึ่งในปัจจุบัน ได้กระทำในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมากขึ้น ประกอบกับประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งใน
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 (ต่อ) ลักษณะองค์กร และพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร จึงสมควรกำหนดลักษณะความผิดให้ครอบคลุมการกระทำดังกล่าว เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับพันธกรณีของอนุสัญาและพิธีสารจัดตั้งกองทุนเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมทั้งปรับปรุงการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย
สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฯ • บังคับใช้กับความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ • ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เด็กหญิงและเด็กชาย • ยกเลิกพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. 2540 • ให้ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
กำหนดคำนิยามที่สำคัญ • แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ “การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม” • การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ “การข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเอง หรือของผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้”
“การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” หมายความว่า • - การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี • - การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก • - การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น • - การเอาคนลงเป็นทาส • - การนำคนมาขอทาน • - การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ • - การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า • - หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่า • บุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม • ( นิยาม ตาม ม.4 แห่ง พ.ร.บ.ค้ามนุษย์)
“การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทำงานหรือบริการ • - โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเองหรือของผู้อื่น • - โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ • - โดยใช้กำลังประทุษร้าย • - หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ • ( นิยาม ตาม ม.4 แห่ง พ.ร.บ.ค้ามนุษย์)
“การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทำงานหรือบริการ • - โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเองหรือของผู้อื่น • - โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ • - โดยใช้กำลังประทุษร้าย • - หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ • ( นิยาม ตาม ม.4 แห่ง พ.ร.บ.ค้ามนุษย์)
กำหนดคำนิยามที่สำคัญ (ต่อ) • องค์กรอาชญากรรม “คณะบุคคลซึ่งมีการจัดโครงสร้างโดยสมคบกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง และไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่ชัดเจนมีการกำหนดบทบาทของสมาชิกอย่างแน่นอน หรือมีความต่อเนื่องของสมาชิกภาพหรือไม่ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง หรือหลายฐานที่มีอัตราโทษจำคุกชั้นสูงตั้งแต่สี่ปีขึ้นไป หรือกระทำความผิดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันมิชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม” • เด็ก “หมายถึงบุคคลผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี”
หมวด 1: บททั่วไป • กำหนดลักษณะการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ - ผู้ใดเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ กระทำการอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้ • เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจ โดยมิชอบ.... • เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ ซึ่งเด็ก
เด็กสมัครใจค้าประเวณีโดยไม่มีผู้เป็นธุระจัดหาไม่เป็นการเด็กสมัครใจค้าประเวณีโดยไม่มีผู้เป็นธุระจัดหาไม่เป็นการ ค้ามนุษย์ เพราะไม่มีผู้ใดแสวงหาประโยชน์จากเด็ก และเด็กอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ เช่น ความผิดฐาน เข้าติดต่อ ชักชวนฯ มั่วสุมในสถานการค้าประเวณี โฆษณาเพื่อการค้าประเวณี (เด็กเป็นผู้กระทำความผิด) • เด็กสมัครใจค้าประเวณีโดยมีผู้เป็นธุระจัดหาเป็นการค้ามนุษย์ เพราะมีผู้แสวงหาประโยชน์จากเด็ก เด็กเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ (เด็กเป็นเหยื่อ) • เด็กไม่สมัครใจค้าประเวณีโดยมีการบังคับ ล่อลวง ฯ เป็นการ ค้ามนุษย์ เด็กเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ (เด็กเป็นเหยื่อ)
ผู้หญิง ผู้ชายสมัครใจค้าประเวณีไม่เป็นการค้ามนุษย์ ผู้หญิง ผู้ชายอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ (ผู้หญิง ผู้ชายเป็นผู้กระทำความผิด) • ผู้หญิง ผู้ชายสมัครใจค้าประเวณีโดยมีผู้เป็นธุระจัดหา ไม่เป็นการค้ามนุษย์ ถ้าไม่มีการล่อลวง บังคับ ฯลฯ ผู้หญิง ผู้ชาย ผู้เป็นธุระจัดหา มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ (ผู้หญิง ผู้ชายเป็นผู้กระทำความผิด) • ผู้หญิง ผู้ชายไม่สมัครใจค้าประเวณีมีการล่อลวง บังคับฯลฯ เป็นการค้ามนุษย์ ผู้หญิง ผู้ชาย เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ (ผู้หญิง ผู้ชายเป็นเหยื่อ)
หมวด 2: คณะกรรมการระดับชาติ • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) • นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน • คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) • รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
หมวด 3: พนักงานเจ้าหน้าที่ • อำนาจหน้าที่ทั่วไป • จัดให้มีการคุ้มครองชั่วคราว • การได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสาร
หมวด 4: การช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจาก การค้ามนุษย์ • มาตรา 29: คุ้มครองป้องกันภัยแก่บุคคลที่มีเหตุอันควร เชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ • มาตรา 33: ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ • มาตรา 34: เรียกค่าสินไหมทดแทน • มาตรา 36: คุ้มครองพยาน • มาตรา 41: ห้ามมิให้ดำเนินคดีกับผู้เสียหาย
หมวด 5: กองทุน • การคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการ ค้ามนุษย์ • ช่วยเหลือผู้เสียหายในต่างประเทศให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถิ่นที่อยู่ • ช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมขององค์กรเอกชนฯ
หมวด 6: บทกำหนดโทษ • ระวางโทษ ต่ำสุดจำคุกตั้งแต่สี่ปี ถึงสิบห้าปี • ปรับ ต่ำสุดตั้งแต่แปดหมื่นบาท ถึงหนึ่งล้านบาท
จัดทำโดย นาย จำเริญ กันจัย รหัส 50123257 หมู่เรียน วค 50ว4.1