1 / 24

การเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก และความร่วมมือในการรับรองบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ

การเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก และความร่วมมือในการรับรองบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ. โดย นางชลาทิพย์ ปุณณะบุตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม. ( The Hague Convention on the Protection of Children and Cooperation in Respect of Intercountry Adoption).

sylvia-ware
Download Presentation

การเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก และความร่วมมือในการรับรองบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก และความร่วมมือในการรับรองบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ โดย นางชลาทิพย์ ปุณณะบุตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (The Hague Convention on the Protection of Children and Cooperation in Respect of Intercountry Adoption)

  2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2545 ให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก และความร่วมมือในการรับรองบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ ”

  3. โดยเห็นว่า... อนุสัญญาส่งเสริมให้เกิดระบบความร่วมมือระหว่างรัฐภาคี ประกาศไม่ผูกพันตามอนุสัญญาฯ ข้อ 25 มอบศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นสำนักงานกลางตามที่อนุสัญญาฯ กำหนด ประเทศไทยไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายภายใน และสามารถที่จะปฏิเสธการรับบุตรบุญธรรมนั้นได้ หากการรับบุตรบุญธรรมนั้นขัดต่อนโยบายสาธารณะ อย่างชัดเจน

  4. นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในอนุสัญญา เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547 จะมีผลบังคับตั้งแต่... วันที่ 1 สิงหาคม 2547

  5. วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยก่อตั้งระบบความร่วมมือระหว่างรัฐคู่สัญญา เพื่อป้องกันการลักพา การขายหรือการค้าเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถอยู่ภายใต้การดูแลจากครอบครัวกำเนิดของตน หากไม่อาจหาครอบครัวที่เหมาะสมในรัฐกำเนิดให้แก่เด็ก การรับบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศจึงจะจัดให้มีขึ้น เพื่อประกันการรับรองการรับบุตรบุญธรรม ซึ่งทำตามอนุสัญญานี้

  6. เงื่อนไขในการรับบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศเงื่อนไขในการรับบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ ดำเนินการโดยหน่วยงานที่มีอำนาจในรัฐกำเนิด และหน่วยงานที่มีอำนาจในรับผู้รับเท่านั้น รัฐกำเนิดได้พิจารณาแล้ววาเด็กสามารถรับเป็นบุตรบุญธรรมได้ และรัฐผู้รับพิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับบุตรบุญธรรมมีคุณสมบัติตามกฎหมาย และมีความเหมาะสมที่จะรับบุตรบุญธรรมได้

  7. Article 2 (1) เด็กและผู้รับมีถิ่นที่อยู่ปกติคนละรัฐ มีการเคลื่อนย้ายเด็กจากรัฐกำเนิดไปยังรัฐผู้รับ 2.1 หลังการรับบุตรบุญธรรมในรัฐกำเนิด หรือ 2.2 เพื่อความมุ่งหมายของการรับบุตรบุญธรรม ในรัฐผู้รับ หรือในรัฐกำเนิด

  8. Article 3 อนุสัญญายุติการใช้หากรัฐกำเนิดและรัฐ ผู้รับไม่ได้ให้ความตกลงตามข้อ 17 (C) ก่อนเด็ก อายุ 18 ปี

  9. คณะกรรมาธิการพิเศษ (TheSpecial Commission) เน้นย้ำการรับบุตรบุญธรรมภายใต้ ขอบเขตอนุสัญญา รวมถึงการรับบุตร บุญธรรมในครอบครัว การรับบุตร บุญธรรมโดยบุคคลที่มีสัญชาติ ของรัฐกำเนิด

  10. หน้าที่ของสำนักงานกลางหน้าที่ของสำนักงานกลาง ดำเนินมาตรการในการจัดข้อมูลทางกฎหมาย และข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐตนเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรม การบริการให้คำปรึกษา แนะนำการรับบุตรบุญธรรม การบริการหลังการรับบุตรบุญธรรม ดำเนินมาตรการป้องกันการได้ประโยชน์ทางการเงินหรืออย่างอื่น อันมิชอบ และยับยั้งการปฏิบัติทั้งปวง ซึ่งแย้งกับวัตถุประสงค์ แห่งอนุสัญญา อนุญาตการดำเนินการรับบุตรบุญธรรมให้แก่ หน่วยงานซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสม พันธกรณี

  11. หน้าที่หน่วยงานซึ่งได้รับอนุญาตหน้าที่หน่วยงานซึ่งได้รับอนุญาต ดำเนินการโดยไม่แสวงกำไร อำนวยการโดยบุคคลซึ่งมีคุณวุฒิตามมาตรฐานจริยธรรม และมีประสบการณ์ที่จะทำงานด้านการรับบุตรบุญธรรมต่างประเทศ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐนั้นเกี่ยวกับองค์ประกอบการปฏิบัติงานและภาวะทาง การเงิน

  12. กระบวนการดำเนินการ หากสำนักงานกลางทั้งสองรัฐเห็นชอบว่า ให้มีการรับบุตรบุญธรรมได้ การพาเด็กไปยังรัฐผู้รับจึงจะดำเนินการได้ กรณีการรับบุตรบุญธรรมไม่ประสบผลสำเร็จให้สำนักงานกลางรัฐผู้รับ หารือกับสำนักงานกลางของรัฐกำเนิดในการจัดให้เด็กได้รับการดูแลใหม่ชั่วคราวโดยไม่ชักช้า การจัดให้เด็กกลับจะเป็นมาตรการสุดท้าย

  13. Article 23 การรับบุตรบุญธรรมซึ่งรับรองถูกต้องโดย หน่วยงานซึ่งมีอำนาจของรัฐทีมีการรับบุตรบุญธรรม ว่าได้ทำตามอนุสัญญานี้ จะได้รับการรับรองโดย ผลของกฎหมายในรัฐคู่สัญญาอื่น หนังสือรับรองจะระบุว่า ความตกลงตามข้อ 17 อนุ ค. ได้ให้เมื่อใด และโดยผู้ใด

  14. อนุสัญญามีวัตถุประสงค์ให้เด็กได้รับสิทธิสมบูรณ์ทางกฎหมายในรัฐผู้รับอนุสัญญามีวัตถุประสงค์ให้เด็กได้รับสิทธิสมบูรณ์ทางกฎหมายในรัฐผู้รับ กฎหมายการรับบุตรบุญธรรมของรัฐกำเนิด เด็กกับบิดามารดาผู้ให้กำเนิดตัดขาดความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เด็กกับบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ไม่ตัดขาดความสัมพันธ์ ทางกฎหมาย เด็กจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ในรัฐผู้รับโดยสมบูรณ์ เด็กจะได้รับสิทธิต่างๆ ในรัฐผู้รับโดยสมบูรณ์ 1. ถ้ากฎหมายของรัฐผู้รับยอมรับ 2. ถ้าผู้ให้ความยินยอมได้ให้ความยินยอมไว้ โดยรู้ว่าเด็กกับบิดามารดาผู้ให้กำเนิด จะตัดขาดความสัมพันธ์ทางกฎหมายต่อกัน

  15. ความต้องการรู้ชาติกำเนิดของตนความต้องการรู้ชาติกำเนิดของตน การติดตามประวัติครอบครัวเดิม ให้รัฐคู่สัญญาเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับชาติกำเนิดของเด็ก ตลอดจนประวัติทางการแพทย์ของเด็ก แต่การเปิดเผย ให้เด็กหรือผู้แทนของเด็กได้ทราบถึงข้อมูลให้อยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐนั้นอนุญาต

  16. แนวทางปฏิบัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามอนุสัญญาแนวทางปฏิบัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามอนุสัญญา 1. ส่งเสริมให้มีการรับบุตรบุญธรรมในประเทศ 2. ปฏิบัติไม่ให้มีการติดต่อระหว่างผู้ขอรับเด็กกับบิดา มารดาของเด็ก หรือบุคคลอื่นที่ดูแลเด็กอยู่จนกว่า กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการพิจารณาแล้ว เว้นแต่การรับบุตรบุญธรรมเกิดขึ้นภายใน 3. เก็บรักษาประวัติครอบครัวเดิมของเด็ก

  17. 4. เปิดเผยประวัติครอบครัวเดิม เมื่อ 3 ฝ่ายเห็นชอบ 1. เด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม 2. บิดามารดาที่แท้จริง 3. บิดามารดาบุญธรรม 5. ต้องไม่มีผู้ใดได้รับประโยชน์ทางการเงิน หรือ ประโยชน์อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการรับบุตรบุญธรรม ระหว่างประเทศ

  18. กลไกการดำเนินงาน  ซักซ้อมให้ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญา แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา  จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่อนุสัญญา ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะ ได้ทราบ

  19. กฎหมาย / ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พรบ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ พรบ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ พรบ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓  พรบ. จดทะเบียนครอบครัวพุทธศักราช ๒๔๗๘  กฎกระทรวงฉบับที ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๓ ออกตามความใน พรบ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒

  20. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและความร่วมมือ ในการรับรองบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ (Hague Convention on the Protection of Children and Cooperation in Respect of Intercountry Adoption)  ระเบียบคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๕๐ (ม. ๑๔ พรบ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒)

  21. ขั้นตอนการดำเนินการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมขั้นตอนการดำเนินการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  ยื่นคำขอ  เยี่ยมบ้านเพื่อสอบสภาพครอบครัว  เสนออธิบดี / ผู้ว่าราชการจังหวัด อนุมัติคุณสมบัติ อนุมัติยกเว้นการทดลองเลี้ยงดูเด็ก อนุมัติทดลองเลี้ยงดูเด็ก (ทำการทดลองเลี้ยงดูไม่น้อยกว่าหกเดือน)

  22.  เสนอที่ประชุม คณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  คณะอนุกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมส่วนกลาง คณะอนุกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมประจำจังหวัด (ทำการทดลองเลี้ยงดูไม่น้อยกว่าหกเดือน)  จดทะเบียนบุตรบุญธรรม สำนักทะเบียนเขต  สำนักทะเบียนอำเภอ สถานทูตหรือสถานกงสุลไทย

  23. กรณียกเว้นไม่ต้องทำการทดลองเลี้ยงดูกรณียกเว้นไม่ต้องทำการทดลองเลี้ยงดู กรณีตาม พรบ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๙ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พรบ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓  กรณีตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตาม ความในพรบ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ หมวด ๔ ข้อ ๒๗ (๑) - (๕)

  24. จบการบรรยาย

More Related