500 likes | 711 Views
แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ. นายนิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต, ดร. โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์. การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ
E N D
แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ นายนิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต, ดร. โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค
คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบันคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง แนวทางความร่วมมือบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน วันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น
ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็แล้วแต่ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็แล้วแต่ • จะพบว่าทุกแห่งจะมีแนวปฏิบัติ • ทั้งนี้อาจจะเพื่อประสิทธิภาพของการทำงาน • หรืออาจจะเพื่อความปลอดภัยของผู้ทำงาน เพื่อนร่วมงาน และสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่จะกล่าวถึง ถ้าจะต้องดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรม ก็จะต้องดำเนินงานตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ • ขอบเขตของแนวปฏิบัติ • ประเภทของงานวิจัย • ระดับของความปลอดภัย
ขอบเขตของแนวปฏิบัติ • ใช้กับการวิจัยและทดลองในห้องปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและหรือการขยายจำนวนไวรอยด์ ไวรัส เซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีสารพันธุกรรมใหม่อันเกิดจากกระบวนการดัดแปลงสารพันธุกรรมซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและอาจมีอันตรายในด้านสาธารณสุข หรือต่อสิ่งแวดล้อม (บทที่ 2 และบทที่ 4)
ขอบเขตของแนวปฏิบัติ • ใช้กับการทดลองวิจัยหรือการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมในระดับความจุของถังหมักหรือถังปฏิกรณ์ชีวภาพที่มีความจุมากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป (บทที่ 6)
ขอบเขตของแนวปฏิบัติ • ใช้กับการวิจัยและทดลองภาคสนามของสิ่งมีชีวิตเฉพาะพืชและจุลินทรีย์ทุกชนิดที่เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งเมื่อผ่านการวิจัยและทดลองในระดับห้องปฏิบัติการแล้ว อาจมีความจำเป็นต้องมีการทดสอบภาคสนามรวมถึงในแปลงทดลองและสภาพไร่นา (บทที่ 7)
ถังหมัก 10 ลิตร สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม จุลินทรีย์ ห้องปฏิบัติการ ภาคสนาม สร้าง ขยาย สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม โรงเรือน สิ่งมีชีวิตเฉพาะพืชและจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม
ประเภทของงานวิจัยแบ่งตามระดับความปลอดภัยงานทางพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (บทที่ 2) ประเภทที่ 1. เป็นการวิจัยและทดลองที่ไม่มีอันตรายและไม่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการกลางฯ(หน้า 18-20) ประเภทที่ 2. เป็นงานวิจัยและทดลองที่อาจเป็นอันตรายในระดับต่ำต่อพนักงานในห้องทดลอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อม(หน้า 20-21) ประเภทที่ 3. เป็นงานวิจัยและทดลองที่อาจมีอันตรายต่อนักวิจัย ชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโดยการดัดแปลงพันธุกรรมและงานที่อาจมีอันตรายในระดับที่ยังไม่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด(หน้า 21-23) ประเภทที่ 4. การวิจัยและทดลองที่อาจมีอันตรายร้ายแรงและ/หรือขัดต่อศีลธรรม (หน้า 24)
ประเภทของงานทดลอง ประเภทที่ 1. เป็นการทดลองที่ไม่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการกลาง (หน้า 2-3) ประเภทที่ 2. เป็นการทดลองที่อาจเป็นภัยอันตรายในระดับต่ำต่อพนักงาน ในห้องทดลอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อม (หน้า 4-5) ประเภทที่ 3. เป็นการทดลองที่มีอันตรายต่อนักวิจัย ชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโดยการตกแต่งยีนส์ และงานที่มี ภัยอันตรายในระดับที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด(หน้า 5-7) งานทุกประเภท ต้องรายงานให้คณะกรรมการฯกลางทราบ แนวทางความร่วมมือบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน
ประเภทงานวิจัยในห้องปฏิบัติการประเภทงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ • การเชื่อมของ protoplast หรือ embryo rescue ของเซลล์พืช • งานวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมโดยธรรมชาติ โดยที่ผู้ให้และผู้รับเป็นชนิดพันธุ์เดียวกัน และเป็นชนิดที่รู้แล้วว่าสามารถแลกเปลี่ยนกับเจ้าบ้านต่างชนิดได้ตามธรรมชาติ • งานดัดแปลงพันธุกรรมพืชที่มีลักษณะต่างออกไป • การวิจัยและทดลองที่ใช้พาหะไวรัสซึ่งทำให้เซลล์มนุษย์ติดเชื้อได้ • งานวิจัยและทดลองที่มุ่งจะดัดแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม
ระดับของความปลอดภัย • ระดับการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ (บทที่ 4) ความปลอดภัยระดับที่ 1 (BL 1) ความปลอดภัยระดับที่ 2 (BL 2) ความปลอดภัยระดับที่ 3 (BL 3) ความปลอดภัยระดับที่ 4 (BL 4)
ระดับการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการระดับการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ ความปลอดภัยระดับที่ 1 (BL 1) • ใช้กับการทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมประเภทที่ 1 งานวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมโดยธรรมชาติ โดยที่ผู้ให้และผู้รับเป็นชนิดพันธุ์เดียวกัน และเป็นชนิดที่รู้แล้วว่าสามารถแลกเปลี่ยนกับเจ้าบ้านต่างชนิดได้ตามธรรมชาติ (ผนวก 2)(1) การเชื่อมของ protoplast หรือ embryo rescue ของเซลล์พืช(1) • สิ่งสำคัญที่จะต้องมีในห้องปฏิบัติการระดับนี้คือ โต๊ะปฏิบัติการ อ่างล้างมือ อุปกรณ์วิจัยและเทคนิคทางจุลชีววิทยาทั่วไป • มาตรฐานห้องปฏิบัติการระดับที่ 1 (ผนวก 9)
ระดับการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการระดับการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ ความปลอดภัยระดับที่ 2 (BL 2) มาตรฐานห้องปฏิบัติการระดับที่ 2/3 (ผนวก 10/11) • ใช้กับการทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 หรือบางลักษณะของงานประเภทที่ 3 งานดัดแปลงพันธุกรรมพืชที่มีลักษณะต่างออกไป(2) • สิ่งสำคัญที่จะต้องจัดหาและปฏิบัติในห้องปฏิบัติการระดับนี้คือ การฝึกอบรมทางเทคนิคเกี่ยวกับจุลินทรีย์ก่อโรคให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือและครุภัณฑ์ตามแบบ BL1 เป็นอย่างน้อย ตู้ชีวนิรภัย (biological safety cabinet class I หรือII) และเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำความดันสูง (autoclave) (ผนวก 13)
ระดับการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการระดับการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ ความปลอดภัยระดับที่ 3 (BL 3) มาตรฐานห้องปฏิบัติการระดับที่ 3 (ผนวก 11) • ใช้กับการทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมประเภทที่ 3 รวมถึงการใช้กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ก่อโรคร้ายแรงและมีโอกาสแพร่กระจายผ่านทางระบบหายใจ การวิจัยและทดลองที่ใช้พาหะไวรัสซึ่งทำให้เซลล์มนุษย์ติดเชื้อได้ (3) • สิ่งสำคัญที่ต้องจัดหาและปฏิบัติในห้องปฏิบัติการคือ ข้อปฏิบัติในระดับ BL2 ทั้งหมด ระบบไหลเวียนอากาศในห้องปฏิบัติการ ควรเป็นระบบที่ลดการเล็ดลอดของ จุลินทรีย์ออกไปสู่สิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด การอนุญาตให้บุคคลภายนอกหรือที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในสถานที่ต้องเข้มงวดเป็นพิเศษ
ระดับการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการระดับการป้องกันภัยอันตรายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ ความปลอดภัยระดับที่ 4 (BL 4) มาตรฐานห้องปฏิบัติการระดับที่ 4 (ผนวก 12) • ใช้กับการทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมประเภทที่ 3 รวมไปถึงการใช้กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงสุดหรือยังไม่ทราบระดับอันตรายที่ชัดเจน การวิจัยและทดลองที่ใช้พาหะไวรัสซึ่งทำให้เซลล์มนุษย์ติดเชื้อได้ (3) • สิ่งสำคัญที่ต้องจัดหาและปฏิบัติในห้องปฏิบัติการคือ ข้อปฏิบัติในระดับ BL3 ทั้งหมด เปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าห้องปฏิบัติการ มีที่อาบน้ำก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ อาคารหรือห้องปฏิบัติการควรแยกออกมาต่างหาก ตู้ชีวนิรภัยควรอยู่ในระดับ class III (ผนวก 13)
งานวิจัยและทดลองที่มุ่งจะดัดแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมงานวิจัยและทดลองที่มุ่งจะดัดแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม • ไม่อนุญาตให้ดำเนินการ
สรุปแนวปฏิบัติในห้องปฏิบัติการสรุปแนวปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ • ขึ้นกับประเภทของงานวิจัย (1-4) ซึ่งแบ่งตามอันตรายที่อาจเกิดขึ้น (บทที่ 2) • ระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ จะขึ้นอยู่กับประเภทของงานวิจัย(บทที่ 4) • ซึ่งจะต้องจัดเตรียมห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐานตามระดับความปลอดภัย (ผนวก 9-12 และผนวก 13)
สิ่งจำเป็นที่ต้องจัดหา BL1 BL2 BL3 BL4สิ่งจำเป็นที่ต้องจัดหา BL1 BL2 BL3 BL4 โต๊ะปฏิบัติการ อ่างล้างมือ ต้องมี ต้องมี ต้องมี ต้องมี อบรมเทคนิคทางจุลฯ ควรมี ต้องมี ต้องมี ต้องมี Autoclave ควรมี ต้องมี ต้องมี ต้องมี ตู้ชีวนิรภัย ควรมี I/II I/II III ระบบกรองไหลเวียนอากาศ -- -- ควรมี ต้องมี การเข้มงวด เข้า-ออก -- ควรมี ควรมี ต้องมี อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า -- -- ควรมี ต้องมี แยกห้องปฏิบัติการ -- -- -- ควร/ต้อง
งานวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมงานวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม • ถ้าจุลินทรีย์นั้นไม่ก่อให้เกิดโรคและไม่ผลิตสารพิษ • ถ้าจุลินทรีย์นั้นถูกจัดอยู่ในประเภทอาจก่อให้เกิดอันตรายต่ำ • ถ้าจุลินทรีย์นั้นถูกจัดอยู่ในประเภทอาจก่อให้เกิดอันตราย • ถ้าจุลินทรีย์นั้นถูกจัดอยู่ในประเภทอาจก่อให้เกิดอันตราย-อันตรายร้ายแรง
ระดับของความปลอดภัย • ขอบเขตแนวทางปฏิบัติสำหรับการทดลองในระดับใหญ่ที่มีความจุถังหมักหรือถังปฏิกรณ์ชีวภาพมากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป (บทที่ 6) Good Large Scale Practice BL1-Large Scale BL2-Large Scale BL3-Large Scale
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติสำหรับการทดลองในระดับใหญ่ที่มีความจุถังหมักหรือถังปฏิกรณ์ชีวภาพมากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป (บทที่ 6) Good Large Scale Practice • ใช้กับสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ไม่ก่อให้เกิดโรคและรวมถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมแต่จะต้องไม่เกิดการผลิตสารพิษ • การดูแลใช้หลักการทำนองเดียวกับระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ BL1 ถ้าจุลินทรีย์นั้นไม่ก่อให้เกิดโรคและไม่ผลิตสารพิษ
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติสำหรับการทดลองในระดับใหญ่ที่มีความจุถังหมักหรือถังปฏิกรณ์ชีวภาพมากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป ถ้าจุลินทรีย์นั้นถูกจัดอยู่ในประเภทอาจก่อให้เกิดอันตรายต่ำ BL1-Large Scale • ควบคุมการเพาะเลี้ยงในระบบปิด • ระวังการปลดปล่อยออกจากถังหมัก แน่ใจว่าได้ฆ่าเซลล์หรือทำให้หมดสภาพ • ควบคุมการฟุ้งกระจายหรือปนเปื้อนบริเวณพื้นผิวการทดลอง • Containment ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ BL1
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติสำหรับการทดลองในระดับใหญ่ที่มีความจุถังหมักหรือถังปฏิกรณ์ชีวภาพมากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป ถ้าจุลินทรีย์นั้นถูกจัดอยู่ในประเภทอาจก่อให้เกิดอันตราย BL2-Large Scale • ใช้กับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่มีระดับความอันตรายเทียบเท่ากับระดับ BL2 • หลักการทั่วไปอย่างน้อยต้องเทียบเท่ากับ BL1-Large Scale แต่ containment ที่ใช้ควรอยู่ในระดับ BL2 • ตู้นิรภัย (biological safety cabinet) ในระดับ class II • ควรมีระบบเครื่องกรองอากาศดักฝุ่นละอองประสิทธิภาพสูง
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติสำหรับการทดลองในระดับใหญ่ที่มีความจุถังหมักหรือถังปฏิกรณ์ชีวภาพมากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป ถ้าจุลินทรีย์นั้นถูกจัดอยู่ในประเภทอาจก่อให้เกิดอันตราย-อันตรายร้ายแรง BL3-Large Scale • ใช้กับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่มีระดับความอันตรายเทียบเท่า BL3-4 หรือเข้าข่ายงานประเภทที่ 3 • ตู้นิรภัย (biological safety cabinet) ในระดับ class III ข้อเสนอแนะที่ควรปฏิบัติ • แยกบริเวณการผลิตหรือการทดลองให้เป็นสัดส่วน ทางเข้าควรเป็นระบบ double-door space air lock • ลดการปนเปื้อนบนพื้นผิว
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติสำหรับการทดลองในระดับใหญ่ที่มีความจุถังหมักหรือถังปฏิกรณ์ชีวภาพมากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป • อุดรอยรั่วหรือป้องกันการซึมเข้า ห้องปฏิบัติการหรือโรงงาน • มีที่สำหรับชำระล้างร่างกายอย่างเหมาะสม • มีระบบเตือนภัย • ชุดที่สวมใส่ควรมิดชิด • เสื้อผ้าที่ใช้ในห้องหรือโรงงานต้องมีการลดการปนเปื้อนก่อนนำไปซักล้าง • มีระบบการตรวจสอบการเข้าออกและปิดล็อคประตูขณะมีการดำเนินงาน • ไม่อนุญาตให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าห้องปฏิบัติการหรือโรงเรือน
สำหรับการทดลองในระดับใหญ่ที่มีความจุถังหมักหรือถังปฏิกรณ์ชีวภาพมากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป • ถ้าจะต้องทำในถังหมักมากกว่า 10 ลิตร • มีระดับความปลอดภัยที่จะต้องปฏิบัติตาม 4 ระดับ • ขึ้นกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ • โดยใช้หลักการ/มาตรฐานเดียวกับระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
ระดับของความปลอดภัย • ขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนาม (บทที่ 7) • ขั้นตอนที่ 1. การวิจัยและทดสอบในโรงเรือนปลูกและเพาะเลี้ยงพืชและ/หรือห้องปฏิบัติการ • ขั้นตอนที่ 2. การวิจัยและทดสอบในแปลงทดลองภาคสนามขนาดเล็ก • ขั้นตอนที่ 3. การวิจัยและทดสอบในภาคสนามขนาดใหญ่เพื่อการผลิตทางการเกษตร
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนามขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนาม ขั้นตอนที่ 1. การวิจัยและทดสอบในโรงเรือนปลูกและเพาะเลี้ยงพืชและ/หรือห้องปฏิบัติการ • ใช้กับพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 • ในโรงเรือนปลูกและเพาะเลี้ยงที่เหมาะสมกับระดับความปลอดภัย มาตรฐานการปฏิบัติสำหรับพืชทดลองระดับ 1 BL1-P มาตรฐานการปฏิบัติสำหรับพืชทดลองระดับ 2 BL2-P มาตรฐานการปฏิบัติสำหรับพืชทดลองระดับ 3 BL3-P มาตรฐานการปฏิบัติสำหรับพืชทดลองระดับ 4 BL4-P (ผนวก 14)
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนามขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนาม ขั้นตอนที่ 2. การวิจัยและทดสอบในแปลงทดลองภาคสนามขนาดเล็ก ลักษณะของแปลงทดลอง • เป็นพื้นที่แยกต่างหาก • ขนาดแปลงทดลองขึ้นกับความเหมาะสม ต้องล้อมรั้ว • อยู่ห่างจากแปลงพืชอื่นๆ ตามแนวทางการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชแต่ละชนิด • และติดป้ายห้ามเข้าในระยะห่างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนามขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนาม วิธีดำเนินงานและข้อปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ • ต้องปลูกพืชปกติเป็นที่หลบภัย จำนวนแถวตามที่กำหนดในแนวทางของการทดลองพืชแต่ละชนิด • จำนวนต้นต่อสิ่งทดลองในแต่ละซ้ำเพื่อการบันทึกข้อมูลควรมีไม่ต่ำกว่า 10 ต้น • ในกรณีที่อยู่ห่างจากพืชปกติชนิดเดียวกันไม่ถึงตามระยะที่กำหนด ให้ปลูกก่อนหลังไม่ต่ำกว่า 3 สัปดาห์ • กำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนามขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนาม • จัดให้มีสถานที่กำจัดเศษซากพืชและหรือน้ำที่ใช้ในการทดลอง • เศษซากพืช วัชพืชและแมลงที่ตายอันเนื่องมาจากการทดลองให้กำจัดโดยเผาทำลาย • ให้ขุดและเผาทำลายต้นพืชและชิ้นส่วนต่างๆเมื่อเสร็จสิ้นแต่ละการทดลอง • หลังเสร็จสิ้นการทดลองให้เผาต้นพืชทั้งหมดแล้วไถพรวนดิน ปล่อยพื้นที่ทิ้งไว้โดยไม่ปลูกพืชใดๆ อย่างน้อย 3 เดือน และติดตามการงอกของเมล็ดพืชดังกล่าวถ้าพบเห็นให้ทำลายทันที
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนามขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนาม ขั้นตอนที่ 3. การวิจัยและทดสอบในภาคสนามขนาดใหญ่เพื่อการผลิตทางการเกษตร ลักษณะของแปลงทดลองในภาคสนามขนาดใหญ่ • เป็นพื้นที่แยกต่างหาก • ขนาดแปลงขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละการทดลอง ต้องล้อมรั้ว • อยู่ห่างจากแปลงพืชอื่นๆ ตามแนวทางการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชแต่ละชนิด • และติดป้ายห้ามเข้าในระยะห่างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนามขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนาม วิธีดำเนินงานและข้อปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ • ต้องปลูกพืชปกติเป็นที่หลบภัย จำนวนแถวตามที่กำหนดในแนวทางของการทดลองพืชแต่ละชนิด • ในกรณีที่อยู่ห่างจากพืชปกติชนิดเดียวกันไม่ถึงตามระยะที่กำหนด ให้ปลูกก่อนหลังไม่ต่ำกว่า 3 สัปดาห์ • กำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ • จัดให้มีสถานที่กำจัดเศษซากพืชและหรือน้ำที่ใช้ในการทดลอง
ขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนามขอบเขตแนวทางปฏิบัติการวิจัยและทดลองภาคสนาม • เศษซากพืช วัชพืชและแมลงที่ตายอันเนื่องมาจากการทดลองให้กำจัดโดยเผาทำลาย • ให้ขุดและเผาทำลายต้นพืชและชิ้นส่วนต่างๆเมื่อเสร็จสิ้นแต่ละการทดลอง • หลังเสร็จสิ้นการทดลองให้เผาต้นพืชทั้งหมดแล้วไถพรวนดิน ปล่อยพื้นที่ทิ้งไว้โดยไม่ปลูกพืชใดๆ อย่างน้อย 3 เดือน และติดตามการงอกของเมล็ดพืชดังกล่าวถ้าพบเห็นให้ทำลายทันที
การวิจัยและทดลองภาคสนามการวิจัยและทดลองภาคสนาม • มี 3 ขั้นตอน โรงเรือน แปลงขนาดเล็ก แปลงขนาดใหญ่ • มาตรฐานของโรงเรือนแบ่งเป็น 4 ระดับความปลอดภัย • ซึ่งขึ้นกับระดับอันตรายของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่นำมาทดลอง
ประเภทที่ 1. เป็นการวิจัยและทดลองที่ไม่มีอันตรายและไม่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการกลางฯ(หน้า 18-20) • การวิจัยและทดลองทางอณูพันธุศาสตร์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้สิ่งมีชีวิตหรือไวรัสโดยตรง • การวิจัยและทดลองใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมของเซลล์สัตว์ชั้นสูงและไม่ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่เจริญพันธุ์ขึ้นใหม่ได้ • การเชื่อมของ protoplast ซึ่งมาจากจุลินทรีย์ที่ไม่ก่อโรค • การเชื่อมของ protoplast หรือ embryo rescue ของเซลล์พืช
ประเภทที่ 1. เป็นการวิจัยและทดลองที่ไม่มีอันตรายและไม่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการกลางฯ(หน้า 18-20) • งานวิจัยและทดลองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมโดยธรรมชาติ โดยที่ผู้ให้และผู้รับเป็นชนิดพันธุ์เดียวกัน และเป็นชนิดที่รู้แล้วว่าสามารถแลกเปลี่ยนกับเจ้าบ้านต่างชนิดได้ตามธรรมชาติ (ผนวก 2) • การวิจัยและทดลองเกี่ยวกับชิ้นส่วนดีเอ็นเอของไวรัส ที่ไม่ได้นำไปทำการตัดต่อหรือเปลี่ยนแปลงลำดับเบสเพื่อให้เข้าไปในจีโนมของไวรัสเองรวมถึงดีเอ็นเอจากแหล่งอื่นด้วย
ประเภทที่ 1. เป็นการวิจัยและทดลองที่ไม่มีอันตรายและไม่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการกลางฯ(หน้า 18-20) • การวิจัยและทดลองเกี่ยวกับดีเอ็นเอทั้งหมดของเซลล์จุลินทรีย์ที่เป็นเซลล์เจ้าบ้านพวกโพรคาริโอท (Prokaryotic host) และรวมไปถึงพลาสมิดหรือไวรัสที่มีอยู่เดิม (มีวัตถุประสงค์เพื่อการเพิ่มจำนวน) • การวิจัยและทดลองเกี่ยวกับดีเอ็นเอทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่ใช้เป็นเซลล์เจ้าบ้านพวกยูคาริโอท (Eukaryotic host) ทั้งนี้รวมไปถึงคลอโรพลาสต์ ไมโตคอนเดรีย หรือพลาสมิด (ยกเว้นไวรัส) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเพิ่มจำนวน
ประเภทที่ 1. เป็นการวิจัยและทดลองที่ไม่มีอันตรายและไม่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการกลางฯ(หน้า 18-20) • การวิจัยและทดลองดัดแปลงสารพันธุกรรมที่มี eukaryotic viral genome น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ที่ถูกนำไปเพิ่มจำนวนใน E.coli K 12, Saccharomyces kotital, Bacillus subtilis, B. lichenformis host-vector system หรือชิ้นโมเลกุลของดีเอ็นเอสายผสม ที่เป็น extrachromosomal ของแบคทีเรียแกรมบวก (ผนวก 3) รวมไปถึงการเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวนที่มีขนาดน้อยกว่า 10 ลิตร ทั้งนี้ไม่รวมไปถึงการเพิ่มจำนวนเซลล์ที่มียีนของสารพิษ (ที่ได้มาจากการโคลนนิ่ง) ที่มีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลัง
ประเภทที่ 2. เป็นงานวิจัยและทดลองที่อาจเป็นอันตรายในระดับต่ำต่อพนักงานในห้องทดลอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อม(หน้า 20-21) • งานดัดแปลงพันธุกรรมสัตว์ที่มีชีวิต (รวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง) • งานดัดแปลงพันธุกรรมของสารพันธุกรรมของไข่หรือไข่ที่ผสมแล้วหรือตัวอ่อนช่วงต้น ไม่ว่าโดยวิธีการใดๆ เพื่อก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ (ผนวก 15) • งานดัดแปลงพันธุกรรมพืชที่มีลักษณะต่างออกไป ต้องเสนอข้อมูลเพิ่มเติม (ผนวก 8) • งานที่เกี่ยวกับระบบเจ้าบ้าน/พาหะที่ไม่ได้อนุญาตไว้
ประเภทที่ 2. เป็นงานวิจัยและทดลองที่อาจเป็นอันตรายในระดับต่ำต่อพนักงานในห้องทดลอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อม(หน้า 20-21) • งานที่เกี่ยวกับระบบเจ้าบ้าน/พาหะที่อนุญาตไว้แล้ว (ผนวก 3) แต่ยีนที่จะนำมาเชื่อมมีลักษณะเป็นตัวกำหนดให้เกิดพิษภัย หรือ เป็น DNA หรือ RNA จากจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ สัตว์หรือพืช หรือมียีนสร้างโปรตีนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือการแบ่งเซลล์
ประเภทที่ 3. เป็นงานวิจัยและทดลองที่อาจมีอันตรายต่อนักวิจัย ชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโดยการดัดแปลงพันธุกรรมและงานที่อาจมีอันตรายในระดับที่ยังไม่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด(หน้า 21-23) • งานที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่ผลิตสารพิษ งานที่เกี่ยวข้องกับ DNA และการโคลน DNA ที่ควบคุมการสร้างสารพิษ ที่ผลิตสารพิษที่มี LD 50 ต่ำกว่า 100 นาโนกรัมต่อกิโลกรัม (ผนวก 5) งานที่เกี่ยวกับยีนที่ให้ผลผลิตสูงถึงแม้ว่าสารพิษมี LD 50 สูงกว่า 100 นาโนกรัมต่อกิโลกรัม งานที่ทำกับ DNA ของจุลินทรีย์ที่ผลิตสารพิษที่ไม่ทราบแน่ชัดซึ่งอาจจะมียีนสารพิษอยู่จะรวมในกลุ่มนี้ ดังนั้นจำเป็นต้องระบุงานประเภทนี้ให้ชัดเจนจนถึงสารพิษนั้นเป็นชนิดใด ใช้สิ่งมีชีวิตใดร่วมในการโคลนและระดับความเป็นพิษที่ LD 50
ประเภทที่ 3. เป็นงานวิจัยและทดลองที่อาจมีอันตรายต่อนักวิจัย ชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโดยการดัดแปลงพันธุกรรมและงานที่อาจมีอันตรายในระดับที่ยังไม่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด(หน้า 21-23) • การวิจัยและทดลองที่ใช้พาหะไวรัสซึ่งทำให้เซลล์มนุษย์ติดเชื้อได้ และงานที่มี DNA ส่วนที่เสริมแต่งที่มีความสามารถผลิตสารควบคุมการเจริญเติบโตหรือเป็นสารพิษต่อเซลล์มนุษย์ (ข้อปฏิบัติพิเศษ ผนวก 6) • งานวิจัยและทดลองที่ใช้พาหะหรือเจ้าบ้านเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจทำให้เกิดโรคในมนุษย์ สัตว์หรือพืช ยกเว้นเจ้าบ้านหรือพาหะที่ได้อนุญาตไว้แล้ว (ผนวก 3) การทดลองที่ใช้พาหะไวรัสไม่สมบูรณ์และไวรัสผู้ป่วยร่วมกัน ซึ่งอาจจะมีโอกาสทำให้เกิดไวรัสที่สมบูรณ์ได้จะรวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
ประเภทที่ 3. เป็นงานวิจัยและทดลองที่อาจมีอันตรายต่อนักวิจัย ชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโดยการดัดแปลงพันธุกรรมและงานที่อาจมีอันตรายในระดับที่ยังไม่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด(หน้า 21-23) • การใช้ยีนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อเชื้อจุลินทรีย์ยกเว้นเจ้าบ้านที่ได้อนุญาตไว้แล้ว (ผนวก 3) • การขยายจำนวนโดยวิธีโคลนนิ่งหรือการถ่ายสารพันธุกรรมของไวรัสทั้งอันหรือไวรอยด์หรือชิ้นส่วนของสารพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อต่อมนุษย์สัตว์หรือพืช โดยทั่วไปงานที่ได้รับการยกเว้นคืองานที่ใช้สารพันธุกรรมของไวรัสน้อยกว่าสองในสามหรือใช้สารพันธุกรรมที่ขาดส่วนสำคัญในการทำงานของยีนหรือส่วนสำคัญในการก่อตัวไวรัส ซึ่งระบบการทดลองไม่ก่อให้เกิดไวรัสที่สมบูรณ์ขึ้นใหม่ได้
ประเภทที่ 3. เป็นงานวิจัยและทดลองที่อาจมีอันตรายต่อนักวิจัย ชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโดยการดัดแปลงพันธุกรรมและงานที่อาจมีอันตรายในระดับที่ยังไม่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด(หน้า 21-23) • การวิจัยและทดลองที่เกี่ยวกับการเชื่อมต่อระหว่างสารพันธุกรรมทั้งอันของไวรัสหรือไวรอยด์ และ/หรือชิ้นส่วนที่เป็นส่วนประกอบ (complementary fragment) ซึ่งก่อให้เกิดการติดเชื้อหรือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรค รวมทั้งการทดลองที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อของเจ้าบ้านหรือการเพิ่มความรุนแรงและความสามารถของการติดเชื้อโรค • งานที่เกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยด้วยการดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิด
ประเภทที่ 3. เป็นงานวิจัยและทดลองที่อาจมีอันตรายต่อนักวิจัย ชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโดยการดัดแปลงพันธุกรรมและงานที่อาจมีอันตรายในระดับที่ยังไม่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด(หน้า 21-23) • การวิจัยและทดลองใดๆ ที่มีการฉีดชิ้นส่วนหรือสารพันธุกรรมทั้งอันของไวรัสเข้าไปในตัวอ่อนเพื่อดัดแปลงพันธุกรรมของสัตว์ ซึ่งมีการหลั่งหรือผลิตตัวไวรัส (ผนวก15) • การวิจัยและทดลองที่มีการถ่ายโอนยีนต้านทานยาปฏิชีวนะไปยังจุลินทรีย์โดยที่ยาปฏิชีวนะนั้นๆ ใช้ในการบำบัดรักษามนุษย์ สัตว์หรือใช้ในการเกษตร ทั้งนี้ต้องระบุว่ายีนต้านทานยาปฏิชีวนะนั้นสามารถถ่ายโอนได้ตามกระบวนการทางธรรมชาติหรือไม่ • การวิจัยและทดลองที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มๆ ของงานประเภทที่ 1 2 หรือ 3 แต่อยู่ในประเด็นของแนวทางตามที่กำหนดไว้ในบทที่ 1
ประเภทที่ 4. การวิจัยและทดลองที่อาจมีอันตรายร้ายแรงและ/หรือขัดต่อศีลธรรม (หน้า 24) • งานวิจัยที่ไม่มีมาตรการและ/หรือข้อมูลที่ใช้ในการพิสูจน์และควบคุมป้องกันในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน • งานวิจัยและทดลองที่มุ่งเน้นผลิตสิ่งมีชีวิตก่อโรคและ/หรือสารพิษเพื่อเป้าหมายทางสงครามและการทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ • งานวิจัยและทดลองที่มุ่งจะดัดแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม • ไม่อนุญาตให้ดำเนินการ