1 / 14

การตรวจวัดน้ำมันเชื้อเพลิง ณ คลังน้ำมันฯ

การตรวจวัดน้ำมันเชื้อเพลิง ณ คลังน้ำมันฯ. การตรวจวัดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ณ คลังน้ำมัน เป็นการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ใน แต่ละถัง ดังนี้ 1. วัดระดับน้ำมันและอุณหภูมิของน้ำมันด้วยมือจาก ช่อง DIP บนถัง เพื่อมาคำนวณปริมาตร

Download Presentation

การตรวจวัดน้ำมันเชื้อเพลิง ณ คลังน้ำมันฯ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจวัดน้ำมันเชื้อเพลิง ณ คลังน้ำมันฯ การตรวจวัดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ณ คลังน้ำมัน เป็นการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ใน แต่ละถัง ดังนี้ 1. วัดระดับน้ำมันและอุณหภูมิของน้ำมันด้วยมือจาก ช่องDIP บนถัง เพื่อมาคำนวณปริมาตร 2. สำหรับถังที่ติดตั้งเครื่องวัดระดับอัตโนมัติ (Auto Gauge สามารถดูระดับและอุณหภูมิจากจอใน ห้องควบคุม (Control Room) โดยไม่ต้องขึ้วัด บนถัง แลว้นำมาคำนวณปริมาตร

  2. รูปแบบการวัดระดับน้ำมันรูปแบบการวัดระดับน้ำมัน - แบบทิ้งดิ่ง 1. แบบวัดตั้งแต่ก้นถังจนถึงระดับน้ำมัน (Sounding หรือ Dip ) 2. แบบวัดช่องว่างของน้ำมัน (Ullage) - อ่านจากระดับข้างถัง - Auto Gauge - แท่งไม้วัดระดับ

  3. อุปกรณ์การตรวจวัดระดับน้ำมันอุปกรณ์การตรวจวัดระดับน้ำมัน ลูกดิ่งทองเหลืองวัดแบบSounding หรือ Dip สายวัด

  4. อุปกรณ์การตรวจวัดระดับน้ำมันอุปกรณ์การตรวจวัดระดับน้ำมัน 0 ลูกดิ่งทองเหลือง วัดแบบ Ullage 15

  5. สารเคมี เป็นสารที่ใช้สังเกตุ หรืออ่านระดับของน้ำมัน และน้ำ มี 2 ชนิด คือ 1. ใช้อ่านระดับน้ำมัน จะมีสีชมพู โดยจะทา ที่สายเทปเพื่อสังเกตุจุดตัดของน้ำมัน 2. ใช้สังเกตุ หรือหาปริมาณน้ำในก้นถัง มีสีเหลืองโดยจะทาที่ลูกดิ่งทองเหลือง ตั้งแต่ปลายลูกดิ่งขึ้นมาประมาณ 3-4 ซม. หากก้นถังมีน้ำ สีจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู

  6. แบบตารางการคำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงแบบตารางการคำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง

  7. คำอธิบายแบบที่ใช้คำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงคำอธิบายแบบที่ใช้คำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง • ความจุ • คือความจุสูงสุดของถังซึ่งได้จากการเปิดตารางประจำถัง • (Tank Calibration Table) • ระดับน้ำ + น้ำมัน • ได้จาการอ่านสายเทปที่หย่อนจากหลังคาถังกรณีวัดด้วยมือ หรืออ่านจากเครื่องวัดระดับอัตโนมัติ (Auto Gauge) กรณี • ถังนั้นมีเครื่องติดตั้งไว้ และใช้งานได้ตามปกติ • ระดับน้ำในถัง • ได้จากการอ่านสายเทปที่หย่อนจากหลังคาถัง

  8. คำอธิบายแบบที่ใช้คำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง (ต่อ) 3. ระดับอุณหภูมิ ได้จาการอ่านเทอร์โมมิเตอร์ที่หย่อนแช่ทิ้งไว้จากหลังคาถัง หรืออ่านจากเครื่องวัดระดับอัตโนมัติ (ถ้ามี) 4. ปริมาตรของน้ำ + น้ำมัน ได้จากการนำระดับจากข้อ 1. ไปเปิดตารางประจำถัง โดยดู ระดับให้ตรงกับที่วัดได้ทั้งระดับ เซ็นติเมตร และ มิลลิเมตร 5. ปริมาตรของน้ำ ได้จากการนำระดับน้ำตามข้อ 2. ไปเปิดตารางประจำถัง เพื่อหาปริมาตรของส่วนเป็นน้ำ

  9. การปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาวะไม่ปกติ (ต่อ) 6. ปริมาตรของน้ำมันที่ถูกหลังคาลอยแทนที่ น้ำหนักของหลังคาลอยจะทำให้ปริมาตรของน้ำมันในถังสูงเกิน ความเป็นจริง ดังนั้น ต้องคำนวณหาปริมาตรของน้ำมันที่ถูก หลังคาลอยแทนที่ด้วย วิธีการคำนวณปริมาตรของน้ำมันที่ถูกหลังคาลอยแทนที่ 1. กรณีหลังคาลอยอิสระ ให้ใช้สูตรคำนวณโดยนำค่า API ตามข้อ 8. ไปเปิดตาราง 8 (กรณีค่าข้อ 8. เป็นค่าความ หนาแน่น Density ไม่ต้องเปิดตาราง 8 แต่ให้ใช้ค่าข้อ 8. ลบด้วย 0.0011) และค่าปรับปริมาตรจากข้อ 9. ไปหารค่า คงที่ที่กำหนดไว้ในสูตรการคำนวณ 2. กรณีหลังคาลอยตั้งอยู่บนพื้นถัง (มีระดับน้ำมันเหลือน้อย กว่าเงื่อนไขการใช้สูตร) ไม่ต้องใช้สูตรการคำนวณแต่ให้ใช้ ปริมาตรแทนที่ของหลังคาลอยจากตารางปริมาตรแทนที่ ของหลังคาลอยที่แสดงในตารางประจำถังนั้น

  10. คำอธิบายแบบที่ใช้คำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง (ต่อ) 7. ปริมาตรของน้ำมัน ณ อุณหภูมิที่วัด คำนวณโดยใช้ปริมาตรของน้ำและน้ำมันตามข้อ 4. ลบด้วย ปริมาตรของน้ำตามข้อ.5 และปริมาตรของน้ำมันที่ถูกหลัง คาลอยแทนที่ 8. ค่าความถ่วง API เป็นค่าความถ่วง API หรือค่าความหนาแน่น Density ของ น้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่ง (ขึ้นอยู่กับฐานการคำนวณของ แต่ละบริษัทฯ) ซึ่งเป็นค่าที่ผู้ค้าน้ำมันจะหาค่าไว้แล้วทุกครั้ง ที่รับน้ำมันเข้าถัง

  11. คำอธิบายแบบที่ใช้คำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง (ต่อ) 9. ค่าปรับปริมาตร ได้จากการใช้ค่าความถ่วง API หรือค่าความหนาแน่น Density ข้อ 8. และอุณหภูมิขณะตรวจวัด ข้อ 3. ไปเปิดตารางปรับปริมาตรจากอุณภูมิตรวจวัดไปที่ 600ฟ (กรณี API) หรือที่ 150ซ (กรณี Density) ดังนี้ กรณี APIกรณี Density น้ำมันสำเร็จรูป ตาราง 6B ตาราง 54B น้ำมันดิบ ตาราง 6A ตาราง 54A 10. ปริมาตรของน้ำมัน เป็นการปรับปริมาตรน้ำมัน ณ อุณหภูมิขณะตรวจวัดมาเป็น อุณหภูมิ 60 0 ฟ หรืออุณหภูมิที่ 15 0 ซ โดยใช้ค่าข้อ 7. คูณด้วยค่าข้อ 9.

  12. คำอธิบายแบบที่ใช้คำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง (ต่อ) 11. ค่าปรับปริมาตร ได้จากการใช้ค่าข้อ 8. และอุณหภูมิขณะตรวจวัดมาเป็น ณ อุณหภูมิที่ 86 0 ฟ (กรณี API) หรืออุณหภูมิ 30 0 ซ (กรณี Density) ไปเปิดตารางเดียวกับที่ใช้เปิดค่าในข้อ 9. 12. ปริมาตรของน้ำมัน เป็นการปรับปริมาตรน้ำมัน ณ อุณหภูมิ 60 0 ฟ หรือ 15 0 ซ มาเป็น ณ อุณหภูมิที่ 86 0 ฟ หรือ 30 0 ซ (ซึ่งเป็นอุณหภูมิ ที่ใช้ในการซื้อขายน้ำมัน) โดยใช้ค่าข้อ 10. หารด้วยค่าข้อ 11.

  13. ตัวอย่างการคำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงตัวอย่างการคำนวณปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง 182,881.3930 6.316X0.9852

  14. ขอบคุณ

More Related