350 likes | 544 Views
ความเป็นมาและทิศทางประชาคมอาเซียน. โดย บุษฎี สันติพิทักษ์ รอง อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวง การ ต่างประเทศ. วันที่ 20 พฤษภาคม 2556. รู้จักประชาคมอาเซียน. ปฏิญญากรุงเทพฯ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510. Bangkok Declaration (ค.ศ. 1967).
E N D
ความเป็นมาและทิศทางประชาคมอาเซียนความเป็นมาและทิศทางประชาคมอาเซียน โดย บุษฎี สันติพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 20 พฤษภาคม 2556
ปฏิญญากรุงเทพฯ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
Bangkok Declaration (ค.ศ. 1967) Main Objectives: “To accelerate the economic growth, social progress and cultural development; to promote regional peace and stability; to maintain close and beneficial cooperation with existing international and regional organizations..”
วัตถุประสงค์ของอาเซียนวัตถุประสงค์ของอาเซียน • ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก • ธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง • เสริมสร้างเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชน • พัฒนาสังคมและวัฒนธรรม • ส่งเสริมความร่วมมือกับภายนอก และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ
ASEAN Factsheet • อาเซียนถือกำเนิดที่ประเทศไทย ในปี 2510 สมาชิกผู้ก่อตั้ง • ไทย • มาเลเซีย • อินโดนีเซีย • ฟิลิปปินส์ • สิงคโปร์ • สมาชิกเพิ่มเติม • + บรูไนฯ ปี 2527 • + เวียดนาม ปี • 2538 • + ลาว ปี 2540 • + พม่า ปี 2540 • + กัมพูชา ปี 2542
ความสำคัญของอาเซียน • ประชากร – 604.8 ล้านคน • พื้นที่- 4.5 ล้าน ตาราง กม. • GDP รวม 2,178 พันล้าน USD • การค้ารวม 2,389 พันล้าน USD • การลงทุนจากต่างประเทศ114,111 ล้าน USD ที่มา : www.asean.org ASEAN Statistics 2011
ความสำคัญของอาเซียนต่อไทยความสำคัญของอาเซียนต่อไทย อาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยตั้งแต่ 2545 และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 2 ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ในปี 2555 มูลค่าการค้า 96,670 ล้าน USDประมาณ ร้อยละ 20 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทยและไทยได้เปรียบดุลการค้าอาเซียนถึง 16,390 ล้าน USD สมาชิกอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทย ประมาณ 20% ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด นักท่องเที่ยวกว่า 6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 28 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด(มาเลเซียมาไทยมากที่สุด)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เมื่อ 20 พ.ย. 2550 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ผู้นำอาเซียนลงนามกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ - มีกฎกติกาในการทำงาน(Rules-based) - มีประสิทธิภาพ (effective) - มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-centered) มีผลใช้บังคับเมื่อ 15 ธ.ค. 2551
นโยบายรัฐบาล “นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง”
สาขาความร่วมมือของอาเซียนสาขาความร่วมมือของอาเซียน ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข สามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงมีเป้าหมายหลัก มีกฎกติกาเป็นพื้นฐานภายใต้ค่านิยมร่วมกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับ ประชาชนที่ครอบคลุมอย่างรอบด้าน เช่น ภัยพิบัติ มีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC)
ประชาคมการเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม 2. สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี e-ASEAN นโยบายภาษี เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี นโยบายการแข่งขัน เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี การคุ้มครองผู้บริโภค เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ลดช่องว่างการพัฒนา ระหว่างสมาชิกเก่า-ใหม่ ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย สนับสนุนการพัฒนา SMEs จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค 15
คุณลักษณะของประชาคมการเศรษฐกิจอาเซียนคุณลักษณะของประชาคมการเศรษฐกิจอาเซียน
คุณลักษณะของประชาคมการเศรษฐกิจอาเซียนคุณลักษณะของประชาคมการเศรษฐกิจอาเซียน
วัตถุประสงค์ มุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดี ปราศจากโรคภัย มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แผนการจัดตั้งประชาคมฯ ประกอบด้วยความร่วมมือ 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม ความยุติธรรมและสิทธิ ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ความยุติธรรมและสิทธิ การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา รวมใจเป็นหนึ่ง ไม่เจ็บป่วย ไม่จน ปลอดภัย มีการศึกษา
FTA between ASEAN and Partners RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ASEAN-China FTA ASEAN-Korea FTA ASEAN-Japan CEP Market Size AEC: 604 million RCEP: 3,365 million AEC ASEAN-India FTA ASEAN-Australia- New Zealand FTA
เสาการเมือง และความมั่นคง เอื้ออาทรและ แบ่งปันกัน เสาสังคม และวัฒนธรรม มั่นคง มั่งคั่ง เสาเศรษฐกิจ ประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity) เป็นผลจากความริเริ่มของไทยในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียนเมื่อปี 2552 แผนแม่บทฯ ระบุการเชื่อมโยง 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎระเบียบ และด้านประชาชน ในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 18 ผู้นำอาเซียนได้สนับสนุนข้อเสนอของไทยที่จะให้มีการเชื่อมโยงที่ขยายไปถึงภูมิภาคอื่นด้วย (Connectivity Plus)
การเชื่อมโยงในอาเซียนเป็นผลสืบเนื่องจากความริเริ่มของไทยในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียนเมื่อปี 2552 ได้มีการจัดทำแผนแม่บทฯ (ASEAN Master Plan on Connectivity) โดยระบุการเชื่อมโยงเป็น 3 รูปแบบ คือ ด้านกายภาพ ด้านสถาบัน/ระบบ และการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน การเชื่อมโยงจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการสร้างประชาคมของอาเซียน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยไทยน่าจะได้นับผลประโยชน์มากที่สุด ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายการเชื่อมโยง ในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 18 ผู้นำอาเซียนได้สนับสนุนข้อเสนอของไทยที่จะให้มีการเชื่อมโยงที่ขยายไปถึงภูมิภาคอื่นด้วย (Connectivity Plus)
ประชาคมอาเซียนกับงานด้านสาธารณสุขประชาคมอาเซียนกับงานด้านสาธารณสุข
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับแรงงาน AEC Blueprint กำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีการค้าบริการ 4 รูปแบบ คือ (1) ไม่มีข้อจำกัดสำหรับการค้าบริการข้าม พรมแดน (Mode 1 : การให้บริการข้ามพรมแดน และ Mode 2 : การบริโภคในต่างประเทศ) (2) ให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนในธุรกิจบริการ (Mode 3 : การจัดตั้งธุรกิจ) และสามารถถือหุ้นได้อย่างน้อยร้อยละ 51 และ 70 ในปี 2553 และ 2558 ตามลำดับ และ (3) ให้เจรจาเพื่อกำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีการเคลื่อนย้าย บุคคลธรรมดา (Mode 4) ภายในปี 2552
ข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ สาขาบริการทั้ง 12 ได้แก่ บริการธุรกิจบริการทางการศึกษาบริการสุขภาพ บริการขนส่ง บริการด้านนันทนาการ บริการก่อสร้างและวิศวกรรม บริการสื่อสาร บริการสิ่งแวดล้อมบริการด้านการท่องเที่ยว บริการทางการเงิน บริการจัดจำหน่าย และบริการอื่นๆ
อาเซียนสามารถถือหุ้นได้ถึง 70% ในธุรกิจบริการในอาเซียน ปี 2553 (2010) ปี 2551 (2008) ปี 2556 (2013) ปี 2558 (2015) ปี 2549 (2006) สาขาเร่งรัดการรวมกลุ่ม e-ASEAN (โทรคมนาคม-คอมพิวเตอร์) สุขภาพ/ท่องเที่ยว/การบิน 70% PIS: Priority Integration Sectors โลจิสติกส์ 70% 49% 51% 70% สาขาอื่นๆ 49% 51% 49% 51% เป้าหมายการเปิดเสรีบริการ = 128สาขาย่อย ไทยสามารถขยายธุรกิจบริการในอาเซียนได้ โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร สุขภาพ ซ่อมรถ ก่อสร้าง การศึกษา เป็นต้น รวมทั้งดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เป็นช่องทางให้อาเซียนเข้ามาประกอบธุรกิจบริการในไทยได้สะดวกขึ้น เกิดการแข่งขัน ทำให้เอกชนไทยมีโอกาสพัฒนาธุรกิจมากขึ้น FLEXIBILITY สามารถไม่เปิดเสรี ในบางสาขาย่อยได้
การเตรียมความพร้อมของไทยใน การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศกับยุทธศาสตร์เข้าสู่ประชาคมอาเซียนการบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศกับยุทธศาสตร์เข้าสู่ประชาคมอาเซียน • ยุทธศาสตร์ประเทศ 1) Growth & Competitiveness 2) Inclusive Growth 3) Green Growth 4) Internal Process + ยุทธศาสตร์เข้าสู่ประชาคมอาเซียน 8 ด้าน = ยุทธศาสตร์ประเทศ 1) Growth & Competitiveness 2) Inclusive Growth 3) Green Growth 4) Internal Process
นโยบายรัฐบาล • เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2556 นายกรัฐมนตรีประกาศนโยบายเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ 4 ด้าน 1) ยุทธศาสตร์การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 2) ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 3) ยุทธศาสตร์การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4) ยุทธศาสตร์การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ภาพรวม • การผนวกวิสัยทัศน์และแผนปฏิบัติการของอาเซียนเข้าสู่นโยบายของรัฐบาลและส่วนราชการเพื่อผลักดันให้ไทยสามารถบรรลุวิสัยทัศน์หรือเป้าประสงค์ที่ผู้นำอาเซียนมีร่วมกัน • การประสานนโยบายเกี่ยวกับอาเซียนผ่านคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ • การสร้างองค์ความรู้ของหน่วยราชการรับทราบข้อมูลอาเซียนที่ทันต่อเหตุการณ์ บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน และช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย • ทุนมนุษย์ : การวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนผลิตบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ปริมาณกำลังคน ภาษา • การพัฒนากฎระเบียบให้ทันสมัยและเอื้อต่อการแข่งขันที่เป็นธรรม • พัฒนามาตรฐานธุรกิจและมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องสู่ระดับนานาชาติ • ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และถ่ายโอนเทคโนโลยี • มาตรการสนับสนุนของภาครัฐ อาทิ เงินทุน ข้อมูลเชิงลึกของ สมาชิกอาเซียน
สรุปการเตรียมความพร้อมของไทยสรุปการเตรียมความพร้อมของไทย • พัฒนาภาษาอังกฤษ เรียนรู้ภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน • ศึกษาและทำความเข้าใจพันธกรณีของไทยและการดำเนินการภายใต้แผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้งสามเสา • เข้าใจ ศึกษา และเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ในอาเซียน เพื่อเข้าใจและรับมือกับการทำงานของคนชาติอาเซียนอื่น ๆ • สร้างเครือข่ายของผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน • พัฒนาศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง
www.asean.org www.mfa.go.th/asean www.dtn.moc.go.th (ศูนย์ข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) www.aseanwatch.org www.cil.nus.edu.sg www.aseanmedia.net เว็บไซต์เกี่ยวกับอาเซียน