320 likes | 634 Views
การประชุมผู้ถือหุ้น. รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร. การเรียกประชุม. ผู้มีสิทธิเรียกประชุม ได้แก่ 1. กรรมการบริษัท (มาตรา ๑๑๗๒)
E N D
การประชุมผู้ถือหุ้น รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเรียกประชุม • ผู้มีสิทธิเรียกประชุม ได้แก่ 1.กรรมการบริษัท (มาตรา ๑๑๗๒) คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๒/๒๕๑๘ ข้อบังคับบริษัทกำหนดว่าการประชุมวิสามัญจะเรียกเมื่อใดก็ได้เมื่อคณะกรรมการเห็นสมควร ฉะนั้น การประชุมซึ่งเรียกโดยกรรมการเพียงคนเดียวโดยกรรมการคนอื่นมิได้รู้เห็นด้วย จึงเป็นการประชุมที่ไม่ชอบ 2. ผู้ถือหุ้นที่มีหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัท (มาตรา ๑๑๗๓)
วิธีการบอกกล่าว (มาตรา ๑๑๗๕ วรรคหนึ่ง) • ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และ • ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน • คำบอกกล่าวเรียกประชุมมติพิเศษ ให้กระทำการดังกล่าวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
การส่งคำบอกกล่าวแก่ผู้ถือหุ้นนี้ ถ้าได้ส่งถึงตัวผู้ถือหุ้นเองก็ย่อมใช้ได้ (มาตรา ๑๒๔๔) • การส่งทางไปรษณีย์นั้น เมื่อได้ส่งไปยังที่อยู่ของผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้วก็ต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว (มาตรา ๑๒๔๔) คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๔/๒๕๐๖ มาตรา ๑๑๗๕ เพียงแต่บังคับให้ส่งคำบอกกล่าวการนัดประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วันเท่านั้น ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าต้องให้คำบอกกล่าวถึงผู้ถือหุ้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วัน
ข้อความในคำบอกกล่าว (มาตรา ๑๑๗๕ วรรคสอง) คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๔๔/๒๕๒๐ การประชุมใหญ่ที่ปรึกษาเรื่องนอกระเบียบวาระ มติซึ่งผู้ถือหุ้นลงมติให้จ่ายเงินใช้หนี้ซึ่งตนเป็นเจ้าหนี้มีส่วนได้เสีย ฝ่าฝืนมาตรา ๑๑๗๕,๑๑๘๕ อาจถูกเพิกถอนได้
ผู้มีสิทธิเข้าประชุม • มาตรา ๑๑๗๖ คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙/๒๕๑๒ สิทิที่จะเข้าประชุมตามมาตรานี้เป็นสิทธิเฉพาะของผู้ถือหุ้น หากมีผู้อื่นเข้าประชุมแสดงความคิดเห็นออกเสียงด้วย แม้ผู้ถือหุ้นแท้จริงที่เข้าประชุมมีจำนวนเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และคะแนนของที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ก็ตาม มตินั้นก็เป็นมติไม่ชอบ
วิธีการประชุม • มาตรา ๑๑๗๗ • องค์ประชุม มาตรา ๑๑๗๘ คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๗๐/๒๕๒๒ การโอนหุ้นที่เป็นโมฆะนั้น การประชุมใหญ่นับเป็นจำนวนผู้ถือหุ้นไม่ได้ ไม่ครบองค์ประชุมหนึ่งในสี่ของจำนวนหุ้นของบริษัท มติที่ประชุมไม่มีผล กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งย่อมไม่ใช่กรรมการของบริษัทโดยชอบ
ประธานในที่ประชุม (มาตรา ๑๑๘๐) • การเลื่อนการประชุม (มาตรา ๑๑๘๑) การเลื่อนประชุมหมายถึง กรณีที่มีการประชุมถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมายแล้ว มีองค์ประชุมครบแล้ว แต่ประชุมปรึกษากิจการที่นัดหมายไว้ไม่หมด หรือมีความจำเป็นหรือมีเหตุสมควรอย่างอื่น จึงให้เลื่อนไปประชุมต่อในวันหลัง ไม่ใช่กรณีไม่ครบองค์ประชุมซึ่งต้องนัดประชุมใหม่ตามมาตรา ๑๑๗๘, ๑๑๗๙ หรือเป็นกรณีที่กรรมการส่วนใหญ่ให้งดการประชุมที่นัดโดยมิชอบ แต่คงประชุมตามที่นัดไว้อีกครั้งหนึ่ง คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๑๐/๒๕๓๓ การเลื่อนประชุมไม่ต้องบอกกล่าวตามกำหนดตามมาตรา ๑๑๗๕
ผู้มีสิทธิลงคะแนน • มาตรา ๑๑๘๓ • มาตรา ๑๑๘๔ • มาตรา ๑๑๘๕ การที่ผู้ถือหุ้นออกเสียงให้ตนเองเป็นกรรมการ ไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ เพราะการตั้งกรรมการเป็นวิธีการจัดการบริษัทตามมาตรา ๑๑๔๔, ๑๑๕๑ มิใช่เป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนการออกเสียงลงคะแนนมอบอำนาจให้ตนเองเป็นผู้ไปจดทะเบียนเพิ่มกรรมการตามมติของที่ประชุมเป็นเรื่องเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๑๑๕๗ ก็ไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ (ฎ. ๑๒๔๖/๒๕๒๐)
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๔๔/๒๕๑๐ การประชุมใหญ่ที่ปรึกษาเรื่องนอกระเบียบวาระ มติซึ่งผู้ถือหุ้นลงมติให้จ่ายเงินใช้หนี้ซึ่งตนเป็นเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175,1185 ผู้ชำระบัญชีลงชื่อนัดประชุมแต่คนเดียวอีกคนหนึ่งไม่รู้เห็นด้วย ขัดต่อ มาตรา 1261 ผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิกถอนได้ตาม มาตรา 1195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่๕๗๔/๒๕๓๙คำพิพากษาศาลฎีกาที่๕๗๔/๒๕๓๙ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๑๘๕ ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นหมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
เพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใด มติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๑๘๕
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๑๗๕ กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า๗วันนั้นก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๕พฤศจิกายน ๒๕๓๔
เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ ๓ธันวาคม ๒๕๓๔ โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่๗ คนทราบและผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกันส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุมมีแต่ชาย ๒ คนมาประชุมแทนแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การลงคะแนน • มาตรา ๑๑๙๐ • มาตรา ๑๑๙๒ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๐/๒๕๑๐ เจ้ามรดกมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลย เมื่อเจ้ามรดกตายหุ้นของเจ้ามรดกย่อมตกมาเป็นของทายาททันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙ และ ๑๖๐๐ ทายาท จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ ตามมาตรา ๑๑๙๕ ได้ แม้ว่าบริษัทจำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนทายาทเป็นผู้ถือหุ้นก็ตาม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๐ เมื่อผู้ถือหุ้นสองคนขอให้ลงคะแนนลับแล้ว บริษัทจะต้องลงคะแนนลับ หากฝ่าฝืนมติของที่ประชุมย่อมขัดต่อมาตรา ๑๑๙๔ เมื่อโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นร้องขอ ศาลก็สั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่นี้ได้ตามมาตรา ๑๑๙๕ การขอให้ลงคะแนนลับไม่ใช่เป็นการเข้าประชุมแทนผู้ถือหุ้นและการขอให้ลงคะแนนลับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ถือหุ้นจะต้องไปร่วมประชุมด้วย
การนับคะแนน • มาตรา ๑๑๘๒ • การลงคะแนนโดยวิธีชูมือ • การลงคะแนนลับ • การลงคะแนนเสียงชี้ขาดของประธาน (มาตรา ๑๑๙๓)
การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ • มาตรา ๑๑๙๕ • เหตุที่จะเพิกถอน • การนัดเรียกประชุมไม่ถูกต้อง (มาตรา ๑๑๗๕) • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2518 ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า 'การประชุมวิสามัญจะเรียกประชุมเมื่อใดก็ได้ในเมื่อคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรหรือผู้ถือหุ้นรวมกันนับจำนวนหุ้นได้ถึงหนึ่งในห้าของหุ้นทั้งหมดทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ' ตามข้อบังคับข้อนี้กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะเรียกประชุม มิใช่กรรมการคนใดคนหนึ่งแต่เพียงคนเดียว แม้ว่าผู้ถือหุ้นรวมกันทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ ก็จะต้องทำหนังสือถึงคณะกรรมการ แล้วคณะกรรมการเป็นผู้เรียกประชุม
ปรากฏว่า ม. กรรมการเพียงคนเดียวเป็นผู้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 โดยไม่ได้เสนอคำร้องขอของผู้ถือหุ้นต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับ ในวันประชุม ส. ประธานกรรมการบริษัทจำเลยได้สั่งระงับการประชุม ม. ยอมรับคำสั่งแต่โดยดี แต่แล้วกลับละเมิดคำสั่งได้ดำเนินการประชุมต่อไป ที่ประชุมแต่งตั้ง ท. เป็นประธานของที่ประชุมโดยที่ ท. มิได้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่จะเป็นได้ การประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมครั้งนั้นจึงเป็นคณะกรรมการที่ไม่ชอบไม่มีอำนาจบริหารและไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 มติต่างๆ ของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 จึงไม่มีผล ผู้ถือหุ้นขอให้ศาลเพิกถอนมตินั้นได้
การประชุมไม่ถูกต้อง • ให้ผู้ไม่มีสิทธิเข้าประชุมเข้าประชุมด้วย • ไม่ให้ผู้มีสิทธิเข้าประชุม • วิธีการประชุมไม่ถูก • ประชุมโดยไม่ครบองค์ประชุม • ประธานที่ประชุมไม่มีอำนาจ • เลื่อนประชุมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากที่ประชุม (มาตรา ๑๑๘๑) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2512 การประชุมของบริษัทซึ่งมีบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมแสดงความเห็นและออกเสียงลงคะแนนด้วยแม้ผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมด้วยมีหุ้นรวมกันเกิน 1 ใน 4 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดและได้ลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ก็ตามมตินั้นก็เป็นมติที่ไม่ชอบศาลเพิกถอนเสียได้
การลงมติไม่ถูกต้อง • ให้ผู้ไม่มีสิทธิลงคะแนนลงคะแนน เช่น • ผู้นั้นยังค้างชำระค่าหุ้นอยู่ (มาตรา ๑๑๘๔) หรือ • มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ (มาตรา ๑๑๘๕) หรือ • ให้ผู้รับฉันทะลงคะแนนโดยไม่มีหนังสือตั้งผู้รับฉันทะที่ถูกต้อง หรือไม่มีการวางหนังสือตั้งผู้รับฉันทะก่อนหรือเริ่มการประชุม (มาตรา ๑๑๘๔, ๑๑๘๙) หรือ • หนังสือมอบอำนาจของบริษัทผู้ถือหุ้น กรรมการไม่ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทให้ถูกต้องตามข้อบังคับ (ฎ. ๒๕๑๖/๒๕๒๗) หรือ • นับคะแนนไม่ถูกต้อง หรือ • ไม่ยอมให้มีการประชุมลับเมื่อมีผู้ถือหุ้นสองคนมีหนังสือร้องขอมา
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186 - 188/2477 จำเลยได้โอนหุ้นให้จำเลยอื่นโดยสมยอมแล้วประชุมกันเพื่อประสงค์จะจำกัดอำนาจกรรมการชุดเก่า ศาลฎีกาเห็นว่ามติของที่ประชุมในครั้งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตามนัยประมวลกฎหมายแพ่ง ฯ มาตรา ๕และ๔๒๑ บุคคลต้องใช้สิทธิโดยสุจริตแลไม่ให้ผู้อื่นเสียหายยิ่งการเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือบริษัทจำต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตระวางกันเป็นข้อสำคัญยิ่งจึงพิพากษายืนตามศาลล่างว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ผู้มีสิทธิขอให้เพิกถอนผู้มีสิทธิขอให้เพิกถอน • กรรมการของบริษัท • ผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงทายาทผู้รับมรดกของผู้ถือหุ้นที่ถึงแก่ความตายด้วย (ฎ. ๓๑๐/๒๕๑๐)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2536 ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้อ้างเหตุเพียงว่า การที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดรับจดทะเบียนการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ และเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจากโจทก์ที่ 1 เป็น ช.แทนตามคำขอจดทะเบียนนั้น เป็นเพราะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหลงเชื่อตามรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ ช.และ ย.ร่วมกันจัดทำขึ้นโดยเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงไม่มีการประชุมกันแต่อย่างใด และโจทก์ที่ 1 ก็มิได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ทั้งสองมิได้อ้างว่าการรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1 เพราะเหตุนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการจดทะเบียนนั้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
ทั้งการทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทก็มิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมดังกล่าว แม้รายงานการประชุมนั้นเป็นรายงานเท็จ ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็มิใช่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยในฐานะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจจัดการ ทำกิจการหรือประกอบกิจการของบริษัท เพราะบริษัทจำกัดกฎหมายให้มีกรรมการจัดการตามข้อบังคับของบริษัทไว้แล้ว กรรมการบริษัทเพียงแต่อยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ ในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 วรรคแรก ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่ 2 เกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดที่ตนถือหุ้นจึงมีอยู่เพียงการฟ้องร้องกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทเท่านั้น หามีสิทธิฟ้องบุคคลภายนอกเกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดไม่ กรณีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวหาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
กำหนดเวลาที่ขอให้เพิกถอนกำหนดเวลาที่ขอให้เพิกถอน • มาตรา ๑๑๙๕ กำหนดว่าต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน ๑ เดือนนับแต่วันที่ลงมติ กำหนดเวลานี้ไม่ใช่อายุความอันคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องยกขึ้นต่อสู้ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลยกขึ้นได้เอง ถ้าปรากฏแก่ศาลว่าการฟ้องขอให้เพิกถอนมตินั้นเลยกำหนดเวลา ศาลก็ยกคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้น (ฎ. ๔๖๗/๒๕๒๑, ๒๕๗๖/๒๕๑๗) • ถ้าเป็นการประชุมที่ผิดกฎหมายจนถือไม่ได้ว่าเป็นการประชุมใหญ่ของบริษัท มติของที่ประชุมก็ไม่มีผลผูกพันบริษัท จึงไม่น่าจะต้องมีการเพิกถอนแต่อย่างใด แต่ถ้าจะมีการฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนหรือสั่งแสดงว่ามตินั้นไม่มีผล ก็หาใช่เป็นกรณีที่จะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลา ๑ เดือนตามมาตรา ๑๑๙๕ ไม่ (ฎ. ๑๓๑๐/๑๕๑๗)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2520 การประชุมใหญ่ที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน มิใช่เป็นการประชุมใหญ่ที่ผิดระเบียบตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 แต่เป็นรายงานการประชุมเท็จ เพราะไม่มีการประชุมกันจริง จึงไม่อยู่ในบังคับให้ต้องฟ้องเพิกถอนภายในกำหนดเดือนหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว
มาตรา ๑๑๙๕ เพียงแต่บัญญัติให้สิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ได้และกำหนดเวลาไว้เท่านั้น มิได้บัญญัติว่าการฝ่าฝืนตามมาตรานั้นมีผลให้การประชุมหรือมติที่ประชุมนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้น ถ้าไม่มีการขอให้เพิกถอน หรือขอเมื่อเลยกำหนดเวลา ศาลสั่งยกคำฟ้องหรือคำร้องเสียแล้ว มติของที่ประชุมนั้นก็ต้องถือว่ายังมีอยู่และใช้ได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่การประชุมนั้นเป็นการผิดกฎหมายหรือถือไม่ได้เลยว่าเป็นการประชุมของบริษัทอย่างเช่นใน ฎ. ๑๓๑๐/๒๕๑๗
แม้จะมีการฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่แต่งตั้งกรรมการบริษัทผู้หนึ่ง แต่ศาลยังไม่ได้พิพากษาให้เพิกถอนมติดังกล่าว กรรมการผู้นั้นจึงยังมีอำนาจทำการงานแทนบริษัทได้ (ฎ. ๓๗๗๕/๒๕๓๘) • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๓๗๐/๒๕๓๗ ส. กรรมการของโจทก์ได้เรียกประชุมใหญ่โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการด้วยไม่ได้มีมติให้นัดเรียกประชุมใหญ่ การนัดเรียกประชุมใหญ่จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท แต่หาทำให้การประชุมใหญ่และมติที่เกิดขึ้นเสียไปหรือตกเป็นโมฆะไม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๕ เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องถือว่าการนัดเรียกประชุมและการประชุมใหญ่ที่ได้ลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งศาลยังไม่ได้พิพากษาเพิกถอน มีผลเป็นการนัดเรียกประชุมและประชุมใหญ่ตามกฎหมายแล้ว มติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์โดยผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองหยุดประกอบกิจการในนามของโจทก์และส่งมอบเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ให้แก่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ได้