1.12k likes | 1.68k Views
การบริหารท้องถิ่นไทย โดย ดร.ไกร บุญบันดาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี. หัวข้อการบรรยาย. แนวคิดของนักปราชญ์โบราณ (สังคมและมนุษย์ ) รัฐและองค์ประกอบ รูปแบบของรัฐ หลักสำคัญในการบริการวิชาการ รูปแบบในการบริการ รัฐธรรมนูญ การบริหารท้องถิ่น แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
E N D
การบริหารท้องถิ่นไทยโดยดร.ไกร บุญบันดาลรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
หัวข้อการบรรยาย แนวคิดของนักปราชญ์โบราณ (สังคมและมนุษย์) • รัฐและองค์ประกอบ • รูปแบบของรัฐ • หลักสำคัญในการบริการวิชาการ • รูปแบบในการบริการ • รัฐธรรมนูญ • การบริหารท้องถิ่น • แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ • โครงสร้างการปกครอง (การบริหาร) ท้องถิ่น • การบริการท้องถิ่นไทย (แนวคิด) • วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย • ประวัติและวิวัฒนาการการปกครองท้องถิ่นไทย (2475 – ปัจจุบัน)
แนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมของนักปราชญ์โบราณแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมของนักปราชญ์โบราณ โสเครตีส (Socrates) (กรีก) การเปิดโอกาสให้พลเมืองทุกคนมีสิทธิตามกฎหมายมีส่วนรวมในการปกครองโดยตรง จะทำให้คนมีความรู้น้อยมีบทบาทสำคัญในการปกครอง สังคมจะเดือดร้อนและระส่ำระสาย เพลโต (Plato) (กรีก) รัฐคือองค์กรสูงสุดในการจัดระเบียบของสังคมเพื่อประโยชน์สุขแก่สมาชิกแห่งรัฐ ด้วยเหตุนี้รัฐจึงมีอำนาจเหนือบุคคลอื่นภายในรัฐโดยความชอบธรรม
อริสโตเติล (Aristotle) (กรีก) รัฐเป็นประชาชนธรรมชาติ มีลักษณะเป็นองค์อินทรีย์ถือว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ และได้ประโยชน์จากรัฐ เมื่อรัฐเป็นประชาคมของมนุษย์ รัฐจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับ คือมีกฎหมายเพื่อจัดระเบียบสังคม แต่โดยธรรมชาติมนุษย์จะรวมกันโดยพันธะของประชาคม มาเคลเวลลี่ (Nicola Machiavelli) (กรีก) อำนาจในทางการเมืองคือเป้าหมายในตัวเอง การแสวงหาคือกลวิธีที่ดีที่สุดที่จะนำมาซึ่งอำนาจรวมทั้งกลวิธีในการรักษาไว้ซึ่งอำนาจและการขยายอำนาจ
ฮอบส์ (Thomas Hobbes) (อังกฤษ) สังคมและกฎหมายสำคัญกว่าจริยธรรม อำนาจอธิปไตยคือแรงบันดาลใจให้เกิดพันธะสัญญา ภาระหน้าที่ของรัฐฐาธิปัตย์ก็คือช่วยให้ความปลอดภัยแก่ประชาชนไม่เพียงแต่ชีวิต ทรัพย์สินเท่านั้น ยังเป็นการให้เสรีภาพแก่ทุกคน ซึ่งเสรีภาพนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่รัฐ จอห์นล็อค (John Locks) (อังกฤษ) รัฐ ควรปกครองด้วยความยินยอมของประชาชน รัฐบาลที่ได้รับความยินยอมจากราษฎร เท่ากับว่าสามารถใช้อำนาจในการปกครองอย่างถูกต้อง ตามกฎหมายซึ่งตั้งอยู่บนความเป็นจริงของธรรมชาติ Locks ค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแย่งอำนาจออกจากนิติบัญญัติ
รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) (สวิส) ถ้ามีใครถือครองสิทธิเข้าแย่งชิงเสรีภาพไปจากประชาชน ประชาชนก็ย่อมจะมีสิทธิเช่นกันที่จะยื้อแย่งเสรีภาพกลับคืนมา ประชาชนมีสิทธิที่จะกู้เสรีภาพของตนเองได้แต่ไม่มีใครจะมีสิทธิเอาเสรีภาพไปจากกฎของสังคมได้ ปาเนติอุส (Panetius) (โรมัน) มนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะเข้าใจธรรมชาติ และปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติได้ มนุษย์ที่ดีต้องมีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือทั้งเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และสังคม บทบาทหน้าที่ดังกล่าวสถาบันต่างๆในสังคมตนจะเป็นผู้กำหนด
โปลิบิอุส(Polybius) (โรมัน) สังคมต้องแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในสังคมออกเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนมีองค์กรเป็นอิสระต่อกัน และมีความเท่าเทียมกัน แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างสอดประสานกัน ไม่ผูกขาดอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบไว้เพียงองค์กรเดียว ซิเซโร(Cicero) (โรมัน) สังคมที่ดีต้องใช้กฎหมายเป็นหลักในการควบคุมปกครองไม่ใช้คุณธรรมของผู้ปกครอง กฎหมายจะต้องสอดคล้องกับธรรมชาติ คือมีเหตุมีผลและความรักระหว่างมวลมนุษย์เป็นสำคัญ ในส่วนของผู้ปกครองในสังคมนั้น ต้องเป็นกลุ่มบุคคลมาจากการเลือกตั้งทุกระดับ โดยถือว่าประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด
มองเตสกิเออร์ (โรมัน) เขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีการเมืองการปกครองและกฎหมายที่สำคัญ คือ The Spirit of Laws ซึ่งมีแนวความคิดแบบคานอำนาจที่ กลายเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก
สรุปโสเตรติส-เพลโต-อริสโตเติล-มาเคลเวลลีสรุปโสเตรติส-เพลโต-อริสโตเติล-มาเคลเวลลี 1.ให้ความสนใจเรื่องของการใช้อำนาจ การรวมอำนาจ และการรักษาอำนาจมากกว่าการกระจายอำนาจ 2.การกระจายอำนาจไปสู่ประชาชนที่ไม่มีความรู้ ไม่มีคุณธรรมจนทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ปาเนติอุส-โปลิบิอุส -ซิเซโร-มอเตสกิเออร์ 1.สังคมต้องแบ่งแยกอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นส่วนๆ 2.การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ ต้องมีขอบเขตจำกัดเพื่อเป็นการ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิด
รัฐ ชาติ และประเทศ ความหมายของรัฐ ชาติ ประเทศ“รัฐ” หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง“ชาติ”หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม และมีความผูกพันกันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่า “ชาติไทย”“ประเทศ”ความหมายกว้าง หมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ แต่โดยสรุปแล้ว คำว่า “ประเทศ” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์ เป็นต้นว่า ความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศแม่น้ำภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่น ประเทศไทย
องค์ประกอบของรัฐ 1.ประชากร (Population)หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ 1) จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใด ไม่มีการกำหนดที่แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้ 2) ลักษณะของประชากร หมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติภาษา และวัฒนธรรม 3)คุณภาพของประชากร ขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนคติ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาทุกรูปแบบ 2.ดินแดน (Territory)มีข้อสังเกตดังนี้คือ 1)ที่ตั้ง ดินแดนของรัฐหมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้องทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน พื้นน้ำและพื้นทะเล 2)ขนาดของดินแดนไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่าจะต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นรัฐ แต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย
3.รัฐบาล (Government)คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ 4.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตยมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึง การที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเองและมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการใด ๆ ในประเทศอย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระ มีเอกราชสามารถจะดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆหรือกล่าวกันอีกอย่างหนึ่งว่าเอกราชก็คืออำนาจอธิปไตยภายนอกนั่นเอง
องค์ประกอบของรัฐทั้ง 4 ประการนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ถ้ารัฐใดขาดองค์ประกอบในข้อใดข้อหนึ่ง แม้เพียงองค์ประกอบเดียวก็ตาม ถือว่าขาดคุณสมบัติของความเป็นรัฐโดยสิ้นเชิง จุดประสงค์ของรัฐ1.สร้างความเป็นระเบียบ2.การส่งเสริมสวัสดิภาพแก่ประชาชน3.การส่งเสริมสวัสดิการแก่ส่วนรวม4.การส่งเสริมคุณธรรม • หน้าที่ของรัฐหน้าที่ของรัฐแล้วมีอยู่ 4 ประการ คือ • การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน • การให้บริการและสวัสดิการทางสังคม • การพัฒนาประเทศ • การป้องกันการรุกรานจากภายนอก
รูปแบบของรัฐ (Forms of State) 1.รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเป็นผู้มีอำนาจปกครอง และอำนาจบริหารสูงสุดเพียงองค์กรเดียว รัฐบาลกลางเป็นผู้ที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รัฐบาลเป็นองค์กรกลางองค์กรเดียวของรัฐที่ปกครองประชาชนได้โดยตลอด รวมถึงการติดต่อสัมพันธ์กับ ต่างประเทศด้วย ตัวอย่างรัฐเดี่ยว ได้แก่ อังกฤษ ญี่ปุ่น และไทย เป็นต้น 2.รัฐรวม (Composit State) ได้แก่ การรวมตัวกันของรัฐ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป โดยมีรัฐบาลเดียวกันซึ่งแต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่เช่นเดิมแต่การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มารวมกัน อาจถูกจำกัดลงไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้น
รัฐรวมมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ 1)สหพันธรัฐ (Federal State)สหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปโดยใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับเดียวกันร่วมกันและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่านั้นเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น ๆ รูปแบบการปกครองแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ มีรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของแต่ละรัฐซึ่งเรียกกันว่า “มลรัฐ” ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย 2)สมาพันธรัฐ (Confederation State)สมาพันธรัฐเป็นการรวมตัวกัน ระหว่าง 2 รัฐขึ้นไป โดยไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลร่วมกัน แต่เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราวและเป็นบางกรณีเท่านั้น เช่นการเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามร่วมกัน เป็นต้น ในปัจจุบันนี้รูปแบบของรัฐแบบสมาพันธรัฐไม่มีอีกแล้ว แต่จะกลายเป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การนาโต้ องค์การอาเซียน เป็นต้น
Evaluation of Nations and Government • Tribes • City States • Empire States • Nation states • Kingdom Regime • Single Kingdom • United Kingdom • Republic Regime • President-Parliamentary • President-Prime Minister and Parliamentary Prime Minister and Parliamentary
รูปของรัฐกับการจัดระเบียบราชการรูปของรัฐกับการจัดระเบียบราชการ รัฐ หมายถึง สังคมการเรียนรู้ขนาดใหญ่ ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ • ดินแดน • ประชากร • อำนาจอธิปไตย • รัฐบาล
หลักการสำคัญในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหลักการสำคัญในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน • หลักการรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หรือการบริหารส่วนกลาง • หลักการแบ่งอำนาจปกครอง (Deconcentration)หรือการบริหารส่วนภูมิภาค • หลักการกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)หรือการบริหารส่วนท้องถิ่น
รูปแบบการบริหารประเทศรูปแบบการบริหารประเทศ 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 2. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม 3. พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 และแก้ไขเพิ่มเติม 4. พ.ร.บ.จัดตั้งและโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 5. พ.ร.บ.กำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญความสำคัญของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครอง(บริหาร)ประเทศ โดยกำหนดกฎเกณฑ์พื้นฐานในการปกครองประเทศ ว่าใครเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย หรือ อำนาจสูงสุดของประเทศ และอำนาจนั้นใช้อย่างไร ใช้ในรูปแบบใด และใช้โดยองค์กรใด
แผนภูมิโดยสรุป เรื่อง การแสดงความสัมพันธ์ของราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุขของประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทรงใช้ พระมหากษัตริย์ ทรงใช้ อำนาจอธิปไตย SOVEREIGNTY เป็นของปวงชนชาวไทย ทรงใช้ อำนาจตุลาการ Jurisdicial อำนาจนิติบัญญัติ Legislative อำนาจบริหาร Executive ทางคณะรัฐมนตรี • ทางรัฐสภา • - (ส.ส.,ส.ว.) - ทางศาล การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ร.บ. บริหารราชการแผ่นดิน 3.ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น Decentralization 1.ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง Centralization 2.ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค Deconcentration • กระจายอำนาจให้ อปท. ต่างๆ ซึ่ง • สภาและผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง • กทม. • พัทยา • อบจ. • เทศบาลต่างๆ (ตำบล เมือง นคร) • อบต. (5 ระดับ) • ได้แก่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆในส่วนกลาง • (เมืองหลวง) • นายกรัฐมนตรี และ ครม.เป็นผู้ใช้อำนาจในนามรัฐบาล • แห่งชาติ • แบ่งมอบอำนาจให้กับภูมิภาค ได้แก่ • จังหวัด และอำเภอ โดยมี ผวจ. • และ นอภ. เป็น หน.ข้าราชการ ในระดับที่เกี่ยวข้อง มีความสัมพันธ์และตุลคาน (check&balance) ซึ่งกันและกัน คือส่วนกลางเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจในการปกครอง การบริหาร การพัฒนา ส่วนภูมิภาครับช่วงอำนาจจากส่วนกลางไปอำนวยการปฏิบัติในพื้นที่(ตั้งแต่หมู่บ้าน ดำบล อำเภอ และจังหวัด)โดยมีส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคในด้านการบริหารการการพัฒนาและ การบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยการประสานกับหน่วยและบุคลากรตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับล่าสุดคือ ปี พ.ศ. 2550 มีทั้งหมด 309 มาตรา (15 หมวด 1 บทเฉพาะกาล) หมวดที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7) มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม มาตรา 4ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา 5ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน มาตรา 6รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ มาตรา 7ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ มาตรา 9 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัคร ศาสนูปภัมภก มาตรา 10 พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ..........
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐาน ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (2) จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ (3) กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 281 ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 282 การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นและมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม และจะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้ ในการกำกับดูแลตามวรรคหนึ่ง ให้มีการกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลือกไปปฏิบัติได้เอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่างในระดับของการพัฒนาและประสิทธิภาพในการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละรูปแบบโดยไม่กระทบต่อความสามารถในการตัดสินใจดำเนินงานตามความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานโดยประชาชนเป็นหลัก
มาตรา 283องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปในการดูแลและจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับการพัฒนาของจังหวัดและประเทศเป็นส่วนรวมด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งในการบริหารงานได้โดยอิสระและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาระบบการคลังท้องถิ่นให้จัดบริการสาธารณะได้โดยครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่ จัดตั้งหรือร่วมกันจัดตั้งองค์การเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าเป็นประโยชน์ และให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง ให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ เพื่อกำหนดการแบ่งอำนาจหน้าที่และจัดสรรรายได้ระหว่างราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นตามระดับความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ รวมทั้งกำหนดระบบตรวจสอบและประเมินผล โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีจำนวนเท่ากัน เป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ให้มีกฎหมายรายได้ท้องถิ่น เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีและรายได้อื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมตามลักษณะของภาษีแต่ละชนิด การจัดสรรทรัพยากรในภาครัฐ การมีรายได้ที่เพียงพอกับรายจ่ายตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงระดับขั้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น สถานะทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ในกรณีที่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว คณะกรรมการตามวรรคสามจะต้องนำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาทบทวนใหม่ทุกระยะเวลาไม่เกินห้าปี เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของการกำหนดอำนาจหน้าที่ และการจัดสรรรายได้ที่ได้กระทำไปแล้ว ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญ การดำเนินการตามวรรคห้า เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรายงานรัฐสภาแล้ว ให้มีผลบังคับได้
มาตรา 284องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น และจะมีผลประโยชน์ขัดกันกับการดำรงตำแหน่งตามที่กฎหมายบัญญัติมิได้
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่คณะผู้บริหารท้องถิ่นต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งและจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว มิให้นำบทบัญญัติวรรคสาม และวรรคหก มาใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีโครงสร้างการบริหารที่แตกต่างจากที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้กระทำได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา 265 มาตรา 266 มาตรา 267 และมาตรา 268มาใช้บังคับกับสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 285 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป ให้มีสิทธิลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ การตรวจสอบรายชื่อ และการลงคะแนนเสียง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 286ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 287ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีวิธีการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าวได้ด้วย ในกรณีที่การกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแจ้งข้อมูลรายละเอียดให้ประชาชนทราบก่อนกระทำการเป็นเวลาพอสมควร และในกรณีที่เห็นสมควรหรือได้รับการร้องขอจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อนการกระทำนั้น หรืออาจจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อตัดสินใจก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรายงานการดำเนินงานต่อประชาชนในเรื่องการจัดทำงบประมาณ การใช้จ่าย และผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกำกับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคสาม ให้นำบทบัญญัติมาตรา 168 วรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 288การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น โดยการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีมาตรฐานสอดคล้องกัน และอาจได้รับการพัฒนาร่วมกันหรือสับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันได้ รวมทั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นก่อน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างระบบคุ้มครองคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารงานบุคคลทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ คณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งจะต้องประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนข้าราชการส่วนท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีจำนวนเท่ากันทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษข้าราชการและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 289องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติ การจัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่นตามวรรคสอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย มาตรา 290องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ (๑) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในเขตพื้นที่ (๒) การเข้าไปมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกเขตพื้นที่ เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน (๓) การมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใดนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ (๔) การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
การบริหาร(ปกครอง)ท้องถิ่นการบริหาร(ปกครอง)ท้องถิ่น
หลักการจัดระเบียบการปกครอง(การบริหาร)ท้องถิ่นหลักการจัดระเบียบการปกครอง(การบริหาร)ท้องถิ่น หลักการจัดระเบียบการปกครอง หลักการพื้นฐานของการจัดระเบียบการปกครอง/บริหารราชการแผ่นดินของนานาประเทศ แบ่งได้เป็น (1) การรวมอำนาจปกครอง ( Centralization ) เป็นการรวมอำนาจการตัดสินใจและการดำเนินการต่างๆไว้ที่ ราชการส่วนกลาง (2) การกระจายอำนาจ (Decentralization ) เป็นวิธีการที่รัฐ / ราชการส่วนกลาง โอนอำนาจการปกครอง หรือ บริหารบางส่วนบางเรื่อง ที่เกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะให้องค์กรหรือนิติบุคคลอื่นรับไปดำเนินการแทน ภายใน อาณาเขตของแต่ละ (3) การแบ่งอำนาจ (Deconcentration ) เกิดจากข้อจำกัดของการรวมอำนาจในเรื่องของความล่าช้าและไม่ ทั่วถึงทุกท้องที่พร้อมๆกัน
นักคิด นักวิชาการให้ความหมายของการปกครองท้องถิ่นได้อีกคือ เดเนียลวิท(Daniel Wit, 1976 ) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลกลางให้อำนาจหรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชน ในท้องถิ่นได้มีอำนาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่า ถ้าอำนาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้วรัฐบาลของท้องถิ่น ก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
วิลเลี่ยม วี.ฮอลโลเวย์(William V. Holloway, 1959) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่นหมายถึง องค์การที่มีอาณาเขตแน่นอน มีประชากรตามหลักที่กำหนดไว้ มีอำนาจการปกครองตนเอง มีการบริหารการคลังของตนเอง และมีสภาท้องถิ่นที่สมาชิกได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน จอห์น เจ. คลาร์ก (John J. Clark, 1957) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วยการปกครองที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดโดยเฉพาะ และหน่วยการปกครองดังกล่าวนี้จัดตั้งและจะอยู่ในความดูแลของรัฐบาลกลาง
แฮรีส จี มอนตากู (Harris G. Mongtagu, 1984) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองซึ่งหน่วยการปกครองท้องถิ่นได้มีการเลือกตั้งโดยอิสระ เพื่อเลือกผู้มีหน้าที่บริหารการปกครองท้องถิ่น มีอำนาจอิสระ พร้อมความรับผิดชอบซึ่งตนสามารถที่จะใช้ได้โดยปราศจากการควบคุมของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลางหรือภูมิภาค แต่ทั้งนี้หน่วยการปกครองท้องถิ่นยังต้องอยู่ภายใต้บทบังคับว่าด้วยอำนาจสูงสุดของประเทศ ไม่ได้กลายเป็นรัฐอิสระแต่อย่างใด วิลเลี่ยม เอ ร๊อบสัน(William A. Robson, 1953) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่นหมายถึง หน่วยการปกครองซึ่งรัฐได้จัดตั้งขึ้นและให้มีอำนาจปกครองตนเอง(Autonomy) มีสิทธิตามกฎหมาย (Legal Rights) และต้องมีองค์กรที่จำเป็นในการปกครอง (Necessary Organization) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้สมความมุ่งหมายของการปกครองท้องถิ่นนั้นๆ
แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ความหมาย ความหมายทั่วไป หมายถึง การขยายและมอบหมายให้หน่วยที่เล็กลงไปเป็นผู้ดำเนินงาน หรือตัดสินใจแทนหน่วยงานใหญ่ ความหมายการกระจายอำนาจการปกครอง หมายถึง หลักการที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์การอื่นที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลางให้ไปจัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยมีอิสระตามสมควร เป็นการมอบอำนาจให้ทั้งในด้านการเมืองและการบริหาร เป็นเรื่องท้องถิ่นมีอำนาจที่จะกำหนดนโยบายและควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายท้องถิ่นของตนเองได้
วัตถุประสงค์ของการกระจายอำนาจวัตถุประสงค์ของการกระจายอำนาจ 1.ประสิทธิภาพของหน่วยราชการในการบริหาร การจัดการ และให้บริการแก่ประชาชน 2.ประสิทธิผลของการทำงาน 3.ช่วยพัฒนาบรรยากาศการทำงานของข้าราชการและพนักงานให้มีความกระตือลือร้นมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ประการ การกระจายอำนาจควรเป็นไปภายใต้หลักการต่อไปนี้ 1.ให้มีการกระจายอำนาจ วินิจฉัย สั่งการ และการบริหารลงไปยังหน่วยซึ่งรับผิดชอบบริการใกล้ชิดประชาชนให้มากที่สุด 2.ผู้รับมอบอำนาจต้องมีความพร้อมในการรับหน้าที่ ความรับผิดชอบและอำนาจที่มากขึ้น โดยผู้กระจายอำนาจต้องให้ความสนับสนุนอย่างเพียงพอ 3.ต้องสร้างดุลยภาพระหว่างหน้าที่ความรับผิดชอบกับอำนาจหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น 4.การกระจายอำนาจต้องเป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และบรรยากาศของการทำงานและก่อประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมโดยส่วนรวม 5.การกระจายอำนาจต้องเป็นไปโดยมีเป้าหมายชัดเจนที่ประเมินได้ และต้องมีการตระเตรียมขั้นตอนให้เป็นระบบเพียงพอก่อนดำเนินการ
รูปแบบของการกระจายอำนาจรูปแบบของการกระจายอำนาจ 1.การกระจายภารกิจหน้าที่ 2.การกระจายอำนาจการตัดสินใจ 3.การกระจายทรัพยากรการบริหาร 4.การกระจายการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบ้านเมืองให้แก่ประชาชน 5.การกระจายความรับผิดชอบที่โปร่งใสและตรวจสอบได้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 ชั้น (Two Tier)1 1. รับผิดชอบภารกิจภาพรวม ครอบคลุมทั้งจังหวัด 2. ภารกิจที่ระดับล่างทำไม่ได้ 3. ประสานและสนับสนุนระดับล่างให้เกิดการบูรณาการ ระดับบน Upper Tier 1. ภารกิจเฉพาะพื้นที่ในเขตของตนเอง 2. จัดทำภารกิจตามกฎหมายกำหนด 3. ร้องขอสนับสนุนจากระดับบน ระดับล่าง Lower Tier