1 / 49

ปัญหาเฉพาะบางประการสำหรับเกษตรกร

สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางชีวภาพในเกษตรกร รศ.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปัญหาเฉพาะบางประการสำหรับเกษตรกร. ภาวะทุพโภชนาการ ผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงอาจหมายรวมถึงสมาชิกเกือบทุกคนในครอบครัวทั้ง เด็กและผู้สูงอายุ. คริบโตสปอริเดียม

steven-goff
Download Presentation

ปัญหาเฉพาะบางประการสำหรับเกษตรกร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางชีวภาพในเกษตรกรรศ.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุลภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. ปัญหาเฉพาะบางประการสำหรับเกษตรกรปัญหาเฉพาะบางประการสำหรับเกษตรกร • ภาวะทุพโภชนาการ • ผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงอาจหมายรวมถึงสมาชิกเกือบทุกคนในครอบครัวทั้ง เด็กและผู้สูงอายุ

  3. คริบโตสปอริเดียม โรคแอนแทรกซ์ โรคพิษสุนัขบ้า โรคพยาธิตืดหมู โรคเชื้อราในมูลนก โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น โรคท้องร่วงซาลโมเนลลา โรคเมลิออยด์, โรคพยาธิปากขอ งูกัด, แมลงกัด บาดทะยัก คนที่ทำงานกับสัตว์ คนงานโรงงานฆ่าสัตว์, คนขายเนื้อสัตว์ พนักงานในฟาร์มสุนัข, เจ้าหน้าที่กำจัดสุนัข คนเลี้ยงหมู คนเลี้ยงนก คนเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสุกร คนเลี้ยงสัตว์ปีก ชาวไร่, ชาวนา ชาวไร่, ชาวนา, ชาวสวน ชาวไร่, ชาวนา, ชาวสวน ตัวอย่างโรคกับอาชีพ

  4. โรคพยาธิปากขอ พยาธิปากขอในคนได้แก่ Ancylostoma duodenale และ Necator americanus ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น Necator พบได้ทั่วประเทศและพบมากที่สุดทางภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสวนยางพารา การติดต่อ คนเดินเท้าเปล่า หรือสวมรองเท้าที่ไม่หุ้มข้อ ย่ำลงในดิน พยาธิตัวอ่อน (filariform larva) ซึ่งเป็นระยะติดต่อจะไชผ่านเนื้ออ่อนๆ เช่น ง่ามนิ้วเท้าแล้วเข้าสู่กระแสเลือดของร่างกาย สุดท้ายไปเป็นพยาธิตัวแก่เกาะติดผนังลำไส้

  5. โรคพยาธิปากขอ อาการทางคลินิก ที่พบบ่อย คือ ซีดเนื่องจากขาดเหล็ก บวมเนื่องจากมีโปรตีนในเลือดต่ำลงเพราะเสียแอลบูมินไปทางลำไส้มากกว่าความสามารถของตับในการสร้างมาทดแทน อาการทางท้อง เช่น รู้สึกไม่สบายท้อง เบื่ออาหาร จุกเสียด ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด จนถึงปวดแสบท้องเหมือนมีแผลในกระเพาะอาหาร การวินิจฉัย อาศัยการตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิ การรักษา การถ่ายพยาธิและการพิจารณาให้ธาตุเหล็ก

  6. ไข่พยาธิปากขอ

  7. โรคพยาธิสตรองกิลอยด์ เกิดจากพยาธิ Strongyloides stercolaris มักพบในผู้ที่ได้รับยา steroid มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับยา steroid การติดต่อ เกิดจากพยาธิตัวอ่อนระยะ filariform ไชเข้าทางผิวหนัง อาการทางคลินิก โดยทั่วไปไม่ปรากฏอาการหรือมีเพียงอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย และเป็นลมพิษบ่อยๆ นอกจากผู้ที่ได้รับยา steroid หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่องเท่านั้น จึงจะมีหนอนพยาธิเพิ่มจำนวนมากขึ้นและกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ นอกระบบทางเดินอาหารได้ เรียกภาวะนี้ว่า disseminated strongyloidiasis

  8. โรคพยาธิสตรองกิลอยด์ อาจมีอาการทางผิวหนังบริเวณที่พยาธิตัวอ่อนไชผ่าน เกิดปฏิกิริยาเป็นทางนูนลักษณะคล้ายผื่นลมพิษ บางคนเรียกว่า linear urticaria หรือ creeping urticaria บางคนมีน้ำหนักลด ขาดสารอาหาร เท้าบวม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง การวินิจฉัย ตรวจหาพยาธิตัวอ่อนระยะ rhabditiform ในอุจจาระ การรักษา ยาถ่ายพยาธิและรักษาตามอาการ

  9. เมลิออยโดสิส (Melioidosis) สาเหตุ เชื้อ Pseudomonas pseudomallei ข้อมูลทั่วไป พบมากในประเทศในเขตศูนย์สูตร ในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในน้ำ ในดิน สามารถมีเชื้อเหล่านี้อยู่ได้เป็นเวลานานหลายเดือน นอกจากนี้ยังพบได้ในคนและในสัตว์หลายชนิด เช่น วัว ควาย แพะ สุกร สุนัข ลิง กระต่าย แมว หนู ปลา โรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝน ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวนจะเป็นโรคนี้ได้บ่อย ผู้ใหญ่เป็นโรคนี้มากกว่าเด็ก เพศชายมากกว่าเพศหญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง นิ่วในไต หรือทางเดินปัสสาวะ

  10. เชื้อ Pseudomonas pseudomallei เป็นแบคทีเรียแกรมลบชนิดแท่ง ไม่สร้างสปอร์ เจริญเติบโตได้ดีในที่มีออกซิเจนน้อย เมื่อย้อมสีจะพบติดสีชัดที่ปลายทั้งสองด้าน ทำให้ดูคล้ายเข็มกลัดซ่อนปลาย ไม่มีแคปซูล สามารถสร้าง toxin และ enzyme ได้หลายชนิด เข้าใจว่า toxin และ enzyme เหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดโรค การติดต่อ ได้แก่ ทางผิวหนัง (ทางบาดแผลตามผิวหนัง) ทางเดินหายใจ จากการกิน และทางเพศสัมพันธ์

  11. โรคเมลิออยโดซิส ลักษณะทางคลินิก ระยะฟักตัวของโรคอาจเร็วตั้งแต่ 2 วัน หรือนานเป็นหลายปีได้ อาการมีตั้งแต่น้อยมากจนถึงรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคนี้มีอาการและอาการแสดงเหมือนกับโรคอื่นได้บ่อยๆ ทำให้วินิจฉัยผิดได้ง่าย โรคนี้จึงได้รับการขนานนามว่าโรค “ยอดนักเลียนแบบ”

  12. โรคเมลิออยด์โดซิส ลักษณะทางคลินิก 1. ปอด พบได้หลายแบบ เช่น เป็นโพรงฝีเล็กๆหลายอัน ปอดอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบเรื้อรัง อาจคล้ายกับวัณโรค 2. ตับ ฝีในตับ มักเป็นฝีขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปในตับ อาจมีการอักเสบของทางเดินน้ำดีร่วมด้วย 3. ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนลักษณะป็น cellulitis, subcutaneous abscess, infected wound ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือหายช้ามาก

  13. ฝีที่หน้า ฝีที่ต่อมน้ำลาย จาก P. pseudomallei

  14. โรคเมลิออยด์โดซิส 4. มีการติดเชื้อได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีนิ่วที่ไตหรือกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้เกิดไตวายได้ บางรายมีการอักเสบของต่อมลูกหมากและท่ออสุจิ บางรายเกิดฝีที่อัณฑะ 5. อวัยวะอื่นๆ เช่น ติดเชื้อที่กระดูกและข้อ ระบบประสาทส่วนกลาง ม้าม เยื่อหุ้มหัวใจ ต่อมน้ำเหลือง

  15. โรคเมลิออยด์โดซิส การวินิจฉัย 1. จากลักษณะอาการทางคลินิก 2. ตรวจและเพาะเชื้อสูโดโมแนส สูโดมาลิอาย จากหนอง เสมหะ อุจจาระ ปัสสาวะ หรือเลือด เช่น ย้อมสีแกรมหรือเพาะเชื้อ 3. จากการตรวจปฏิกิริยาของน้ำเหลือง เช่น วิธี IHA, วิธี IFA, หรือวิธี ELISA

  16. โรคเมลิออยด์โดซิส การรักษา 1. ยาปฏิชีวนะ ยาหลายตัวรวมกัน คือ คลอแรมเฟนิคอล, เตตระไซคลิน และโคไตรมอกซาโซล หรือใช้ยา ceftazidime, หรือ imipenem, หรือ augmentin 2. การผ่าตัด เช่น ผ่าฝีเพื่อระบายหนอง ผ่าตัดนิ่วในไตหรือกระเพาะปัสสาวะเพื่อกำจัดแหล่งเชื้อโรคออกจากร่างกาย 3. รักษาพยาบาลทั่วไปและรักษาโรคเดิมของผู้ป่วย เช่น ให้การรักษาตามอาการ รักษาเบาหวาน รักษาภาวะไตวายเรื้อรัง

  17. โรคแอนแทรกซ์ สาเหตุ เชื้อ Bacillus anthracis ข้อมูลทั่วไป แอนแทรกซ์เป็นโรคของสัตว์กินพืช เช่น แพะ แกะ วัว ควาย ม้า หมู และสุนัข คนเป็น incidental host โรคนี้มีชื่อไทยว่าโรคกาลี Bacillus anthracis เป็นเชื้อพึ่งออกซิเจน ไม่เคลื่อนที่ และสร้างสปอร์รูปร่างเป็นแท่ง สร้างแคปซูลได้ด้วย ซึ่งในร่างกายมนุษย์แคปซูลนี้จะเป็นปัจจัยให้เชื้อมีความรุนแรง (virulent factor) เพราะสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อถูกเซลล์ของร่างกายกิน เชื้อสร้างสารพิษได้หลายอย่าง การติดต่อ สปอร์เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ หรือเชื้อที่เป็น vegetative form ซึ่งอาจเกิดจากสปอร์เมื่อมีภาวะเหมาะสมตามธรรมชาติ เข้าสู่ผิวหนังโดยทางบาดแผล หรือเข้าสู่จมูกและปากโดยการกิน สปอร์สามารถมีชีวิตได้นานมากในสภาวะแวดล้อมที่แห้งแล้ง

  18. โรคแอนแทรกซ์ ลักษณะทางคลินิก 1. แอนแทรกซ์ผิวหนัง ระยะฟักตัวประมาณ 2-5 วัน รอยแผลที่ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับเชื้อ ในผู้ใหญ่พบบ่อยบริเวณแขนและมือ ซึ่งใช้ในการชำแหละสัตว์ บางครั้งที่หัวไหล่ ต้นคอ เนื่องจากการแบกซากสัตว์ แผลมักเป็นแผลเดี่ยวเริ่มต้นด้วยตุ่มขนาดเล็ก คัน กดไม่เจ็บ ต่อมากลายเป็นถุงน้ำแตกออกตรงกลางเกิดเป็นสะเก็ดดำ มีอาการบวม กดไม่บุ๋ม

  19. โรคแอนแทรกซ์ 2. แอนแทรกซ์ทางเดินหายใจ อาการมี 2 ระยะ ระยะแรกเป็นอาการปวดเมื่อยตามตัว ไข้ต่ำๆ ไอไม่มีเสมหะ ซึ่งเป็นลักษณะไม่เฉพาะโรค ระยะที่ 2 ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก เอ็กซเรย์ปอดมีเงา mediastinumโตขึ้น อาจมีเลือดออกในปอด มีอาการบวม มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด 3. แอนแทรกซ์ทางเดินอาหาร หลังจากกินเนื้อที่มีเชื้อปนเข้าไปประมาณ 2-3 วัน จะมีอาการปวดในท้อง กดเจ็บบริเวณท้อง ไข้ อาเจียนมักมีสีเลือด หรือสีกาแฟ อุจจาระดำ มีน้ำในช่องท้องมาก ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องบวมโตและแดง ผู้ป่วยอาจตายจากเสียเลือดปริมาณมาก ความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่ และseptic shock

  20. โรคแอนแทรกซ์ 4. แอนแทรกซ์ออโรฟาริงก์ เกิดจากการกินเนื้อที่มีเชื้อ บางครั้งเกิดเป็นโรคแอนแทรกซ์ในช่องปากและในลำคอ มีอาการคอบวมเนื่องจากต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตขึ้น กลืนลำบาก หายใจลำบาก บางครั้งมีเสียงแหบ หรือเลือดออกในปาก ต่อมน้ำเหลืองบวมโตบริเวณคอ อาจโตมากและมีหลายก้อนติดกัน 5. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ แอนแทรกซ์ทั้ง 4 แบบแรก โดยเฉพาะแอนแทรกซ์ที่ผิวหนังอาจจะลามไปสู่แอนแทรกซ์เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อาการได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น มึนงง อาจพบจุดเลือดออกตามผิวหนัง เพ้อ ชัก และหมดสติ ตรวจน้ำไขสันหลังจะพบแบคทีเรียได้

  21. โรคแอนแทรกซ์ การวินิจฉัย 1. การวินิจฉัยทางคลินิก แอนแทรกซ์ผิวหนังอาศัยลักษณะเฉพาะของแผล คือ มีสะเก็ดดำตรงกลาง มีตุ่มน้ำใสอยู่รอบๆ ไม่มีหนอง มีอาการบวม และไม่เจ็บ ส่วนแอนแทรกซ์ ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และออโรฟาริงก์นั้นจะต้องอาศัยเบาะแสว่าผู้ป่วยมีอาชีพที่อาจจะติดแอนแทรกซ์ หรือมีการระบาดของแอนแทรกซ์ผิวหนังในพื้นที่นั้นด้วย 2. การตรวจทางแบคทีเรีย เช่น การนำน้ำเหลืองจากตุ่มใสมาย้อมหาเชื้อ หรือการเพาะเชื้อจากผิวหนัง หรือการฉีดส่วนที่สงสัยว่าจะติดเชื้อเข้าสู่สัตว์ทดลอง 3. การวินิจฉัยทาง serology ได้แก่วิธี IHA

  22. โรคแอนแทรกซ์ การรักษา ยาปฏิชีวนะที่ควรเลือกใช้ คือ penicillin ให้ทางหลอดเลือดดำอาจพิจารณาให้ streptomycin ร่วมด้วย แผลที่ผิวหนังให้ทำความสะอาดและปิดแผลบ่อยๆ ห้ามกรีดหรือผ่าแผล ถ้าแพ้ penicillin อาจใช้ erythromycin, tetracycline หรือ chloramphenicol แทน การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในรายที่เป็นแอนแทรกซ์ทางเดินอาหารและทางเดินหายใจมีความสำคัญมากเพราะอัตราตายใน 2 อย่างนี้จะสูง

  23. โรคแอนแทรกซ์ การป้องกันและควบคุมโรค 1. ในปศุสัตว์ใช้วัคซีนแอนแทรกซ์สำหรับฉีดสัตว์ ฉีดทุกปี ซากสัตว์ที่สงสัยว่าติดเชื้อให้เผาทำลาย หรือฝังไว้ให้ลึกแล้วราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ สัตว์ที่ป่วยให้แยกจากฝูงและรักษาด้วย antiserum และ penicillin สัตว์ที่ยังไม่ป่วยให้ฉีดวัคซีนทุกตัวและห้ามโยกย้ายสัตว์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ 2. ในคน แอนแทรกซ์เป็นโรคที่ต้องรายงาน ผู้ที่มีอาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมถึงคนที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่ต้องสัมผัสกับเชื้อนี้ ควรพิจารณาให้วัคซีนสำหรับคน สำหรับผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนหากสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ป่วย อาจให้ penicillin กิน 7 วัน หรือฉีด benzyl penicillin 300,000 หน่วยผสมกับ benzathine penicillin 900,000 หน่วย

  24. โรคแอนแทรกซ์ ผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลต้องแยกจากผู้ป่วยอื่นจนกว่าเชื้อในแผลจะถูกกำจัดหมดไป เสื้อผ้าสิ่งของต่างๆของผู้ป่วยที่ปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่งต้องทำให้ปราศจากเชื้อ สำหรับยาปฏิชีวนะ ถ้าสงสัยว่าเชื้อจะดื้อ penicillin ให้พิจารณาใช้ ciprofloxacin แทน 3. ในเกษตรอุตสาหกรรม ให้ควบคุมฝุ่นละอองและการระบายอากาศให้เหมาะสม ในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สัตว์ เช่น ใช้หนังสัตว์ หรือขนสัตว์เป็นวัตถุดิบ หรือผลิตอาหารสัตว์จากกระดูกและซากสัตว์

  25. โรคพิษสุนัขบ้า สาเหตุ เชื้อไวรัส rabies ข้อมูลทั่วไป จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงมากได้แก่ เพชรบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เกือบครึ่งของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 15 ปี และพบเป็นชายมากกว่าหญิง สัตว์ซึ่งตรวจพบเชื้อ ได้แก่ สุนัข แมว โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ม้า ลิง ค่าง ชะนี หนู กระรอก พังพอน และสัตว์ป่า เช่น ค้างคาว ชะมด นาก หมี สุนัขจิ้งจอก เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าสามารถก่อให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุก species

  26. โรคพิษสุนัขบ้า การติดต่อ เกือบทั้งหมดเป็นผลจากการถูกสัตว์ซึ่งมีเชื้อไวรัสในน้ำลายกัด นอกนั้นที่พบน้อย คือ การหายใจ การได้รับวัคซีนที่ฆ่าเชื้อไม่หมด การผ่าตัดใส่กระจกตา นอกจากนี้เชื้อไวรัสไม่สามารถแทรกผ่านผิวหนังปกติได้ แต่อาจเข้าสู่ผิวหนังที่มีรอยข่วน หรือถลอก และสามารถผ่านเยื่อเมือก (mucosa) เช่น ที่ตา จมูก ปาก ทวารหนัก และอวัยวะสืบพันธุ์ได้ เชื้อจะผ่านตามเส้นประสาทแล้วเข้าสู่สมอง

  27. โรคพิษสุนัขบ้า ระยะฟักตัว ส่วนใหญ่สั้นกว่า 4 เดือน 95 เปอร์เซ็นต์จะเกิดภายใน 1 ปี สั้นที่สุดที่เคยมีรายงาน คือ 4 วัน ที่นานที่สุดที่เคยมีรายงาน คือ 4 ปี โดยทั่วไประยะฟักตัวเมื่อถูกกัดบริเวณหน้า คอ และศีรษะจะสั้นกว่าบริเวณขาและเท้า

  28. โรคพิษสุนัขบ้า อาการแบบดุร้าย (furious) พบได้บ่อยกว่า มีอาการนำ คือ ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ ไอ คลื่นไส้ ปวดท้อง อุจจาระร่วง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ มีการกระตุกของแขนขา ผู้ป่วยบางคนมีอาการคัน ชา เจ็บ แสบร้อน หรือ เย็นตำแหน่งที่เคยถูกกัดหรือใกล้เคียง บางคนมีอาการคันทั้งตัว 1-2 วันต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการกลืนลำบาก เมื่อดื่มน้ำจะเกิดการสำลักและเจ็บปวดมากเนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนหดตัวอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยกลัวไม่ยอมดื่มน้ำ เราจึงเรียกว่าโรคกลัวน้ำ ทั้งที่ผู้ป่วยเกิดอาการต่างๆ เหล่านี้สติสัมปชัญญะของผู้ป่วยยังปกติดีอยู่ พูดและตอบคำถามได้

  29. โรคพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยบางคนมีความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ หน้าแดง เหงื่อออก ขนลุก น้ำตาไหล บางคนเมื่อพัดหรือโบกลมใส่ผู้ป่วย ผู้ป่วยจะผวา หรือกระตุก ซึ่งเป็นลักษณะทางคลินิกที่สำคัญในการวินิจฉัยโรคในระยะแรก ผู้ป่วยอาจชักทั้งตัว อาจมีอาการรู้สติดีสลับกับการตื่นเต้นเอะอะโวยวายเป็นพักๆ ความดันเลือดต่ำ และหัวใจวายได้ สุดท้ายผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้เนื่องจากหยุดหายใจ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  30. โรคพิษสุนัขบ้า อาการแบบอัมพาต (paralytic) พบได้น้อยกว่าประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ มักพบในกรณีที่ได้รับเชื้อจากค้างคาว หรือในคนซึ่งได้รับ rabies vaccine แต่ไม่สามารถป้องกันโรคได้ ผู้ป่วยมีอาการนำด้วยไข้ ปวดศีรษะคล้ายไข้หวัด ต่อมามีอาการแสบร้อน ชา ปวดที่ขา ตามมาด้วยอัมพาต อาการกลัวน้ำพบได้น้อย และจะแสดงอาการเมื่อใกล้ตายเท่านั้น ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากการหยุดหายใจ ซึ่งโดยทั่วไปจะช้ากว่ากลุ่มที่มีอาการดุร้าย

  31. โรคพิษสุนัขบ้า การรักษา 1. ในผู้ซึ่งมีอาการของโรคแล้วควรจะส่งให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 2. ในผู้ซึ่งสัมผัสสัตว์ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือเลีย ให้พิจารณาการป้องกันแบบหลังสัมผัสเชื้อ (post - exposure prophylaxis)

  32. เกณฑ์พิจารณาใช้วัคซีน / เซรุ่ม ในท้องถิ่นที่มีโรคพิษสุนัขบ้า ชนิด/ลักษณะของสัตว์ขณะสัมผัส WHO Category ตรวจพบว่าเป็นโรค/ สงสัย ปกติ of exposure หนีหาย/สัตว์ป่า (provoked attack) Iไม่ต้องฉีด@ ไม่ต้องฉีด@ ไม่ต้องฉีด@ II ฉีดวัคซีน ฉีดวัคซีน$ ไม่ต้องฉีด# III ฉีดวัคซีนและเซรุ่ม ฉีดวัคซีนและเซรุ่ม$ ไม่ต้องฉีดวัคซีน และเซรุ่ม# @ - อาจต้องฉีดเพื่อลดความกังวลใจ โดยใช้ตารางฉีดป้องกันล่วงหน้า $ - หยุดฉีดเมื่อเมื่อเฝ้าดูครบ 16 วันแต่สัตว์ยังแข็งแรงไม่มีอาการ #- เริ่มต้นฉีดเมื่อสัตว์เริ่มมีอาการระหว่างเฝ้าดู หากมี NNTV อาจเริ่มฉีดไปก่อนได้และหยุดฉีดเมื่อเฝ้าดูครบ 16 วันแต่สัตว์ยังแข็งแรงไม่มีอาการ

  33. โรคพิษสุนัขบ้า สัตว์ที่น่าสงสัย หรือถือเสมือนเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่ สัตว์ป่า สัตว์ซึ่งเข้าทำร้ายโดยไม่มีสาเหตุ หรือค้างคาวซึ่งบินเข้ามาทำร้าย

  34. โรคพิษสุนัขบ้า Post exposure prophylaxis 1. การปฏิบัติต่อแผลเป็นสิ่งสำคัญมากควรจะล้างแผลด้วยสบู่ หรือน้ำยา detergent แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดตามมากๆ แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์หรือไอโอดีน ไม่ควรเย็บแผล นอกจากนี้อาจพิจารณาให้ antitoxin สำหรับเชื้อบาดทะยัก หรือ tetanus toxoid ทาแผลด้วย idoxuridine หรือ acyclovir เพื่อป้องกัน herpes virus เมื่อถูกลิงกัดหรือให้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม penicillin เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะในกรณีที่แผลลึก 2. การให้ active และ passive immunization วัคซีนที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ purified vero cell rabies vaccine ส่วน rabies antiserum สำหรับใช้ในคนมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ผลิตจากเลือดสัตว์ (ERIG) กับที่ผลิตจากเลือดคน (HRIG) ซึ่งมีโอกาสแพ้น้อยกว่า แต่ราคาแพงกว่า

  35. โรคเลปโตสไปโรสิส (โรคฉี่หนู) สาเหตุก่อโรค เชื้อแบคทีเรีย Leptospira เป็นสไปโรขีต ลักษณะเป็นเส้นเกลียว ข้อมูลทั่วไป เลปโตสไปโรสิสเป็นโรคของสัตว์ที่ติดต่อมายังคน โรคนี้พบได้ทุกภูมิภาคของโลก แต่พบในเขตร้อนมากกว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตชนบท เป็นเพศชายวัยแรงงาน โรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝน แหล่งเก็บโรค ที่สำคัญ คือ หนู นอกจากนั้นได้แก่ โค กระบือ สุกร สุนัข แมว กระรอก กวาง และสุนัขจิ้งจอก

  36. โรคเลปโตสไปโรสิส (โรคฉี่หนู) ในสัตว์ สัตว์อาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมีการติดเชื้อที่ท่อไตและปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะได้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรืออาจตลอดชีวิต เชื้อสามารถแพร่กระจายในฝูงสัตว์จากการเลียกินปัสสาวะ การผสมพันธุ์ หรือการสัมผัสปัสสาวะจากสิ่งแวดล้อม ในคน เชื้อติดต่อมายังคนได้โดยการไชเข้าทางผิวหนัง หรือเยื่อบุที่มีรอยแผลทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยสัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ เนื่องจากเชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ในดิน หรือในน้ำที่มีความชื้นและความเป็นกรดด่างพอเหมาะได้นานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดโรคได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ชาวนา ชาวไร่ คนงานโรงงานฆ่าสัตว์ กรรมกรขุดลอกคูคลอง และสัตวแพทย์ พฤติกรรมเสี่ยงได้แก่ การที่ต้องแช่อยู่ในน้ำนานๆ เช่น ไถนา ถอนกล้า ใส่ปุ๋ย หาปลา

  37. โรคเลปโตสไปโรสิส (โรคฉี่หนู) เมื่อเชื้อ Leptospira เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ พยาธิสภาพของโรคนี้เกิดจากเชื้อไปทำลายเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดขนาดเล็กๆ ทั่วร่างกาย ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆได้ เชื้ออาจหลบอยู่ในไต ในช่องด้านหน้าของลูกตาได้นาน

  38. โรคเลปโตสไปโรสิส (โรคฉี่หนู) ลักษณะทางคลินิกแบ่งเป็น 2 ระยะ หลังจากระยะฟักตัว 5-14 วัน ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะที่ 1 ระยะแรก เป็นระยะ Leptospiremicระยะนี้สามารถแยกเชื้อ Leptospira ได้จากเลือดและน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะหลัง น่อง ต้นคอ คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง อาจพบอาการคอแข็ง ความดันเลือดตก ระยะที่ 2 เป็นระยะ immune หลังจากมีไข้ 1 สัปดาห์จะมีช่วงที่ไข้ลด แล้วกลับมีไข้ขึ้นใหม่โดยเข้าสู่ระยะที่ 2 ไข้จึงมีลักษณะเป็น biphasic ระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะ อาจสับสน มีไข้ต่ำๆ คลื่นไส้อาเจียน อาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ม่านตาอักเสบ หน้าที่ของตับและไตผิดปกติ ในระยะนี้จะตรวจพบเชื้อได้ในเลือดและน้ำไขสันหลังใน 1-2 วันแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจะตรวจพบเชื้อได้ในปัสสาวะ เชื้อออกมาในปัสสาวะนาน 1-3 สัปดาห์

  39. โรคเลปโตสไปโรสิส (โรคฉี่หนู) 1. กลุ่มที่ไม่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง พบได้ร้อยละ 85-90 ของผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการทั้งหมด กลุ่มนี้อาการไม่รุนแรงและอาจหายได้เอง อัตราตายต่ำ 2. กลุ่มที่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นกลุ่มที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้แก่ ไตวาย กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เลือดออกผิดปกติที่อวัยวะต่างๆ อัตราตายประมาณร้อยละ 5-10

  40. โรคเลปโตสไปโรสิส (โรคฉี่หนู) การวินิจฉัยโรค 1. การเพาะเชื้อจากเลือด น้ำไขสันหลัง หรือปัสสาวะ แล้วแต่ระยะของโรค มีข้อจำกัดทางเทคนิคหลายประการ 2. ตรวจทางserology เช่น วิธี ELISA

  41. โรคเลปโตสไปโรสิส (โรคฉี่หนู) การรักษา 1. รักษาตามอาการ เช่น อาการไข้และอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลว 2. การรักษาจำเพาะ ยาปฏิชีวนะที่ควรเลือกใช้ คือ penicillinรองลงไปคือ doxycycline หรือ erythromycinหรือยาในกลุ่ม cephalosporin เช่น cefotaxime หรือ ceftizoxime

  42. โรคเลปโตสไปโรสิส (โรคฉี่หนู) การควบคุมและการป้องกัน การควบคุม ป้องกันโรคนี้ทำได้ยาก เนื่องจากการกระจายของเชื้อมีอย่างกว้างขวางในสัตว์เลี้ยง และยังไม่มีการรักษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายในสัตว์ที่ได้ผลดี การควบคุมโรคในปัจจุบันจึงเน้นที่การเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยอาศัยอาการทางคลินิกร่วมกับการมีประวัติปัจจัยเสี่ยง และทำการวินิจฉัยและรักษาให้ได้โดยเร็ว นอกจากนี้ก็คือการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายและหลีกเลี่ยงการสัมผัสโรค เช่น สวมรองเท้าบูทและถุงมือยางในการทำงาน

  43. บาดทะยัก เชื้อก่อโรค คือ Clostridium tetaniซึ่งสารพิษ (toxin) มีพิษต่อระบบประสาท ตัวสำคัญ คือ tetanospasmin ทำให้เกิดอาการเกร็งและชักกระตุก ข้อมูลทั่วไป เชื้อ clostridium เป็นเชื้อแกรมบวก ไม่พึ่งออกซิเจน สร้างสปอร์ โดยสปอร์ของเชื้อจะอยู่ในอุจจาระของคนหรือสัตว์ ตกตามพื้นดิน พื้นหญ้าทั่วๆไป ซึ่งมีความทนทานต่อความร้อน อยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปีในพื้นดิน สปอร์เข้าทางบาดแผล หรือทางสายสะดือในทารกแรกเกิด จะแตกตัวออกเป็น vegetative form แล้วแบ่งตัวต่อไป

  44. บาดทะยัก อาการแสดง 1. Lock jawคือ ขากรรไกรเกร็งแข็ง 2. กล้ามเนื้อใบหน้าเกร็งและกระตุก 3. คอและหลังเกร็ง หลังแอ่น 4. รายรุนแรงจะมีอาการชักทั้งตัว 5. ไข้อาจมีหรือไม่มีก็ได้

  45. บาดทะยัก การวินิจฉัย 1. ประวัติบาดแผล ประวัติการดูแลรักษาแผลที่ไม่ถูกต้อง 2. อาการแสดงและการตรวจร่างกาย 3. เพาะเชื้อจากแผล ต้องใช้การเพาะเชื้อแบบไม่พึ่งออกซิเจน และอาจไม่พบเชื้อบาดทะยักได้

  46. บาดทะยัก การรักษา 1. Antitoxin คือ TAT 2. ให้ยาปฏิชีวนะ เพราะอาจยังมีเชื้ออยู่ที่แผล กลุ่มที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรก คือ penicillin และอาจพิจารณาให้ยาชนิดอื่นร่วมด้วย 3. การควบคุมการเกร็งและการกระตุกของกล้ามเนื้อ 4. การทำความสะอาดบาดแผล เอาหนอง เนื้อสกปรก และเนื้อตายออกให้หมด 5. ให้การพยาบาล สิ่งสำคัญ คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเพราะจะทำให้เกิดการเกร็งและกระตุกได้ แก้ภาวะขาดดุลของกรด ด่าง น้ำ และเกลือเร่ (ถ้ามี) รวมทั้งจัดการทางเดินหายใจของผู้ป่วย เช่น เสมหะ บางรายอาจต้องเจาะคอถ้าจำเป็น

  47. บาดทะยัก การป้องกันโรค 1. การจัดการกับบาดแผลที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง 2. การให้วัคซีน tetanus toxoid

  48. งูพิษ พิษต่อระบบประสาท ได้แก่ งูเห่าและงูจงอาง พิษต่อกล้ามเนื้อ ได้แก่ งูทะเล พิษต่อระบบเลือด ได้แก่ งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้

  49. สิ่งคุกคามทางชีวภาพอื่นๆ พืชมีพิษ แมลงมีพิษ สัตว์มีพิษ เช่น ปลา หอย แมงกระพรุนไฟ

More Related