190 likes | 341 Views
ครั้งที่ 3. ความเข้าใจประเด็นด้านจริยธรรมและ ด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ. ความหมายของจริยธรรม ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์และปัญหาจริยธรรม จรรณยาบรรณในการเขียนรหัสคอมพิวเตอร์.
E N D
ครั้งที่ 3 ความเข้าใจประเด็นด้านจริยธรรมและด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ ความหมายของจริยธรรม ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์และปัญหาจริยธรรม จรรณยาบรรณในการเขียนรหัสคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัย ระบบสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องด้วย แผนกสารสนเทศเพื่อการ จัดการมีนโยบายที่แน่นอนในการจัดการข้อมูลให้เกิดความปลอดภัย ใช้อย่าง ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ ซึ่งจริยธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญของผู้ที่ทำงานและผู้ที่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักไว้และให้ ความสำคัญ
ความหมายของจริยธรรม จริยธรรม(Ethics)หมายถึง ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องที่เป็นตัวแทน ศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจาก เทคโนโลยีสารสนเทศ [Information Technology (IT)] และ ระบบสารสนเทศ [Information System (IS)] ทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างต่างกัน ระหว่างบุคคลและสังคม เพราะทั้งสองสิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า ความรับผิดชอบต่อ สังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)มีอิทธิพลอย่างมาก สามารถทำให้ เกิดการกระจายอำนาจ ทรัพย์สิน สิทธิ และความรับผิดชอบในองค์การ การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือคู่แข่งขัน การตกงาน การก่อ - อาชญากรรมข้อมูล การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ ผู้ได้ประโยชน์ ผู้เสียประโยชน์ ตลอดจนการเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นต้น จากภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดการกระทำที่เป็นความรับผิดชอบด้านจริยธรรมและ ด้านสังคมขึ้น
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ การพิจารณาถึงจริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์(Ethical considerations) จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความชอบธรรม เพราะคนเราย่อมรู้อยู่ว่าอะไรผิดอะไรถูก หากไม่มีความเที่ยง ธรรม หรือซื่อสัตย์ในเรื่องของข้อมูลข่าวสารแล้วย่อมเสี่ยงต่อความเสียหายภายใน องค์กรได้ เช่น พนักงานในองค์กรได้ขายข้อมูลสำคัญของบริษัท
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าคนที่ไม่มีจริยธรรมทั้งหมดจะต้องทำผิดกฎเกณฑ์ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าคนที่ไม่มีจริยธรรมทั้งหมดจะต้องทำผิดกฎเกณฑ์ การใช้ข้อมูลเสมอไป ลองพิจารณาดูตัวอย่างต่อไปนี้ประกอบ (1)ผู้ใช้ทรัพยากรข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องก่ออาชญากรรมข้อมูลเสมอไป ในประเด็นนี้มีคำถามเสมอว่าผู้ใช้มีจริยธรรมมากน้อยแค่ไหน (2)การที่นักศึกษาได้ลองเข้าไปดูข้อมูลบางอย่างในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe)ของมหาวิทยาลัยโดยไม่ได้ตั้งใจ และไม่ได้คิดที่จะขโมยข้อมูลใดๆ (3)ซอฟต์แวร์ระบบใหม่ที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทใดๆ แต่ทำไม่สมบูรณ์ ไม่อาจทดสอบได้และส่งมอบให้ได้ภายในเวลาที่สัญญาไว้ หรือส่งให้ได้อาจมีข้อผิดพลาด
คำว่าจริยธรรมหรือจรรยาบรรณกับวิทยาการข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี และระบบธุรกิจนั้นยากยิ่งกว่าสาขาวิชาชีพอื่นใด ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุผล ดังต่อไปนี้ (1)การใช้คอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (2)เนื่องจากข้อมูลข่าวสารง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงและเรียกเอาไปใช้งาน การคัดลอกก็ทำได้ง่าย ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมนุษย์มักเป็นต้นเหตุ หากมนุษย์มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรมในการใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ปัญหาต่างๆคงลดน้อยลง ด้วยเหตุ นี้องค์กรต่างๆจึงพยายามให้การศึกษาและฝึกอบรมพนักงาน และนักวิชาชีพ คอมพิวเตอร์ให้มีคุณธรรม องค์กรธุรกิจหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาได้กำหนด ข้อแนะนำหลักไว้สำหรับเป็นจริยธรรม ของนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์
ความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์และปัญหาด้านจริยธรรม(Computer-related ethical issues) สิ่งที่ต้องคำนึงถึงและถือว่าเป็นมิติของจรรยาบรรณสำหรับผู้ทำงานกับ ระบบข้อมูลข่าวสารสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนด้วยกัน คือ ประเด็นด้านจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Major computer ethical and legal issues) • ความเป็นส่วนตัว (Privacy) • ความถูกต้อง (Accuracy) • ความเป็นเจ้าของ (Property) • การเข้ามาใช้ข้อมูล (Access)
1. ความเป็นส่วนตัว (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล และเก็บ ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ทรัพยากรที่มีอยู่ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคล ตัวอย่าง การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในตรวจจับหรือเฝ้าดูพนักงาน หรือเก็บ ข้อมูลของผู้ซื้อทันที ณ จุดขาย โดยที่ไม่บอกลูกค้าก่อน
2. ความถูกต้อง(Accuracy) การทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ การเก็บ ฐานข้อมูลไว้ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้ อาจจะเก็บ รวบรวมข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องได้ ตัวอย่าง การไม่ยอมรับในเครดิตของบุคคลนั้นๆ เนื่องจากข้อมูลเก่าไม่ เพียงพอหรือไม่ยอมรับเข้าทำงาน หรือเรียนต่อ เพราะข้อมูลการทำงานไม่ เพียงพอหรือมีบันทึกประวัติเก่าจากตำรวจ
3. ความเป็นเจ้าของ(Property) เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อ แบบต่างๆ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมยังเป็นคำถามที่ยากต่อ การตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผล คุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง การมีสิทธิอันชอบธรรมในการถือครองซอฟท์แวร์ การคัดลอก (Copy)ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และการลักขโมยซอฟต์แวร์
4. การเข้าถึงข้อมูล(Access) ธรรมชาติของผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้น จะพิจารณาถึง ความสามารถที่ใช้คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่าง เหมาะสม ตัวอย่าง การมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอของข้อมูลในอันที่จะป้องกัน คลังข้อมูลส่วนตัวและขององค์กรและระดับชั้นของการเข้ามาใช้ข้อมูลของ พนักงานว่าเข้ามาได้ถึงระดับใด
แนวทางทั่วไปสำหรับเผชิญกับการแก้ปัญหาทางด้านจริยธรรมข้อมูล(General guidelines for resolving ethical) ในเรื่องจริยธรรมของผู้ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่ได้มีการกำหนด ไว้แน่นอนตายตัวว่ามีอะไรบ้าง หากแต่ผู้ใช้และนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ต้อง ตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนหยั่งรู้ถึงความรับผิดชอบต่อการใช้ข้อมูล อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามเราสามารถรวบรวมแนวทางทั่วไปด้านจริยธรรม เมื่อเผชิญกับปัญหาในด้านการใช้ข้อมูลสารสนเทศได้ดังนี้ (1)การกระทำใดๆ ของเราเกี่ยวกับข้อมูลนั้นได้มีการพิจารณาไตร่ตรองรอบคอบและไม่ขัดต่อกฎหลักที่ว่า “เราดูแลเอาใจใส่ปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนที่เราต้องการให้เขาปฏิบัติต่อเรา”หรือไม่
(2)พิจารณาถึงกลุ่มบุคคลที่จะได้ประโยชน์จากการกระทำของเรา(2)พิจารณาถึงกลุ่มบุคคลที่จะได้ประโยชน์จากการกระทำของเรา (3)การมีนโยบายบริหารและจัดการข้อมูลอย่างคงเส้นคงวาของบริษัท (4)การกระทำใดๆ ของบริษัทขัดแย้งกับจริยธรรมของการเขียนรหัสหรือไม่ ในการที่จะตอบว่าเมื่อเราเผชิญกับปัญหาในการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อ พิจารณาว่าเรามีจริยธรรมในวิชาชีพหรือไม่ เราจะอาศัยจรรณยาบรรณในการ เขียนรหัสคอมพิวเตอร์ [Data Processing Management Association (DPMA)] จริยธรรมของรหัสโปรแกรม(Code of ethics) จริยธรรมในการเขียนซอฟต์แวร์(Software code of ethics)
จริยธรรมของรหัสโปรแกรม (Code of ethics) (A)สมาคมบริหารและจัดการการประมวลผลข้อมูล [Data Processing Management Association (DPMA)] ข้าพเจ้ารับทราบ : ข้าพเจ้าตกลงที่จะบริหารและจัดการข้อมูลดังนี้ ข้าพเจ้าจะให้การสนับสนุนการ เรียนรู้เพื่อความเข้าใจในการประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ ตลอดทั้งขั้นตอนในการ จัดการรวมทั้งการใช้ทรัพยากรข้อมูลทุกประการภายใต้ความรับผิดชอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าตกลงร่วมกับสมาชิกผู้ร่วมงานในการใช้แนวคิดสำหรับการจัดการข้อมูล ตามสมาคมบริหารและจัดการประมวลผลข้อมูล [Data Processing Management Association (DPMA)] เสมือนเป็นกฏเกณฑ์สากล ยิ่งกว่านั้นข้าพเจ้าและผู้ร่วมงาน จะปฏิบัติต่อกันด้วยคงามซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรมตลอดเวลา
จริยธรรมของรหัสโปรแกรม (Code of ethics) (ต่อ) ข้าพเจ้ายินดีและตกลงที่จะรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องข้อมูลข่าวสาร นั่นคือ ใช้ความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากที่สุด นอกจากนั้นข้าพเจ้าจะไม่นำข้อมูลที่เป็นความลับและข้อมูลที่เป็นส่วนตัวของบุคคล อื่นมาใช้เพื่อตนเอง ข้าพเจ้าตกลงและยินยอมทำตามนายจ้างด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ยุติธรรมที่สุด เท่าที่ความสามารถจะเอื้ออำนวยพร้อมทั้งให้คำชี้แจงในด้านต่างๆ แก่นายจ้างด้วย วิธีการที่ชาญฉลาดและซื่อสัตย์ ข้าพเจ้ายินยอมในเรื่องความรับผิดชอบส่วนบุคคลเมื่อได้เข้ามาอยู่ในสมาคมนี้ และตกลงใจที่จะปฏิบัติตามกฏระเบียบโดยเคร่งครัดตลอดไป
จริยธรรมในการเขียนซอฟต์แวร์ (Software code of ethics) (B)สมาคมผู้ผลิตซอฟต์แวร์ [Software Publishers Association (SPA)] ข้าพเจ้ารับทราบ : วัตถุประสงค์หลักของการเขียนรหัส (Code) ก็เพื่อกำหนดนโยบายขององค์กรที่ เกี่ยวข้องกับการคัดลอก (Copy) ซอฟต์แวร์ พนักงานทุกคนจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มมี ใบอนุญาตเท่านั้น การคัดลอก (Copy) ซอฟต์แวร์ที่มีใบอนุญาตอยู่แล้วสามารถจะกระทำได้เพื่อการ สำรองข้อมูล นอกจากนั้นถือว่าเป็นการขัดต่อกกหมายทรัพย์สินทางปัญญา และ การคัดลอกซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตถือว่าผิดกฏหมายด้วย
จริยธรรมในการเขียนซอฟต์แวร์ (Software code of ethics) (ต่อ) รายละเอียดต่อไปนี้จะเป็นข้อตกลงในเรื่องใบอนุญาตในการใช้ซอฟต์แวร์ 1. เราจะใช้ซอฟต์แวร์ตามที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ 2. ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฏหมายจะได้รับการแจกจ่ายให้พนักงานในองค์กรใช้ อย่างทั่วถึง พนักงานจะต้องไม่คัดลอก (Copy) ซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากเพื่อการสำรองข้อมูลเท่านั้น 3. เราจะไม่ฝืนใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้มาจากการคัดลอก (Copy) ที่ไม่รับอนุญาต หาก มีผู้หนึ่งผู้ใดยังคงดำเนินการอย่างผิดๆ อยู่ ถือว่ามีความผิดทางวินัย และทางอาญา เช่นถูกลงโทษโดยการปรับ และจำคุกในที่สุด 4. พนักงานของบริษัทจะต้องไม่ให้ซอฟต์แวร์แก่บุคคลภายนอก เช่น ลูกค้าและ คนรู้จัก
จริยธรรมในการเขียนซอฟต์แวร์ (Software code of ethics) (ต่อ) รายละเอียดต่อไปนี้จะเป็นข้อตกลงในเรื่องใบอนุญาตในการใช้ซอฟต์แวร์ 5. หากพนักงานคนใดถูกพิจารณาว่าขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้ซอฟต์แวร์ เป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วยนที่จะต้องให้คำปรึกษาหารือหรือให้จัดการมาช่วยดูแล 6. ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ใช้ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์นั้น จะต้องมีการจัดซื้อจัดหา ด้วยกรรมวิธีและขั้นตอนที่เหมาะสม ข้าพเจ้าอ่านและรับทราบจริยธรรมของรหัส (Code) ซอฟท์แวร์แล้ว ข้าพเจ้าจะได้ตระหนักถึงนโยบายเหล่านี้อย่างเคร่งครัด