1 / 26

การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure

การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure. ปัญหาของการประมวลผลแบบ fixed-weighted volume measures ในปัจจุบันรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ใช้ดัชนีปริมาณที่มีตัวถ่วงน้ำหนักคงที่ (fixed-weighted volume index) แบบ Laspeyres index โดยใช้ราคาในปี พ . ศ .2531 ซึ่งเป็นปีฐานที่เก่ามาก

Download Presentation

การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure • ปัญหาของการประมวลผลแบบ fixed-weighted volume measures • ในปัจจุบันรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ใช้ดัชนีปริมาณที่มีตัวถ่วงน้ำหนักคงที่ (fixed-weighted volume index) แบบ Laspeyres index โดยใช้ราคาในปี พ.ศ.2531 ซึ่งเป็นปีฐานที่เก่ามาก • อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth rate) ที่คำนวณได้จากการใช้ราคาปีฐานที่ “เก่า”เกินไปมักจะมีค่าที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะจะให้น้ำหนักมากเกินไป (น้อยเกินไป) แก่สินค้าที่มีราคาถูกลง (แพงขึ้น) และที่มีปริมาณมากขึ้น (ลดลง) [“substitution bias”]

  2. การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure • ปัญหาของการประมวลผลแบบ fixed-weighted volume measures • การใช้ปีฐานที่ย้อนหลังไปมากๆ การปรับเปลี่ยนปีฐานใหม่แต่ละครั้งจะทำให้ต้องปรับลดผลการคำนวณอัตราการเติบโตในอดีตลงจากเดิมในสัดส่วนที่มากจนอาจไม่เป็นที่ยอมรับได้ • ผลการคำนวณอัตราการเติบโตแบบ Laspeyres index มักจะให้ค่าที่สูงกว่าผลการคำนวณแบบ Paasche index ความแตกต่างระหว่างผลการคำนวณ 2 แบบนี้ เรียกว่า “Laspeyres–Paasche gap”

  3. Laspeyres - Passche Volume Index Gap ปีฐาน 1988 ปีฐาน 2005 Laspeyres เส้นที่ควรจะเป็น Gap Passche

  4. การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure • ปัญหาของการประมวลผลแบบ fixed-weighted volume measures • ผลการคำนวณอัตราการเติบโตแบบ Laspeyres index มักให้ค่าที่สูงกว่าอัตราการเติบโตที่แท้จริง (true growth) ในทางตรงกันข้ามผลการคำนวณแบบ Paasche index มักให้ค่าที่ต่ำกว่าอัตราการเติบโตที่แท้จริงและการคำนวณแบบ Fisher จะให้ค่าที่ใกล้เคียงกับอัตราการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงมากที่สุด

  5. chained volume measures ดีกว่า fixed-weighted volume measures • ดัชนีแบบ chained (หรือดัชนีลูกโซ่) ใช้ชุดราคาที่เปลี่ยนไปในทุกช่วงเวลาของการคำนวณ โดยการเชื่อมโยงดัชนีสำหรับช่วงเวลาต่างๆ ที่อยู่ติดกัน เช่น CI5,1 = DI5,4 x DI4,3 x DI3,2 x DI2,1 • โดย CIj,i คือดัชนีลูกโซ่สำหรับปีที่ j เทียบกับปีที่ i • DIj,i คือ ดัชนีโดยตรง (direct index) สำหรับปีที่ j เทียบ • กับปีที่ i

  6. แนวคิดเกี่ยวกับปีฐาน • chained volume measures ดีกว่า fixed-weighted volume measures • ดัชนีแบบ chained มีคุณสมบัติที่ดีกว่าดัชนีแบบ fixed–weighted โดย คำนวณอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจได้แม่นยำกว่า เพราะมีการเพิ่มข้อมูลราคาที่ทันสมัยเพื่อใช้เป็นน้ำหนักในการคำนวณทุกๆ ปีทำให้ลด L-P gap ลง • ดัชนีแบบ chained สามารถเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม/สินค้าชนิดใหม่ๆ เข้าไปได้ตลอดช่วงอนุกรม • แต่ดัชนีแบบ chained ก็มีข้อบกพร่องหนึ่ง คือ ค่าของส่วนประกอบ (components) รวมกันจะไม่จำเป็นต้องเท่ากับค่าของยอดรวม (aggregates) เรียกว่า non–additivity

  7. พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher คำนวณรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ชุดใหม่ ปรับค่าด้วยดัชนีปริมาณต่อไปนี้ • Fixed-weight Index ซึ่งใช้ราคาของปีต่างๆ เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก • Annual Chain Index แบบ Laspeyres • Annual Chain Index แบบ Paasche • Annual Chain Index แบบ Fisher คำนวณอัตราการเติบโตของ GDP และส่วนประกอบสำคัญ ทั้ง Production Approach (สาขาการผลิต 16 สาขา)และ Expenditure Approach ( Private consumption expenditure, Government consumption expenditure และGross fixed capital formation)

  8. พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher เพื่อหาคำตอบว่า • การเปลี่ยนปีฐาน ทำให้ Growth rate ในการคำนวณด้วย Fixed-weighted Index เปลี่ยนไปอย่างไร • Annual chain index ลด L-P gap ได้หรือไม่ เมื่อเทียบกับ Fixed-weighted Index • Fixed-weighted index แตกต่างจาก Annual chain index แบบ Fisher หรือไม่ • Annual chain index แบบ Laspeyres แตกต่างจาก Annual chain index แบบ Fisher หรือไม่

  9. พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • การเปลี่ยนปีฐาน ทำให้ Growth rate ในการคำนวณด้วย Fixed-weighted Index เปลี่ยนไปอย่างไร การใช้ปีฐานที่ทันสมัยขึ้น มีแนวโน้มที่จะทำให้ผลการคำนวณ Growth rate มีค่าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง GDP รวมและสาขาการผลิตสำคัญ

  10. พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • Annual chain index ลด L-P gap ได้หรือไม่ เมื่อเทียบกับ Fixed-weighted Index การใช้ Annual chain index สามารถลด L-P gap ได้เมื่อเทียบกับ Fixed-weighted Index สำหรับ GDP และ สาขาการผลิตส่วนใหญ่ ยกเว้น สาขาเกษตรกรรม สาขาขนส่ง และ สาขาการเงิน Expenditure Approach ผลการคำนวณไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน ซึ่งเป็นเพราะข้อมูล Inventory Change มีค่าเป็นลบค่อนข้างมากในปี 2540-2542 บิดเบือนการคำนวณดัชนีปริมาณ แต่เมื่อตัดออกก็ให้ผลการคำนวณในทิศทางเดียวกันกับ Production Approach

  11. พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • Fixed-weighted index และ Annual chain index แบบ Laspeyres แตกต่างจาก Annual chain index แบบ Fisher หรือไม่

  12. พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • Fixed-weighted index และ Annual chain index แบบ Laspeyres แตกต่างจาก Annual chain index แบบ Fisher หรือไม่

  13. พิสูจน์ Substitution Bias ระหว่าง Fixed-WeightIndex และ Chain Index ทั้งแบบ Laspeyres Paasche และ Fisher • ค่าความแตกต่างระหว่างผลรวมของส่วนประกอบของ GDP และ GDP ที่คำนวณได้โดยตรงโดยใช้ Annual Chained Index

  14. การปรับปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทยการปรับปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย ปีฐาน พ.ศ. 2499:ชุดอนุกรม พ.ศ. 2494-2506 เป็นปีฐานแรกของประเทศไทยที่ใช้ในการคำนวณรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ ปีฐาน พ.ศ. 2505:ชุดอนุกรม พ.ศ. 2503-2518 เป็นชุดแรกที่มีการนำเสนอค่าสถิติตามระบบมาตรฐาน (1953 SNA) ปีฐาน พ.ศ. 2515:ชุดอนุกรม พ.ศ. 2513-2533 เป็นชุดแรกที่มีการประมวลผลทางด้านรายได้ ทำให้มีการคำนวณครบถ้วนทั้ง 3 ด้าน ปีฐาน พ.ศ. 2531:เป็นปีฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซี่งมีการเพิ่มรายการคำนวณใหม่ ปรับปรุงวิธีการคำนวณ และเปลี่ยนแปลงแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ รวมทั้งปีฐานที่ห่างจากเดิมมาก ทำให้รายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่สูงขึ้นถึงปีละ 864,300 ล้านบาท แต่ไม่ได้ทำให้ทิศทางและโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ

  15. แนวทางการคัดเลือกปีฐานแนวทางการคัดเลือกปีฐาน ปีที่เป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปีปัจจุบัน ปีที่ภาวะเศรษฐกิจปกติ ปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่มีข้อมูลการสำมะโน สำรวจหรือการใช้ระบบข้อมูลใหม่ ปีที่เป็นปีฐานของดัชนีราคาผู้ผลิตหรือดัชนีราคาผู้บริโภค ปีที่มีการจัดทำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต

  16. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด น่าจะพิจารณาเฉพาะ 5 ปีล่าสุด คือ ปี พ.ศ. 2544-2548 • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ • ค่อนข้างต่ำในปี 2544 (2.2%) • อยู่ในเกณฑ์ปกติในปี 2545-2547 (ระหว่าง 4%-7%) • ยังไม่แน่นอนสำหรับปี 2548 (คาดว่า 3%-4%)

  17. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ อัตราเงินเฟ้อ (ทั้ง headline และ core) • ต่ำตามปกติในปี 2544-2546 (ไม่เกิน 2%) • เริ่มสูงขึ้นบ้างในปี 2547 (headline inflation =2.7%) • สูงเกินปกติในปี 2548 (headline inflation ประมาณ 4%)

  18. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ ฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ • เกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปี ยกเว้นปี 2548 • มูลค่าการนำเข้าและส่งออกลดลงในปี 2544 • เงินทุนสุทธิไหลออกทุกปียกเว้นปี 2547 และ 2548 • บัญชีชำระเงินระหว่างประเทศ (Balance of Payment) เกินดุลทุกปี (ต่ำสุดในปี 2546 และสูงสุดในปี 2547) • ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง • หนี้ต่างประเทศคงค้างลดลงอย่างต่อเนื่อง

  19. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ นโยบายการคลัง • งบประมาณขาดดุลในปี 2544-2545 • งบประมาณเกินดุลเล็กน้อยในปี 2546-2547 • งบประมาณขาดดุลเล็กน้อยในปี 2548 • หนี้สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ลดลงเมื่อเทียบกับ GDP

  20. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ การเงิน • ปริมาณเงินขยายตัวไม่มาก • สภาพคล่องสูง • อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ มีแนวโน้มลดลง แต่เพิ่มขึ้นในปี 2548 • เงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้น เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

  21. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาฯ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 : 2545-2549 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 : 2550-2554

  22. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่มีข้อมูลสำมะโน/สำรวจ หรือการใช้ข้อมูลระบบใหม่

  23. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่เป็นปีฐานของดัชนีราคาฯ ปีฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค : 2541 และ 2545 ปีฐานของดัชนีราคาผู้ผลิต : 2543

  24. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • ปีที่มีการจัดทำข้อมูลตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ปีล่าสุด คือ 2543 • ปีที่ลงท้ายด้ยเลขศูนย์ หรือเลขห้า (นับตาม ค.ศ.) ค.ศ. 2005 (พ.ศ.2548)

  25. การศึกษาและคัดเลือกปีฐาน (base year) ที่เหมาะสม • สรุป ปี พ.ศ. 2545 สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มากที่สุด • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะค่อนข้างปกติ • ปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 • ปีที่มีข้อมูลสำมะโน/สำรวจ เกือบทุกสาขา (เกษตร อุตสาหกรรมการผลิต การค้าและบริการ) • ปีฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค

  26. แผนงานการปรับเปลี่ยนปีฐานแผนงานการปรับเปลี่ยนปีฐาน ระยะที่ 1: ในปี 2548 ศึกษาแนวทางการประมวลผล คัดเลือกปีฐานที่เหมาะสม ศึกษาและรวบรวมข้อมูลกิจกรรมใหม่ ศึกษาและปรับปรุงวิธีการคำนวณรายกาต่างๆ วางแนวทางระบบประมวลผลให้มีประสิทธิภาพ ระยะที่ 2: ในปี 2549 ประมวลผลรายได้ประชาชาติปีฐานให้เสร็จสมบูรณ์เป็นเบื้องต้น ระยะที่ 3: ในปี 2550 จัดทำสมดุลระหว่างรายได้ประชาชาติปีฐานใหม่ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการผลิต ด้านรายจ่าย และด้านรายได้ และจัดสัมมนาเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ

More Related