1 / 19

สต. 300 สถิติทั่วไป

สต. 300 สถิติทั่วไป. อาจารย์รัชนีวรรณ กุมภคาม สาขาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. คำอธิบายรายวิชา. มาตรวัดต่างๆ สถิติพรรณนาและการประยุกต์ใช้ แนวคิดเกี่ยวกับประชากร กลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน. 1. 2. 3. บทที่ 1 บทนำ. บทที่ 2 การนำเสนอข้อมูล.

stian
Download Presentation

สต. 300 สถิติทั่วไป

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สต. 300 สถิติทั่วไป อาจารย์รัชนีวรรณ กุมภคาม สาขาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  2. คำอธิบายรายวิชา มาตรวัดต่างๆ สถิติพรรณนาและการประยุกต์ใช้ แนวคิดเกี่ยวกับประชากร กลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน

  3. 1 2 3 บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 การนำเสนอข้อมูล บทที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น รายละเอียดของเนื้อหาวิชา 4 4 บทที่ 4 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 5 บทที่ 5 การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย 6 บทที่ 6 การทดสอบข้อมูลที่อยู่ในรูปของความถี่

  4. บทที่ 2 การนำเสนอข้อมูล

  5. การนำเสนอข้อมูลสถิติอาจทำได้ใน 2 ลักษณะ • การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน(informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูลในรูปบทความกึ่งตาราง • การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน(formal presentation) หมายถึงการนำเสนอ ข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภาพและแผนภูมิหรือการนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟ

  6. การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน(informal presentation) • การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความ(Text Presentation) • การนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความกึ่งตาราง(Semi - tabular arrangement) • การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน(formal presentation) • การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง(Tabular Presentation) • ตารางทางเดียว (one - way table) • ตารางสองทาง (two - way table) • ตารางหลายทาง (multi - way table)

  7. การเสนอข้อมูลในรูปกราฟการเสนอข้อมูลในรูปกราฟ • แผนภูมิแท่ง(Bar Chart) • แผนภูมิรูปวงกลม(pie chart) • แผนภูมิรูปภาพ(pictogram) • การนำเสนอข้อมูลโดยใช้กราฟเส้น • กราฟเส้นเชิงเดี่ยว(simple line graph) • กราฟเส้นเชิงซ้อน(multiple line graph)

  8. การแจกแจงความถี่ การแจกแจงความถี่ หมายถึง วิธีการนำข้อมูลหรือคะแนนที่มีอยู่มาจัดหมวดหมู่เป็นกลุ่ม แล้วนับจำนวนความถี่ (frequency) ของแต่ละกลุ่มข้อมูลนั้น จำแนกได้ 2 ประเภท คือการแจกแจงความถี่ด้วยตาราง และการแจกแจงความถี่ด้วยกราฟหรือแผนภูมิ

  9. การแจกแจงความถี่ด้วยตารางการแจกแจงความถี่ด้วยตาราง ตามปกติตารางแจกแจงความถี่จะประกอบไปด้วย ข้อมูล รอยขีด และจำนวนความถี่ตารางแจกแจงความถี่จำแนกได้ 2 ประเภท คือ ตารางแจกแจงความถี่ที่ไม่จัดเป็นอันตรภาคชั้น (ตารางที่ 1) และตารางแจกแจงความถี่ที่จัดเป็นอันตรภาคชั้น (ตารางที่ 2)

  10. ตารางที่ 1 ตารางแจกแจงความถี่แสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 40 คน

  11. ตารางที่ 2 ตารางแจกแจงความถี่แสดงรายได้ของประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 100 คน

  12. ศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแจกแจงความถี่ศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแจกแจงความถี่ 1. อันตรภาคชั้น (class Interval)หมายถึง ช่วงกว้างของข้อมูลในแต่ละช่วงชั้น 2. ความถี่ (frequency)หมายถึง จำนวนความถี่ของข้อมูลในแต่ละอันตรภาคชั้น 3. ขีดจำกัดล่าง (lower class limits)หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าต่ำสุดในแต่ละอันตรภาคชั้น 4. ขีดจำกัดบน (upper class limits)หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าสูงสุดในแต่ละอันตรภาคชั้น 5. ขีดจำกัดล่างที่แท้จริง (lower boundary)หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้น นั้น กับค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าหนึ่งชั้นถ้าข้อมูลดิบเป็นจำนวนจำกัด ขีดจำกัดล่าง ที่แท้จริงหาได้จาก ขีดจำกัดล่างลบด้วย 0.5 6. ขีดจำกัดบนที่แท้จริง (upper boundary)หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างค่าที่สูงที่สุดของอันตรภาคชั้น นั้น กับค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นที่สูงกว่าหนึ่งชั้น ถ้าข้อมูลดิบเป็นจำนวนจำกัด ขีดจำกัดบน ที่แท้จริงหาได้จาก ขีดจำกัดบนบวกด้วย 0.5 7. จุดกลางชั้น (middle point)หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างขีดจำกัดล่างและขีดจำกัดบนของอันตรภาค ชั้นนั้น หาได้จาก

  13. วิธีการสร้างตารางแจกแจงความถี่วิธีการสร้างตารางแจกแจงความถี่ • หาค่าต่ำสุดและ ค่าสูงสุด • 2. หาค่าพิสัย(Range) • พิสัย = ค่าสูงสุด – ค่าต่ำสุด • 3. หาอันตรภาคชั้น (class interval) และจำนวนชั้น • ปกติแล้ว โจทย์จะกำหนดมาให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนที่ไม่บอกมาให้หาเองโดยใช้สูตรดังนี้ • อันตรภาคชั้น = พิสัยจำนวนชั้น = พิสัย • จำนวนชั้นอันตรภาคชั้น • 4. สร้างตารางแจกแจงความถี่

  14. ความถี่สะสม (cumulative frequency) หมายถึง ผลรวมของความถี่ที่นับจำนวนข้อมูล จากอันตรภาคชั้นน้อยไปหามาก หรือจากอันตรภาคชั้นมากไปหาน้อย • ความถี่สัมพัทธ์ (relative frequency) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความถี่ กับ จำนวนข้อมูลทั้งหมด • ความถี่สัมพัทธ์สะสม(cumulative relative frequency)หมายถึง ผลรวมของความถี่สัมพัทธ์ที่นับจากอันตรภาคชั้นน้อยไปหามาก หรือจากอันตรภาคชั้นมากไปหาน้อย

  15. การแจกแจงความถี่ด้วยกราฟหรือแผนภูมิการแจกแจงความถี่ด้วยกราฟหรือแผนภูมิ • ฮิสโตแกรม (Histogram) เป็นการแจกแจงความถี่ด้วยแผนภูมิแท่ง โดยให้ความสูงของแต่ละแท่งแทนขนาดของความถี่ของคะแนนแต่ละชั้น และความกว้างของแท่งแทนขีดจำกัดที่แท้จริง • รูปหลายเหลี่ยมความถี่ (Frequency polygon)คือ แผนภูมิเส้นที่แสดงการแจกแจงความถี่ของคะแนนแต่ละชั้น วิธีสร้างอาจจะสร้าง Histogram ขึ้นก่อนแล้วเขียนรูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ได้ โดยลากเส้นตรงเชื่อมจุดกึ่งกลางของกราฟแท่งตามลำดับหรืออาจจะไม่สร้าง Histogram ขึ้นก่อนก็เขียนรูปหลายเหลี่ยมความถี่ได้โดยลากเส้นตรงเชื่อจุดทุกจุดที่ประกอบด้วยความถี่และจุดกลางของคะแนนแต่ละชั้น

  16. การแจกแจงความถี่ด้วยกราฟหรือแผนภูมิการแจกแจงความถี่ด้วยกราฟหรือแผนภูมิ • โค้งแห่งความถี่ (Curve of frequency distribution) มีลักษณะคล้ายรูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ แต่ปรับรูปหลายเหลี่ยมให้เป็นเส้นโค้ง การปรับต้องพยายามทำให้พื้นที่ส่วนที่เกินมาเท่ากับพื้นที่ส่วนที่หายไป • โค้งแห่งความถี่สะสม (Ogive)คือแผนภูมิเส้นที่แสดงความถี่สะสมของคะแนนตั้งแต่คะแนนต่ำสุดไปจนถึงคะแนนสูงสุด แผนภูมิชนิดนี้มีประโยชน์ในเรื่องการหาตำแหน่งของคะแนนและการเปรียบเทียบต่างๆ การสร้างโค้งความถี่สะสมควรสร้างตารางแจกแจงความถี่สะสมก่อน แล้วสร้างฮิสโตแกรมของความถี่สะสมแล้วลากเส้นโค้งให้ผ่านจุดปลายของแต่ละแท่ง

  17. การแจกแจงความถี่ด้วยกราฟหรือแผนภูมิการแจกแจงความถี่ด้วยกราฟหรือแผนภูมิ • ลักษณะการแจกแจงความถี่ คือ การแจกแจงของข้อมูลจะมีลักษณะเป็นรูปโค้งอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนของข้อมูลลักษณะของการแจกแจงความถี่โดยกราฟหรือแผนภูมิ จำแนกตามรูปร่างได้ดังนี้

  18. ลักษณะการแจกแจงความถี่ลักษณะการแจกแจงความถี่

  19. Thank You ! Add your company slogan

More Related