470 likes | 795 Views
บทที่ 7 วิดีโอ (Video) และแอนิเมชั่น (Animation). - ทำ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เช่น สื่อเป็นที่ใช้ในการผลิต ข้อจำกัด และราคาของส่วนประกอบที่ จะ นำมาใช้งาน - จะต้อง ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์และกฎหมายที่คุ้มครอง - เข้าใจ ถึงพื้นฐานการทำงานของวิดีโอ. การเลือกใช้งานวิดีโอ.
E N D
บทที่ 7 วิดีโอ (Video)และแอนิเมชั่น(Animation) - ทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เช่น สื่อเป็นที่ใช้ในการผลิต ข้อจำกัด และราคาของส่วนประกอบที่จะ นำมาใช้งาน - จะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์และกฎหมายที่คุ้มครอง - เข้าใจถึงพื้นฐานการทำงานของวิดีโอ • การเลือกใช้งานวิดีโอ
ชนิดของวิดีโอ วิดีโออนาลอก(Analog Video) เป็นวิดีโอทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (ในรูปของคลื่น) วิดีโอที่เป็นอนาลอก ได้แก่VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวิดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวิดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง ม้วนเทปวิดีโอ (VHS) ที่เป็นอนาลอก
ชนิดของวิดีโอ(ต่อ) วิดีโอดิจิตอล(Digital Video)เป็นวิดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องวิดีโอดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 การตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวิดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวิดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับต้นฉบับ สัญญาณดิจิตอล
แหล่งที่มาของวิดีโอ • แผ่นวิดีโอซีดี (VCD) • กล้องดิจิตอล (Digital Camera) • แผ่นดีวีดี (DVD) • เทปวิดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน (VHS) แล้วนำมาแปลงเป็นไฟล์วิดีโอสำหรับเล่นบนคอมพิวเตอร์ • เว็บไซต์ต่างๆ • การนำวิดีโอไปใช้งาน • ด้านบันเทิง (Video Entertainment) • ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation) • ด้านงานสะสมวิดีโอ (Video Album)
ลักษณะการทำงานของวิดีโอลักษณะการทำงานของวิดีโอ • สัญญาณวิดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับเทปวิดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอล • บันทึกลงบนสื่อบันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก โดยกระทำผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวเทปวิดีโอ” ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ (Video Track) เสียง (Audio Track) และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ (Control Track) เครื่องบันทึกแถบวีดิทัศน์และลักษณะการเก็บข้อมูลในแถบวีดิทัศน์
มาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอ มาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอ • NTSC : National Television System Committee • มาตรฐานในสหรัฐอเมริกา • เส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที • บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan”
มาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอ (ต่อ) 2. PAL : Phase Alternate Line • เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในประเทศแถบยุโรป อังกฤษ ออสเตรเลีย อาฟริกาใต้ • เส้นแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ด้วยอัตรา 25 เฟรมต่อวินาที • แสดงภาพด้วยวิธี Interlacing ในอัตรารีเฟรช 50 Frame ต่อวินาที • 3. SECAM : Sequential Color And Memory • มาตรฐานในประเทศฝรั่งเศส รัสเซีย ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง • การสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตราการรีเฟรช 25 fps • 4. HDTV : High Definition Television • สดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280 X 720 พิกเซล • มาตรฐาน HDTV กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280 X 720 พิกเซล
มาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอ (ต่อ) ความแตกต่างของขนาดจอภาพ
การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ • พื้นฐานของวิดีโอบนโทรทัศน์เป็นเทคโนโลยีของสัญญาณอนาลอกสำหรับเป็นมาตรฐานการแพร่สัญญาณภาพไปสู่ครัวเรือน แต่คอมพิวเตอร์วิดีโออยู่บนพื้นฐานของดิจิตอลเทคโนโลยีปัจจุบันทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะพัฒนาไปสู่ระบบ DVD และ HDTV ร่วมกันในอนาคต • ระบบการซ้อนภาพวิดีโอ (Video Overlay System) เมื่อพัฒนาวิดีโอเทปและ VCD เพื่อแสดงผลบนโทรทัศน์ได้แล้ว จึงได้มีการนำวิดีโอและคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกันเรียกว่า “Computer-Based Training” (CBT) ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวิดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมผ่านสายสัญญาณไปบังคับการทำงานของเครื่องเล่นวิดีโอ แล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ของผู้ผลิตงาน • การแสดงภาพวิดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล และจะต้องติดตั้งการ์ดแสดงผลหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วิดีโอและโทรทัศน์วิดีโอความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วิดีโอและโทรทัศน์วิดีโอ • ปกติขนาด monitor จะใช้อัตราส่วน............ • เส้นในแนวนอนจะใช้ …………… เส้น • อัตราการรีเฟรชเป็น ………… Hz • Overscan : • Underscan : • การแสดงสีของจอคอมพิวเตอร์จะใช้องค์ประกอบสี RGB
คุณสมบัติพื้นฐานของไฟล์วีดิโอ • ความละเอียดของภาพ (Resolution) • ความยาว: ความกว้าง ของหน้าจอซึ่งจะกำหนดขนาดเป็น 4:3 เช่น 1024:768 800:640 หรือ 640:480 • ความเร็วในการแสดงภาพ (Frame Rate: Fps) • ฟิล์มภาพยนตร์ และโทรทัศน์ จะอยู่ที่ 24-30 ภาพต่อวินาที • อัตราการส่งข้อมูล (Data Rate) • อัตราการส่งข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์ที่จะแสดงใน 1 วินาที
การบีบอัดวิดีโอ 1. JPEG : ต้องการที่จะย่อภาพสีโดยให้คงรายละเอียดเดิมไว้ให้มากที่สุด • สุ่มตัวอย่างของจุดภาพในส่วนต่างๆ ขนาด 8 X 8 พิกเซล • เหลือเพียงสีที่ต้องการเพียงหนึ่งพิกเซล กระบวนการบีบอัดแบบเจเพ็ก
การบีบอัดวิดีโอ (ต่อ) 2. Motion – JPEGเป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูล • บีบอัดและขยายสัญญาณได้ตั้งแต่ 12 : 1, 5 : 1 และ 2 : 1 ทำให้ภาพที่ได้ออกมามีคุณภาพและเป็นที่น่าพอใจ • เป็นระบบที่นิยมใช้ในการ์ดตัดต่อและการ์ดแคปเชอร์ (Capture Card) แบบต่างๆ ปัจจุบันเริ่มหมดความนิยมเนื่องจากระบบดิจิตอลของกล้องดิจิตอลวิดีโอ (DV) เข้ามาแทนที่ แผ่นวงจรเอ็มเจเพ็ก
การบีบอัดวิดีโอ (ต่อ) 3. CODECเป็นเทคโนโลยีการบีบอัดและการคลายข้อมูล 4. MPEG : Moving Picture Experts Group เป็นมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณภาพและเสียง เป็นระบบที่ใช้กับระบบวิดีโอคุณภาพสูงทั่วไป จะมี • คล้ายกับการบีบอัดข้อมูลแบบ JPEG แต่จะลดจำนวนข้อมูลที่ซ้ำกันของภาพต่อไปด้วย • ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องดังนี้ 4.1 MPEG-1 • ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานกับวิดีโอที่ดูตามบ้านเรือนทั่วไป • อัตราการส่งผ่านข้อมูล 1.5 mbps • การบีบอัดข้อมูลแบบนี้สามารถใช้เครื่องเล่น CD • ให้ภาพที่ค่อนข้างหยาบ สัญญาณสีแต่ละจุดอาจไม่ถูกต้อง
การบีบอัดวิดีโอ (ต่อ) 4.2 MPEG- 2 • ใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ • ภาพจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ จากนั้นจะทำการเข้ารหัสภาพ และเก็บเฉพาะข้อมูลที่แตกต่างของภาพไว้ในเฟรม ส่วนภาพต่อไปก็ทำการเปรียบเทียบกับภาพติดกัน แล้วเก็บส่วนต่างไว้เช่นกัน ทำให้สามารถลดจำนวนข้อมูลที่ต้องการเก็บ และเก็บบันทึกข้อมูลที่ต้องทำการถอดรหัสได้ 4.3 MPEG - 3 • ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานกับโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง • ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก 4.4 MPEG - 4 • เป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับ Quick Time ที่พัฒนาโดย Apple • ถูกออกแบบให้มีความสามารถในเชิงโต้ตอบกับวัตถุต่างๆ ในภาพได้ 4.5 MPEG - 7 • เป็นตัวเชื่อมรายละเอียดเนื้อหาของมัลติมีเดียเข้าด้วยกัน • โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างมาตรฐานการอธิบายข้อมูลข่าวสารของมัลติมีเดีย เพื่อใช้ในการสนับสนุนความหมายของข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนสื่อ
การบีบอัดวิดีโอ (ต่อ) 5. Microsoft Video • ทำการบีบอัดข้อมูลที่อัตราส่วนการบีบอัดต่ำ (240 X 180 พิกเซล) 6. Microsoft RLE • ใช้อัตราส่วนในการบีบอัดต่ำ เหมาะสำหรับภาพเคลื่อนไหวต่างๆ 7. DV Format • เพื่อใช้กับกล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอล • โดยสัญญาณที่ถูกบันทึกจะผ่านการบีบอัดข้อมูลแล้ว ส่งผ่านเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยตรง • พัฒนามาตรฐาน IEEE 1394 หรือที่เรียกว่า “Fire Wire” มารองรับการส่งข้อมูลแบบ DV กล้องแบบดีวีและการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยไฟร์ไวร์
การบีบอัดวิดีโอ (ต่อ) 8. DivX กลุ่มโปรแกรมเมอร์ใต้ดินได้ร่วมกันพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ CODEC แบบใหม่ ซึ่งสามารถลดข้อมูลเหลือเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณข้อมูลเดิม 9. DVI เป็นเทคโนโลยี CODEC ที่ถูกพัฒนาโดย Intel ซึ่งมีมาตรฐานในการแสดงภาพที่มีอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที สามารถบันทึกและแสดงภาพวิดีโอที่มีการเคลื่อนไหวที่สมจริงเหมือนในโทรทัศน์ 10. CINEPAKเป็นเทคโนโลยีการบีบอัดและการคลายข้อมูลที่ถูกพัฒนาโดยSupermac Inc. สามารถส่งข้อมูลวิดีโอขนาด 24 บิต บนพื้นที่ขนาด 1 ต่อ 4 ของจอภาพ (320240 พิกเซล) ซึ่งนิยมใช้ในรูปแบบของไฟล์วิดีโอที่เป็น *.AVI โดยสามารถบีบอัดข้อมูลได้ดี 11. INDEO ถูกพัฒนาโดย Intel Corporation ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก DVI ที่เป็นฮาร์ดแวร์ล้วนๆส่วนการเข้าและถอดรหัสของ INDEO จะเป็นซอฟต์แวร์ทั้งหมด
ขั้นตอนการผลิตวิดีโอ • การวางแผน • การถ่ายทำ • แคปเชอร์ (Capture) เป็นการถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นภาพหรือเสียงหรือทั้งภาพและเสียงที่ได้จากเทปวิดีโอ (VHS) มาบันทึกลงใน Hard disk โดยทำการจัดเก็บเป็นไฟล์ .AVI หลายๆ ไฟล์ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ • การตัดต่อ เป็นการนำไฟล์หลายๆ ไฟล์ที่จัดเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์มาต่อเรียงกัน โดยทำการเลือกภาพและเสียงที่ต้องการ จากนั้นทำการตกแต่งภาพ โดยการเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ เช่น สีสัน ความสวยงาม ข้อความ เพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหว ลดเหลี่ยมของภาพ หรือปรับเปลี่ยนความยาวของข้อมูลก็ได้ การตัดต่อวีดิทัศน์ด้วยโปรแกรมอะโดบีพรีเมียร์
ข้อแนะนำการผลิตวิดีโอข้อแนะนำการผลิตวิดีโอ • การตัดต่อวิดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะได้งานที่มีคุณภาพดีกว่า เนื่องจากสามารถเพิ่มเทคนิคพิเศษ ปรับแต่งภาพให้สวยงามได้ จึงได้รับความนิยมอย่างสูงในการใช้งานเช่น การสร้างเทคนิคพิเศษในละครหลายๆ เรื่อง การ์ตูนอะนิเมชั่นต่างๆ และภาพยนตร์แอคชั่นในปัจจุบัน • การตัดต่ออย่างมืออาชีพต้องใช้งบประมาณในการเตรียมอุปกรณ์ตัดต่อซึ่งมีราคาแพง หากจะทำการตัดต่อเพื่อเพิ่มความรู้ก็ควรใช้อุปกรณ์ที่มีราคาเหมาะสมกับงานที่จะทำ เพื่อป้องกันความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ • การจัดทำสื่อประสม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตัดต่อวิดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทำการเก็บบันทึกให้อยู่ในรูปของไฟล์ต่างๆ (.AVI, .MOV, MPEG) เทปวิดีโอ (VHS) แผ่นวีซีดี (VCD) หรือแผ่นดีวีดี (DVD) ซึ่งเป็นสื่อที่นิยมมากในปัจจุบัน เพื่อเก็บผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้นไว้ หรือนำออกมาเพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับชม
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวิดีโอซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวิดีโอ
คุณภาพของวิดีโอ • อัตราเฟรม (Frame Rate) • คืออัตราความถี่ในการแสดงภาพจาก Timeline ออกทางหน้าจอ • Fps เป็นหน่วยวัดปริมาณข้อมูลที่ใช้ในการเก็บบันทึกและแสดงวิดีโอ • ผู้จัดทำกำหนดอัตราเฟรมเองได้ เช่น อัตราเฟรมของภาพยนตร์เท่ากับ 24 FPS อัตราเฟรมโทรทัศน์ระบบ PAL เท่ากับ 25 Fps และอัตราเฟรมโทรทัศน์ระบบ NTSC เท่ากับ 30 FPS • ความละเอียด (Resolution) • คือ ความคมชัดของภาพที่แสดงผลออกทางจอภาพ • ขึ้นอยู่กับจำนวนจุดทั้งหมดที่เกิดบนจอ เช่น ความละเอียดของจอภาพ 640 X 480 พิกเซล • ภาพที่มีขนาดเท่ากัน บางครั้งก็อาจจะมีความละเอียดที่ต่างกันได้ • ยิ่งความละเอียดของจอภาพสูงจะยิ่งทำให้มองเห็นพื้นที่ใช้งานบนจอกว้างมากขึ้น แต่จะทำให้มีขนาดเล็กลง
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้ารหัส ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้ารหัส • codec คืออะไร ? • เป็น S/H ที่ Compress และ/ หรือ Decompress สตรีม ของข้อมูล • เพื่อลดขนาดของไฟล์ • อาจติดมากับซอฟท์แวร์หรือ ต้องนำมาติดตั้งเอง • เช่น MPEG-1, MPEG-2, MPEG-4, Vorbis, DivX, ...เป็นต้น • ฟอร์แมตของไฟล์วีดีโอ? • container format ประกอบด้วยหนึ่งหรือหลายๆ stream ที่เข้ารหัสด้วย codecs • เช่น AVI, Ogg, MOV, ASF
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้ารหัสซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้ารหัส • Ligos LSX-MPEG : ซึ่งเป็นปลั๊กอิน (Plug - Ins) ที่สนับสนุนโปรแกรม Adobe Premiere 6 ใช้ในการเข้ารหัส MPEG-1 และ MPEG-2 • Panasonic MPEG Encoder : มีสองรุ่นคือ Stand Alone และเป็นปลั๊กอินบน Adobe Premiere • SoftMPEG Encoder :เป็นปลั๊กอินของบริษัท Canopus เพิ่มเติมให้กับ Adobe Premiere • XingMPEG Encoder : ปัจจุบันถูกบริษัท Real ควบกิจการไปแล้ว ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นแบบ Stand Alone สามารถเข้ารหัสข้อมูลได้หลายแบบ สามารถเขียนข้อมูลวิดีโอทำเป็น VCD ได้เช่นเดียวกับโปรแกรม Adobe Premiere • Tmpgenc (Tsunsmi MPEG Encoder) : เป็นโปรแกรมเข้ารหัสสัญชาติญี่ปุ่นที่นิยมที่สุดโปรแกรมหนึ่งในปัจจุบัน ผู้พัฒนาคือ นาย ฮิโรยูกิ โฮริ ตัวโปรแกรมมีความสามารถในการปรับแต่งหลายอย่าง • Cleaner 5 EZ :เป็นโปรแกรมจากบริษัท Discreet สามารถบีบอัดข้อมูลวิดีโอได้หลายแบบ โดยเฉพาะรูปแบบที่ใช้งานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งปลั๊กอินแบบนี้จะแถมมากับโปรแกรม Adobe Premiere ฉบับลิขสิทธิ์
VIDEO CODECS ต่างๆ • MPEG-1 Movies (MPEG) • MPEG-2 Movie(MPEG) • MPEG-4 Movies (MPEG) • H.264 Movies (MPEG/ITU) • VC-1 Movies (SMPTE) • AVI Movies (Windows) • WMV Movies/Streaming (Windows) • RM, RV Movies/Streaming (RealNetworks) • Indeo Movies (Intel) • Cinepak Movies (SuperMac Technologies) • Sorenson Movies (Sorenson Media) • H.261 Videoconferencing (ITU) • H.263 Videoconferencing (ITU)
โปรแกรมซอฟต์เอ็มเพ็กเอนโคเดอร์โปรแกรมซอฟต์เอ็มเพ็กเอนโคเดอร์ โปรแกรมไลกอสแอลเอสเอกซ์เอ็มเพ็ก
รูปแบบของไฟล์วิดีโอที่ใช้บนเว็บรูปแบบของไฟล์วิดีโอที่ใช้บนเว็บ
ซอฟแวร์ที่ใช้ในการรับชมวิดีโอซอฟแวร์ที่ใช้ในการรับชมวิดีโอ • Microsoft Windows Media Player เป็นโปรแกรมมัลติมีเดีย โดยสามารถใช้เล่นไฟล์มัลติมีเดีย เช่น *.ASF,*.MPEG-1,*.MPEG-2,*.WAV,*.AVI,*.MIDI,*.VOD,*.AU,*.MP3, และ QuickTime เป็นต้น • I-Video CD Player เป็นโปรแกรมที่นิยมอีกโปรแกรมหนึ่ง เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่สามารถเล่นไฟล์เกี่ยวกับมัลติมีเดียได้มากมาย เช่นVideoCD, *.MPEG, *.AVI, *.DAT, และ *.MOV นอกจากนี้ยังสามารถขยายภาพจากปรกติให้เป็น 1 หรือ 2 เท่า และโปรแกรมนี้ยังเป็น Freeware อีกด้วย • RealPlayer เป็นการพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Progressive Network เป็น Player ที่สามารถรองรับการแพร่ภาพสด (เช่น ชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก) และเสียงสด (เช่น การฟังเพลงจากคลื่นวิทยุจากสถานีวิทยุทั่วไป) แบบ streaming บนอินเตอร์เน็ตได้ • Quick Time : เป็น Plug-In ที่แสดงผลใช้งานร่วมกับบราวเซอร์ คล้ายกับ RealPlayer กล่าวคือใช้ในการชมวิดีโอ รวมทั้งการถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความสามารถปรับเปลี่ยนการควบคุมเสียง (AudioControl) ระหว่างการชมวีดีโอ เช่น การปรับเสียงเบส (Bass) ให้อยู่ระดับเสียงสูง (Treble) และระดับเสียงต่ำได้ • Shockwave : เป็น Plug-In สนับสนุนไฟล์ของโปรแกรม Director, Flash และAuthorwareซึ่งเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ผลงานสำหรับการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหว เสียง และการสร้างปุ่มที่ใช้ในการทำงานต่างๆ เป็นต้น ทั้งยังมีความสามารถในด้านการสร้างไฟล์ภาพยนตร์และการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนเพื่อใช้ในการทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถนำขึ้นบนเว็บได้ (โดยมี Shockwave เป็น Plug-In ที่ใช้ในการแสดงผล) เนื่องจากข้อมูลที่ได้นั้นจะมีการบีบอัดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงจึงทำให้สามารถนำเสนอบนเว็บได้โดยไม่มีปัญหาในเรื่องขนาดของข้อมูล • Mbedเป็น Plug-In ที่เพิ่มความสามารถในการแสดงภาพแบบ Streaming ที่เป็นทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงในรูปแบบของ “Mbedlets” โดยสามารถสร้างได้โดยโปรแกรมMbedInteractorซึ่งMbedletสามารถทำการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้โดยการคลิกเมาส์ หรือการพิมพ์ผ่านทางแป้นพิมพ์ เมื่อมีการบันทึกข้อมูลของMbedletจะได้ไฟล์รูปแบบ *.MDB
ภาพเคลื่อนไหว(Animation) • อะนิเมชัน หรือ ภาพเคลื่อนไหว เป็นการทำให้วัตถุใดๆ เกิดการเคลื่อนที่ด้วยรูปแบบต่างๆ กันบนจอภาพ • ภาพแต่ละภาพที่นำมาทำอะนิเมชันเรียกว่าเฟรม (Frame) • การแสดงผลภาพในโทรทัศน์ 30 เฟรมต่อวินาที เป็นความเร็วที่ทำให้มองเห็นการเคลื่อนไหวที่กลมกลืน • ถ้าเป็นภาพยนตร์จะบันทึกด้วยอัตรา 24 เฟรมต่อวินาทีแล้วฉายภาพยนตร์ด้วยอัตรา 48 เฟรมต่อวินาที
วิธีการสร้างอะนิเมชันวิธีการสร้างอะนิเมชัน • ทำได้หลายวิธี • แบบเฟรมต่อเฟรม (Frame By Frame) • แบบทวีนอะนิเมชัน (Tween Animation) • แบบแอ็คชันสคริปต์ (Action Script)
เฟรมต่อเฟรม (Frame By Frame) • เป็นการนำภาพมาใส่ไว้ในแต่ละเฟรมและทำการกำหนดคีย์เฟรม (คีย์เฟรม คือ เฟรมที่ถูกกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเพื่อสร้างการเคลื่อนไหว) ถ้ากำหนดคีย์เฟรมมีช่องว่างห่างกันเกินไป การเปลี่ยนแปลงของภาพที่ปรากฏออกมาจากเฟรมหนึ่งไปยังอีกเฟรมหนึ่งก็จะช้าลง การสร้างเคลื่อนไหวแบบ Frame By Frame เหมาะสำหรับภาพอะนิเมชันที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็ว หรืองานที่ซับซ้อนมากๆ
ทวีนอะนิเมชัน (Tween Animation) • ย่อมาจากคำว่า Between ซึ่งแปลว่า “ระหว่าง” • เป็นการกำหนดคีย์เฟรมเริ่มต้นและคีย์เฟรมสุดท้าย จากนั้นให้โปรแกรมสร้างความเปลี่ยนแปลงระหว่างเฟรมโดยอัตโนมัติ • แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ • Motion Tween เป็นการเคลื่อนไหวที่มีการกำหนดการเคลื่อนที่ หมุน ย่อ หรือขยายไปตามเส้นที่วาดไว้ โดยที่รูปทรงวัตถุไม่มีการเปลี่ยนแปลง นิยมใช้มากที่สุด • Shape Tween เปลี่ยนแปลงรูปทรงของวัตถุ จากรูปทรงหนึ่งไปเป็นอีกรูปทรงหนึ่งโดยสามารถกำหนด ตำแหน่ง ขนาด ทิศทาง และสีของวัตถุในแต่ละช่วงเวลาตามต้องการ นิยมใช้กับรูปวาดเท่านั้น
แอ็คชันสคริปต์ (Action Script) • เป็นภาษาโปรแกรมที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ และสามารถโต้ตอบ (Interactive) กับผู้ใช้งานได้ โดย Action Script จะถูกนำมาใช้เมื่อมีการกระทำเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า เหตุการณ์ (Event) เช่น การคลิกเมาส์ หรือกดคีย์บอร์ด โดยจะนำ Action Script มาใช้โต้ตอบกับ Event นั้น เช่น สั่งให้แสดง Movie เป็นต้น
การใช้คอมพิวเตอร์จำลองส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อการศึกษา • มี 2 แบบ • คีนิเมติก (Kinematic) • มอร์ฟฟิ่ง (Morphing) คีนิเมติก (Kinematic) • เน้นการเรียนรู้ลักษณะ กิริยาท่าทาง และการเคลื่อนไหวของโครงสร้างส่วนที่มีการเชื่อมต่อกัน เช่น ท่าทางการเดินของมนุษย์ ซึ่งจะต้องทำการคำนวณตำแหน่ง จุดหมุน ความเร็ว และความเร่งของการเคลื่อนที่ของข้อต่อต่างๆ ภายในร่างกายมนุษย์ เช่น การงอเข่า ส่ายสะโพก แกว่งไหล่ ผงกศีรษะ เป็นต้น
การใช้คอมพิวเตอร์จำลองส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อการศึกษา(ต่อ) มอร์ฟฟิ่ง (Morphing) • เป็นเทคนิคพิเศษที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงภาพให้กลายเป็นวัตถุชนิดอื่นที่แตกต่างกันออกไป โดยจะใช้เทคนิคนี้ได้ทั้งภาพนิ่งและอะนิเมชัน แต่บางครั้งการใช้งานเทคนิคนี้กับอะนิเมชันจะให้งานที่มีคุณภาพดีกว่า การเปลี่ยนใบหน้าสุนัขให้เป็นใบหน้าเสือด้วยอัตรา 10 กรอบต่อวินาที
อะนิเมชัน 2 มิติ (2D Animation) • ในอดีตอะนิเมชันจะมีลักษณะ 2 มิติ และอยู่ในรูปแบบของภาพยนตร์การ์ตูน เช่น เรื่องโดราเอมอน ดราก้อนบอล สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ไลอ้อนคิง เป็นต้น โดยภาพในแต่ละเฟรมจะสร้างด้วยวิธีการร่างภาพแบบเซลอะนิเมชัน • ในปัจจุบันนอกจากจะพบเห็นบนจอโทรทัศน์ และจอภาพยนตร์แล้ว ยังพบได้ทั่วไปบนเว็บไซต์ต่างๆ เช่น เกมส์และภาพยนตร์การ์ตูนบนเว็บไซต์ เกมและการ์ตูนในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวสองมิติ
อะนิเมชัน 2 มิติ (2D) • โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างอะนิเมชัน 2 มิติ เพื่อแสดงผลบนเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากโปรแกรมหนึ่งก็คือ โปรแกรม Macromedia Flash ภาพเคลื่อนไหวสองมิติที่สร้างด้วยโปรแกรมมาโครมีเดียแฟลช
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานอะนิเมชันอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานอะนิเมชัน • งานภาพยนตร์และโทรทัศน์ เป็นการที่นำงานอะนิเมชันไปใช้มากที่สุด เช่น ภาพยนตร์ที่ใช้ Computer Graphic หรือการใส่ Special Effect ต่างๆ ลงในภาพยนตร์ การสร้างภาพเคลื่อนไหวของภาพยนตร์โดยใช้โปรแกรมมายา (Maya)
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานอะนิเมชัน (ต่อ) • งานพัฒนาเกมส์ ในปัจจุบันจะเห็นว่าเกมส์คอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นเกมส์ 3 มิติ ดังนั้นงานด้านนี้ก็ถือว่าเป็นงานที่มีความน่าสนใจด้านหนึ่ง การพัฒนาเกมภาพเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรม Crossfire
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานอะนิเมชัน (ต่อ) • งานสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง จะมีความสะดวกมากข้นหากใช้อะนิเมชันมาช่วย เนื่องจากงานออกแบบเป็นงานที่ต้องการความละเอียดและมีความซับซ้อนมาก เช่น งานเขียนแบบอาคาร งานตกแต่งภายใน เป็นต้น การสร้างภาพเคลื่อนไหวในงานสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างโดยใช้โปรแกรม AutuCAD
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานอะนิเมชัน (ต่อ) • งานด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันงานด้านวิทยาศาสตร์ได้มีความก้าวหน้าไปมาก ดังนั้นเครื่องมือแบบเก่าจึงไม่สามารถรองรับการค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ ได้ เช่นการสร้างโมเดลจำลองเพื่อให้เป็นภาพต่างๆ ที่เกิดจากการสมมติฐาน การสร้างภาพเคลื่อนไหวในงานด้านวิทยาศาสตร์โดยใช้โปรแกรม 3D-Doctor
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานอะนิเมชัน (ต่อ) • งานพัฒนาเว็บไซต์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งจากการใช้งาน 3 มิติบนเว็บไซต์สามารถใช้ดึงดูดความสนใจให้มีผู้เข้ามาชมเว็บไซต์ได้เป็นจำนวนมาก การใช้โปรแกรมมาโครมีเดียแฟลชทำภาพเคลื่อนไหวสามมิติบนเว็บไซต์
แบบฝึกหัดท้ายบท • จากโปรแกรม ImageReady ให้สร้าง Animation แบบ Frame by Frame มา 1 ภาพ • จากโปรแกรม ImageReady ให้สร้าง Animation แบบ Tweenมา 1 ภาพ