1 / 30

แนวทางการดำเนินงาน โครงการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ประจำปีงบประมาณ 2557

แนวทางการดำเนินงาน โครงการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ประจำปีงบประมาณ 2557. วันพุธที่ 18 ธันวาคม 255 6. ณ หอประชุมชูชาติ กำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วัตถุประสงค์.

storm
Download Presentation

แนวทางการดำเนินงาน โครงการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ประจำปีงบประมาณ 2557

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพประจำปีงบประมาณ 2557 วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2556 ณ หอประชุมชูชาติ กำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

  2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาการเกษตรในระดับพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและศักยภาพของพื้นที่ในลักษณะบูรณาการ โดยการพัฒนาแหล่งน้ำให้เต็มศักยภาพและใช้พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นศูนย์กลางการบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตการเพิ่มมูลค่า การตลาด และการบริหารจัดการ 2. พัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

  3. เป้าหมาย 1. ดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมายใหม่จังหวัดละไม่น้อยกว่า 1 แห่ง 2. สนับสนุนกิจกรรมต่อเนื่องในพื้นที่เป้าหมายของปีงบประมาณ 2555 และปีงบประมาณ 2556 เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ระยะเวลา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 – เดือนกันยายน 2557

  4. งบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จัดสรรให้กับหน่วยงานในสังกัดในระดับจังหวัดไปดำเนินการตามกิจกรรม งบกลุ่มจังหวัด/จังหวัด งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และงบอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน เป็นต้น

  5. ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มศักยภาพทรัพยากรการผลิตและโครงสร้างพื้นฐาน ทางการเกษตร ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการตลาด ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเพิ่มความเข้มแข็งของเกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มคุณภาพการบริหารจัดการ

  6. ยุทธศาสตร์ที่ 1การเพิ่มศักยภาพทรัพยากรการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาแหล่งน้ำและระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ตัวชี้วัด จำนวนพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก กรมชลประทาน กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำเพื่อการเกษตร ตัวชี้วัดจำนวนพื้นที่ที่ได้รับน้ำจากแหล่งน้ำและตามระบบส่งน้ำ เพื่อการเกษตร หน่วยงานรับผิดชอบ กรมชลประทาน

  7. ยุทธศาสตร์ที่ 1(ต่อ)การเพิ่มศักยภาพทรัพยากรการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร กลยุทธ์ที่ 3 อนุรักษ์ ฟื้นฟู ปรับปรุงบำรุงดิน พัฒนาฐานทรัพยากรดิน และส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ ตัวชี้วัด1.1) จำนวนพื้นที่เกษตรกรรมได้รับการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน 1.2) จำนวนพื้นที่เกษตรกรรมได้รับการจัดการและการฟื้นฟู หน่วยงานรับผิดชอบ กรมพัฒนาที่ดิน กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มศักยภาพระบบการคมนาคมขนส่งสินค้าเกษตร ตัวชี้วัดจำนวนพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการลำเลียงผลผลิตทางการ เกษตร หน่วยงานรับผิดชอบ กรมชลประทาน

  8. ยุทธศาสตร์ที่ 1(ต่อ)การเพิ่มศักยภาพทรัพยากรการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร กลยุทธ์ที่ 5 การบริหารจัดการที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรรม ตัวชี้วัด1.1) จำนวนเกษตรกรที่ได้รับเอกสารสิทธิและสิทธิในที่ดินทำกิน 1.2) จำนวนพื้นที่ที่ได้รับการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หน่วยงานรับผิดชอบ กรมชลประทาน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

  9. ยุทธศาสตร์ที่ 2ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในเขตที่เหมาะสม ตัวชี้วัด1.1) จำนวนผลผลิตทางการเกษตรต่อหน่วยการผลิตเพิ่มขึ้น 1.2) ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง 1.3) ร้อยละของเกษตรกรที่มีขีดความสามารถในการจัดทำ บัญชีต้นทุนอาชีพ หน่วยงานรับผิดชอบ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว กรมหม่อนไหม กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

  10. ยุทธศาสตร์ที่ 2(ต่อ)ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานสินค้าปลอดภัย ตัวชี้วัด จำนวนฟาร์มหรือจำนวนชนิดสินค้าเกษตรได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร หน่วยงานรับผิดชอบ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กลยุทธ์ที่ 3 ผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาดเฉพาะกลุ่มผู้บริโภค ตัวชี้วัดจำนวนชนิดสินค้า/ปริมาณได้รับการส่งเสริมการผลิตเพื่อจำหน่าย หน่วยงานรับผิดชอบกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว

  11. ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการตลาด กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการใช้วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ตัวชี้วัด 1.1) จำนวนชนิดสินค้าเกษตรที่ได้รับการสร้างมูลค่าเพิ่ม 1.2) ปริมาณสินค้าเกษตรที่ได้รับการสร้างมูลค่าเพิ่ม หน่วยงานรับผิดชอบกรมส่งเสริมการเกษตร กลยุทธ์ที่ 2เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ตัวชี้วัดชนิด/ปริมาณสินค้าเกษตรที่ได้รับการแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ หน่วยงานรับผิดชอบกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมการข้าวและกรมส่งเสริมสหกรณ์

  12. ยุทธศาสตร์ที่ 3(ต่อ)ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการตลาด กลยุทธ์ที่ 3ส่งเสริมการตลาด ตัวชี้วัด 1.1) จำนวนเครือข่ายสินค้าเกษตร 1.2) จำนวนช่องทางการตลาดที่จำหน่ายสินค้าเกษตร หน่วยงานรับผิดชอบกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์

  13. ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การเพิ่มความเข้มแข็งของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งเป็นองค์กรเกษตรกร ตัวชี้วัดจำนวนกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรที่จัดตั้ง หน่วยงานรับผิดชอบกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กลยุทธ์ที่ 2ส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรเกษตรกร ตัวชี้วัดร้อยละของจำนวนเกษตรกรที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมแต่ละด้าน ขององค์กร หน่วยงานรับผิดชอบกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์

  14. ยุทธศาสตร์ที่ 5ยุทธศาสตร์การเพิ่มคุณภาพการบริหารจัดการ กลยุทธ์ที่ 1 การประชาสัมพันธ์โครงการ ตัวชี้วัด1.1) จำนวนช่องทางและความถี่ในการประชาสัมพันธ์ 1.2) ร้อยละของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร หน่วยงานรับผิดชอบสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลยุทธ์ที่ 2การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตัวชี้วัด 1.1) ร้อยละของการดำเนินงานที่เป็นไปตามแผน 1.2) ร้อยละของการตอบสนองผลจากการทำประชาคม หน่วยงานรับผิดชอบสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  15. ยุทธศาสตร์ที่ 5 (ต่อ) ยุทธศาสตร์การเพิ่มคุณภาพการบริหารจัดการ กลยุทธ์ที่ 3การพัฒนาบุคลาการ ตัวชี้วัดร้อยละของบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้งานได้ในแต่ละหลักสูตรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบทุกหน่วยงานในสังกัดที่ร่วมดำเนินงานโครงการ กลยุทธ์ที่ 4การติดตามประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดร้อยละของพื้นที่เป้าหมายที่นำผลการติดตามและประเมินผลไปปรับปรุงการดำเนินงานโครงการในปีต่อไป หน่วยงานรับผิดชอบสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

  16. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ ๑) พื้นที่เป้าหมายปีงบประมาณ 2557 กิจกรรมที่ 1การเตรียมความพร้อมของบุคลากรและข้อมูลที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด (ภายในเดือนธันวาคม 2556) วิธีการ : 1.1ประชุมชี้แจงโครงการให้แก่เจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานโครงการ (เป้าหมาย วัตถุประสงค์ วิธีการ ขั้นตอน) 1.2จัดเตรียมข้อมูลพื้นที่ชลประทาน และข้อมูลพื้นฐานการเกษตรที่เกี่ยวข้อง1.3 กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ในระดับจังหวัด (สอดคล้องกับหลักเกณฑ์พื้นที่ตามที่ร่างแผนแม่บทฯ กำหนดไว้)

  17. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ หลักเกณฑ์การรับสมัครเข้าร่วมโครงการ 1) รูปแบบการรับสมัคร รูปแบบที่ 1 ดำเนินการในพื้นที่เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตและการเลี้ยงสัตว์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ และมีระบบน้ำเพื่อการเกษตรสมบูรณ์ โดยเป็นการดำเนินการในระยะสั้น 1 – 3 ปี รูปแบบที่ 2 ดำเนินการในพื้นที่เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตและการเลี้ยงสัตว์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ และมีระบบน้ำเพื่อการเกษตรค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเป็นการดำเนินการในระยะปานกลาง 1 – 5 ปี

  18. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ รูปแบบที่ 3 ดำเนินการในพื้นที่เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตและการเลี้ยงสัตว์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ และมีระบบน้ำเพื่อการเกษตรยังไม่สมบูรณ์โดยเป็นการดำเนินการในระยะยาว 1 – 8 ปี 2) เกษตรกรยินดีเข้าร่วมโครงการ 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือและสนับสนุน การดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด

  19. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ กิจกรรมที่ 2ประชาสัมพันธ์โครงการก่อนการดำเนินงาน (ระหว่างเดือนธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2557) วิธีการ:ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกษตรกร และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ก่อนการดำเนินงานโครงการปีงบประมาณ 2558 ผู้รับผิดชอบ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด

  20. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ กิจกรรมที่ 3รับสมัคร/คัดเลือกพื้นที่ที่จะเข้าร่วมโครงการ (ภายในเดือนมกราคม 2557) วิธีการ3.1 ประกาศรับสมัครตามเกณฑ์การคัดเลือก 3.2 รับสมัครพื้นที่ที่จะเข้าร่วมโครงการ 3.3 พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่จะเข้าร่วมโครงการ 3.4 แจ้งผลการคัดเลือก ผู้รับผิดชอบ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดและคณะอนุกรรมการ บูรณาการแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านการเกษตรระดับจังหวัด

  21. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ กิจกรรมที่ 4จัดทำข้อมูลพื้นฐานพื้นที่เป้าหมาย (ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2557) วิธีการ4.1 กำหนดขอบเขตและจัดทำแผนที่รายแปลง ผู้รับผิดชอบ สถานีพัฒนาที่ดิน หรือ ส.ป.ก. 4.2 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลเกษตรกร ผู้รับผิดชอบ สำนักงานเกษตรจังหวัด 4.3 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ผู้รับผิดชอบ คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนฯ 4.4 กำหนดขนาดพื้นที่และเกษตกรกรที่เข้าร่วมโครงการ ผู้รับผิดชอบ คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนฯ

  22. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ กิจกรรมที่ 5 การจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาการเกษตร (ภายในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2557) วิธีการ5.1 จัดทำเวทีประชาคมคัดเลือกเกษตรเข้าร่วมทำประชาคม(มีความหลากหลายในอาชีพและเพศและวัย) - เกษตรกรในพื้นที่มีจำนวนน้อยกว่า 100 คน ต้องมีเกษตรกรเข้าร่วมประชาคมอย่างน้อย 30 คน - เกษตรกรในพื้นที่มีจำนวนตั้งแต่ 100 - 150 คน ต้องมีเกษตรกรเข้าร่วมประชาคมอย่างน้อย 45 คน - เกษตรกรในพื้นที่มีจำนวน 150 คนขึ้นไป ต้องมีเกษตรกรเข้าร่วมประชาคมอย่างน้อย 60 คน

  23. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ 5.2 วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากการทำเวทีประชาคมเพื่อจัดทำ แนวทางการพัฒนา (แผนความต้องการ) 5.3 จัดทำแผนบูรณาการฯ ฉบับสมบูรณ์ ผู้รับผิดชอบสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนฯ

  24. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ • กิจกรรมที่ 6การนำแผนสู่การปฏิบัติ • (ภายในเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนกันยายน 2557) • วิธีการ 6.1 หน่วยงานจัดสรรงบประมาณดำเนินการ • (ภายในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2557) • 6.2 หน่วยงานหลักประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการ • 6.3 ปฏิบัติงานตามแผน (ภายในเดือนเมษายน-กันยายน 2557) • ผู้รับผิดชอบ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

  25. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ กิจกรรมที่ 7การติดตามและประเมินผล (เดือนเมษายน – เดือนธันวาคม 2557) วิธีการ7.1 การติดตามนิเทศงานผลการดำเนินงานรายกิจกรรม (เดือนเมษายนเป็นต้นไป) 7.2 การรายงานผลการดำเนินงานในระดับจังหวัด (ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป) 7.3 การประเมินผลโครงการระดับจังหวัด (เดือนตุลาคม 2557) 7.4 การติดตามประเมินผลโครงการในภาพรวม (เดือนธันวาคม 2557) ผู้รับผิดชอบสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

  26. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ 2) พื้นที่เป้าหมายเดิมปีงบประมาณ 2555 และปีงบประมาณ 2556 ขั้นตอนที่ 1คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านการเกษตร ระดับจังหวัด ประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมายเดิมในระยะที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2557 (ภายในเดือนธันวาคม 2556) ขั้นตอนที่ 2คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านการเกษตร ระดับจังหวัด จัดทำแผนบูรณาการพัฒนาการเกษตรภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพประจำปีงบประมาณ 2557 พร้อมพิจารณาทบทวนและกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผน (ภายในเดือนมกราคม 2557)

  27. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ 2.1 พื้นที่เป้าหมายเดิมปีงบประมาณ 2555 จัดทำแผนบูรณาการฯ ระยะ 1 ปี (แผนปีที่ 3) 2.2 พื้นที่เป้าหมายเดิมปีงบประมาณ 2556 จัดทำแผนบูรณาการฯ ระยะ 2 ปี (แผนปีที่ 2 และแผนปีที่ 3) ขั้นตอนที่ 3 หน่วยงานที่รับผิดชอบกิจกรรมตามแผนบูรณาการฯ พื้นที่เป้าหมายเดิมปีงบประมาณ 2555 และปีงบประมาณ 2556 ปฏิบัติตามแผนในแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาการบูรณาการการดำเนินงานในพื้นที่ให้สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่พร้อมกันในบางกิจกรรม เช่น การฝึกอบรม เป็นต้น (กุมภาพันธ์ 2557)

  28. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ ขั้นตอนที่ 4เจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายลงตรวจเยี่ยมและเก็บข้อมูลด้านการเกษตรต่างๆ และรายงานผลการติดตามให้หน่วยงานเจ้าของกิจกรรมและสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทราบตามแบบฟอร์มที่กำหนด (ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ-สิ้นสุดโครงการ) ขั้นตอนที่ 5คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านการเกษตร ระดับจังหวัด ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเตรียมการถ่ายโอนการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมายปี 2555 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง (ภายในเดือนสิงหาคม 2557)

  29. แผนปฏิบัติการโครงการฯแผนปฏิบัติการโครงการฯ ขั้นตอนที่ 6 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดจัดเก็บข้อมูลทุกครัวเรือน แบบบูรณาการร่วม และจัดทำรายงานประเมินผลโครงการจำแนกตามพื้นที่เป้าหมายปีงบประมาณ 2555 และปีงบประมาณ 2556โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขตเป็นที่ปรึกษา (ภายในเดือนตุลาคม 2557)

  30. ขอบคุณครับ

More Related