1 / 57

การผลิตขยาย

การผลิตขยาย. ศัตรูธรรมชาติ. กลุ่มงานชีววิธี ส่วนบริหารศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร. การผลิตขยาย. เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า. จิระเดช แจ่มสว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มงานชีววิธี ส่วนบริหารศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินคาเกษตร. การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า.

sugar
Download Presentation

การผลิตขยาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การผลิตขยาย ศัตรูธรรมชาติ กลุ่มงานชีววิธี ส่วนบริหารศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร

  2. การผลิตขยาย เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จิระเดช แจ่มสว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มงานชีววิธี ส่วนบริหารศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินคาเกษตร

  3. การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า การเตรียมเชื้อบนอาหารวุ้น 1. ชั่งอาหาร SDA (Sabouraud Dextrose Agar ) 65 กรัม ใส่น้ำกลั่น 1 ลิตร ต้มจนละลายเทใส่หลอดแก้วเลี้ยงเชื้อประมาณหลอดละ 15 มิลลิลิตร อุดด้วยสำลี นำไปนึ่งฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งความดันที่ อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15-20 นาที แล้วนำออกมาวางเอียงประมาณ 45 องศา ตั้งทิ้งไว้จนอาหารเย็น

  4. 2. นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเขี่ยใส่ในหลอดเลี้ยงเชื้อ (ควรทำในตู้เขี่ยเชื้อ ซึ่งทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยแสง UV แล้ว) บ่มไว้ในห้องแอร์ประมาณ 10-15 วัน เชื้อจะเจริญเต็ม

  5. ขั้นตอนการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าขั้นตอนการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า - นำเมล็ดข้าวฟ่างล้างให้สะอาด แล้วแช่น้ำค้างคืนไว้ 1 คืน

  6. - นำเมล็ดข้าวฟ่างขึ้นจากน้ำไปผึ่งให้แห้งพอหมาด

  7. -บรรจุลงในถุงพลาสติกทนร้อน ประมาณ 0.5 กก. ปิดปากถุงด้วยคอขวดและจุกด้วยสำลีปิดทับด้วยกระดาษฟรอยด์

  8. -นำไปนึ่งฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งความดันที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 25-30 นาที ตั้งไว้ให้เย็น เขี่ยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่อยู่บนอาหารวุ้นในหลอดแก้วลงบนเมล็ดข้าวฟ่างที่เตรียมไว้แล้วนำไปบ่มไว้ในห้องแอร์

  9. - เชื้อราจะเจริญเติบโตและกระจายไปตามเมล็ดข้าวฟ่าง เมื่อได้อายุ 5-7 วัน ควรเขย่าถุงหรือใช้มือบี้เพื่อให้เชื้อ กระจายได้ทั่วถุง เมื่อเชื้อเจริญเต็มถุงก็นำไปใช้ควบคุม เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชได้

  10. การผลิตขยาย เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด จิระเดช แจ่มสว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

  11. วิธีการใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

  12. การผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าการผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

  13. การหว่าน

  14. การคลุกเมล็ด

  15. ละลายน้ำเพื่อนำไปฉีดพ่นละลายน้ำเพื่อนำไปฉีดพ่น

  16. การฉีดพ่น

  17. การใส่เชื้อไปกับระบบการให้น้ำการใส่เชื้อไปกับระบบการให้น้ำ

  18. การผลิตขยาย เชื้อบาซิลลัส ทูริงเจนซิส

  19. การขยายเชื้อบีที อุปกรณ์ -เชื้อบีที 250-280 กรัม -น้ำสะอาด 20 ลิตร -นมข้นหวาน 2 กระป๋อง -กากน้ำตาล 1 ลิตร -ถังใส่น้ำขนาด 30 ลิตร 1 ใบ

  20. วิธีทำ • นำน้ำสะอาดใส่ถัง • เทหัวเชื้อ บีที ลงไปแล้วคนให้ทั่ว • เทนมข้นหวานลงไปอีก 1 กระป๋อง คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาถัง • ต้องเปิดฝาถังแล้วคนทุกวันจนครบ 3 วัน • เทนมข้นหวานลงไปอีก 1 กระป๋องกากน้ำตาล 1 ลิตร แล้วคนให้ทั่ว • ต้องเปิดฝาถังแล้วคนทุกวันอีก จนครบ 3 วัน จึงนำไปใช้ได้

  21. วิธีใช้ • ก่อนนำไปใช้ทุกครั้งต้องคนให้เข้ากันทุกครั้ง • นำไปผสมน้ำ 500- 1,000 เท่า ( 20-40 ซีซี /ลิตร) ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง • เมื่อหนอนได้รับเชื้อเข้าไปจากการกินอาหาร หนอนจะป่วยไม่สามารถกินอาหารได้และตายภายใน 3-7 วัน

  22. การผลิตขยาย ลาวัลย์ จีระพงษ์ เชื้อราขาว กลุ่มงานชีววิธี ส่วนบริหารศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินคาเกษตร

  23. เตรียมเชื้อบนอาหารวุ้นเตรียมเชื้อบนอาหารวุ้น ชั่งอาหาร SMA ( Sabouraud Maltose Agar) 65 กรัม ใส่น้ำกลั่น 1 ลิตรต้มจนละลาย เทใส่หลอดแก้ว เลี้ยงเชื้อประมาณหลอดละ 15 มิลลิลิตรอุดด้วยสำลี นำไปนึ่งฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งความดันที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15-20 นาที แล้วนำออกมาวางเอียงประมาณ 45 องศา ตั้งทิ้งไว้จนอาหารเย็น

  24. นำหัวเชื้อมาเขี่ยใส่ในหลอดเลี้ยงเชื้อ (ควรทำในตู้เขี่ยเชื้อ ซึ่งทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยแสง UV แล้ว) บ่มไว้ในห้องแอร์ประมาณ 10-15 วันวัน เชื้อจะเจริญเติบโตเต็มหลอดเลี้ยงเชื้อ

  25. การผลิตขยายเชื้อราขาวการผลิตขยายเชื้อราขาว • นำเมล็ดข้าวโพดล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่น้ำ ค้างคืนไว้ 1 คืน • นำเมล็ดขึ้นจากน้ำไปผึ่งให้แห้งพอหมาด • บรรจุลงในถุงพลาสติกทนร้อน ประมาณ 0.5 กก. ปิดปากถุงด้วยคอขวดและจุกด้วยสำลี ปิดทับด้วยกระดาษฟรอยด์

  26. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งความดันที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 25-30 นาที ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น เขี่ยเชื้อราที่อยู่บนอาหารวุ้นในหลอดแก้วลงบนเมล็ดข้าวโพดที่เตรียมไว้ แล้วนำไปบ่มไว้ในห้องแอร์ • เชื้อราจะเจริญเติบโตและกระจายไปตามเมล็ดข้าวโพด เมื่อได้อายุ 5-7 วัน ควรเขย่าถุงหรือใช้มือบี้เพื่อให้เชื้อกระจายได้ทั่วถุง เมื่อเชื้อเจริญเต็มถุงก็นำไปใช้ควบคุมศัตรูพืชได้ ใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน

  27. เชื้อราขาวอายุ 7-10 วัน

  28. การผลิตขยาย เชื้อไวรัส เอ็น พี วี ของเกษตรกร อุทัย เกตุนุติ กรมวิชาการเกษตร ทิพย์วดี อรรถธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

  29. หนอนกระทู้หอม

  30. การผลิตขยายเชื้อไวรัส NPV ของเกษตรกร เกษตรกรสามารถผลิตขยายเชื้อไวรัส NPV ได้ 2 แบบ คือ 1. การผลิตขยายในแปลงพืช ขอรับหัวเชื้อจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นำมาพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 วัน ทิ้งไว้ 4 วัน จากนั้นคอยเก็บรวบรวมหนอนที่ขึ้นมาตายอยู่บนต้นพืชทุกเช้าเย็นเป็นเวลา 4-5 วัน ควรเก็บหนอนตายก่อนทำการรดน้ำพืชในแปลง เก็บหนอนตายที่แสดงอาการตายจากเชื้อไวรัสใส่ขวดที่สะอาด นับจำนวนหนอนตายไว้เติมน้ำสะอาดลงไปเล็กน้อย ทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็สามารถนำมาบดหรือปั่น และกรองเอาเฉพาะส่วนที่เป็นของเหลวนำไปใช้ควบคุมหนอนต่อไปได้

  31. 2. การผลิตขยายในโรงเรือน เกษตรกรใช้หัวเชื้อไวรัส NPV ที่ได้รับจากหน่วยงานราชการนำมาพ่นลงบนใบพืชอาหารของหนอนที่ล้างทำความสะอาดและผึ่งลมจนแห้งแล้ว โดยวางอยู่บนตะแกรงที่บรรจุอยู่ในภาชนะที่เกษตรกรสามารถหาได้ นำหนอนตัวเท่าไม้ขีดไฟ (ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร) ใส่ลงบนพืชอาหารที่จัดเตรียมไว้ ปิดปากภาชนะด้วยผ้าขาวบางและรัดปากด้วยหนังยาง วางภาชนะในที่ที่มดไม่สามารถเข้าไปกินหนอนได้ หลังจากหนอนกินอาหารพืชอาหารแล้วประมาณ 5-7 วัน หนอนจะตาย เก็บรวบรวมหนอนที่แสดงอาการตายจากเชื้อไวรัสใส่ขวดที่สะอาด นับจำนวนหนอนตายไว้เติมน้ำสะอาดลงในขวดเล็กน้อย ทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็สามารถนำหนอนตายจากเชื้อไวรัสไปบดหรือปั่นด้วยเครื่องปั่น และกรองเอาเฉพาะส่วนที่เป็นของเหลวนำไปควบคุมหนอนต่อไปได้

  32. เกษตรกรผลิตเชื้อไวรัส เอ็น พี วี

  33. การใช้เชื้อไวรัส NPV ควบคุมศัตรูพืช อัตราการใช้เชื้อไวรัส NPV 1. ใช้เชื้อ NPV เข้มข้น 2 x 109ผนึก/มิลลิลิตร จำนวน 25-30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ ตามคำแนะนำบนฉลาก หรือ 2. ใช้หนอนที่กระทู้หอมที่ตายด้วยเชื้อไวรัส 2 ตัว หรือหนอนเจาะสมอฝ้าย 1 ตัว/น้ำ 1 ลิตร ผสมสารจับใบตามคำแนะนำบนฉลาก

  34. วิธีการใช้ 1. สำรวจปริมาณหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หรือหนอนเจาะสมอฝ้าย ควรใช้เชื้อ ไวรัสฉีดพ่น ในขณะที่หนอนยังอยู่ในวัยอ่อน คือ วัยที่ 1-3 และปริมาณต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ 2. การใช้เชื้อไวรัสควบคุมศัตรูพืช ควรฉีดพ่นในเวลาเย็นที่มีแสงแดดอ่อนๆ เพื่อป้องกันการเสื่อมประสิทธิภาพของเชื้อไวรัส เนื่องจากการทำลายของแสงอุลตร้าไวโอเล็ต

  35. การผลิตขยาย มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต รศ.ดร. วิวัฒน์ เสือสะอาด ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

  36. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ • กล่องพลาสติกรูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5x6 นิ้ว เจาะฝาด้านบนและด้านข้างแล้วปิดด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อระบายอากาศ • กล่องพลาสติกขนาด 8x11x3.5 นิ้ว ฝาด้านบนปิดด้วยตะแกรงตาถี่สำหรับระบายระบายอากาศ • สำลี • น้ำผึ้ง • หนอนผีเสื้อต่างๆ หรือหนอนและดักแด้มอดรำข้าวสาลี

  37. วิธีการผลิตขยาย 1.เก็บมวนพิฆาตและมวนเพชฌฆาตตัวเต็มวัยจากธรรมชาติ คัดเลือกตัวที่สมบูรณ์ และแข็งแรงทั้งเพศผู้และเพศเมียมาเลี้ยงในกล่องพลาสติกรูปทรงกระบอกที่เตรียมไว้จำนวน 5 คู่ต่อกล่อง ภายในกล่องใส่หนอนผีเสื้อต่างๆ หรือหนอนมอดรำข้าวสาลีประมาณ 3-4 ตัวต่อมวนพิฆาตหรือมวนเพชฌฆาต 1 ตัว และน้ำหวาน (สำลีจุ่มสารละลายน้ำผึ้งพอชุ่ม) ให้เป็นอาหาร มวนพิฆาตและมวนเพชฌฆาตจะผสมพันธุ์และวางไข่เป็นกลุ่ม

  38. 2. ไข่ของมวนพิฆาตหรือมวนเพชฌฆาตจะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายในเวลา 5-7 วัน หรือ 7-10 วัน ตามลำดับ ตัวอ่อนระยะที่ 1 จะเกาะกลุ่มกันและยังไม่มีการเคลื่อนย้าย ในระยะนี้ห้ามกระทบกระเทือนให้แตกกลุ่มหรือแยกเลี้ยงเพาะจะทำให้ มวนพิฆาตหรือมวนเพชฌฆาต ตายหมดทั้งกลุ่มปล่อยได้ในระยะตัวอ่อนวัยที่ 2

  39. 3. เมื่อมวนพิฆาตเจริญเติบโตถึงวัยที่ 3 หรือมวนเพชฌฆาตวัยที่ 2 ทำการคัดตัวที่สมบูรณ์และแข็งแรงเพื่อแยกเลี้ยง โดยนำเพศผู้และเพศเมียไปเลี้ยงในกล่องพลาสติกขนาด 8x11x3.5 นิ้ว จำนวน 15 คู่ต่อกล่อง ให้หนอนผีเสื้อหรือหนอนรำข้าวสาลี ในอัตรา 3-4 ตัวต่อ มวนพิฆาตหรือมวนเพชฌฆาต 1 ตัว และน้ำหวานเป็นอาหาร มวนพิฆาตหรือมวนเพชฌฆาตจะผสมพันธุ์และวางไข่ ทำการผลิตขยายต่อเนื่องจนได้ปริมาณมาก นำส่วนหนึ่งไปใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้ขยายพันธุ์ต่อไป

More Related