420 likes | 1.67k Views
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร. เงินสมทบ และ การประเมินเงินสมทบ. โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร. ความหมาย “เงินสมทบ”.
E N D
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร เงินสมทบ และ การประเมินเงินสมทบ
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ความหมาย “เงินสมทบ” เงินสมทบ คือ เงินที่ผู้ประกอบกิจการจ่ายสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ในกรณีที่ไม่จัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หรือจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงานแต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ ผู้ประกอบกิจการ ประเภทอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือธุรกิจอย่างอื่น ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ที่ไม่ได้จัดฝึกอบรมลูกจ้าง หรือจัดฝึกอบรมแต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การเรียกเก็บเงินสมทบ ให้ผู้ประกอบกิจการจ่ายเงินสมทบเป็นรายปี ตามปีปฏิทิน โดยต้องจ่ายภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป หากไม่จ่ายเงินสมทบภายในเวลาที่กำหนด ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร อัตราสมทบ เท่ากับ ร้อยละ 1 ต่อปี ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐาน ในการคำนวณเท่ากับ 3,990 บาท ต่อคน ต่อเดือน อัตราเงินสมทบ การคำนวณ เงินสมทบ
ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ • ค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (ตามประกาศกระทรวงแรงงาน ลงวันที่ 12 เมษายน 2547) เท่ากับ “3,990 บาทต่อเดือนต่อคน”
ลูกจ้างครบ 100 1. ก่อน/ตั้งแต่ 1 ม.ค. 51 = 12 เดือน 2. ไม่เต็มปีให้นับตั้งแต่วันที่ครบ 100 ถึง ธ.ค. 51 สูตรการคำนวณ “เงินสมทบ” โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร 3,990 บาท จำนวนลูกจ้างที่ ไม่ได้จัดฝึกอบรม หรือจัดแต่ไม่ครบ ตามสัดส่วนที่กำหนด จำนวน เดือน 1%
ข้อควรระวัง • สถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายบังคับตามพรบ. 2545 แล้ว คือมีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป แม้ภายหลังจะมีลูกจ้างไม่ถึง 100 คน ก็ยังต้องปฏิบัติตามพรบ. 2545 ตลอดไปจนกว่าจะเลิกกิจการ และยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบและแบบรายงานการฝึกอบรมฝีมือแรงงานต่อไปจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ โดยไม่มีการจ้างลูกจ้างหรือเลิกประกอบกิจการ • การหยุดประกอบกิจการชั่วคราวหรือการเลิกกิจการต้องยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ประกอบกิจการ (สท.8) พร้อมแนบแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.09 ของกรมสรรพากร หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์
● หยุดประกอบกิจการชั่วคราว คือ การที่ผู้ประกอบกิจการได้หยุดประกอบกิจการโดยการเลิกจ้างลูกจ้าง การเลิกกิจการ คือ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นนิติบุคคลหรือผู้ที่มีใบทะเบียนพาณิชย์และได้ขอจดทะเบียนเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์ การประเมินเงินสมทบผู้ประกอบกิจการที่มีการแจ้งหยุดกิจการชั่วคราว หรือเลิกกิจการ • กรณีหยุดกิจการชั่วคราว หรือเลิกกิจการตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นปี (1 ม.ค. – 31 ธ.ค.)โดยไม่มีการจ้างลูกจ้าง ไม่ต้องยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (สท.2) • กรณีหยุดกิจการชั่วคราว หรือเลิกกิจการระหว่างปี ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีการฝึกอบรมตามสัดส่วนจำนวนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมฝีมือแรงงานประจำปี ในช่วงเวลาที่ดำเนินการของปีนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่หยุดกิจการชั่วคราว หรือเลิกกิจการ และยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (สท.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป
การคำนวณสัดส่วนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมสำหรับปี 2551 กรณีที่1.ลูกจ้างครบ 100 เต็มปี (ก่อน/ตั้งแต่ 1 ม.ค. 51)จำนวนลูกจ้างทุกสิ้นเดือนทั้งปีบวกรวมกัน ÷ 12 X 50% = 1,800 ÷ 12 = 150 (ค่าเฉลี่ย) 150 × 50% = 75 คนที่ต้องฝึกอบรม
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การคำนวณสัดส่วนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรม สำหรับปี 2551 กรณีที่ 2ลูกจ้างครบ 100 ไม่เต็มปี นำจำนวนลูกจ้างตั้งแต่วันที่ครบ 100 จนถึงสิ้นปี ÷ จำนวนเดือน X 50 % Ex. มีลูกจ้างครบ100 คน เดือน มี.ค. 51 = 1,550 ÷ 10 = 155 (ค่าเฉลี่ย) 155 × 50% = 77.5 คน ( 77 คน)
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การนับจำนวนผู้รับการฝึก เพื่อประเมินเงินสมทบ 1. ห้ามนับซ้ำคน ในกรณีที่ผู้เข้าอบรมคนเดียวกันได้รับการฝึกอบรมมากกว่า 1 หลักสูตร ให้นับได้เพียง 1 หลักสูตร ( 1 คน 1 หลักสูตร นับซ้ำได้เฉพาะกรณีขอยกเว้นภาษี ) 2. ให้นับจำนวนลูกจ้างที่ได้รับการฝึกอบรม ซึ่งได้ลาออกไปแล้วในระหว่างปีด้วย *3. ให้นับจำนวนผู้รับการฝึกของทุกสาขารวมกับจำนวน ลูกจ้างของสำนักงานใหญ่
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การนับจำนวนผู้รับการฝึกเพื่อประเมินเงินสมทบ 4.ให้นับแรงงานต่างด้าว ที่เป็นลูกจ้างตามคำนิยามของ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 5. ให้นับจำนวนลูกจ้างที่รับเพิ่มระหว่างปีที่ได้รับการฝึกอบรม
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร วิธีคำนวณเงินสมทบ กรณีที่ 1 ครบ 100 เต็มปี (ก่อน/ตั้งแต่ 1 ม.ค. 51 ) ตัวอย่าง ก : มีลูกจ้างเฉลี่ย 150 คน ต้องฝึกอบรม 75 คน ฝึกอบรมได้ 80 คน = ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ ข : มีลูกจ้างเฉลี่ย 150 คน ต้องฝึกอบรม 75 คน ฝึกได้เพียง 50คน = ฝึกไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด 25 คน ต้องส่งเงินสมทบในส่วนที่ฝึกไม่ครบ จำนวน 25 คน เป็นเงิน 11,970 บาท (3,990 x 12 x 1% x 25 = 11,970 บาท)
วิธีคำนวณเงินสมทบ โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร กรณีที่ 2 ครบ 100 ไม่เต็มปี ตัวอย่าง โจทย์ ก : มีลูกจ้าง 100 คน เมื่อ 4 มี.ค. 51 เฉลี่ยตั้งแต่ มี.ค.-ธ.ค. 51 =155 คน สัดส่วนที่ต้องฝึกอบรม = 77 คน (155x 50% ) ข : ฝึกได้ 68 คน ฝึกไม่ครบ 9 คน ต้องจ่ายเงินสมทบ = 3,591.00 บาท (3,990 x 10 x 1% x 9)
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ช่วงเวลาประเมินเงินสมทบประจำปี 2551 1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2552
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร เงินเพิ่ม(ค่าปรับ) กรณีผู้ประกอบกิจการรายใดไม่จ่ายเงินสมทบภายใน เวลาที่กำหนดหรือจ่ายไม่ครบ 1. ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงิน สมทบที่ยังไม่ได้นำส่งหรือของเงินสมทบที่ยังขาดอยู่ นับแต่วันถัดจากที่ต้องส่งเงินสมทบ 2. การนับวันในการคำนวณเงินเพิ่ม เริ่มคิดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม เป็นวันแรก
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร เงินเพิ่ม(ค่าปรับ) 3.ระยะเวลาที่ค้างชำระให้นับเป็น “เดือน” เศษของเดือน ถ้าถึง 15 วัน หรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 เดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง ดังนั้นถ้านำส่งเงินสมทบระหว่างวันที่ 1-14 มีนาคม ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 4.ผู้ประกอบกิจการ ที่จัดฝึกอบรมลูกจ้างของตนครบ 50 % แม้ยื่นแบบ สท.2 หลังสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม (ค่าปรับ) เนื่องจากไม่มีเงินสมทบที่ต้องจ่าย (ขณะนี้ยังไม่มีการคิดค่าปรับกรณียื่นล่าช้า)
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร อัตราเงินเพิ่ม เท่ากับ ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สูตรการคำนวณ การคำนวณ เงินเพิ่ม จำนวน เดือน ที่ค้าง ชำระ เงินค้าง ชำระ 1.5% ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม เป็นวันแรก สำหรับเศษของเดือนถ้าถึง 15 วันหรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 เดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ตัวอย่างการคำนวณเงินเพิ่ม โจทย์ ก : มีลูกจ้างเฉลี่ย 150 คน ต้องฝึกอบรม 75 คน ฝึกได้ 50 คน ฝึกไม่ครบ 25 คน ข : ฝึกไม่ครบ 25 คน ต้องส่งเงินสมทบ 11,970 บาท (3,990 x 12 x 1% x 25) ภายในวันที่ 28 ก.พ. แต่ไม่ได้นำส่งเงิน ผู้ประกอบการส่งเงิน วันที่ 15 มี.ค. (วันที่ 1 –1 5 = 1 เดือน) ต้องส่งเงินเพิ่ม = 179.55 (11,970 x 1.5% x 1)
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การชำระเงินสมทบ 1. ชำระเป็นเงินสด 2. ชำระด้วยเช็ค - แคชเชียร์เช็ค - เช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายชื่อบัญชี “เงินกองทุน พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร บัญชี 2” ขีดคำว่า หรือผู้ถือ ออก
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การจัดทำเอกสาร เพื่อประเมินเงินสมทบ ใช้แบบ สท.2 , สท. 2-1 และ แบบ สท. 2-2
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ประกอบกิจการ • กรณีข้อมูลของผู้ประกอบกิจการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เปลี่ยนแปลงที่ตั้งหรือที่อยู่ ชื่อสถานประกอบกิจการ หยุดหรือเลิกกิจการ เปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจ ฯลฯ เป็นต้น • ให้ผู้ประกอบกิจการแจ้งการเปลี่ยนแปลงภายใน 30 วัน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบ สท.8
สท.2-2 โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร
หน้า 1 หน้า 2 สท.8
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล คุณอินทิรา ดำรงศักดิ์ คุณธัญญรัตน์ นิลบุตร์ โทร. 0 3487 9320 http://home.dsd.go.th/samutsakoon
โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ขอบคุณค่ะ